May 11
Posted by malinee on Wednesday May 11, 2011 Under เกร็ดความรู้
การเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบุตรหลาน เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง จึงมักมีคำถามที่พบบ่อยกับการเรียนจินตคณิต หรือแม้กระทั่งคณิตศาตร์เอง ซึ่งแยกได้พอสังเขปดังนี้
– วัยใดที่เหมาะกับการเรียนจินตคณิตที่สุด จากประสบการณ์ในการสอนพบว่าเด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งเราพบว่าการเรียนจินตคณิตในวัยที่เด็กยังไม่มีความชำนาญในการบวกลบตัวเลขที่คล่องจะได้ประโยชน์มากกว่า เนื่องจากเด็กที่คิดเลขได้คล่องแล้วจะรู้สึกยุ่งยากเมื่อต้องใช้ลูกคิดกับตัวเลขที่ง่าย ในขณะที่เด็กเล็ก ๆ ลูกคิดจะเป็นสื่อหรือเครื่องมือที่ช่วยให้เค้าได้คิดจำนวนซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งออกมาเป็นรูปธรรมได้ ซึ่งเมื่อเด็กมีการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจนเกิดความคุ้นชินแล้ว มันยังสามารถสร้างจินตภาพให้เค้าได้อีกในระดับต่อไป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กที่คิดเลขคล่องไม่สามารถสร้างจินตภาพดังกล่าวได้ เพียงแต่การสร้างจินตภาพนั้นต้องผ่านการฝึกฝน ซึ่งเด็กทุกคนหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ก็สามารถฝึกฝนได้เช่นเดียวกัน แต่ภาพที่เกิดกับผู้ใหญ่นั้นไม่ชัดเจน หรือมันเกิดการผสมผสานระหว่างตัวเลขกับจินตภาพมากกว่าในเด็ก ซึ่งจะเป็นภาพชัดเจน
– เด็กจำเป็นต้องคิดเลขให้ได้เร็วหรือไม่ เชื่อว่าทุกคนก็มีคำตอบอยู่แล้วว่าไม่จำเป็น แต่สิ่งที่จำเป็นกับเด็กก็คือ การคิดเลขได้คล่อง ซึ่งมีกระบวนการหรือวิธีอยู่มากมายที่จะให้ได้คำตอบจากคำถามเพียงคำถามเดียว ซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพและวิธีการของเด็กแต่ละคน
– ทำไมเด็กจึงต้องเรียนคณิตศาสตร์ การเรียนคณิตศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อให้เด็กนั้นจะมีการเรียนแบบเป็นขั้นเป็นตอน ในช่วงแรกจะเป็นการเรียนในแนวของความเข้าใจด้านจำนวน ผ่านแบบฝึกหัดต่าง ๆ รวมถึงตัวเลขสัมพันธ์ มีการเรียนมิติสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างจินตภาพ ต่อมาเป็นการฝึกทักษะกระบวนการคิดให้เป็นขั้นเป็นตอนผ่านการวิเคราะห์โจทย์ ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อให้เด็กได้ฝึกความอดทน สมาธิการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
Dec 16
วันที่ 9 ธ.ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผย ภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการ “สำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา เด็กไทยปี 2554” ซึ่งกรมสุขภาพจิตร่วมกับกรม พินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ดำเนินการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทยจำนวนประมาณ 100,000 คนทั่วประเทศ ว่า ข้อมูลจากหนังสือของ Lynn ปี 2006 ได้ทำการสำรวจ IQ ของเด็กทั่วโลก พบว่า IQ ของเด็กไทยอยู่ที่ประมาณ 91 จัดอยู่ในระดับที่ 53 จาก 192 ประเทศทั่วโลก ซึ่งต่ำกว่าระดับ IQ ของเด็กในประเทศอื่นๆในเอเชีย เช่น เด็กในประเทศจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม รวมทั้งมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบว่า ตั้งแต่ปี 2002-2006 อันดับ IQ ของเด็กไทยแทบจะไม่มีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ระดับ IQ ของเด็กเพิ่มจาก 103 ในปี ค.ศ.2002 เป็น 108 ในปี ค.ศ. 2006 ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เมื่อนำระดับ IQ แสดงผลเป็นกราฟรูประฆังคว่ำ พบว่า IQ ที่ระดับ 91 ของเด็กไทย มีแนวโน้มที่จะเอียงไปทางซ้ายของกราฟ ซึ่งเป็นด้านที่ตรงข้ามกับระดับการแปรผลที่ฉลาดกว่า รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จากการศึกษาของ นพ.อีริค อาร์ แคนเดล จิตแพทย์รางวัลโนเบลในปี 2553 พบว่า การเรียนรู้ ความรู้ ความจำ ความคิด อารมณ์ สติปัญญา เกิดจากการที่เซลล์สมองแตกกิ่งมาเชื่อมต่อกันเป็นวงจร สมองส่วนที่มีการจัดระเบียบใยประสาทจะเพิ่มการเชื่อมต่อใหม่ๆเพิ่มขึ้นจำนวน มาก ขณะที่ใยประสาทส่วนที่ไม่ได้ใช้จะหายไป ใยประสาทส่วนที่ใช้บ่อยจะหนาตัวขึ้น ทั้งนี้ ทารกอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี จะเป็นช่วงที่สมองมีพัฒนาการมากที่สุด ดังนั้น การสร้างการพัฒนาสมองให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายใยประสาทที่แข็งแรงจะมีส่วน ทำให้เด็กมีระดับ IQ ที่เพิ่มขึ้นด้วย
ด้าน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า นอกจากระบบใยประสาทในสมองแล้ว ยังพบว่า สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการพัฒนาสมองของคนอย่างมาก การวิจัยในสัตว์และคนให้ผลยืนยันตรงกันว่า ความสามารถของสมองในการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า Neuro-Plasticity หมายถึง การที่เราใช้สมองส่วนใดบ่อยๆ สมองส่วนนั้นจะเจริญเติบโตได้ดี แต่หากเราไม่ได้ใช้สมองส่วนนั้นเลย นานๆเข้า สมองส่วนนั้นก็จะฝ่อไป
ในปีพ.ศ.2541 มีการศึกษาพบว่า หลังคลอดออกมา สมองเด็กทุกคนทั่วโลกจะมีรูปแบบที่เหมือนกัน แต่วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ และอบรมเลี้ยงดูต่างกัน
จะทำให้ IQ เด็กต่างกัน เซลล์สมองส่วนไหนที่ไม่ได้เชื่อมโยงกันจะถูกทำลาย ทำให้ประสิทธิภาพของสมองส่วนนั้นถูกทำลาย เช่นการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นจะหายไป
จึงมีการสรุปว่า จินตนาการของคนไทยหายไป เนื่องจากเราไม่ค่อยกระตุ้นให้เด็กฝึกคิด
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมอง
เด็กจำนวนมาก ระบุตรงกันถึงการกระตุ้นการใช้สมองที่เหมาะสม
เช่น การพบว่าสมองของเด็กในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้ามีบางส่วนเสียการทำงานไป คล้ายๆกับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือ เด็กที่ถูกทารุณกรรมจะมีระดับสารความเครียดในเลือดสูง หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ และจะมีปัญหาพัฒนาการสมอง อารมณ์ ความประพฤติ และการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ระบุว่า เด็กที่ได้รับการตอบสนองจากผู้เลี้ยงดูช้า เช่น ปล่อยให้ร้องไห้นานๆ หิวแล้วยังไม่ได้กิน เกิดความกลัวโดยไม่มีใครมาอยู่ใกล้ชิด ไม่มีใครมาสัมผัส
โอบอุ้ม เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตนเอง ไม่มั่นคงในชีวิต หวาดระแวง ฯลฯ
“ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์นั้น เซลล์ประสาทจะมีการสร้างขึ้นมากกว่าแสนล้านเซลล์ แต่ถ้าไม่มีการกระตุ้นจะด้วยการเสริมอาหาร หรือการเลี้ยงดู ที่เหมาะสม ก็จะขาดเครือข่ายเส้นใยประสาทที่ยื่นยาวออกมา ที่พร้อมจะส่งเสริมให้เด็กฉลาดและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้น”นพ.อภิชัย กล่าว
สาเหตุ
ระดับเฉลี่ยของสติปัญญาเด็กไทย ต่ำกว่า ในประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่นๆ ในโลกซึ่งอยู่ที่ 104 เรายังต่ำอยู่ค่อนข้างมาก หลายคนยัง เชื่อว่า เด็กไทยส่วนหนึ่ง ฉลาดมาก เพราะ เท่าที่เห็น ไปแข่งโอลิมปิกวิชาการ ทีไร กวาดชัยชนะทุกที แต่โดยภาพรวม ยังน่าห่วง
สำหรับสาเหตุหลักๆ น่าเกิดจาก
1. การขาดไอโอดีน ไอโอดีนมีผลต่อระดับ IQ
2. การศึกษา ไม่เอื้อต่อการพัฒนา อาจเป็นเพราะ หลักสูตร วิธีการสอน เทคโนโลยียัง
น้อยมาก 3G บ้านเรายังไม่มี
3. สภาพแวดล้อม ในการเลี้ยงดู
4. กรรมพันธุ์ไม่น่ามีผล เพราะ โดยหลักวิชาการ น่าจะ อยู่ในระดับสูง
จาก : OK Nation blog วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม 2553
Nov 18
Posted by malinee on Thursday Nov 18, 2010 Under ข่าวการศึกษา
กิจกรรม นิทานกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก
ภายใต้ โครงการศูนย์พัฒนาศักยภาพนิทานในการพัฒนาเด็ก
วิทยากร : อาจารย์ปรีดา ปัญญาจันทร์
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ : ณ ห้องประชุมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ค่าลงทะเบียน : 400 บาท (รวมอุปกรณ์/อาหารว่าง/อาหารกลางวัน)
กำหนดการ
08.30–09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-10.30 น. อบรม “นิทานกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก” บรรยายสลับกับ workshop (1)
10.30-10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น. อบรม “นิทานกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก” บรรยายสลับกับ workshop (2)
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น. กิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มพัฒนาการทางสมองของเด็กปฐมวัย “วาด-ตัด-ปะ ศิลปะ”
14.30-14.45 น. รับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 น. อบรม “สื่อภาษาเพื่อพัฒนาการอ่าน” บรรยายสลับกับ workshop
16.00 น. จบการอบรม