ช่วงของการปิดภาคเรียนจะเป็นช่วงที่เด็กๆ บางคนจะได้พัก ในความหมายของพวกเขาคือการนอนตื่นสาย เล่นเกมส์ได้ทั้งวัน ทั้งคืนได้โดยไม่ต้องรียตื่นเพื่อไปโรงเรียนในตอนเช้า หลายๆ ครอบครัวก็ถือว่าเป็นช่วงที่เด็กควรว้างสมาธิสั้นในได้พักผ่อนสมองบ้าง จึงปล่อยให้เขาอยู่กับความสุขของเขาในช่วงปิดเทอม จนเด็กติดเกมส์ มีความสุขกับจอสี่เหลี่ยม ไม่สามารถแยกจากมันได้

ปัจจุบันเรามักจะได้ยินกันเสมอ เด็กคนนั้นต้องเป็นสมาธิสั้นแน่ๆ อยู่ไม่นิ่งเลย ส่วนเด็กหลายๆ คนนั่งนิ่งเลย สมาธิดีจัง ใครผ่านไปมาไม่ได้สนใจเลย (ในมือ ถือ tablet ) หลายๆ คนเข้าใจว่าสมาธิสั้นเป็นพฤติกรรมที่อยู่ไม่นิ่งของเด็ก แต่ในนิยามทางการแพทย์ ได้จำกัดความคำว่าสมาธิสั้นได้
3 ประเภทดังนี้

  1. สมาธิสั้นประเภทที่ไม่สามารถควบคุมตนเองให้อยู่นิ่งๆ ได้นาน ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ชอบกิจกรรมผาดโผน เสี่ยงอันตราย
  2. สมาธิสั้นประเภท เหม่อลอย หรือเฉื่อย สมาธิสั้นประเภทนี้พบบ่อยในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ ชาย จะมีอาการของการเหม่อลอย ทำงานไม่มีความรอบคอบ ไม่สามารถจัดการกระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นระบบได้ เหมือนมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ แต่จริงๆ แล้วเหม่อลอยอยู่ ขาดสมาธิในการเรียนรู้ สมาธิสั้นประเภทนี้ ต้องสังเกตถึงจะพบพฤติกรรมดังกล่าว เพราะจะนั่งนิ่งได้นาน โดยไม่ได้ทำอะไรเลย การเรียนในชั้นเรียนจะถูกมองข้าม เพราะไม่ซน ไม่ดื้อ แต่จะเป็นเด็กที่เรียนอ่อน ตามเพื่อนไม่ทัน ทำงานช้า
  3. สมาธิสั้นแบบผสม เป็นสมาธิสั้นที่รวมทั้งสองแบบ แต่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ทั้งพฤติกรรมและคำพูด การกระทำ

สิ่งใดๆ จะขาดความยั้งคิด

สาเหตุของการเกิดความผิดปกติดังกล่าว มีงานวิจัยพบว่า การหลั่งสาร dopamine ที่เป็นสารที่หลั่งในระบบประสาทของสมองเพื่อช่วยควบคุมเรื่องพฤติกรรม สมาธิ การเรียนรู้ ให้กับเด็กคนนั้นมีระดับที่ต่ำกว่าปกติ ควบคู่กับการเลี้ยงดูของเด็กในครอบครัวนั้นๆ เนื่องจากสังคมในปัจจุบันที่มีความรีบเร่ง ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นทำให้เกิดความผิดปกติ อีกทั้งสิ่งเร้าที่มีอยู่มากมายรอบตัว อาการสมาธิสั้นของเด็กจะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก่อนวัย 7 ขวบ งานวิจัยพบว่า หากเด็กไม่ได้รับการปรับพฤติกรรมและได้รับการรักษา จะทำให้เขามีปัญหาในการเรียน เนื่องจากสมาธิที่เขาไม่สามารถควบคุมได้ และจะพอกพูนความไม่เข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เขาขาดความมั่นใจในการเรียน เบื่อหน่าย ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มอาการสมาธิสั้นลง ซึ่งได้แก่ อาหาร หรือขนมที่ให้พลังงานสูงๆ การปล่อยให้อยู่กับเกมส์ หรือทีวี สิ่งที่ควรทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มอาการ ได้แก่ การให้เขาได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การสร้างระเบียบวินัยให้เขาปฏิบัติตาม และการจัดบ้านให้มีระเบียบ

ไม่ว่าจะเป็นสมาธิแบบใด ก็ไม่สามารถหายได้ หากมีอาการมากขึ้น แพทย์จำเป็นที่จะต้องใช้ยา ซึ่งจะต้องใช้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต คงจะดีหากเราป้องกันไม่ให้บุตรหลานมีความผิดปกติดังกล่าว โดยการหลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความผิดปกติขึ้นตั้งแต่ในบ้าน ก่อนที่เขาจะเข้าสู่ปฐมวัยกันดีกว่า

Tags : , , , , , , , , | add comments

รังแกเราทำไม

Posted by malinee on Tuesday Jan 30, 2018 Under เกร็ดความรู้

เราทราบกันหรือไม่ว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ของการรังแกกัน โดยการใช้ความรุนแรงของเด็ก และกลุ่มที่ใช้สื่อทางเทคโนโลยีพวกโซเชียลในการทำร้ายเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง จากการเก็บข้อมูลพบว่าเด็กในกลุ่มที่เป็นเหยื่อจะเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มของเด็กพิเศษ ซึ่งจะถูกกลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกันเกเร รังแกโดยใช้ความรุนแรง ส่วนกลุ่มที่เป็นตัวการมักเป็นเด็กในกลุ่มที่ติดกับการเล่นเกมส์รุนแรง  ร่วมกับการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องพฤติกรรมจากครอบครัว จึงไม่มีความรู้สึกว่าสิ่งที่ตนเองทำเป็นเรื่องรุนแรง

ส่วนกลุ่มที่โตขึ้นจะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งเหยื่อ โดยนำเรื่องที่น่าอาย หรือแม้แต่การแต่งเรื่องแล้ว post  ขึ้นบนสื่อโซเชียล ให้เหยื่อได้รับความอับอาย ผลที่ได้คือเด็กในกลุ่มที่ถูกรั

แกทั้งสองกลุ่ม หากไม่ได้รับการแก้ไขเหยื่อจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า

หากไม่มีใครตระหนัก หรือร่วมกันแก้ไขปัญหา เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะแย่ลงเรื่อยๆ เพียงร่วมมือกัน ช่วยกันคนละเล็กละน้อย โดยการดูแลบุตรหลานไม่ให้เป็นเหยื่อ โดยการหลีกเลี่ยงปัจัยทุกอย่างที่ส่งผลให้บุตรหลานกลายเป็นเด็กพิเศษ และช่วยกันดูแล อบรมบุตรหลานให้เป็นคนดีไม่รังแกหรือทำร้ายผู้อื่นไม่ว่าจะทางใดก็ตาม

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

teaching_large          เคยสังเกตพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของบุตรหลานไหมว่า เป็นเด็กที่ชอบคิดโจทย์คณิตศาสตร์ในหลายๆ รูปแบบ หรือหยุดทุกครั้งเมื่อเจอกับโจทย์ปัญหา

การเรียนคณิตศาสตร์นั้น เราต้องเริ่มตั้งแต่วัยอนุบาล ซึ่งการเรียนจะเป็นการที่ครู หรือผู้ปกครองจะเป็นผู้ชี้แนะ หรือแนะนำวิธีการคิดคณิตศาสตร์ในขั้นพื้นฐานให้ ตั้งแต่การเชื่อมโยงตัวเลขให้เป็นรูปธรรม ไปจนถึงการนับ การบวก การลบ ซึ่งการเรียนในวัยนี้จะต้องพึ่งพิงครูเป็นผู้แนะนำวิธีการให้กับเด็กๆ เป็นหลัก คอยให้กำลังใจเมื่อเด็กๆ เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ยังคอยชื่นชมที่เด็กๆ ทำสิ่งใหม่ๆได้ จนถึงวัยประถม การแนะนำหรือการชี้แนะยังคงวิธีการจะเป็นการสอนในช่วงเข้าสู่บทเรียนใหม่ และจะต้องปล่อยให้เด็กได้ฝึกฝนและฝึกทักษะเพื่อให้เกิดประสบการณ์ หรือรวมไปถึงการประยุกต์ใช้วิธีที่ได้รับแต่สิ่งที่ถูกลืมคือ การคอยให้กำลังใจและชื่นชมที่ขาดหายไป การแนะนำจากครูผู้สอน เนื่องจากเมื่อเด็กเริ่มที่จะฝึกฝน มักจะเกิดข้อผิดพลาดในช่วงแรกได้บ้าง ครูหรือผู้ปกครองไม่ควรตำหนิในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เนื่องจากเด็กจะมีความรู้สึกกลัวที่จะเริ่มในสิ่งใหม่ๆ กลัวจะทำผิดเพราะจะถูกตำหนิได้ เมื่อเด็กถูกตำหนิ หรือลงโทษในข้อผิดพลาดบ่อยๆ ทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ควรเริ่มคิด หรือฝึกฝนอะไรด้วยตนเอง เพราะมักถูกตำหนิหรือลงโทษ เด็กที่อยู่ภายใต้ภาวะดังกล่าวจะไม่ยอมเริ่มเรียนรู้สิ่งใดๆ ด้วยตนเอง มักรอคอยการชี้แนะตลอดเวลาเป็นการเรียนแบบป้อน ซึ่งจะเป็นผลเสียกับการเรียนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคณิตศาสตร์ เพราะการเรียนคณิตศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องคิดวิธีการแก้ปัญหาในแบบต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มลำดับความยากมากขึ้นเรื่อยๆ ตามปีการศึกษาที่เพิ่มขึ้น การเรียนคณิตศาสตร์ในเด็กประเภทดังกล่าวจะย่ำอยู่กับที่และถอยหลังไปเรื่อยๆ เนื่องจากจะรอคอยการชี้แนะตลอดเวลา ไม่มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบด้วยตนเอง สิ่งที่ครูหรือผู้ปกครองควรทำคือ การชี้แนะให้เข้าใจว่าข้อผิดพลาดเกิดจากอะไร คอยให้กำลังใจ และชมเชยที่เด็กมีความพยายามในการฝึกฝนทักษะด้วยตนเอง ทำให้เด็กๆ ตองการที่จะฝึกทักษะและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

stock-photo-young-boy-playing-handheld-game-console-63526315สังเกตไหม ว่าทำไมลูกถึงมีพฤติกรรมที่ทดถอย ในช่วงวันหยุดยาวๆ เคยสังเกตพฤติกรรมบุตรหลานหรือไม่ว่าในช่วงที่เป็นช่วงวันหยุดยาวเช่น ช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือ สงกรานต์ หรือรวมถึงช่วงปิดเทอม ว่าพฤติกรรมการเรียน หรือพฤติกรรมโดยรวมทดถอยลง จากเด็กที่เคยมีสมาธิดี ร่าเริ่ง กลับกลายเป็นเด็กที่มีสมาธิน้อยลงเรื่อยๆ หรือมีพฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว

สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยหลักโดยทั่วไปที่ส่งผลให้เด็กๆ มีพฤติกรรมดังกล่าวคือการที่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ถือว่าเป็นช่วงวันหยุดพักผ่อนทั้งของตนเองและบุตรหลาน จึงปล่อยเวลาให้เด็กๆ อยู่กับกรอบสี่เหลี่ยมประเภท จอทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์มาก จนเด็กๆ ไม่สนใจกับการทำกิจกรรมอื่นๆ การเสพจอสี่เหลี่ยมที่ไม่ได้มีการจำกัดเวลา หรือมีกรอบของเวลาไว้ เด็กหลายๆ คนสมาธิก็เสียไปกับมันเลยทีเดียว จากเด็กที่เคยมีสมาธิ อยู่กับอะไรได้นานๆ สมาธิก็จะลดลงจนในที่สุด ก็อาจส่งผลให้เกิดสมาธิสั้นเนื่องจากการเลี้ยงดูในที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่ สังเกตพฤติกรรมที่ทดถอยของบุตรหลานได้ตั้งแต่ในช่วงต้นๆ ก็ยังพอสามารถที่จะหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที แต่ในยุคของเทคโนโลยี ที่ทุกคนต่างเร่งรีบในทุกกิจกรรม ยากนักที่จะรับรู้ถึงปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ในช่วงต้นๆ และเด็กๆ จะถูกละเลย จนปัญหาเรื่องสมาธิแก้ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่า เป็นปัญหาใหญ่จนแก้ไม่ได้ เพียงแต่ยิ่งปล่อยให้เวลานานเท่าไร ปัญหายิ่งทับถมทวีคูณ จนไม่ใช่เป็นปัญหาเพียงปัญหาเดียว อาจมีปัญหาอื่นซ้อนขึ้นมาได้ การแก้ปัญหาทำได้โดยการมีกรอบเรื่องเงื่อนของเวลามาเป็นเกณฑ์ ไม่ควรปล่อยให้เขามีกิจกรรมอยู่กับจอสี่เหลี่ยมเพียงอย่างเดียว ควรมีกิจกรรมที่เสิรมทักษะที่เหมาะกับวัย เพื่อให้เขาได้รู้สึกว่ามันน่าสนใจ มากกกว่าการนั่งจ้องเจ้าจอสี่เหลี่ยมไปตลอดวัน มาช่วยกันใส่กรอบให้กับเด็ก เพื่อให้เขาได้เรียนรู้เรื่องวินัยไปพร้อมๆ กัน ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า IQ และ EQ มาแล้ว เนื่องจากในข่วง 2 – 3 ทศวรรษที่ผ่านมา มักมีข่าวมากมายเกี่ยวกับนักศึกษา หรือแม้แต่นักบริหาร ที่มีความรู้ความสามารถสูง มีประวิติผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม ต้องจบชีวิตลงด้วยเรื่องของความผิดหวังเพียงเล็กน้อย (ในสายตาของคนอื่น) ทิ้งไว้แต่ความฉงนของคนที่ได้ข่าวว่า ทำไมคนกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้ ความรู้ความสามารถ ที่มีอยู่มาแก้ไขปัญหา  ซึ่งกลุ่มคนกลุ่มนี้ในยุคนั้นมักถูกเรียกว่า “คนที่มี IQ สูง” หลังจากนั้นเป็นต้นมา ก็มีงานวิจัย นอกจากนี้ยังมีการสืบค้นประวัติการเลี้ยงดูในวัยเด็ก แลการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงดู หรือสังเกตพฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ในอนาคต

หลังจากนั้น คำว่า “EQ” จึงเกิดขึ้น และนักจิตวิทยาจะให้ความสำคัญของ EQ ใกล้เคียงกับ IQ แต่ในการศึกษาทางด้านจิตวิทยาแล้ว ยังมี Qs อื่น ๆ ที่เราไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่ดี เหมาะสมกับวัย และการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขเมื่อเติบโตขึ้น

ครู จา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

    จากหนังสือเรื่อง ‘Don’t Give Me That Attitude’  โดย Dr. Michele Borba  เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาของ พฤติกรรมเด็กในปัจจุบัน โดยมีการจำแนกประเภทของทัศนคติที่แย่ลงของเด็กตามกลุ่ม คือ หยาบคาย , ขี้เกียจ , ไม่ใส่ใจในเรื่องการเรียน   

    ก่อนอื่นมาดูสาเหตุก่อนว่า ทำไมในปัจจุบันเราจึงพบพฤติกรรมดังกล่าวมากขึ้น ประการแรก ในปัจจุบันเราจะพบว่ามีสิ่งกระตุ้นมากมายที่มีผลต่อพฤติกรรม คือ สื่อ ซึ่งสื่อต่าง ๆ ในปัจจุบัน มักจะแฝงความก้าวร้าว หยาบคาย การแก่งแย่ง เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม ประการที่สอง คือ เทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  ซึ่งทำให้คนในปัจจุบันได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่กลับทำให้เกิดขีดจำกัดในเรื่องของความอดทน การรอคอย ซึ่งส่งผลให้เกิดความเร่งรีบในทุก ๆ เรื่อง อย่างในบางเรื่องที่ควรฝึกฝนเด็กเพื่อให้เกิดนิสัย หรือวินัย ก็ถูกมองข้ามว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ซึ่งผู้ใหญ่มักจะทำให้เด็กเองโดยคิดว่าจะได้ไม่เสียเวลาเพราะผู้ใหญ่สามารถทำให้เด็กแล้วใช้เวลาน้อยกว่า จนเด็กไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำอะไรด้วยตนเอง แม้แต่เรื่องง่าย ๆ เช่น การวางเสื้อผ้าในตะกร้าที่จะซัก

    จากสาเหตุหรืออิทธิพลต่าง ๆ จึงกลายเป็นการสร้างนิสัย หรือ พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์เมื่อเขาโตขึ้น ดังนั้นหากเราคิดจะแก้ปัญหาต่าง ๆ เราควรเริ่มที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องช่วยกันฝึกหรือปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก

จาก Ezine.com

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments