เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เป็นการประกาศผลการสอบ o-net ของนักเรียนชั้น ป。6 ,ม。3 และม。6 ซึ่งผู้ปกครองหลายๆ คน มักมีคำถามการสอบ o-net เป็นการสอบเพื่ออะไร มีประโยชน์หรือจุดประสงค์ใด

เรามาดูแนวคิดและจุดประสงค์ของการสอบกัน

วัตถุประสงค์ของการสอบ O-net
1. เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียน ป.6, ม.3 และ ม.6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

  1. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
  2. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
  3. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
  4. เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการตัดสินผลการเรียนของผู้ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
  5. ใช้เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และสถาบันอุดมศึกษา

จากวัตถุประสงค์ของจัดสอบนั้น มีจุดมุ่งหมายที่ดี หากได้มีการดำเนินปรับปรุงแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของเด็กหรือพัฒนาการเรียนรู้ตามนโยบายให้ดีขึ้น

แต่จากผลการสอบมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เห็นนโยบายในการพัฒนาการทางด้านการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมให้เห็นอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่วิเคราะห์ได้คือ นโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นนโยบายที่ล้มเหลว ซึ่ง ครูได้มีโอกาสได้คุยกับนักเรียนที่อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาที่ได้รับนโยบายดังกล่าว เด็กๆ จะไม่มีการเรียน ไม่มีกิจกรรม ในคาบสุดท้าย แล้วครูถามว่าแล้วเด็กๆ ทำอะไร คำตอบที่ได้คือ การท่องโลกอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เค้าเหล่านั้นอย่างอิสระ  ในปีนี้ ผลคะแนนเฉลี่ยของเด็กในกรุงเทพเอง มีเพียงภาษาไทยและสังคมศึกษาเท่านั้น ที่มีคะแนนมากกว่า 50% ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเห็นผลคะแนนเฉลี่ยในระดับประเทศแล้ว เหลือเพียงภาษาไทยวิชาเดียวที่เกินครึ่ง ที่เหลือคะแนนจะอยู่ระหว่าง 30 – 45% เท่านั้น ซึ่งคะแนนที่ครูนำมาอ้างอิงเป็นคะแนนในระดับป。6 เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน เมื่อค่าเฉลี่ยต่ำตั้งแต่ในช่วงชั้นประถม เราก็จะเห็นแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยในระดับที่สูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเลย  badgradeclipart

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

วันนี้เป็นวันสอบ TEDET ของเด็กหลายๆ โรงเรียน ผู้ปกครองหลายๆ คนก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นการสอบเพื่ออะไร รู้แต่เพียงว่าเป็นการสอบคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่ไม่มีความเข้าใจว่าเป็นการสอบเพื่ออะไร ส่วนตัวเด็กซึ่งเพิ่งสิ้นสุดการสอบปลายภาค แล้วยังต้องสอบนอกรอบอีก ซึ่งเป็นวิชาหลัก โดยมีข้อสอบที่ค่อนข้างยากอีก จะสอบไปเพื่ออะไร

คราวนี้เรามารู้จักการสอบ TEDET กันว่าคืออะไร TEDET เป็นโครงการประเมินและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการ TME ซึ่งโครงการนี้จัดสอบคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาปีที่ 2 –มัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาปีที่ 3 –มัธยมศึกษาปีที่ 3    ข้อสอบจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นข้อสอบเพื่อการวัดความรู้พื้นฐานในระดับชั้นนั้นๆ และ อีกส่วนเป็นข้อสอบวัดอัจฉริยภาพหรือการประยุกต์เนื้อหาการเรียนเพื่อการแก้ไขปัญหา

เมื่อรู้จักการสอบ TEDET แล้ว  มาดูความสำคัญของการสอบ การประเมินผลนอกจากจะเป็นการประเมินรายบุคคลแล้วยังมีการเปรียบเทียบกับกลุ่มโรงเรียน เด็กในระดับชั้นเดียวกันทั่วประเทศ การสอบดังกล่าวน่าจะเป็นผลดี เพื่อให้ผู้ปกครองที่ต้องการทราบว่าบุตรหลานมีอัจฉริยภาพ หรือบุตรหลานสามารถประยุกต์ใช้เนื้อหาที่เรียนมาในการแก้โจทย์ปัญหาได้ดีเพียงใด

เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ร่วมกันระหว่า สสวท กับประเทศเกาหลี ข้อสอบจะเป็นข้อสอบกลางที่เหมือนกันที่ส่งตรงมาจากประเทศเกาหลี ซึ่งเมื่อกล่าวถึงช่วงเวลาในการสอบนี้ ไม่เหมาะสมกับช่วงเวลาการเรียนการสอนของบ้านเรา ซึ่งเมื่อเทียบกับการเปิดเรียนของโรงเรียนอินเตอร์ หรือ ต่างประเทศเป็นช่วงของภาคการศึกษาใหม่ การสอบจึงเป็นการสอบย้อนเนื้อหาเดิมทั้งหมด แต่บ้านเราเป็นการเปิดภาคการเรียนการสอนไปเพียง 1 ภาคการเรียนเท่านั้น ยังมีความรู้บางเรื่องที่เด็กๆ อาจยังไม่เรียนมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อสอบ จึงมีผลให้เด็กๆ ได้ผลประเมินในเรื่องของความรู้พื้นฐานต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อความรู้พื้นฐานยังเรียนไม่ครอบคลุม ก็ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ นอกจากช่วงเวลาที่แตกต่างกันแล้ว ยังมีการเน้นเนื้อหาในการเรียนรู้ หรือจุดประสงค์ของการเรียนรู้ระหว่างของบ้านเรากับต่างประเทศก็แตกต่างกัน ซึ่งก็ยังเป็นอีกปัจจัยหลักที่มีผลต่อการประเมินเช่นกัน หากจะมีการสอบในแนวนี้  ควรเลือกช่วงเวลาที่เด็กๆ ได้เรียนจบเนื้อหาในชั้นปีนั้นๆ ก่อน หรือเป็นการสอบย้อนเนื้อหา น่าจะเป็นธรรมกับเด็กไทยมากกว่า

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เด็กยุคใหม่หัวใจอินเตอร์ ร้อยละ 70 – 80 ของครอบครัวยุคนี้ เปิดโอกาสให้ลูกหลานของตัวเองได้ใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูงกันอย่างกว้างขวางไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กอนุบาล ทำให้คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของสิ่งของนอกกายมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ ซึ่งหากพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้รู้เท่าทันและรู้จักเลือกใช้ไปในทางสร้างสรรค์ เช่นเพื่อการหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ก็จะทำให้เด็ก ๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเครื่องมือดังกล่าว แต่เท่าที่เห็นในสังคมไทยเรานั้น การมีเทคโนโลยีดังกล่าว ก็เพียงเพื่อให้ตนเองได้ใช้มันเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาตนเองว่า “เราก็มีเหมือนกับคนอื่น ๆ” ซึ่งแท้จริงแล้วถามว่าได้นำเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์นั้น ๆ ไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับราคาแล้วหรือยัง? หรือเพียงแต่ถือพกให้ดูโก้เก๋เท่านั้น ซึ่งค่านิยมดังกล่าวนี้เป็นเพียงเปลือกให้กับคนที่ไม่มีหลักยึดใดๆ จำเป็นต้องอาศัยทรัพย์สมบัติหรือสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อให้ตนเองมีความรู้สึกว่าตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งในสังคม เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปก็จะต้องพยายามที่เกาะติดสถานการณ์ไม่ให้หลุดกระแสนิยม ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าเทคโนโลยีต่าง ๆ มาจากต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา และไทยก็เสียดุลการค้าตลอดเวลาเช่นกัน
ค่านิยมของเด็กรุ่นใหม่ก็เช่นกัน เด็กรุ่นใหม่เกิดอยู่บนสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพ หนำซ้ำบางบ้านยังมีพี่เลี้ยงคอยประเคนทำทุกอย่างให้ เวลาที่เด็กอยากได้อะไรก็ได้มาโดยง่าย ทำให้เด็กในปัจจุบันส่วนใหญ่ขาดความพยายาม และความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ขาดความอยากรู้อยากเห็น เพราะมุ่งความสนใจของตนเองไปอยู่กับเฟอร์นิเจอร์ที่มาประดับตกแต่งตนเองให้ดูดี สิ่งเหล่านี้เกิดเพียงเพราะผู้ใหญ่ปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ ให้กับเค้าตั้งแต่ในวัยเด็กโดยไม่รู้ตัว หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ครั้นเมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการเรียนที่ยากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ผู้ปกครองไม่ได้สอนให้เด็กคิดอย่างเป็นระบบอย่างเป็นเหตุเป็นผล เด็กก็ไม่ยอมคิดและมองไม่เห็นประโยชน์ในการเรียน เด็กเห็นแต่สิ่งของมีค่านอกกายให้ความสำคัญกับวัตถุนิยมภายนอก เด็กจึงเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ในการเรียน ปัญหาที่ตามคือปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม และทวีความรุนแรงเป็นปัญหาสังคมที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนยากที่ใครจะมาแก้ไขทันเพราะมันกลายเป็นปมขนาดใหญ่ที่ถูกมัดติดกันหลายๆ ครั้งจนยากที่จะแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เราสามารถร่วมมือกันแก้ไขได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ โดยผู้ใหญ่จะต้องตระหนักว่าลูกหลานของเราจะต้องเติบโตขึ้นเพื่อเป็นผู้ใหญ่ต่อไปในอนาคต และหากพวกเขาเหล่านั้นติดอยู่กับเทคโนโลยีที่เราจะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศตลอดเวลาเช่นนั้น แล้วประเทศจะเหลืออะไร อนาคตลูกหลานเราจะเป็นอย่างไร ดังนั้นสิ่งที่พอจะทำได้ในฐานะของผู้ใหญ่ คือ เปลี่ยนวิถีชีวิตให้กลับมาเป็นแบบพึ่งตนเองและพอเพียง
……………….อนาคตของประเทศชาติและลูกหลานของเราอยู่ในมือของเราทุกคน…………………….

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments