มีข้อสงสัยมากมายว่าการเรียนจินตคณิตจะมีประโยชน์กับเด็กจริงหรือ  หลายๆ ครั้งที่ครูได้มีโอกาสได้ให้ข้อมูลมาบ้างแล้วว่า การเรียนจินตคณิตเป็นการเสริมสร้างพัฒนาสมอง และยังเพิ่มสมาธิให้กับผู้เรียนได้อีกด้วย

การเรียนจินตคณิตในแต่ละวัยการเรียน จะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากในวัยอนุบาล เด็กจะเริ่มจากการเรียนรู้เรื่องจำนวนให้เป็นรูปธรรมผ่านการใช้ลูกคิด โดยการขยับลูกคิดขึ้นลง ในช่วงเวลาหนึ่ง การใช้ลูกคิดจะเริ่มมีการแต่ในวัยประถมการใช้ลูกคิดจะมีการแทนค่าประจำหลักในแต่ละหลัก นอกจากลูกคิดจะใช้ในการบวกลบได้แล้ว เรายังสอดแทรกทฤษฏีทางคณิตศาสตร์ได้โดยการให้เด็กๆ ได้ดีดบวกซ้ำๆ และให้เค้าได้เรียนรู้ว่าการบวกซ้ำๆ ก็คือการคูณนั่นเอง (โดยให้เค้านับจำนวนครั้งของการดีด เช่น บวกทีละ 2 จำนวน 8 ครั้ง นั่นคือการบวกกัน  8 ครั้งของ 2 นั่นคือ 8 x 2 ซึ่งได้คำตอบคือ 16 นั่นเอง) ในการหารก็เช่นเดียวกัน

จากตารางและกราฟด้านล่างเป็นการนำเสนอข้อมูลของการคิดเลขในกระบวนการที่แตกต่างกัน นั่นคือ เราจัดเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นเด็กที่ผ่านการเรียนจินตคณิต ส่วนอีกกลุ่มเป็นเด็กที่เรียนการคิดเลขในแบบปกติ โดยการวิจัยครั้งนี้ ครูได้ทำงานวิจัยในโรงเรียนอนุบาล (ในแนวเร่งเรียน) แห่งหนึ่ง จากผลการวิจัยพบว่า เด็กที่เรียนจินตคณิตจะทำคะแนนสูงกว่าเด็กที่ใช้วิธีการคิดแบบปกติมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก อนุบาล 2 เราจะเห็นสัมฤทธิผลของการคิดเลขแตกต่างกันอย่างมาก นอกจากนี้แล้วจากตารางที่แสดงคะแนนเฉลี่ย เป็น %  ยิ่งชี้ให้เห็นว่า การคิดคำนวณของเด็กที่เรียนจินตคณิตนั้น ถูกต้องและแม่นยำกว่าการคิดคำนวณในแบบปกติมาก

จากการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้น เราจะพบว่า นอกจากจินตคณิตจะช่วยเรื่องการคำนวณของเด็กแล้ว ยังส่งผลถึงสมาธิของเด็กๆ อีกด้วย เมื่อเด็กมีสมาธิที่ดี การเรียนรู้ของเค้า ก็จะมีประสิทธิภาพด้วยช่นกัน

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

35-Abacus_example          มีคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการเรียนจินตคณิตหลายๆ คำถาม แต่ครั้งนี้ขอมาที่ประเด็นที่ว่า หลังจากเด็กโตขึ้นแล้ว ก็ไม่ได้ใช้แล้ว ดังนั้นจึงมักมีคำถามว่า การเรียนจินตคณิต จะเป็นการเรียนที่เปล่าประโยชน์หรือไม่ จากที่ได้กล่าวมาในบทความก่อนๆ ว่าการเรียนจินตคณิตนั้นจะสอดคล้องกับวัยที่เริ่มเรียนด้วยเช่นกัน เช่น หากเรียนในวัยอนุบาล จินตคณิตจะเป็นการเรียนที่นำการเรียนคณิตศาสตร์ในโรงเรียน ซึ่งเมื่อเขาโตขึ้น เขาจะมีวิธีคิดคณิตศาสตร์ผ่านการใช้ลูกคิด แต่หากเริ่มเรียนในชั้นประถมต้น การเรียนจินตคณิตจะเป็นการเรียนคู่กับคณิตศาสตร์ในโรงเรียน ซึ่งเด็กๆ จะต้องเลือกการคิดคำนวณที่เขาถนัดกว่ามาใช้ (หากเขาถนัดการใช้จินตนาการ เขาก็จะใช้วิธีคิดแบบลูกคิด) และยิ่งเขาเรียนในวัยที่จินตคณิตตามหลังการเรียน คณิตศาสตร์ในโรงเรียน น้อยคนนักที่จะนำวิธีการจินตนาการไปใช้ (เนื่องจากการจินตนาการนั้น เด็กจะต้องใช้สมาธิมากการคิดเลขแบบปกติ เนื่องจากต้องจินตนาการเป็นภาพ แต่เขาอาจคิดในใจโดยใช้สูตรลูกคิดเข้ามาช่วย) แต่ไม่ใช่ว่าการเรียนในระดับที่โตขึ้นจะไม่ได้ผลเสมอไป เนื่องจากการเรียนจินตคณิตในหลายๆ ประเทศเป็นที่นิยมมาก และนอกจากนี้แล้ว หากการเรียนจินตคณิตไม่ให้ผลสัมฤทธิ์กับเด็กจริงๆ มันน่าจะหายไปตามกาลเวลา แต่ยังมีการเรียนการสอนมาจนถึงปัจจุบันในหลากหลายประเทศ

นอกจากวัยที่เริ่มเรียนจะมีผลต่อความถนัดแล้ว การฝึกฝนอย่างต่อเนื่องก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่ทำให้ความคุ้นเคย หรือความถนัดเกิดขึ้นเช่นกัน เปรียบเหมือนกับการเรียนภาษาที่สอง หรือที่สาม หากเด็กเรียนภาษาแล้ว ไม่ได้รับการฝึกฝน ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน หรือเขียน หากเรียนเพียงอย่างเดียว แล้วขาดการฝึกฝน หรือการใช้งาน เด็กก็จะลืมในที่สุด แต่หากได้ใช้งานทุกวัน ทักษะนั้นก็จะติดตัวเขาไป จะนำมาใช้เมื่อใดก็ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเรียนอะไร ควรได้รับการฝึกฝนจนติดตัว เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , | add comments

untitled            หลายครั้งที่เขียนเกี่ยวกับแนวการเรียนการสอนจินตคณิตไปแล้ว คราวนี้จะเป็นเรื่องของวัยที่เหมาะสมกับการเรียนจินตคณิต

อันที่จริงแล้วการเรียนจินตคณิตไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องว่าเด็กโตแล้วเรียนไม่ได้ แต่สำหรับเด็กที่เล็กเกินไป เป็นข้อจำกัดเรื่องกล้ามเนื้อมือเป็นหลัก

คราวนี้มาดูที่รายละเอียดกันว่าการเรียนจินตคณิตสำหรับวัยไหนที่เหมาะสมที่สุด เริ่มตั้งแต่ปฐมวัย หรืออนุบาลก่อน เนื่องจากเด็กอนุบาลการเรียนคณิตศาสตร์จะเริ่มตั้งแต่จำนวนและตัวเลข แล้วจึงค่อยพัฒนาเข้าสู่การเรียนการบวก-ลบ การเรียนจินตคณิตจะเป็นการแนะนำตัวเลขให้กับเด็กได้จับต้องได้เป็นรูปธรรม และยังเป็นการนำการบวกเพิ่ม หรือการลด ให้เด็กได้มีความเข้าใจถึงการบวก-ลบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงถือว่าการเรียนจินตคณิตโดยใช้ลูกคิดเป็นสื่อนำให้เขาเข้าใจในการเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างดี  วัยประถม(ต้น) เป็นวัยที่การเรียนจินตคณิตจะเป็นการจัดระบบความคิด ทั้งเรื่องของค่าประจำหลัก และการบวก-ลบ คูณ หาร ซึ่งเด็กบางคนที่มีปัญหากับคณิตศาสตร์อาจมีผลเนื่องจากความไม่เข้าใจเรื่องค่าประจำหลัก การบวก-ลบ เลขขอยืม ซึ่งในการเรียนลูกคิดจะเห็นเป็นภาพที่ชัดเจน และเด็กๆ จะสามารถปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง  แต่ในเด็กประถม(ปลาย) ส่วนใหญ่จะมีกระบวนการคิดคำนวณคณิตศาสตร์ที่คล่องแล้ว การใช้ลูกคิดจะถือว่าตามหลังสิ่งที่เขารู้มาแล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียน เพราะเป็นสิ่งที่ตนเองเรียนรู้จนชำนาญแล้ว จึงไม่แนะนำให้เด็กประถม(ปลาย) เรียนจินตคณิตสักเท่าใด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาจะเรียนไม่ได้ เพียงแต่ผลสัมฤทธิ์ที่จะนำไปใช้ ช้ากว่าบทเรียนคณิตศาสตร์ที่เรียนในโรงเรียน แต่เนื่องจากผู้ปกครองหลายๆ คนมักเข้าใจว่าเด็กประถม(ปลาย)ที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์เกิดจากการคิดคำนวณผิดพลาด ควรได้รับการแก้ไข แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กที่มีปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ อาจไม่มีปัญหาการคำนวณเลยก็เป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กโตจะอยู่ที่ความเข้าใจเป็นหลัก หากจะแก้ปัญหาจริง ๆ ต้องหาสาเหตุที่แท้จริงกันก่อนจะเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ในการเรียนที่ไม่ได้แก้ปัญหาผิดทาง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

math-clip-art-kid-holding-calculator            มักมีข้อสงสัยมากมายกับการเรียนจินตคณิต คำถามหนึ่งที่มักถูกถามบ่อยๆ คือ เมื่อเลิกเรียนแล้วเด็กจะลืมไหม? สิ่งที่ต้องตั้งคำถามกลับไปก่อนที่จะตอบคำถามคือ เขาได้นำมันไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือการเรียนคณิตศาสตร์บ้างหรือไม่ การเรียนจินตคณิตจนถึงขึ้นที่สามารถจินตนาการเป็นภาพลูกคิดได้นั้น เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด ในการเรียน แต่เมื่อเด็กเรียนจนสามารถจินตนาการได้คล่องแล้ว  ก็เปรียบเสมือนการพกเครื่องคิดเลขล่องหนในหัว ซึ่งไม่มีใครสามารถขโมยมันไปได้ แต่มันก็มีแนวโน้มที่จะเสื่อมได้ ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้แบตเตอร์รี่เครื่องคิดเลขเครื่องนี้ไม่เสื่อม หรืออยู่ทนได้ ก็คือการที่เด็กต้องใช้มันทุกๆ วัน เพื่อเป็นการเพิ่มทั้งความแม่นยำและความเร็วให้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันหากคุณพ่อคุณแม่ ส่งให้บุตรหลานเรียนจินตคณิต แต่ไม่มีการเชื่อมโยง หรือประยุกต์ให้เด็กได้นำไปใช้ เขาก็จะไม่ได้มีการฝึกฝนแบบเป็นกิจวัตร มันจะทำให้หน่วยความจำในเครื่องลดลงและเสื่อมไปในที่สุด

ดังนั้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองต้องการประโยชน์สูงสุดในการเรียน ซึ่งการเรียนจนิตคณิตเปรียบได้กับการติดอาวุธล่องหนให้กับบุตรหลานแล้ว เพียงแต่สอนวิธีใช้ในช่วงแรก เพื่อให้เขามีความมั่นใจ และเชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างจินตคณิตกับคณิตศาสตร์ เท่านี้ก็เป็นการติดอาวุธสมองให้เจ้าตัวน้อยได้แล้ว

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments