พูดถึงวิชาคณิตศาสตร์แล้ว เด็กๆ หลายคนไม่ชอบเท่าไรนัก แต่มันเป็นหนึ่งในวิชาหลักที่พวกเค้าจะต้องเรียนไปจนกว่าจะจบมัธยมต้น แต่กลับกลุ่มเด็กอีกหลายๆ คนที่เป็นกลุ่มของเด็กที่เรียกว่ามี sense ทางคณิตศาสตร์จะวิ่งเข้าใส่ ไม่ว่าโจทย์จะพลิกแพลงยังไง รูปแบบไหน เขาเหล่านี้ไม่เคยถอย คณิตศาสตร์เป็นอาหารสมองอันโอชะของเขาเหล่านั้น จากสถิติหลายๆ สำนักมักพบว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์ดี จะมีคะแนนวิทยาศาสตร์ดีด้วยเช่นกัน เด็กในกลุ่มนี้จะมีความโดดเด่นในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มากกว่าเด็กปกติ โดยปกติเราจะพบเด็กที่มี sense ทางคณิตศาสตร์ไม่มากนัก

            สอนเด็กที่ไม่มี sense คณิตศาสตร์ให้มี sense ได้หรือไม่ ต้องบอกก่อนว่าการที่บุตรหลานของเราไม่มี sense ทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด เพียงแต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่ทำให้เค้าเกิดทัศนคติทางด้านลบกับคณิตศาสตร์ ค่อยๆ ให้เค้าได้เรียนรู้คณิตศาสตร์รอบตัวผ่านประสบการณ์จริง ถึงแม้เด็กที่มี sense ทางคณิตศาสตร์หากเจอครูที่ทำให้ทัศนคติทางคณิตศาสตร์เสียไป ก็อาจจะทำให้เขาเสียเวลาอยู่นานกว่าจะค้นพบตัวตนของตัวเอง การฝึกฝนเป็นวิธีหนึ่งที่เพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ ทุกคน ยิ่งฝึกมากความถนัดหรือทักษะก็มากขึ้นตามไปด้วย อาจจะจริงที่คนที่ไม่มี sense อาจต้องใช้เวลามากกว่า หรือแบบฝึกหัดที่มากกว่า แต่เราก็สามารถฝึกให้เด็กทุกคนมีกระบวนการคิดให้เป็นระบบ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นอย่ากังวลว่าบุตรหลานจะสู้กับเด็กคนอื่นไม่ได้ ความถนัดของคนแต่ละคนแตกต่างกัน คนทุกคนไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกัน หรือเก่งเท่ากัน สิ่งที่สำคัญคือ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่เปรียบเทียบบุตรหลานของตนเองกับเพื่อนคนอื่นๆ มันเป็นเหมือนดาบ 2 คม ถ้าเค้าอยู่แนวหน้าของห้อง เขาจะไม่มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่หากเค้าอยู่แนวกลางค่อนหลัง เค้าจะรู้สึกว่าเขาสู้ใครไม่ได้ และไม่มีความภูมิใจในตัวเอง (ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ สร้างขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก) หากเขาถูกทำลายด้วยคะแนน หรือวิชาที่เขาไม่ชอบ เขาจะไม่มีทางค้นหาตัวเองเจอ ว่าเขาทำอะไรได้ดี   ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองทำได้คือ การให้กำลังใจในสิ่งที่เค้าทำเต็มที่ โดยไม่ควรคำนึงถึงผลว่ามันจะออกมาอย่างไร และคอยสังเกตในสิ่งที่เขาทำได้ดี และส่งเสริมทางด้านนั้นๆ (ไม่ใช่เกมส์ online) เพราะในกระบวนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดไม่ได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เช่น เสื้อจะต้องมีทั้ง designer , ช่างตัด , ช่างปัก ซึ่งในแต่ละทีมไม่ได้ใช้พนักงานคนเดียวกันทำเลยแม้แต่อย่างเดียว เพราะฉนั้นความถนัดหรือความชอบ ของเด็กแต่ละคน มันคือ sense ในแต่ละด้านที่เค้ามีแตกต่างกันไปเพียงเท่านั้นเอง…..

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

5070402-head-silhouette-and-gears-mental-health-concept            ผู้ปกครองหลายๆคน ยังคงมีข้อสงสัยว่าจินตคณิตกับการคิดในใจเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สิ่งที่เหมือนกันของการคิดในใจกับจินตคณิตก็คือ ผลลัพธ์ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ วิธีการที่แตกต่ากัน มาดูการคิดในใจกันก่อน การคิดในใจคือการคิดคำนวณด้วยจำนวน โดยที่เด็กที่จะคิดในใจได้จะต้องมีทักษะ หรือครูชี้แนะวิธี เช่น 27 + 9  การ +9 ทำได้โดยการ  + 10 ก่อน แล้วค่อย -1 ซึ่ง 27 + 1สิบ (การบวก 1 ในหลักสิบ) ก็จะได้ 37 แล้วลดลง 1 (เนื่องจากบวกเกินไป 1) ก็จะได้ผลลัพธ์คือ 36  หรือการคิดในใจแบบการลบ ก็ทำได้เช่นกัน เช่น  22 – 8 การ -8 ทำได้โดยการ – 1 สิบ แล้ว +2 นั่นคือ 22 – 1สิบ จะได้ 12 แล้ว + 2 (การลบ 10 เป็นการลบเกินไป 2 ก็ต้องบวกกลับเข้ามา 2)ผลลัพธ์ก็คือ 14 นั่นเอง ซึ่งในการฝึกคิดเลขในใจ จะเห็นว่าเด็กจะต้องมีความเข้าใจอย่างแม่นยำในเรื่องของค่าประจำหลัก จึงจะทำให้เด็กมีการคำนวณที่ไม่ผิดพลาด

ส่วนจินตคณิตนั้น เป็นการคิดคำนวณเป็นภาพลูกคิด มีการเคลื่อนเม็ดลูกคิดขึ้นลง 4 มิติ การเห็นภาพเคลื่อนไหวของเม็ดลูกคิด (เราเรียกกันว่าการจินตนาการ) นั้น ทำให้เด็กสามารถจดจำคำตอบได้อย่างแม่นยำ หากเปรียบเทียบการคิดเลขในใจ กับการจินของจินตคณิต การคิดในใจเหมือนการอ่านวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องใช้ประสบการณ์ในการอ่านเพื่อทำความเข้าใจมาวิเคราะห์เป็นตัวหนังสือที่เป็นความเข้าใจของตัวเองอีกครั้ง ส่วนจินตคณิตเปรียบเหมือนกับการดูการ์ตูนที่เป็นภาพเคลื่อนไหวของเด็ก เด็กจะสามารถจำภาพเคลื่อนไหวได้ดีกว่า (ในเด็กเล็ก) การคิดเป็นจำนวน

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

            coins            ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง กับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้เด็กในปัจจุบันขาดประสบการณ์ในบางเรื่องที่เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้สังเกต หรือนึกถึง ตัวอย่างง่าย ๆ คือ ในการเรียนเรื่องเงินของเด็กในประถมต้น ยังมีหน่วยของ 50 สตางค์ และ 25 สตางค์อยู่ แต่ในชีวิตความเป็นจริง โอกาสที่เด็กจะได้พบหรือใช้กับเหรียญทั้งสองชนิดนี้แทบไม่มีแล้ว เนื่องจากในชีวิตประจำวันของพวกเขา เช้ามาพ่อแม่ผู้ปกครองก็ให้เงินเป็นธนบัตร หลังจากนั้นก็พาขึ้นรถ(ส่วนตัว) ซึ่งไม่ใช่รถโดยสารประจำทางที่จะต้องมีการจ่ายค่าโดยสารเป็นสตางค์ พอมาถึงโรงเรียน โรงเรียนบางโรงเรียนก็ให้เด็กนำเงินไปแลกเป็นชิพ ไม่ได้ใช้เงินที่จะต้องแลกเปลี่ยน หรือทอนกลับมา นี่เป็นเพียงตัวอย่างของหัวข้อในการเรียนเพียงหัวข้อเดียวซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะใกล้ตัวเด็กมากที่สุด แล้วในหัวข้ออื่น ๆ เช่นเรื่องมาตราชั่ง ตวง วัด (ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่กระเถิบออกมาจากเรื่องเงิน) วิถีการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน ยากนักที่จะพาลูกเดินตลาดที่ยังมีตาชั่งในรูปแบบของเข็ม แต่จะเป็นการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าที่มีตาชั่งแบบดิจิตอล หากในช่วงเวลาของการจับจ่ายของ ของผู้ปกครองสามารถเชื่อมโยงความรู้ในตำรา หรือคอยเสริมประสบการณ์ในห้างสรรพสินค้าแล้ว หัดให้เด็ก ๆ ได้รู้จักปริมาณ ปริมาตร หรือน้ำหนัก ให้เขาได้รู้ว่าสิ่งที่เรียนไม่ได้อยู่แต่ในตำราเท่านั้น มันมีความเกี่ยวโยงในชีวิตประจำวัน เขาก็จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริงเหล่านี้ มาเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในช่วงของการเรียนได้เป็นอย่างดี

                        ความไม่เข้าใจในการเรียนที่มีอยู่แต่ในหนังสือเรียน ไม่มีการนำอุปกรณ์ เป็นตัวอย่างในชั้นเรียน ไม่เห็นภาพหรือของจริงที่จับต้องได้ หรือนำมาเปรียบเทียบกัน หากเราจะทำให้เด็กมีความเข้าใจง่ายขึ้นนั้น เราจำเป็นจะต้องเพิ่มประสบการณ์ชีวิตให้เด็ก ๆ บ้างในวันหยุดสุดสัปดาห์ หากเขาได้มีประสบการณ์หรือการเห็นตัวอย่างที่แท้จริง เพียงเท่านี้ก็เป็นตัวช่วยให้เด็กมีความเข้าใจ ที่ได้จากประสบการณ์ที่มากขึ้นได้

 

 

 

 

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

time_flies_2ปัญหาของพ่อแม่ผู้ปกครองหลาย ๆ คน ในช่วงปิดภาคเรียน คือการที่ไม่มีใครคอยดูแลบุตรหลาน จึงทำให้ต้องฝากบุตรหลานไว้กับญาติ หรือคุณปู่คุณย่าให้อยู่กับบ้าน โดยมีเครื่องทุ่นแรงอย่างเกมส์ หรือคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเวลาในการทำงานของพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นจะอยู่ระหว่าง 8 – 10 ชั่วโมง ผลเสียที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีใครเป็นคนกำหนดเวลาในการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเกมส์ ทำให้เด็กจดจ่ออยู่กับเกมส์เป็นเวลานาน ปัญหานี้จะมีความรุนแรงในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต เนื่องจากเด็กเล็กต้องการการพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ เช่นเรื่องการอ่าน ซึ่งต้องมีประสบการณ์คือการอ่านให้มาก การเขียน ซึ่งเป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่ยากกว่าการฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการฝึกให้เด็กมีความอดทน หรือสมาธิกับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ ในขณะที่เด็กโตผ่านการเขียน การอ่าน จึงไม่ต้องการการฝึกฝนในทักษะดังกล่าว ผู้ปกครองหลาย ๆ คนมักถือว่าช่วงเวลาปิดภาคเรียน ต้องการให้เด็ก ได้หยุดพักกับการคร่ำเคร่ง ร่ำเรียนวิชามากมาย แต่หากเราปล่อยให้เขาหยุดพักกับเกมส์ โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนเวลา สิ่งที่ได้กลับมา ก็คือเวลาที่หายไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

How to make sure the butterfly cannot fly

นำบทความดี ๆ มาให้ลองอ่าน แล้วพิจารณาว่าเราอยากให้ลูกหลานเป็นผีเสื้อแบบไหน ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะให้ความช่วยเหลือและความหวังดีของเรา ไปทำร้าย ทำลายกระบวนการที่ทำให้เขาเติบโต เรียนรู้ และสามารถแก้ไขปัญหา หรือมีความอดทนต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นได้

ครูจา
 

How do you get a butterfly?

 

First there is the egg which hatches into a caterpillar. The caterpillar eats and grows. At the right time, it makes a cocoon out of its own body. While in the cocoon, the caterpillar changes into a butterfly.

When the butterfly is ready, it starts to break through the cocoon. First a hole appears. Then the butterfly struggles to come out through the hole. This can take a few hours.

If you try to “help” the butterfly by cutting the cocoon, the butterfly will come out easily but it will never fly. Your “help” has destroyed the butterfly.

The butterfly can fly because it has to struggle to come out. The pushing forces lots of enzymes from the body to the wing tips. This strengthens the muscles, and reduces the body weight. In this way, the butterfly will be able to fly the moment it comes out of the cocoon. Otherwise it will simply fall to the ground, crawl around with a swollen body and shrunken wings, and soon die.

If the butterfly is not left to struggle to come out of the cocoon, it will never fly.

Lim Siong Guan Head, Civil Service, Singapore

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

เด็กทุก ๆ คนเมื่อเกิดมา นับตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาดูโลก เขาจะใช้อวัยวะของร่างกายในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว  จึงเป็นที่มาของนักจิตวิทยาเด็ก ที่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวมาวิจัยเกี่ยวกับเด็กทารก แล้วก็พบว่าประสบการณ์ทางด้านความรู้สึกทางอารมณ์และการเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความฉลาดและการเจริญเติบโตของเด็กทารกจนกระทั่งอายุ 2 ปี หากเด็กมีการเรียนรู้ทั้งสองด้านอย่างต่อเนื่อง  ก็จะสะท้อนออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพ (ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย) , วุฒิภาวะทางอารมณ์ และการเข้าสังคมเมื่อเขาเติบโตขึ้น (เรามักจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เมื่อลูกเข้าสู่วัยประถม)

จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เรากล่าวถึงประสบการณ์ในวัยทารกอยู่ 2 ด้าน ซึ่งได้แก่

  1. ประสบการณ์ด้านอารมณ์และความรู้สึก เมื่อมองย้อนกลับไปในวัยทารก เด็กส่วนใหญ่จะได้รับความรักความอบอุ่นจากแม่ ภาษากายที่แม่ส่งผ่านความรักให้กับลูกผ่านการอุ้ม การสัมผัสของแม่นั้น เป็นประสบการณ์ในเชิงบวกที่ลูกจะได้เรียนรู้ว่าตนเองจะปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมกอด หากแต่เมื่อใดที่ต้องการความช่วยเหลือ แค่เพียงร้องไห้ เขาก็จะได้สัมผัสที่เขาต้องการอีกครั้ง  ซึ่งประสบการณ์ในเชิงบวกนี้มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในวัยทารกมาก เมื่อเขารู้สึกอบอุ่น และปลอดภัย เขาก็สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างผ่อนคลาย  แต่ในทางกลับกัน  หากครอบครัวใดไม่มีความพร้อม หรือยังไม่ได้เตรียมรับกับสถานการณ์ที่จะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อย ๆ ที่ค่อนข้างเอาแต่ใจมาเพิ่ม การเรียนรู้ของเขาก็จะเป็นประสบการณ์ในเชิงลบ  เนื่องจากในสถานการณ์ที่ยังไม่พร้อมนั้น จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกตลอด 24 ชั่วโมงนั้น หมดความอดทนลงได้ในเสี้ยววินาที  หากเป็นเช่นนั้น เด็กเองจะมีความรู้สึกหวั่นไหว ไม่ปลอดภัย ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเขาให้พัฒนาช้าลง จนอาจกลายเป็นกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้เมื่อโตชึ้น
  2. การเคลื่อนไหว  เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่า ในวัยทารกนั้น เด็กในช่วง 7 เดือนแรกไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ทำให้การเรียนรู้ในช่วงนั้นจะต้องเป็นการเรียนรู้จากแขนขาที่ขยับได้เต็มที่ แล้วขยับไปเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า ในช่วงของวัยที่ต้องอยู่ในเปล คนโบราณจึงนำโมบายมาห้อยไว้ที่หัวเตียง เพื่อเป็นอุบายให้เด็กขยับแข้งขา ให้เขามองแล้วไขว่ขว้า  และก็เป็นสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า การเคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานการพัฒนาในทุก ๆ ด้านของเด็ก ทั้งในเรื่องกล้ามเนื้อ  ความจำ และบุคลิกภาพ

หลาย ๆ ครอบครัวมักจำกัดกรอบการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ไม่ให้ปีนป่าย เนื่องจากกลัวการลาดเจ็บ  การจำกัดกรอบต่าง ๆ ดังกล่าว เท่ากับการปฏิเสธที่จะให้เขามีประสบการณ์ในการใช้กล้ามเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ  หรือในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บ เขาก็ยังได้ประสบการณ์ว่าในการปีนป่ายต้องมีความระมัดระวังในจุดไหนมากกว่าปกติ  (จริง ๆ ผู้ใหญ่สามารถป้องกันการบาดเจ็บได้ หรือลดความเสี่ยงได้ โดยไม่ไปจำกัดกรอบการเล่น การเรียนรู้ของเด็ก)  ซึ่งประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวนี่เอง เป็นพื้นฐานที่ทำให้เขามีสุขภาพดี และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

จากบทความข้างต้น ชี้ให้เห็นแล้วว่าวัยทารกนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก หากเราต้องการให้ลูกหลานเป็นเด็กฉลาด สิ่งที่เราจะทำได้ก็คือ การยื่นความรัก ความอบอุ่น และการเล่นโดยใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน ที่จำกัดกรอบการเล่นให้น้อยที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments