untitled            หลายครั้งที่เขียนเกี่ยวกับแนวการเรียนการสอนจินตคณิตไปแล้ว คราวนี้จะเป็นเรื่องของวัยที่เหมาะสมกับการเรียนจินตคณิต

อันที่จริงแล้วการเรียนจินตคณิตไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องว่าเด็กโตแล้วเรียนไม่ได้ แต่สำหรับเด็กที่เล็กเกินไป เป็นข้อจำกัดเรื่องกล้ามเนื้อมือเป็นหลัก

คราวนี้มาดูที่รายละเอียดกันว่าการเรียนจินตคณิตสำหรับวัยไหนที่เหมาะสมที่สุด เริ่มตั้งแต่ปฐมวัย หรืออนุบาลก่อน เนื่องจากเด็กอนุบาลการเรียนคณิตศาสตร์จะเริ่มตั้งแต่จำนวนและตัวเลข แล้วจึงค่อยพัฒนาเข้าสู่การเรียนการบวก-ลบ การเรียนจินตคณิตจะเป็นการแนะนำตัวเลขให้กับเด็กได้จับต้องได้เป็นรูปธรรม และยังเป็นการนำการบวกเพิ่ม หรือการลด ให้เด็กได้มีความเข้าใจถึงการบวก-ลบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงถือว่าการเรียนจินตคณิตโดยใช้ลูกคิดเป็นสื่อนำให้เขาเข้าใจในการเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างดี  วัยประถม(ต้น) เป็นวัยที่การเรียนจินตคณิตจะเป็นการจัดระบบความคิด ทั้งเรื่องของค่าประจำหลัก และการบวก-ลบ คูณ หาร ซึ่งเด็กบางคนที่มีปัญหากับคณิตศาสตร์อาจมีผลเนื่องจากความไม่เข้าใจเรื่องค่าประจำหลัก การบวก-ลบ เลขขอยืม ซึ่งในการเรียนลูกคิดจะเห็นเป็นภาพที่ชัดเจน และเด็กๆ จะสามารถปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง  แต่ในเด็กประถม(ปลาย) ส่วนใหญ่จะมีกระบวนการคิดคำนวณคณิตศาสตร์ที่คล่องแล้ว การใช้ลูกคิดจะถือว่าตามหลังสิ่งที่เขารู้มาแล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียน เพราะเป็นสิ่งที่ตนเองเรียนรู้จนชำนาญแล้ว จึงไม่แนะนำให้เด็กประถม(ปลาย) เรียนจินตคณิตสักเท่าใด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาจะเรียนไม่ได้ เพียงแต่ผลสัมฤทธิ์ที่จะนำไปใช้ ช้ากว่าบทเรียนคณิตศาสตร์ที่เรียนในโรงเรียน แต่เนื่องจากผู้ปกครองหลายๆ คนมักเข้าใจว่าเด็กประถม(ปลาย)ที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์เกิดจากการคิดคำนวณผิดพลาด ควรได้รับการแก้ไข แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กที่มีปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ อาจไม่มีปัญหาการคำนวณเลยก็เป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กโตจะอยู่ที่ความเข้าใจเป็นหลัก หากจะแก้ปัญหาจริง ๆ ต้องหาสาเหตุที่แท้จริงกันก่อนจะเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ในการเรียนที่ไม่ได้แก้ปัญหาผิดทาง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

               ปัจจุบันการเรียนการสอนคณิตศาสตร์บ้านเราเมื่อเทียบกับประเทศไต้หวัน หรือ สิงคโปร์ เราจะพบว่าความเข้มข้นของเนื้อหาในการเรียนในช่วงประถมต้นนั้นค่อนข้างเบา ซึ่งมีแนวคิดหรือทัศนคติจากหลายฝากฝั่ง บ้างก็ว่าเด็กควรจะมีอิสระในความเป็นเด็ก นั่นคือปล่อยให้เขาได้เล่นในวัยของเขา  บ้างก็ว่าเด็กควรจะมีการเรียนผ่านการเล่น (ซึ่งมีโรงเรียนในแนวของการเรียนผ่านการเล่นมากมาย แต่ก็มีปัญหาบ้างว่าโรงเรียนเหล่านั้นส่วนใหญ่เปิดสอนเพียงระดับชั้นประถมเท่านั้น แล้วเด็กที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบดังกล่าวอาจต้องมีการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่เมื่อเข้าสู่มัธยม) ซึ่งในแนวคิดแต่ละแนวไม่มีแนวใดผิดแนวใดถูก แต่สิ่งที่สำคัญคือ ในช่วง 10 ปีแรกเป็นวัยทองของเด็กในการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีวิธีการสอนที่ดีควบคู่กันไปด้วย ตามแนวการเรียนการสอนของทางสิงคโปร์ เนื้อหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์จะค่อนข้างเข้มข้นตั้งแต่ประถมต้น หรืออาจเรียกได้ว่ามีความสม่ำเสมอจนกระทั่งเข้าสู่วัยมัธยม ส่วนในบ้านเราการวางแนวทางการสอนคณิตศาสตร์นั้น เพื่อให้เด็กส่วนใหญ่ (ซึ่งค่าเฉลี่ย IQ ต่ำกว่ามาตรฐาน) ได้มีความเข้าใจในเนื้อหา จึงทำให้เด็กส่วนใหญ่จะทำคะแนนได้ดีเมื่ออยู่ในประถมต้น แต่เมื่อเข้าสู่ประถมปลายจะมีเนื้อหาใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามามากมาย ทำให้คะแนนในตอนประถมปลายของเด็กแตกต่างจากตอนประถมต้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งถ้าเราไม่ได้มีการเสริมการเรียนรู้ในแนวอื่น ๆ จะทำให้เด็กถูกจำกัดความสามารถ แต่เมื่อถึงประถมปลาย เนื่องจากต้องเร่งเนื้อหาให้ทันกับการเรียนในชั้นมัธยมต่อไป ทำให้เด็กถูกเร่งให้รับข้อมูล หรือสิ่งต่าง ๆ ในเวลาที่น้อยลง จึงดูเหมือนกับว่าพัฒนาการทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กจะถดถอยลง

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments