หลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ ยังเป็นเด็กนักเรียน เราไม่เห็นความแตกต่างของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของเราพัฒนาไปจากเดิมเลย ซ้ำร้ายบุคลากร (ครูผู้สอน) ในปัจจุบันเป็นเพียงลูกจ้างของทางโรงเรียน ที่หาจิตวิญญาณในการสอนเหมือนแต่เก่าก่อนยากขึ้นเรื่อย ๆ  สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมันอาจเกิดจากระบบของเรื่องค่าตอบแทนที่บุคลากรควรได้รับ เพื่อให้มีการทุ่มเทแรงกายแรงใจ พัฒนาเด็กรุ่นต่อ ๆ ไป ให้มีคุณภาพ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมันกลับตรงกันข้าม เนื่องด้วยค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อขวัญ กำลังใจ หรือทัศนคติที่ดีกับการสอน ซึ่งส่งผลให้ครูในปัจจุบัน มีความรับผิดชอบต่อการเรียนการสอน และมาตรฐานการสอนที่ต่ำลง

ปัจจัยหลักของการเรียนในวัยเด็กว่าจะมีทัศนคติในเชิงบวกหรือลบนั้น ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นหลัก นอกจากนี้แล้วอุปกรณ์ หรือสื่อการสอนก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เด็กสามารถเข้าใจบทเรียน หรือการแปลงจากข้อความ ที่เป็นนามธรรม ให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กเพิ่งเริ่มเรียนเรื่องเศษส่วน จะเกิดความสับสนทุกครั้งในเรื่องของการเปรียบเทียบเศษส่วนว่าตัวไหนมีค่ามากกว่าตัวไหน ซึ่งถ้าเรามีสื่อการสอนที่ดี จะทำให้เด็กเข้าใจได้ว่าการเปรียบเทียบเศษส่วนจะมีหลักอย่างไร

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการเรียนของเด็ก คือความเข้าใจโดยให้เห็นเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

จากที่ได้กล่าวเมื่อตอนที่แล้วว่า การรวมเป็นประชาคมอาเซียนนั้นมีความมุ่งหมายเพื่ออะไร คราวนี้เราลองมาดูในแต่ละประเด็นกันดีกว่า

การเป็นฐานการผลิตที่มีฐานการผลิตร่วมกัน สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี ซึ่งมองในแง่ทฤษฏีก็ดูดี แต่ในเชิงปฏิบัตินั้นฐานการผลิตสินค้าหลาย ๆ ชนิด เช่น การเกษตร ไม่สามารถผลิตได้ในทุก ๆ ภาคส่วนของอาเซียน ซึ่งก็จะมีพื้นที่ที่สามารถทำการเกษตรได้อย่างอุดมสมบูรณ์ ก็มีประเทศไทยที่เป็นหนึ่งในนั้น นั่นหมายความว่าการเช่า ซื้อพื้นที่ต่าง ๆ ก็จะเป็นที่หมายปองของนักลงทุนต่างชาติเช่นกัน เมื่อเวลาผ่านไปเจ้าของพื้นที่ในผืนแผ่นดินไทย อาจมีคนไทยถือครองไม่ถึงครึ่ง  นอกจากพื้นที่ทางการเกษตรที่เป็นที่หมายตาแล้ว มามองดูอุตสาหกรรมการท่องเทียว ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ก็ยังพบว่า ประเทศไทยสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ทั้งฤดูร้อน (คนมักนิยมเที่ยวทะเล ทั้งทางทิศตะวันออก และทิศใต้) และฤดูหนาว ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวก็เบนไปที่ทิศเหนือของประเทศ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ เราจะเห็นได้ว่าประเทศของเราก็เป็นชิ้นปลามันชิ้นโตของนักลงทุน ที่มักหาประโยชน์กับผู้ถือครองที่ดินที่พร้อมที่จะขายทรัพย์สมบัติเพื่อให้ได้เงินมาซื้อความสะดวกสบายให้กับตนเองและครอบครัว

แต่เมื่อมาพูดถึงบริการ ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่ามี 7 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี นั่นคือ วิศวกร  พยาบาล นักสำรวจ  สถาปนิก  แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี ซึ่งหากมาตรฐานการศึกษาไทยยังคงไม่ปรับตัว เราจะได้ผู้ที่ทำงานในวิชาชีพต่าง ๆ ในบ้านเราที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือได้รับคัดเลือกผ่านระบบเอ็นทรานซ์ โดยที่มีแต่คู่แข่งที่ไม่กระตือรือร้นในการเรียน เรียนเพื่อให้ได้วุฒิ แต่ไม่มีความรู้ ความสามารถติดตัว พอที่จะทำงานใด ๆ ได้เลย   เหล่านักวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเหล่านั้น ก็คงย้ายตนเองไปอยู่ในสังคม สิ่งแวดล้อม และค่าครองชีพที่ดีขึ้น ซึ่งมันอาจส่งผลให้คุณภาพการรักษาพยาบาล หรือการให้บริการด้านเฉพาะทางต่ำลง

สุดท้ายมากล่าวถึงเรื่องการศึกษา  หลาย ๆ ท่านก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการศึกษาในอาเซียนนั้น เรามีสิงคโปร์เป็นผู้นำอยู่  หากแต่เราดูนโยบายด้านการศึกษาของทางสิงคโปร์ จะพบว่าเขาทุ่มเทงบประมาณจำนวนมากในเรื่องของการศึกษา เพื่อให้คนในประเทศเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ และนอกจากนี้การศึกษาของประเทศสิงคโปร์ยังเป็นอีกหนึ่งบริการที่เขาเปิดขายด้วย ในทางกลับกันประเทศไทยเราทุ่มงบประมาณต่าง ๆ มากมายไปกับภาคอุตสาหกรรมโดยที่เราไม่มีความรู้ หรือไม่มีแม้นักคิดที่เป็นของเราเอง ไม่ได้มุ่งพัฒนาบุคลากร หรือเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีความคิดสร้างสรรค์

จากบทความที่สรุปมา คงพอมองเห็นภาพกว้าง ๆ ว่าของประชาคมอาเซียน 2558 และจะได้เตรียมตัวให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ให้เขามีความรู้ ความสามารถเพื่อที่จะอยู่ในสังคมที่กว้างขึ้น และอยู่ภายใต้สภาวะของการแข่งขันที่สูงขึ้น

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments