ช่วงภาคเรียนที่ 2  ของทุกปี จะมีการโยกย้ายโรงเรียนในชั้นที่โตขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนจะส่งบุตรหลานไปเรียนในสถาบันที่มีการประกาศจำนวนนักเรียนที่ผ่านรอบคัดเลือกในโรงเรียนแต่ละโรง

การเรียนเพื่อการสอบเข้าในปัจจุบัน จะต้องเรียนรู้เนื้อหาที่เกินเนื้อหาที่เรียนอยู่ในโรงเรียน เด็กหลายๆ คนที่มีผลการเรียนดีในโรงเรียน จึงไม่แปลกที่การเรียนโรงเรียนกวดวิชาไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ การเรียนในแนวดังกล่าวเป็นการเรียนในแนวติว โดยทุกคนต้องเรียนไปพร้อมกัน โดยที่ทักษะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน เด็กที่มีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดีกว่า ก็จะมีความเข้าใจได้มากกว่า การเรียนโดยโหนเนื้อหาขึ้นไปอีกช่วงชั้น (3 ปี) จะทำให้เด็กเกิดการเรียนคณิตศาสตร์โดยการจำ ไม่ใช่ความเข้าใจ ซึ่งการเรียนโหนระดับเพื่อการสอบเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้บุตรหลานได้รับการคัดเลือกในการสอบเข้า แต่เนื้อหาพื้นฐาน เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจได้มากขึ้น มีที่มาที่ไป ไม่ใช่เพียงแต่เรียนด้วยความจำ เมื่อเปลี่ยนแนวข้อสอบ เขาเหล่านั้นก็จะไม่สามารถประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาได้  แต่ในทางกลับกัน หากเราเสริมทักษะพื้นฐานที่ดี จะทำให้เขาสามารถต่อยอดเนื้อหาได้อย่างมั่นคงต่อไป  ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  ที่ว่า

การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญนั้น จะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทำได้ จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่อง พร้อมๆกันได้”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๓

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments