Nov 27
Posted by malinee on Tuesday Nov 27, 2018 Under เกร็ดความรู้
ในปัจจุบัน ทางเลือกของการศึกษามีอยู่หลากหลายแบบ ครอบครัวที่มีกำลังทรัพย์ก็จะส่งเสริมบุตรหลานให้ได้การศึกษาที่ดีที่สุด หากตามข่าวการศึกษาบ้านเราอย่างต่อเนื่อง ก็จะเบื่อหน่ายกับระบบการศึกษาของบ้านเรา ที่ผู้ที่นั่งอยู่ในตำแหน่งของผู้ดูแลกระทรวงศึกษา ก็ไม่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบกับความทุ่มเทเอาใจใส่ของครูที่มีน้อยลง หวังแต่จะรับสอนพิเศษเพื่อให้ได้รายได้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความเชื่อมันในระบบการศึกษาไทยถูกบันทอนลงไปเรื่อยๆ
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นเหตุให้พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่มีความมั่นใจกับการเรียนการสอนในโรงเรียน จึงส่งบุตรหลานเรียนพิเศษในสถาบันกวดวิชาที่มีชื่อเสียง แทนที่วันหยุดสุดสัปดาห์จะได้ทำกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อออกกำลังกาย หรือเพื่อเล่นซน ก็หมดไปกับการเรียน เป็นเหตุให้เด็กในยุคนี้ไม่มีประสบการณ์หรือทักษะด้านอื่น นอกจากการเรียน
การส่งบุตรหลาน เรียนพิเศษไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับวัย เช่นในวัยอนุบาล พ่อแม่สามารถจะหากิจกรรมเพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งทำได้ในบ้านโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และคอยดูการเรียนในโรงเรียน แล้วเสริมหรือทบทวนเพื่อให้บุตรหลานมีความมั่นใจ และรักการเรียนรู้ ส่วนของประถมต้น เด็กๆ จะเริ่มมีการเรียนเรื่องความยาว น้ำหนัก ความจุ ทางบ้านก็ส่งเสริมให้เห็นของจริง เช่นการเลือกซื้อนม ให้ดูปริมาตรข้างกล่อง เปรียบเทียบขนาดกล่อง น้ำหนักของพ่อ แม่ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเอง แล้วเมื่อถึงบทเรียนที่เราเริ่มจะรู้สึกว่าไม่สามารถอธิบายได้ ค่อยหาตัวช่วยอื่น
สิ่งที่สำคัญของการเรียน คือทัศนคติของการเรียนไม่ว่าจะเรียนอะไร และครูคนแรกของลูกก็คือพ่อแม่นั่นเอง ดังนั้นพ่อแม่จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้บุตรหลานมีทัศนคติอย่างไรกับการเรียน และยังทำให้ความเป็นครอบครัวแน่นแฟ้นมากขึ้น อย่าให้เครื่องมือทางเทคโนโลยีมาแทรกแซงความเป็นครอบครัวที่อบอุ่น เพราะ ณ วันนึง เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะเติบโตอย่างมั่นใจว่าถึงอย่างไรเขาก็มีครอบครัวที่คอยสนับสนุน หรือเป็นกำลังใจเมื่อเขาเกิดท้อแท้ และอย่าให้ครูคนแรกของลูกเป็นคนอื่น เพราะไม่มีใครปรารถนาดีกับบุตรหลานเท่าพ่อและแม่ผู้ให้กำเนิดแล้ว และอย่าคาดหวังว่าระบบการศึกษาของบ้านราจะได้รับการปรับปรุงหรือพัฒนา เพื่อให้คนทุกคนมีการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากันทั้งประเทศ …. คงไม่มีวันนั้น
Apr 08
ช่วงเวลาของการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในระดับชั้นต่างๆ มีหลายๆ ครอบครัวที่ดีใจ และอีกหลายๆ ครอบครัวที่มีน้ำตาเปื้อนใบหน้า เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่พ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องมีหน้าที่คอยประคองความรู้สึกและให้กำลังใจบุตรหลาน ให้เขาได้เรียนรู้ถึงความผิดหวังบ้าง เพราะในชีวิตคนเราไม่มีใครที่จะสมหวังในทุกๆ เรื่อง เพื่อเป็นบทเรียนให้เค้าได้ตั้งความหวังให้สูง และไปถึงจุดนั้นให้ได้ด้วยความเพียรพยายาม
แต่หลายๆ ครอบครัวจะหลีกเลี่ยงไม่ให้บุตรหลานของตนเองในการสอบคัดเลือก โดยการให้เข้าโรงเรียนที่มีการเรียนยาว โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนโรงเรียน ทุกอย่าง พ่อแม่ ผู้ปกครองจะเป็นผูวางแผน หรือดำเนินการ คิดแทน ทำทุกอย่างแทนให้จนกลายเป็นการบ่มเพาะนิสัยของความเฉื่อย ไม่มีความคิดที่จะริเริ่มหรือทำอะไรด้วยตัวเอง เมื่อโตขึ้นจะไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะไม่เคยถูกฝึกทักษะด้านใดเลย ไม่เคยวางแผนการทำงาน หรือ อนาคตตนเอง เค้าจะดำเนินชีวิตอย่างไร ถ้าชีวิตเค้าขาดผู้อุปถัมภ์ ดูแล
มันจะดีกว่ามั้ย ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครอง อบรมเลี้ยงดูเค้าเหล่านั้นให้ได้รู้จักหน้าที่ของตนเองตั้งแต่วัยเด็ก แล้วเพิ่มหน้าที่ให้มากขึ้น ส่วนพ่อแม่ผู้ปกครองต้องลดการดูแลในส่วนของตนเองลง ให้เค้าได้เรียนรู้ที่จะคิดวางแผนเป็นระยะๆ เช่น การทำการบ้าน ให้เค้าได้ทำด้วยตนเอง ไม่ใช่ช่วยจนเค้าไม่สามารถทำการบ้านได้ด้วยตนเอง อ่านหนังสือสอบ ต้องให้เค้าค่อยๆ เรียนรู้ที่จะสะกดคำ จนคล่อง ไม่ใช่อ่านให้เค้าฟังทุกครั้ง ทักษะที่ต้องใช้เวลา และที่ควรจะได้รับการฝึกฝน ก็จะไม่เกิดขึ้น ให้เค้าได้ดูแลตัวเอง มีความภูมิใจในตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเอง เรียนรู้ที่จะผิดหวัง เรียนรู้ที่จะมุ่งมั่นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จลุล่วง หากพ่อแม่ผู้ปกครอง เลี้ยงดูบุตรหลานแบบที่คิดแทนเค้าในทุกๆ อย่าง สักวันที่เค้าไม่มีเรา ชีวิตเค้าจะเดินต่อไปอย่างไร ในเมื่อเค้าไม่เคยได้รับการฝึกฝนใดๆ เลย อย่าทำร้ายเค้าด้วยการดูแลที่เกินความจำเป็นกันอีกเลย ขนาดดักแด้ที่อยู่ในไหม สักวันนึงมันก็ต้องกลายเป็นผีเสื้อที่ต้องกางปีกของตนเองออกมาสู่โลกกว้างในที่สุด
Mar 18
ตอนนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ละครบุพเพสันนิวาส ไม่ว่าจะเป็นลูกเล็กเด็กแดง ไปจนถึงคุณปู่ คุณย่าทั่วบ้านทั่วเมือง จนกลายเป็นละครฟีเวอร์ที่มีการจัดกิจกรรม หรือสินค้ามารองรับกับความต้องการของตลาดไปแล้ว
สิ่งหนึ่งที่เราได้จากละครที่แทรกมา ทำให้หลายๆ คนอยากรู้ประวัติศาสตร์ในยุคนั้น มีทั้งการหาหนังสืออ่าน ไปจนกระทั่งการเรียนประวัติศาสตร์เสริม ทั้งๆ ที่เราเคยเรียนประวัติศาสตร์ไทยกันมาโดยตลอด แต่ชื่อที่พูดมาแต่ละชื่อ ไม่สามารถทำให้เรานึกออกได้ว่าอยู่ในช่วงสมัยไหน สิ่งที่เกิดขึ้นมันสะท้อนให้เราได้เห็นว่า การเรียนประวัติศาสตร์บ้านเรา ไม่ได้ทำให้เราได้รู้ว่า การปกครองของเราค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มันไปสอดคล้องกับคำบ่นของเด็กๆ ที่ไม่ชอบวิชาสังคมประวัติ ในทางกลับกันเค้าก็ต้องเรียน worlf history ซึ่งถ้าไม่ชอบวิชาท่องจำก็จะไม่ชอบวิชานี้ด้วย กลับกลายเป็นว่า เด็กๆ สามารถลำดับเหตุการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อเนื่องไปจนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อยางไร
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ปัจจัยของเด็กไม่มีแล้ว คราวนี้ปัจจัยที่ทำให้เด็กไม่ชอบเรียนสังคมประวัติเกิดได้ 2 ปัจจัยคือ ครูผู้สอน ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่าครูผู้สอนมีผลกับการเรียนในทุกๆ วิชามาก เพราะครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก หากถ่ายทอดให้เด็กโดยการลำดับเหตุการณ์เป็นฉากๆ อย่างที่อาจารย์ของเกศสุรางค์อธิบายลูกศิษย์ ในชั้นฟัง คงมีแต่คนตั้งหน้าตั้งตาฟัง และอีกส่วนที่เป็นปัจจัยที่สำคัญได้แก่ หนังสือเรียนของเรา จะเป็นการกล่าวถึงยุคสมัย พร้อมกับช่วงเวลา และต่อด้วยการจำวิธีการปกครอง การค้าขาย เป็นหัวข้อต่างๆ ตามมาเป็นกระบุงโกย และที่แย่ไปกว่านั้น ข้อสอบจะเป็นข้อสอบที่ถามรายละเอียดว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.ใด ถึง พ.ศ.ใด ซึ่งยากนักที่เด็กจะมานั่งจำทุกๆ หน้า เค้าก็เลือกที่จะเข้าห้องสอบแบบจิ้มข้อที่คุ้นเคย
ครูคิดว่า ออเจ้าทั้งหลายที่มีส่วนเกี่ยงข้องกับหลักสูตรหรือแบบเรียน ควรมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงแบบเรียนให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ดีกว่าให้เด็กๆ เรียนรู้ประวัติศาสตร์จากละคร
Jan 25
เลขโจทย์..โอ้ย!ยากกกก…หลายคนร้องเสียหลงเมื่อโดนโจทย์เลขยาวๆๆๆถามโน่น นี่ นั่น เยอะมากบางคนถอดใจตั้งแต่ยังอ่านโจทย์ไม่จบ บางข้อถาม2คำถาม..ตายแล้ว..คำถามเดียวยังตอบไม่ได้เลย ทำไงดีหละ.. สุดท้าย..หนูเบื่อเลขค่ะ หนูไม่อยากทำ มันยาก.. นี่คือปัญหาและคำตอบของเด็กเวลาทำเลขไม่ได้และในขณะดียวกันเป็นปัญหาของผู้ปกครองว่าจะทำอย่างไงให้ลูกแก้ปัญหาโจทย์ได้เพราะมันมีผลกับคะแนนและการเรียน..ครูมีภาพตัวอย่างเด็กที่เรียนแก้ปัญหาโจทย์กับทางสถาบันมาให้ดูกัน เป็นการสอนเทคนิคพิเศษ..จากโจทย์ยาวๆๆๆยากๆๆๆ วาดออกมาเป็นกล่องสี่เหลี่ยม..เชื่อมั้ย..แค่วาดกล่องสี่เหลี่ยมก็แก้ปัญหาโจทย์ยากๆ ได้จริงๆ(ครูเอาภาพโดยรวมมาให้ดูก่อนแล้วจะเจาะลึกลงในรายละเอียดอีกครั้ง)มาดูภาพกันเลย…
Dec 21
สวัสดีค่ะ..วันนี้ครูไม่มีvdoมาให้ครูแต่..ครูมีบางอย่างมาให้ช่วยกันหน่อย..จากแบบฝึกหัดด้านล่างนี้ คิดว่าที่คุณครูเค้าตรวจถูกมา..มันถูกจริงมั้ย แล้วถ้ามันถูกจริงๆตามที่คุณครูเค้าตรวจมา มันถูกยังงัย ใครอธิบายได้บ้าง ครูรบกวนหน่อย เพราะครูเองก็พยายามหาคำตอบอยู่ ถ้าใครมีคำอธิบายว่ามันถูกยังงัย บอกกันหน่อยนะค่ะ..ช่วยครูด้วย..แล้วครูจะมาบอกว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับแบบฝึดหัดนี้..ช่วยครูด้วยนะ..ขอบคุณค่ะ..
Jul 20
หลังจากเปิดภาคเรียนกันมาระยะหนึ่ง ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้าสู่ฤดูสอบกลางภาค หลายๆ ครอบครัวจะเตรียมตัวบุตรหลานอย่างขะมักเขม้น เพื่อให้เด็กๆ ได้ทบทวนบทเรียน ซึ่งในแต่ละครอบครัวก็จะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน บางครอบครัว ก็จะปล่อยให้เด็กๆ เรียนรู้หรืออ่านหนังสือด้วยตนเอง แต่หลายๆ ครอบครัว พ่อแม่จะเป็นผู้ย่อยและคัดกรองเนื้อหาต่างๆ ให้กับบุตรหลาน เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนที่ดี
แนวทางแบบใดที่ดีกว่า หากมองกันจริงๆ การเรียนในบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ก็เหมือนกับการฝึกให้เด็กมีความมุมานะ พยายาม ในการแก้ปัญหา หากเพียงเรื่องเรียนซึ่งเป็นหน้าที่หลักของเด็กๆ ยังไม่สามารถที่จะทำได้ เราก็ต้องตั้งคำถามก่อนว่าเราจะสามารถช่วยเขาได้ถึงเมื่อไร และหลังจากที่เราไม่ช่วยเขาแล้ว เขาจะสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตนเองเมื่อใด หากเป็นเช่นนี้ ทำไมเราไม่ใช้วิธีที่ค่อยๆ ปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ลองผิดลองถูก เหมือนกับการเดิน ก่อนการเดินเขาจะต้องเรียนรู้ที่จะคืบ คลานและตั้งไข่ตามลำดับ คงไม่มีใครที่ไม่ผ่านกระบวนการดังกล่าวหรือข้ามขั้นใดขั้นหนึ่งไปได้ การเรียนก็เช่นกัน หากเราทำหน้าที่เป็นโค้ชที่คอยแนะนำ ให้กำลังใจ อยู่ข้างสนามเพื่อคอยชี้นำหรือแนะวิธีการที่ถูกต้องก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เขาได้มุมานะ พยายามด้วยความสามารถของตนเอง ไม่เคยมีโค้ชคนไหนเข้าไปเล่นแทนนักกีฬาเลย โค้ชมีหน้าที่เพียงชี้แนะและฝึกหัดให้มีข้อด้อย น้อยที่สุดเท่านั้น เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่คอบชี้แนะ ให้เขาได้ลองผิดลองถูกและสร้างกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ซักวันเขาก็จะกลายเป็นนักเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดในที่สุด
ครูจา
Feb 24
Posted by malinee on Friday Feb 24, 2012 Under กิจกรรม
คอร์สปิดเทอม 2555
เปิดตั้งแต่ช่วง
19 มี.ค. – 4 พ.ค. 2555
สามารถติดต่อ
สอบถามรายละเอียด ได้ที่สถาบันคิดสแควร์ ค่ะ