Aug 28
เนื่องจากในปีการศึกษา 2561 จะเป็นปีแรกที่มีการรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาแบบใหม่ ที่เรียกว่า ระบบ TCAS (Thai University Central Admission System) ซึ่งเป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเป็นรอบๆ โดยมีทั้งสิ้น 5 รอบและในแต่ละรอบจะมีการกำหนดวัน Clearing house ซึ่งเป็นการตัดสิทธิ์สำหรับเด็กที่ได้เลือกคณะที่ตนเองได้เลือกแล้ว เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับผู้อื่น และในปัจจุบันก็มีสาขาวิชาที่ให้เลือกเรียนมากมาย
การเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนนั้น หลายๆ กระแสก็ให้เลือกตามแนวโน้มของโลกในอนาคต เนื่องจากนักวิเคราะห์หลายๆ สังกัดก็มีการบ่งชี้ว่ามีหลายๆ อาชีพที่จะไม่เป็นที่ต้องการ หรือหายไปในที่สุด ด้านนักเศรษฐศาสตร์ก็วิเคราะห์ว่า แนวโน้มในอนาคตคนทำงานควรมีอาชีพมากกว่า 1 อย่าง การวิเคราะห์ดังกล่าว ทำเอาทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง และตัวเด็กเองเกิดความสับสน และลังเลใจ ไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนอะไรดี หรือหาอาชีพที่สองได้อย่างไร
การเลี้ยงดูของพอแม่ผู้ปกครองในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ นั่นคือ แบบที่ปล่อยให้เด็กเรียนรู้ไปตามวัย โดยปล่อยหน้าที่เรื่องของการเรียนให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พาบุตรหลานเรียนเสริมในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เด็กมีความโดดเด่นทางด้านวิชาการ สามารถสอบแข่งขันในสนามต่างๆ ได้ทุกสนาม กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีการพาบุตรหลานส่งเสริมในกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียน เช่นด้านกีฬา ดนตรี ต่อเนื่องจนเด็กมีทักษะในการเรียนเสริมที่ดี
ลักษณะการเสริมความรู้ และทักษะของครอบครัวในแต่ละกลุ่มจะทำให้เด็กมีทักษะที่แตกต่างกัน เด็กในกลุ่มแรก เด็กจะเรียนรู้ได้จากโรงเรียนเพียงอย่างเดียว เด็กในกลุ่มที่ 2 จะเป็นเด็กที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และเขาเหล่านั้นก็จะสามารถเลือกเรียนในสาขาที่เขาต้องการได้ ส่วนเด็กในกลุ่มที่ 3 อาจเป็นเด็กที่มีผลกาเรียนในระดับกลางๆ แต่มีทักษะด้านอื่นที่เรียนมาเพิ่ม จะสามารถนำทักษะที่ได้เรียนมาเป็นอาชีพรองต่อไป
พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจกังวลว่าแล้วในอนาคตเค้าจะสามารถดูแลตนเอง ได้หรือไม่ หากวันนี้เราทำหน้าที่ในการดูแล อบรม เลี้ยงดูเขาเหล่านั้นให้เป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของตนเอง ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลแทนเขาเลย
Jun 03
หากคุณพ่อ คุณแม่สมัยใหม่นึกย้อนกลับไปดี ๆ เมื่อสมัยที่คุณยังเป็นเด็กอยู่นั้น จะพบว่าเด็กในสมัยก่อน กับสมัยนี้นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งได้แก่ ขนาดของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ การเลือกโรงเรียน หรือแม้แต่การอบรมเลี้ยงดู
สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพียงต้องการชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของวิถีชีวิตในแบบตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของคนไทย ทุกสิ่งทุกอย่างสะดวกสบายมากขึ้น การติดต่อสื่อสารใช้เวลาสั้นลง จนเกิดเป็นความเคยชินจนลืมนึกถึงบางอย่างที่ไม่สามารถเร่งหรือย่นระยะเวลาได้ด้วยเทคโนโลยี เช่น เราไม่สามารถเร่งให้เด็กเดินได้ตั้งแต่ 6 เดือนแรก ซึ่งการที่เด็กแต่ละคนจะสามารถเดินได้นั้น ก็ต้องเริ่มมีการพัฒนาเรื่องการทรงตัวจากการนั่ง และการคลานก่อน นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างทางด้านร่างกายก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน หากเด็กยังมีกระดูกหรือกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง การเดินก็ถือเป็นสิ่งที่อันตรายต่อตัวเขาเช่นกัน
การยกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน หรือเด็กหลาย ๆ คนอาจต้องการวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม นั่นไม่ได้แปลว่าเขามีปัญหาในการเรียนรู้ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งหมายถึงพ่อแม่ ครู อาจารย์ มักใช้ข้อสอบหรือแบบทดสอบในการวัดผลออกมาในรูปของคะแนน เนื่องจากเป็นผลที่ออกมาเป็นตัวเลขได้แน่นอน สิ่งต่าง ๆ ที่วัดออกมา บางคนอาจเรียกว่าความฉลาด ความเข้าใจ หรือความรู้ แต่โดยรวมเข้าใจได้ว่าคือ “IQ” นั่นเอง
นอกจาก IQ แล้ว งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นก็ยังสนับสนุนว่ายังมีความฉลาดด้านอื่น ๆ อีกที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็ก ซึ่งพอสรุปได้อีก 2 ประเด็นก็คือ EQ , SQ
เราจะมาพูดถึงทีละประเด็น ซึ่ง Q ต่อมาคือ EQ หลาย ๆ คนทราบดีว่า EQ คือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ หลาย ๆ ครอบครัวที่ปล่อยปละละเลยกับการส่งเสริมการมี EQ ของเด็ก มักทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่รู้จักการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ การส่งเสริมนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เกมส์ต่าง ๆ เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ ให้รู้จักแพ้ชนะ (เกมส์ที่แนะนำควรเล่นกันในครอบครัว เช่น เกมส์เศรษฐี บันไดงู) ในช่วงแรกของการเล่น เด็กจะไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อสร้างสถานการณ์ขึ้นบ่อย ๆ แล้วมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการที่มีผู้ใหญ่ที่คอยชี้แนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม การที่เด็กถูกปล่อยให้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ IPad โดยเล่นอยู่คนเดียว จึงมีโอกาสที่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้อย่างง่ายดาย
Q ต่อมาคือ SQ (Spiritual intelligence) ความหมายของ SQ ไม่มีบทเฉพาะตัว แต่พอจะกล่าวกว้าง ๆ ได้ว่าคือความฉลาดในความอดทน การประเมินตนเอง การรู้คุณค่าของตนเอง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าความรู้หลายเท่ามาก หากเด็กคนใดที่มีการฝึกในเรื่องของ AQ, SQ, MQ มาเป็นอย่างดี ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขทั้งในหน้าที่การงานและชีวิต เนื่องจากเขาสามารถเปลี่ยนทัศนคติในเชิงลบให้เป็นบวกได้ หรือปล่อยวางสิ่งที่ตนเองไม่สามารถแก้ไขได้ คนที่มี SQ ที่ดีมักเป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี (ซึ่งไม่ได้หมายถึงฐานะทางการเงิน แต่เป็นความรักความอบอุ่น)นั่นเอง
ครูจา
Sep 08
Posted by malinee on Thursday Sep 8, 2011 Under เกร็ดความรู้
จากบทความต่าง ๆ ที่ผ่านมา เราจะพบว่าครอบครัวนั้นมีส่วนสำคัญที่สุดกับเด็ก ทั้งในด้านการเรียน การเข้าสังคม ความมีระเบียบวินัย และ คุณธรรม จริยธรรมในตัวเด็ก ซึ่งจะเกิดการบ่มเพาะทีละเล็กละน้อยตั้งแต่เขาลืมตาวันแรก ครอบครัวจะเป็นกลไกหลักในการผลักดัน หรือ ขับเคลื่อน ให้เด็กแต่ละคนเติบโตไปในทิศทางใด ความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวเป็นแหล่งพลังงานที่คอยประคองให้เขาได้ก้าวไปเผชิญกับโลกภายนอกในภายภาคหน้า
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเด็กไม่ได้รับความรัก ความอบอุ่นในวัยที่เขาต้องการแล้ว เขาก็จะคอยไขว่ขว้าความรักจากคนที่ผ่านเข้ามา ซึ่งปัจจุบันนี้เรามักพบว่าทั้งพ่อและแม่ต่างพากันออกจากบ้านเพื่อไปทำงาน ส่วนใหญ่แล้วออกจากบ้านก่อนหน้าลูกตื่น และกลับเข้าบ้านเพื่อพาตัวเองมาให้ถึงที่นอนเท่านั้น เด็กไม่ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นการพูดคุย เล่าประสบการณ์ การกอด โดยที่พ่อแม่ไม่เคยรับรู้ถึงสิ่งที่ลูกต้องการ รู้เพียงสิ่งที่ตนเองต้องการโดยมีลูกเป็นข้ออ้างว่าทำเพื่อเขา สุดท้ายเด็กก็เกิดความเคยชิน จนกลายเป็นความชินชาต่อความรู้สึกต้องการ ไม่มีความกระตือรือร้น เก็บตัว ไม่เข้าสังคม เป็นคนไม่มีความพยายาม เมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไป เขาก็เรียนรู้ที่จะไปหาสิ่งที่คิดว่าตนเองต้องการ จึงทำให้ติดเพื่อน หรือเสียคนในที่สุด เปรียบไปก็เหมือนแม๊กมาที่อยู่ใต้ภูเขาไฟ รอจนกว่าพลังงานจะเพียงพอที่จะประทุระเบิดออกมา จนเกิดความเสียหายไปทั่วเป็นบริเวณกว้าง