จากกระแสข่าวเรื่องการสอบแข่งขัน เข้าเรียนในชั้น ป.1 โรงเรียนในเครือสาธิต จนเป็นกระแสทำให้มีข่าวว่าจะไม่ให้มีการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในชั้น ป.1 เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เราจะพบเห็นกันเป็นประจำในการสอบคัดเลือกในทุกระดับชั้น การแข่งขันเกิดขึ้นอย่างดุเดือดในทุกช่วงชั้นในบ้านเรา

หลายๆ คนก็คงเคยได้ยินว่าในหลายๆ ปะเทศก็มีการแข่งขันเข้าโรงเรียนรัฐเช่นกัน (เช่น สิงคโปร์ หรือ ญี่ปุ่น) แต่หากเราลองมาดูถึงรายละเอียดกันจะพบว่า ในการแข่งขันดังกล่าวเกิดขึ้นกับทุกๆ โรงเรียนรัฐ ไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงโรงเรียนบางโรงเรียนเหมือนอย่างบ้านเรา สาเหตุของการแข่งขันดังกล่าวในบ้านเราแตกต่างจากประเทศที่กล่าวมาแล้ว นั่นเป็นเพราะมาตรฐานของโรงเรยนในบ้านเราไม่เท่าเทียมกัน ความสามารถในการสอนแตกต่างกัน ทำให้ความเชื่อมั่นต่อสถานศึกษาเกิดกระจุกอยู่เพียงโรงเรียนไม่กี่แห่ง นอกจากนี้แล้ว การประเมนผลในระดับประเทศของบ้านเรา มักนำมาหาค่าเฉลี่ยในแต่ละโรงเรียน เทียบกับขนาดของโรงเรียน เทียงระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับประเทศ และประกาศกันอย่างแพร่หลาย

ดัชนีชี้วัดดังกล่าวแทนที่จะนำมาช่วยกระตุ้นให้โรงเรียนที่มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ หรือเป็นตัวชี้วัดว่าต้องมีการเพิ่มศักยภาพของการเรียนการสอนของครูผู้สอน ให้มีสัมฤทธิผลที่ดีขึ้น แต่กลับกลายเป็นตัวชี้วัดการเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลาน มาประกอบกับแถลงการณ์ของกระทรวงศึกษา ที่รับจำนวนเด็กต่อห้องไม่เกิน 40 คน ยิ่งเป็นเหตุให้อัตราการแข่งขันเพิ่มเป็นเท่าทวีคูณ เหตุการณ์นี้จะทำให้เกิดกลุ่มเด็กที่แยกกันอย่างชัดเจน คือเด็กในกลุ่มที่ฐานะทางบ้านไม่สามารถแทรกตัวบุตรหลานให้เข้าไปอยู่ในโรงเรียนที่มีครูที่(พ่อแม่คาดหวังว่า)ดีได้ ก็จะต้องไปอยู่ในโรงเรียนที่ไม่มีโอกาสเลือกเท่าใดนัก เด็กที่รวมตัวกัน จะเป็นเด็กที่ไม่ค่อยใส่ใจในการเรียนเท่าใดนัก สุดท้ายจะกลายเป็นภาระของสังคม

ไม่เข้าใจว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ไม่มีผู้ที่คิดจะลงมือแก้ไขปฏิบัติ ปล่อยให้สิ่งต่างๆ ผ่านไป นั่งในตำแหน่งเพื่อรับเงนเดือน และเป็นเกียรติกับวงศ์ตระกูล แต่ไม่ได้คิดที่จะแก้ไขปัญหาใดๆ เพราะคิดว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมานานเกินกว่าจะแก้ไข หรืออาจนั่งในตำแหน่งแต่ไม่เคยรู้ว่าสิ่งที่เกิดในสังคมปัจจุบันเกี่ยวกับการศึกษาจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไข เพราะรับช่วงต่อจากผู้บริหารคนเก่า เสมือนตำแหน่งที่ได้มาเป็นสมบัติผลัดกันชม ได้แต่ทำตามในสิ่งที่เคยทำ ให้เวลามันผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์

Tags : , , , , , , , , , , | add comments