Feb 06
หลายๆ คน ที่หาข้อมูลของการเรียนจินตคณิต อาจจะคิดว่าการให้ข้อมูลของสถาบันการสอนต่างๆ ก็เป็นเพียงการตลาด เพื่อโน้มน้าวให้พ่อ แม่ผู้ปกครองส่งบุตรหลาน ให้เรียนเพียงเท่านั้น
การส่งบุตรหลานเรียน กิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่วิชาการ (ที่จำเป็นต้องใช้ในโรงเรียน) ไม่ว่าจะเป็นการเรียนดนตรี ศิลปะ หรือแม้กระทั่งกีฬา จำเป็นที่จะต้องให้เวลากับผู้เรียนเพื่อฝึกทักษะ จนกว่าจะประสบความสำเร็จ หลายๆ ครอบครัวเลือกให้บุตรหลานเรียนดนตรี ในวัยเด็ก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็เริ่มไม่เห็นความจำเป็นของการเรียน ก็เริ่มถอย หรือ ถอดออก ก่อนที่เด็กจะได้เรียนเทคนิคชั้นสูง ในการเรียนศิลปะ หลายๆ ครอบครัวส่งบุตรหลานเรียน เพื่อเป็นการเสริมสร้างสมาธิ จินตนาการ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เวลาที่ให้กับการเรียนก็น้อยลง จนหมดไป แทนที่เด็กจะได้สั่งสมความชำนาญในงานศิลปะจนถึงขั้นสูง (การลงแสง เงา) ก็กลายเป็นการเสียประโยชน์ไป
การเรียนจินตคณิตก็เช่นกัน เป็นการเรียนจะต้องฝึกทักษะ เนื่องจากหลังจากการใช้ลูกคิดจะต้องมีการสร้างภาพลูกคิดในการจินตนาการ ซึ่งต้องใช้สมาธิ พื้นฐานการใช้ลูกคิดที่แม่นยำ และประยุกต์ใช้กับวิชาคณิตศาสตร์ในที่สุด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เด็กขาดทั้งความสม่ำเสมอในการเรียน และไม่ฝึกทักษะใดๆ ทำให้การเรียนเป็นไปได้ช้า และมีพัฒนาการที่ช้า ในที่สุดก็เลิกเรียนก่อนที่จะไปถึงประโยชน์สูงสุดของการเรียน
ดังนั้น หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หากต้องการให้บุตรหลานเรียนอะไร ต้องให้ความสม่ำเสมอต่อการเรียน ฝึกฝนทักษะต่อหลังเลิกเรียน เพื่อให้พัฒนาการเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้ประโยชน์สูงสุดทุกอย่าง
Feb 06
Posted by malinee on Thursday Feb 6, 2014 Under เกร็ดความรู้
เมื่อพูดถึงคำว่า เวลา เราจะไม่รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่มีค่าอะไรนัก จนกว่าจะมีการขีดเส้นจำกัดเวลาของกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่ง เมื่อนั้นเราถึงจะรู้คุณค่าของมัน ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ เช่นการทำข้อสอบ หากเราใช้เวลาในการทำข้อสอบในช่วงแรกนานจนเกินไป เราอาจถูกเก็บข้อสอบก่อนที่เราจะทำเสร็จ เช่นเดียวกัน เวลาที่เป็นวัยทองของเด็กก็มีจำกัดเช่นกัน วัยทองหมายถึงวัยของการเรียนรู้ ที่ผู้ใหญ่สามารถป้อนข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา หรือ การเรียนรู้ เราจะมีเวลาตั้งแต่ทารก จนถึง 10 ปีเท่านั้น เนื่องจากวัยดังกล่าวนั้น เป็นช่วงที่สมองยังมีการเชื่อมต่อปลายประสาท ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเรียนรู้ การรับรู้ และความฉลาดของเด็กเมื่อโตขึ้น
นอกจากในเรื่องของการเจริญเติบโตของสมองแล้ว เราจะกล่าวถึงเวลาในแง่ของการฝึกทักษะของคนโดยทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น การหัดขับรถของผู้ใหญ่ ก่อนที่จะขับขี่บนท้องถนนได้ ก็จะต้องเข้าใจอุปกรณ์ในรถยนต์ให้ครบทุกชิ้นก่อน แล้วจึงหัดเข้าเกียร์ และลงถนน พร้อมกับการเรียนรู้กฎจราจร นอกจากนี้การฝึกขับรถให้ชำนาญ สามารถแซง หรือการขับรถบนภูเขา ซึ่งต้องใช้ความชำนาญทั้งพื้นที่และการขับรถที่ต้องใช้ประสบการณ์ที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนของเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเรียนเสริมในใด ๆ เช่น การเรียนดนตรี ศิลปะ หรือแม้กระทั่งวิชาการต่าง ๆ หากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้ เรียนรู้ และฝึกประสบการณ์ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะให้คล่องแคล่ว พร้อมกับการสั่งสมประสบการณ์เพื่อให้สามารถพลิกแพลงเมื่อพบกับปัญหาที่แตกต่างจากเดิม
หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่มีความอดทน รอคอยให้เด็ก ๆ ได้สะสมประสบการณ์ จะทำให้ขาดความชำนาญ ไม่ว่าจะให้เด็กฝึกทักษะใด ๆ หากไม่มีประสบการณ์ที่มากพอแล้วหยุดการฝึกประสบการณ์ จะทำให้สิ่งที่สะสมมา ก็จะไม่เกิดประโยชน์ เมื่อเทียบกับเวลา(ในวัยทอง)ที่เสียไป
ครูจา
Feb 06
จากตอนที่แล้วเราได้รู้จักโรงเรียนในแนว Woldorf ไปแล้ว คราวนี้ก็จะกล่าวถึงโรงเรียนทางเลือกอีกแนวหนึ่ง ซึ่งอยู่ในนามของ มอนเตสเซอร์รี่ (Montessori) ซึ่งก็เป็นอีกแนวทางการศึกษาที่มีแนวนโยบาย (ต้นแบบ) ที่ชัดเจน
แนวคิดของการเรียนแบบมอนเตสเซอร์รี่ คือการเรียนแต่ละวิชาจะถูกเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเรียนแบบทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน นักการศึกษาพบว่าตั้งแต่เริ่มศตวรรษที่ 20 การศึกษาควรมีแบบแผนการเรียนที่แน่นอน และสัมพันธ์กับความต้องการของผู้เรียน เด็ก ๆ จะมีอิสระในการเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ ไม่ถูกบังคับให้เรียนในสิ่งที่ยังไม่เหมาะกับพัฒนาการของตน งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นพบว่าเด็กที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบอิสระจะทำให้เด็กมีวินัย ถูกกระตุ้นทักษะต่าง ๆ เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้
แนวความคิดแบบมอนเตสเซอร์รี่นั้นจะมีพื้นฐาน 3 อย่างดังต่อไปนี้
- โครงสร้างสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ นั่นหมายรวมถึงการจัดอุปกรณ์ที่มีความน่าสนใจในการสอนเพื่อให้เด็กทุกคนมีมุ่งความสนใจในการเรียน การจัดบรรยากาศในการเรียนจะเป็นการเรียนแบบเปิด ให้เด็กได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ สัมผัสกับธรรมชาติรอบตัว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว อุปกรณ์การเรียนให้เด็กเลือกใช้เอง ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ความมีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับเด็ก ซึ่งห้องเรียนแบบเปิดนี้จะกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ทักษะหลายด้าน การสังเกต หรือแม้กระทั่งการเข้าสังคมกับผู้อื่น การให้เด็กได้หยิบจับอุปกรณ์อย่างอิสระ ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากของที่จับต้องได้ (รูปธรรม)ให้เป็นนามธรรมได้ไม่ยากนัก ในการเรียนแนวนี้จะมีการแบ่งช่วงอายุเด็กเป็นช่วงละ 3 ปี เริ่มจาก 3 ปีไปจนถึง 18 ปี
- หลักสูตรมอนเตสเซอร์รี่ กรอบการจัดการเรียนรู้ของแนวมอนเตสเซอร์รี่จะแบ่งเป็นส่วนย่อยดังนี้
– ทักษะการดำเนินชีวิต
– ความรู้สึก
– คณิตศาสตร์
– ภาษาและวรรณคดี
– วัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ
– ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ หมายรวมถึงดนตรี การเคลื่อนไหว และละคร
- ครูในแนวมอนเตสเซอร์รี่ เนื้องจากการสอนในแนวมอนเตสเซอร์รี่ ครูจะต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการฝึกอบรมครูผู้สอนเพื่อการประเมินตัวเด็กจะได้ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
จากข้อมูลพื้นฐานของแนวการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอร์รี่ที่กล่าวมาพอสังเขป เราจะเห็นว่าหลักสูตรดังกล่าวก็มีความน่าสนใจไม่น้อย แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลูกหลาน และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่เราควรพิจารณาให้รอบคอบ
ครูจา
Jan 30
Posted by malinee on Wednesday Jan 30, 2013 Under เกร็ดความรู้
จากที่ได้กล่าวมาในตอนที่แล้วว่า แนวทางหรือนโยบายของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนนั้นมีความชัดเจน แต่ตัวพ่อแม่ ผู้ปกครองเอง ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวทางของการเรียนมากนัก ซึ่งปัจจุบันนี้แนวทางของโรงเรียนทางเลือกในบ้านเรามีมากมาย ซึ่งมีแนวทางต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
โรงเรียนในแนว Waldorft แนวการเรียนรู้นี้ มุ่งเน้นการเรียนแบบวนกลับแต่มีความรู้เชิงลึกมากขึ้น (An Ascending Spiral of Knowledge)
การเรียนการสอนในแนว วอล์ดอร์ฟ จะแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ละ 7 ปีโดยจะประกอบด้วย 3 ช่วง
– ช่วงแรกหรือช่วงก่อนวัยเรียน มีแนวคิดว่าจำนวนและตัวเลขไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นและสำคัญกับเด็ก แต่สิ่งที่สำคัญคือการรู้คุณค่าของตัวเอง ความภูมิใจในตัวเอง ส่วนการเรียนรู้เรื่องตัวเลขหรือสิ่งต่าง ๆ จะผ่านมาทางประสาทสัมผัสและจากประสบการณ์จริง จึงมุ่งเน้นที่งานศิลปะ ดนตรี และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สัมผัสได้จริง
– ช่วงที่สอง เป็นช่วงปฐมวัย มุ่งเน้นที่การพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์ และทักษะของการอยู่ร่วมกันในสังคม และยังเป็นข่วงวัยที่มีการกระตุ้นทั้งเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ควบคู่กับการคิดวิเคราะห์ การเขียนจะเป็นการเรียนผ่านการวาด การระบายสี ส่วนวิทยาศาสตร์ จะเป็นการสอนถึงธรรมชาติรอบตัว โดยในแต่ละวิชาจะมีการเชื่อมโยงกันด้วยศิลปะ
– ช่วงที่สาม มุ่งเน้นทางด้านวิชาการ กระบวนการคิดที่เป็นขั้นเป็นตอน
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เราจะพบว่า แนวทางการเรียนการสอนของระบบชัดเจน เพียงแต่ว่าสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องพิจารณาคือ ความต่อเนื่องของโรงเรียนในบ้านเราว่ามีความต่อเนื่องถึงวัยใด และนโยบายที่วางไว้ครูผู้สอน มีศักยภาพ ความทุ่มเท มากน้อยเพียงใด
ครูจา