Jan 12
สถานการณ์ที่ยังคลุมเคลือ หลายๆ คนที่ยังต้องทำงานนอกบ้าน ส่งบุตรหลานไปโรงเรียน ก็มักจะมีคำถามในใจขึ้นทุกวัน ว่าเราจะติดโควิดมั้ย ครูมีข้อมูลมาฝากให้ เผื่อคลายความกังวลได้บ้าง
ช่วงนี้เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าสายพันธุ์ของไวรัส ได้เปลี่ยนไปเป็นสายพันธุ์โอมิครอน มาดูความแตกต่างของสายพันธุ์กัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเรากับ 2 สายพันธุ์นี้หลักๆ อยู่ที่เรื่องของระยะฟักตัว
ระยะฟักตัว คือระยะที่เราได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งเป็นระยะที่จะทำให้เกิดอาการ (ถ้ากรณีที่ติดเชื้อ) และเป็นระยะที่ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง ถ้าพ้นระยะฟักตัวแล้วผลตรวจเป็นลบ แสดงว่าไม่ติดเชื้อ
ระยะฟักตัวของโควิดสายพันธุ์ต่างๆ
อู่ฮั่น 5 – 6 วัน อาการ 10 วันหลังรับเชื้อ
เดลต้า มีระยะฟักตัว 4 วัน อาการ 7 วันหลังรับเชื้อ
โอมิครอน มีระยะฟักตัว 3 วัน อาการ 5 วันหลังรับเชื้อ
แต่ก่อนจะมีอาการผู้ที่รับเชื้อมาแล้วสามารถกระจายเชื้อได้ 1 – 2 วันก่อนเกิดอาการ หรือบางรายอาจไม่เกิดอาการก็ได้
สิ่งที่ต้องเฝ้าติดตามคือ ข่าวสารของการเกิดการรวมตัวของสายพันธุ์เดิม เช่น ที่ไซปรัสที่เกิดเคสผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ร่วมระหว่างเดลต้าและโอมิครอน ที่เรียกว่า “Deltacron” แต่อยู่ในช่วงของการศึกษาว่าจะสามารถแพร่กระจายได้หรือไม่ และอีกเคสที่พบในอิสราเอล 1 เคสในผู้ป่วยตั้งครรภ์ ที่ไม่ได้รับวัคซีน เป็นสายพันธุ์ “Flurona” ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมระหว่างไข้หวัด (ประจำฤดู)กับโควิด หากมีการแปรผันของสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ วัคซีนน่าจะไม่ใช่คำตอบของโจทย์ข้อนี้ แต่เป็นการตั้งการ์ดของเราทุกๆ คน เพื่อให้เราอยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
สุดท้ายขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ
ครูจา
แหล่งที่มา
Jun 07
เสาร อาทิตย์นี้แล้ว ที่เด็กๆ จะต้องสอบคัดเลือกเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ4 หลังจากการถูกเลื่อนการสอบกันมาตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม ซึ่งเด็กๆหลายคนมีการเตรียมพร้อมกันมาเป็นเวลานาน เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคCOVID19 จึงทำให้ทุกอย่างต้องหยุดชะงักลงชั่วขณะ เด็กหลายๆ คน ถ้าทางบ้านมีเวลาดูแลเอาใจใส่ก็ยังอาจมีเวลาในการทบทวนบทเรียนเพื่อเตรียมตัวตลอดเวลา แต่หลายๆ ครอบครัว มิได้เป็นเช่นนั้น เด็กๆ เนื่องจากความเป็นเด็ก ก็จะไม่เลือกที่จะหยิบจับหนังสืออยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองหาวิธีในการแก้ปัญหา โดยการให้บุตรหลานเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถทำได้ในสถานการณ์ช่วงนี้แต่ การเรียนนั้นเป็นการทบทวนบทเรียนวิธีหนึ่ง แต่การเรียนนั้นอย่างมากก็ทำได้วันละไม่เกิน2 ชัวโมง หลังจากการเรียน ไม่ว่าจะเป็นนการเรียนวิชาใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคณิตศาสตร์ หากไม่ทบทวนหรือเริ่มกระบวนการคิดด้วยตนเอง ก็จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
การเรียนคณิตศาสตร์นั้น เป็นการฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ในระหว่างการเรียน ถ้าเป็นเรื่องใหม่ๆ การเรียน เราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีการให้แบบฝึกหัดเพื่อทบทวนบทเรียน เพื่อฝึกกระบวนการคิดอย่าเป็นระบบ และเมื่อเรียนในครั้งต่อไปจะสามารถต่อยอดไปเรื่องใหม่ได้ แต่เด็กๆ ส่วนใหญ่ เมื่อเรียนจบคือทิ้ง ไม่ทวน แล้วเวลาเรียนก็กลายเป็นว่าต้องเริ่มใหม่ทุกครั้ง ไม่พยายามคิดด้วยตัวเอง ไม่เริ่มที่จะคิด บ่มเพราะจนกลายเป็นนิสัยเป็นเด็กเฉื่อย ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีความพยายาม ไม่คิดที่จะเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ การเรียนรู้กลายเป็นว่าต้องมีคนป้อน ต้องมีคนสอน ไม่สามารถอ่านหนังสือหรือทบทวนเนื้อหาบทเรียนได้ด้วยตนเอง ลองสังเกตบุตรหลานของตัวเองว่่า คุณให้เขาเรียนแล้วเขาได้เคยนำบทเรียนมาทบทวนหรือไม่ หรือ ให้เรียนทุกวันจนทำให้เขารู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการเรียน แล้วหลังจาการเรียนที่เหนื่อยล้าคือเวลาที่เป็นเวลาที่จะต้องพักสะทีและการพักของเด็กก้อไม่พ้นการเล่นเกม..
#เรียนเยอะไม่แปลว่าเก่ง
#เรียนแล้วเก็บไม่ทวนไม่แปลว่าทำได้
#เป็นกำลังให้เด็กทุกคน
#สถาบันคิดสแควร์
May 24
ตอนนี้กระแสวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมคงหนีไม่พ้นเรื่องของการเรียนออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทำให้การเปิดเทอมของเด็กต้องยืดเยื้อออกไป จริงที่ว่าการเรียนของเด็กๆ ไม่ควรหยุดชะงัก แต่การเรียนออนไลน์ของเด็ก ต้องพิจารณาถึงวัยของเด็กด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ที่ไหนๆ จะเป็นการเปิดสอนในระดับมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น หากเป็นในระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมจะเป็นการเรียนแบบ home school ซึ่งเป็นการนำหลักสูตรจากประเทศต่างๆ มาเป็นแนวการเรียนการสอน โดยพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นเสมือนครูผู้สอน
การเรียนการสอนออนไลน์ ยิ่งเด็กยิ่งเล็ก ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องด้วยวัย ที่ทำให้เรื่องของสมาธิที่ที่จดจ่ออยู่กับเรื่องบางเรื่องนานๆ เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้แล้ววิชาบางวิชาอย่างคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะขึ้นเรื่องใหม่ๆ ให้กับเด็ก เช่นถ้าเด็กกำลังเริ่มที่จะเรียนการคูณเลขสองหลักคูณสองหลัก การทำความเข้าใจกับเด็กให้มีความเข้าใจ ต้องมีการ recheck กันหลายครั้งเพื่อความมั่นใจว่าเด็กมีความเข้าใจจริงๆ ถึงจะให้การบ้านได้ แล้วลองนึกภาพของการสอนเรื่องการวัดมุมกันนะคะ ขนาดสอนกันแบบเห็นกันเป็นตัวเป็นตนยังต้องใช้เวลาเลยแล้วนึกสภาพการเรียนออนไลน์ ถ้าเป็นการเรียนแบบกลุ่ม ไม่มีทาง ที่ทักษะเด็กแต่่ละคนจะเท่ากันได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในวัยเดียวกันก็ตามเพราะฉะนั้นการเรียนออนไลน์ไม่ใช่จะเหมาะกับทุกคนและไม่ใช่ทุกวิชาที่จะสามารถสอนออนไลน์ได้
ดังนั้นการเรียนออนไลน์ในช่วงนี้ของเด็กเล็กเป็นเพียงช่วงเวลาที่รอสถานการณ์ของการแพร่ระบาดให้คลี่คลายเท่านั้น แต่การที่การศึกษาในช่วงของปฐมวัยจนถึงประถมน้ัินคงไม่อาจถูก disruption ด้วยระบบออนไลน์ได้ด้วยวัยและความพร้อมของเขา นอกจากนี้แล้วเด็กในวัยดังกล่าวไม่ควรถูกปล่อยให้อยู่กับการสื่อสารทางเดียว เค้าควรได้มีการเรียนรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสให้ครบทั้ง 5 และมีการฝึกทักษะต่างๆผ่านระบบประสาทสัมผัสดังกล่าว เพื่อก่อให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ และเพื่อค้นหาความสามารถ และความถนัดต่อไป…
#เราจะผ่านมันไปด้วยกัน
#สถาบันคิดสแควร์
May 11
ในช่วงของสถานการณ์ที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆคนมีโอกาสได้อยู่บ้านแบบยาวๆ เด็กๆ เองก็หยุดแบบยาวๆ กัน การมีเวลาว่างๆ ของเด็ก ถ้าเป็นครอบครัวที่สรรหากิจกรรมต่างๆ ได้ทำร่วมกัน ก็จะทำให้เด็กๆ อาจมีเวลาค้นหาตัวตนของตนเองว่าชอบอะไร แต่ในปัจจุบันน่าเสียดายที่เวลาของครอบครัวถูกเบียดด้วยจอสี่เหลี่ยมที่เราเป็นคนพามันเข้าสู่ครอบครัว แล้วทำให้เวลาในการปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัวหายไป ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน
จากสถานการณ์ของการระแพร่ระบาด ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ปรากฏการณ์ใหม่ๆ หรืออาจเรียกว่าวิวัฒนาการที่ทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนแบบไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ที่แน่ๆ คือเด็กในรุ่นนี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงมาก คงไม่มีพ่อแม่ คนไหนคิิดจะให้บุตรหลานอยู่ภายใต้ปีกที่อบอุ่นของตนเองจนเค้าจากไป เรามีเพียงหน้าที่ที่จะดูแลชี้นำในสิ่งที่ถูกต้องหรือ เลือก#โรงเรียน สังคมให้เขาในวัยเด็กเท่านั้น สิ่งที่เราต้องคิดคือ เราได้เตรียมความพร้อมให้กับเขาสำหรับยุคของการใช AI (Artificial Intelligence) แล้วหรือยัง
ยุคของ AI คืออะไร คือยุคที่มีการเปลี่ยนจากแรงงานคนเป็นคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด คำว่าแรงงานไม่ได้หมายความแค่ผู้ใช้แรงงาน แต่หมายรวมถึงพนักงานทั่วไป ที่จะถูกแทนที่ด้วยระบบที่มีฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ด้วยความที่เกิดมาในยุคดิจิทัล ทำให้ทุกอย่างต้องรวดเร็ว จึงขาดทักษะของการรอคอย ไม่เห็นคุณค่าของการสิ่งของที่ได้มาเพราะไม่เคยต้องแลกกับการรอคอย หรือการต้องทำบางอย่างเพื่่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ ประกอบกับทางเลือกของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้เด็กทุกคนกลายเป็นลูกเทวดาในโรงเรียน เพราะโรงเรียนมีการแข่งขันกันสูงจึงถือว่าเด็กนักเรียนเป็นลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้าต้องมาก่อน เมื่อหันไปหาโรงเรียนทางเลือกอย่างโรงเรียนอินเตอร์ ซึ่งในช่วงของปฐมวัยจนจบระดับประถมศึกษา เน้นการเรียนแบบ child center นั่นคือแบบบูรณาการที่เราคุ้นเคย การเรียนขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก บางโรงเรียนการบ้านเป็นแบบ optional คือส่งหรือไม่ส่งก็ได้ กลับกลายเป็นทำให้เด็กขาดวินัยอย่างรุนแรง สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เด็กในยุค 4.0 กลับกลายเป็นการบ่มเพาะความเปราะบางทางด้านอารมณ์ ขาดวินัย ไร้ความพยายาม ไม่มีความอดทน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถทำให้เขาเติบโตในยุคของการแข่งขันกับเทคโนโลยีได้เลย
ดังนั้น อย่าให้เขาต้องเผชิญปัญหาในขณะที่เขาไม่สามารถแก้ไขนิสัยได้ เราซึ่งเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นผู้ที่วางกรอบให้ แต่ไม่ได้มีหน้าที่ในการตีกรอบ วางให้เขาอยู่ในระเบียบวินัย ใส่ทักษะของการรอคอย ปล่อยให้เรียนรู้ที่จะผิดหวัง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สร้างภูมิต้านทานให้เขาได้ก้าวเดินอย่างมั่นคงในเวลาที่เขาต้องเดินโดยไม่มีไหล่คุณให้เกาะ..
#เรามีสิทธิเลือกเส้นมางให้ลูก
#เลือกผิด= เหนื่อยเพิ่มขึ้น
#เลือกถูก= อนาคตที่ดีของลูกเรา
#สถาบันคิดสแควร์
Jan 30
Posted by malinee on Thursday Jan 30, 2020 Under ข่าวการศึกษา
ครูได้มีโอกาสคุยกับเด็ก ม.ปลาย หลายๆ คน หลายๆ ครั้งที่ได้คุยกันเรื่องการเลือกเรียนต่อในมหาวิทยาลัย คำตอบที่ได้กลับมาคือ การอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ ค่านิยมดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากการที่เด็กมีความรู้สึกว่าการเรียนต่อต่างประเทศเป็นการอัพเกรดให้ตนเองเมื่อจบมาจะได้มีเงินเดือนที่สูงกว่าการเรียนในประเทศ หรือส่วนใหญ่ประเมินว่าตนเองจะไม่สามารถเข้าเรียนในสาขาวิชาที่ตนเองต้องการในประเทศได้
ที่จริงแล้วการเรียนต่อต่างประเทศที่จะทำให้ได้เงินเดือนที่สูงขึ้นได้ เพราะการเรียนต่อในแบบดังกล่าวเป็นการสอบชิงทุน ซึ่งการสอบชิงทุนนั้นจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกที่เลือกเฟ้นผู้เรียน ที่มีความรับผิดชอบในการเรียน และะความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง โดยการเรียนดีอาจเป็นสิ่งเดียวที่เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าเด็กคนนั้นมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง (มาตรฐานของคนไทย) เพราะเด็กไทยไม่ต้องรับผิดชอบหน้าที่ด้านอื่น
ส่วนการเรียนต่อต่างประเทศ โดยใช้ทุนของตนเอง อาจเป็นเพราะลดภาวะการสอบแข่งขันให้กับบุตรหลาน..เช่นใน การเรียนหมอ ..คำตอบของเด็กหลายๆ คนว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร คำตอบที่เราได้รับจะหนีไม่พ้น หมอ หรือ ครู แต่เมื่อเด็กโตขึ้น ความอยากเป็นครูจะหายไป เหตุผลคือ ผลตอบแทน และการเป็นที่ยอมรับในสังคม ความเป็นหมอมีมากที่สุดในสังคมไทย จึงทำให้เด็กหลายคนรวมทั้งพ่อแม่อยากให้ลูกเป็นหมอ..ซึ่งการเรียนในสายแพทย์ในเมืองไทย แน่นอนจะต้องเรียนในสายวิทย์-คณิต แต่ที่มากกว่านั้นคือความเพียร ความช่างสังเกต การจดบันทึก ความมีระเบียบวินัยความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และความพยายามในการแก้ปัญหา ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มักจะถูกฝึกจากการเรียนที่ค่อนข้างหนักในสายวิทย์-คณิต แต่ไม่ได้หมายความว่าการเรียนในสายอื่นไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ การสอบคัดเลือกเข้าเรียนโรงเรียนแพทย์ในรอบแรก (รอบ portfollio) จะต้องมีเกรดเฉลี่ย 3.5 ขึ้นไป และส่งผลของการสอบ Bmat และ ภาษาอังกฤษ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ในขณะที่การเรียนต่อโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศ ต้องการเกรดเฉลี่ย3.0 โดยที่เด็กไม่จำเป็นต้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั้ง3 ตัว(และไม่มีสายวิทย์ คณิต)เหมือนบ้านเรา การเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นการเลือกเรียน2 ใน3 ตัวเท่านั้น เนื่องจากในต่างประเทศมุ่งเน้นให้เด็กรู้จักตัวตนก่อน แล้วจึงเลือกเรียน จึงไม่มีการเลือกสาย เหมือนบ้านเรา ทำให้เด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยเลือกเรียนในด้านวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่ยากกว่าการเรียนภาษา ดังนั้นการเลือกเรียนหมอที่เมืองนอกจึงง่ายกว่าเมืองไทย ถ้าพูดถึงการสอบคัดเลือกในกาเรียนหมอเมืองไทยเข้มกว่ามากเพราะเข้มและยากกว่านี่เองทำให้เด็กที่จบหมอจากบ้านเรามามีเก่งในทุกด้านและความรักและภูมิใจในอาชีพ และบ้านเราจะได้หมอที่มีฝีมือที่ดีมากไม่แพ้เมืองนอกเลย..
จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่ว่าระบบการศึกษาของบ้านเราล้มเหลวแต่เพียงเพราะค่านิยมของคำว่า จบจากเมืองนอก หรือไปเรียนเมืองนอกทำให้เด็กไทยพยายามหาทางไปเรียนต่อต่างประเทศซึ่งจริงๆแล้วการศึกษาบ้านเราเก่งไม่แพ้ใครเพียงแต่เด็กในรุ่นหลัง ขาดความอดทน พ่อแม่ตามใจ พอเจอการเรียนที่ยากหน่อย ก้อไม่พยายามสู้ มีฐานะหน่อยก้อหาทางลัดให้ลูกจบได้ง่ายกว่า จึงทำให้ค่านิยมนี้ยังอยู่กับเด็กไทยไปทุกยุคทุกสมัย. สุดท้ายนี้ครูอยากฝากถึงเด็กม.ปลายทุกคนที่กำลังจะเลือกคณะเข้ามหาวิทยาลัย มันคือ ประตูก้าวแรกที่เราจะเลือกในการดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้า ไม่ว่าจะเลือกสายไหน อาชีพไหนก็ตาม..ขอแค่หาตัวเองให้เจอ และที่สำคัญ เป็นคนดีของสังคม…
#เรียนเมืองไทยภูมิใจกว่าเยอะ.
#เด็กไทยเก่งไม่แพ้ชาติไหน..
#เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ..
#สถาบันคิดสแควร์
Dec 10
Posted by malinee on Tuesday Dec 10, 2019 Under เกร็ดความรู้
เนื่องจากครูมีโอกาสได้เข้าไปเป็น out source ของโรงเรียนหลายๆ แห่ง ก็จะได้เห็นวัฒนธรรมการดูแลเด็กในแต่ละโรงเรียน การปฏิบัติต่อผู้ปกครอง การให้คำปรึกษา การเรียนการสอน นโยบาย ของแต่ละโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน
ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้การเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียน ทำให้ครูต้องปรับการเรียนการสอนแปรผันตามความพร้อมของเด็ก ไม่ใช่ว่าเด็กมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน แต่เด็กได้รับการฝึกทักษะกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน
เด็กแต่ละคนมีความเป็นปัจเจกบุคคล ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เค้าเติบโตมาตั้งแต่เค้าเกิดมา เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่คุยเล่นกัน มีอะไรคุยกันถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันบนโต๊ะอาหาร โดยทิ้งทุกอย่าง มีแต่การสนทนากัน จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าความของความสุขเกิดขึ้นจริงๆ บ้านคือบ้าน ไม่ว่าเค้้าจะมีปัญหาสักแค่ไหน เค้าจะกลับมาตรงนี้ ตรงที่มีคนฟังเค้า ในทางกลับกัน ถ้าเค้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนไม่พูดไม่จากันก้มหน้าก้มตา online อยู่กับสิ่งที่ตัวเองสนใจ เขาก็จะเติบโตมาแบบไม่ได้รู้สึกว่าการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นเด็กเก็บตัว คุณพ่อคุณแม่จะไม่มีทางได้รับรู้ว่าเค้ามีความสุขหรือเค้ามีปัญหาเรื่องอะไร เพราะเค้าไม่เคยเรียนรู้ที่จะพูดเรื่องอะไรตอนไหน ไม่รู้ว่าจะมีใครฟังหรือไม่ ในบ้านเองเขายังไม่รู้จะพูดกับใครเลย มันกลายเป็นการสร้างกำแพงขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น เขาไม่ได้ถูกสอนให้เข้ากลุ่มเพื่อน เพราะคุณเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เค้าได้เรียนรู้การอยู่แบบทางเดียวคือการสื่อสารผ่าน social ที่เค้าไม่เคยเห็นเลย
อย่าเลือกโรงเรียนที่ดีที่สุดให้เค้า ก่อน เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดของเค้าเพื่อให้เค้าได้เติบโตอย่างมีความสุขไม่ว่าเค้าจะเจออุปสรรคใดๆ อย่างน้อยคุณยังเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้้เค้ารู้สึกอบอุ่นใจทุกครั้ง และเป็นกำลังใจให้เค้าได้ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง ไม่มีโรงเรียนไหนดีเท่าโรงเรียนพ่อแม่หรอก…. เชื่อสิ
Sep 08
มีกระแสมากมายเรื่องการเรียนพิเศษ มีทั้งนักวิชาการ นักวิจัย จิตแพทย์เด็ก ออกมาแสดงความคิดเห็นต่างๆ แต่โดยรวมไม่เห็นด้วยกับการเรียนพิเศษ
หากกล่าวถึงเรื่องการเรียนพิเศษในบ้านเรา ต้องแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ออกเป็นกลุ่มๆ โดยหากแยกตามวัยแล้ว เด็กเล็กก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนพิเศษ เพราะไม่มีเรื่องที่ยากจนพ่อแม่ผู้ปกครองสอนเองไม่ได้ แต่ในกลุ่มเด็กที่โตขึ้น ในช่วงของประถมปลาย ความจำเป็นเกิดขึ้นกับเด็กที่มีปัญหาการเรียนในชั้นเรียน กับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานได้เรียนในโรงเรียนรัฐที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายความถึงครูที่สอนในโรงเรียนดังกล่าวย่อมถูกคัดกรองอย่างมีคุณภาพเฉกเช่นเดียวกับเด็กที่ต้องฝ่าด่านการสอบคัดเลือกอย่างดุเดือดเข้มข้นไม่แพ้กัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เกิดเนื่่องจากคุณภาพของโรงเรียนในบ้านเราไม่ได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด คุณภาพของครูผู้สอนก็เช่นกัน หากเลือกได้ไม่มีใครอยากเป็นครูเลย ทำให้ครูในเครื่องแบบในปัจจุบัน หลังจากสอบบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว ถ้าไม่ได้อยู่ในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ก็แทบไม่ได้คิดวิธีใหม่ๆในการสอนเลย สอนตามหน้าที่ให้หมดวัน..เด็กจะรู้เรื่องหรือไม่ก็แล้วแต่ พอคะแนนสอบออกมาสอบตก ครูก้อบอกให้ไปเรียนพิเศษ..เรียนกับครูก็จะได้คะแนนเยอะหน่อย แต่ถ้าเรียนที่อื่นคะแนนก้อตามความจริง..คิดเพียงแต่จะหารายได้เสริมจากการสอนพิเศษให้เด็กมาเรียนกับตน จิตสำนึกของความเป็นครูเพื่อทำให้ลูกศิษย์มีความรู้เหมือนครูในสมัยก่อนหายไป ซึ่งทำให้ผ้ปกครองทุกวันนี้ต้องหาที่เรียนพิเศษ..ไม่ใช่ความผิด ของครูแต่มันเป็นที่ระบบการศึกษาตั้งแต่สอบคัดเลือกเข้ามาเลยเพราะสอบราชการยากมาก ต้องติวจะมีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อให้ผ่านการบรรจุ ซึ่งเขาถือว่ามันคือการลงทุน การเรียนพิเศษในคนเอเชียกลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เพียงแค่คนไทย เหตุผลเพียงเพราะ ใครๆก็อยากได้ในสิ่งที่ดีกว่าทั้งนั้น…
..#ฝากไว้สักนิด.. การเป็นครูไม่แค่สอนให้หมดวัน แต่เราต้องสอนเค้าในทุกเรื่องเพื่อให้เค้าเติบโตไปมีความรู้และเป็นคนดี..
Apr 25
Posted by malinee on Thursday Apr 25, 2019 Under เกร็ดความรู้
ในเดือนหน้าจะเป็นช่วงของการเปิดปีการศึกษาใหม่ของเด็กโรงเรียนไทย
ซึ่งโดยปกติจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก
แต่มีอยู่วัยหนึ่งที่เด็กจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบก้าวกระโดด นั่นคือการเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งเรื่องการนอนกลางวัน การช่วยเหลือตนเอง
การเรียนในชั้นเรียนที่ใหญ่ขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนต่างๆ
จะเปิดเรียนภาคฤดูร้อนเพื่อให้เด็กๆ
ได้ปรับตัวก่อนที่จะเปิดปีการศึกษาใหม่อย่างเต็มตัว
ปัจจุบันนี้โรงเรียนประถมมีอยู่หลากหลาย
แต่ก็จะมีแนวทางหลักๆ เพียง 2 – 3 แนว คือ แนวเร่งเรียน (แนวโรงเรียนคาทอลิค) , โรงเรียนในแนวบูรณาการ (แนวสาธิต)
และสุดท้ายเป็นแนวสองภาษา (Bilingual) ซึ่งแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกัน
มีข้อเด่นข้อด้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปกครองว่าไปตรงกับแนวทางหรือหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนใด
สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองเลือกให้กับบุตรหลานนั้น เป็นสิ่งที่แต่ละครอบครัวคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุตรหลาน
ของตน แต่เรามักหลงลืมไปว่า คนเรียนคือตัวบุตรหลาน เขาควรได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในชีวิตการเรียน
ซึ่งต้องใช้เวลา 1
ใน 3 ของวันอยู่ที่นั่น การเลือกโรงเรียนของพ่อแม่ผู้ปกครองนั้น
จะต้องรู้ถึงแนวทางการเรียนการสอนว่าเหมาะกับบุตรหลานหรือไม่ เพราะไม่มีใครรู้จักนิสัยลูกของเราได้เท่าพ่อแม่
เด็กส่วนใหญ่หลายๆ คนไม่มีปัญหากับการเปลี่ยนสถานที่เรียน เขาสามารถปรับตัวให้เข้าได้กับทุกๆ
สถานที่ แต่เด็กหลายๆ คนที่มีพี่เลี้ยงคอยดูแลตลอดเวลาที่เค้าลืมตา
หรือพ่อแม่ผู้ปกครองที่ตามใจ โดยที่บุตรหลานไม่เคยต้องหยิบจับหรือทำอะไรด้วยตัวเอง
จะไม่เห็นความสำคัญของเรื่องเวลา เพราะไม่เคยทำอะไรด้วยตนเอง ไม่ต้องเร่งรีบ
เพราะยังไงก็มีคนทำให้ แต่ชีวิตในโรงเรียนที่มีเวลาในแต่ละคาบที่จำกัด เขาไม่สามารถมีผู้ติดตามอย่างพี่เลี้ยงหรือพ่อแม่
ที่คอยเข้าไปดูแลได้ ทำให้เขาทำทุกอย่างได้ไม่ดีเท่าที่ควร
หรือใช้เวลามากกว่าเด็กคนอื่นๆ ทำให้ถูกตำหนิ ว่ากล่าวเป็นประจำ
ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะเกิดปัญหา การไม่อยากไปโรงเรียน การไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะมักถูกครูดุ
หรือถ้าร้ายกว่านั้น เขาจะเป็นเด็กที่ไม่สนใจในสิ่งที่ครูพูด กลายเป็นเด็กดื้อเงียบ
อยากทำอะไรก็ทำ ไม่อยากทำอะไรก็จะไม่ทำ อย่างไม่มีเหตุผล
เอาอารมณ์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วเขาไม่ได้มีปัญหาของการเรียนรู้
แต่มีปัญหากับทัศนคติ และพฤติกรรมในโรงเรียน และปัญหานี้จะพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ
จนไม่สามารถแก้ไขได้
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทุกปี แต่พ่อแม่ผู้ปกครองคิดว่าซักวันเด็กจะปรับตัวเข้ากับโรงเรียนได้เอง
ต้องอดทน แต่ไม่เคยมีเด็กคนไหนกลับมาเป็นเด็กดีของพ่อแม่ และครูได้อีกเลย ดังนั้นอย่าให้เหตุการณ์ต่างๆ
เหล่านี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับเด็กที่ไม่ได้มีปัญหา แต่เราเป็นคนยัดเยียดปัญหาให้เค้า
โดยพาเค้าไปในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับตัวเค้า
หรือเราไม่ได้เตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจกับเค้าว่า เค้าโตขึ้น
Apr 18
Posted by malinee on Thursday Apr 18, 2019 Under เกร็ดความรู้
พูดถึงวิชาคณิตศาสตร์แล้ว เด็กๆ หลายคนไม่ชอบเท่าไรนัก แต่มันเป็นหนึ่งในวิชาหลักที่พวกเค้าจะต้องเรียนไปจนกว่าจะจบมัธยมต้น แต่กลับกลุ่มเด็กอีกหลายๆ คนที่เป็นกลุ่มของเด็กที่เรียกว่ามี sense ทางคณิตศาสตร์จะวิ่งเข้าใส่ ไม่ว่าโจทย์จะพลิกแพลงยังไง รูปแบบไหน เขาเหล่านี้ไม่เคยถอย คณิตศาสตร์เป็นอาหารสมองอันโอชะของเขาเหล่านั้น จากสถิติหลายๆ สำนักมักพบว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์ดี จะมีคะแนนวิทยาศาสตร์ดีด้วยเช่นกัน เด็กในกลุ่มนี้จะมีความโดดเด่นในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มากกว่าเด็กปกติ โดยปกติเราจะพบเด็กที่มี sense ทางคณิตศาสตร์ไม่มากนัก
สอนเด็กที่ไม่มี sense คณิตศาสตร์ให้มี sense ได้หรือไม่ ต้องบอกก่อนว่าการที่บุตรหลานของเราไม่มี sense ทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
เพียงแต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่ทำให้เค้าเกิดทัศนคติทางด้านลบกับคณิตศาสตร์ ค่อยๆ
ให้เค้าได้เรียนรู้คณิตศาสตร์รอบตัวผ่านประสบการณ์จริง ถึงแม้เด็กที่มี sense ทางคณิตศาสตร์หากเจอครูที่ทำให้ทัศนคติทางคณิตศาสตร์เสียไป
ก็อาจจะทำให้เขาเสียเวลาอยู่นานกว่าจะค้นพบตัวตนของตัวเอง
การฝึกฝนเป็นวิธีหนึ่งที่เพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ ทุกคน
ยิ่งฝึกมากความถนัดหรือทักษะก็มากขึ้นตามไปด้วย อาจจะจริงที่คนที่ไม่มี sense อาจต้องใช้เวลามากกว่า หรือแบบฝึกหัดที่มากกว่า
แต่เราก็สามารถฝึกให้เด็กทุกคนมีกระบวนการคิดให้เป็นระบบ
อย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นอย่ากังวลว่าบุตรหลานจะสู้กับเด็กคนอื่นไม่ได้
ความถนัดของคนแต่ละคนแตกต่างกัน คนทุกคนไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกัน
หรือเก่งเท่ากัน สิ่งที่สำคัญคือ
พ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่เปรียบเทียบบุตรหลานของตนเองกับเพื่อนคนอื่นๆ
มันเป็นเหมือนดาบ 2 คม ถ้าเค้าอยู่แนวหน้าของห้อง
เขาจะไม่มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่หากเค้าอยู่แนวกลางค่อนหลัง
เค้าจะรู้สึกว่าเขาสู้ใครไม่ได้ และไม่มีความภูมิใจในตัวเอง (ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ
สร้างขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก) หากเขาถูกทำลายด้วยคะแนน หรือวิชาที่เขาไม่ชอบ
เขาจะไม่มีทางค้นหาตัวเองเจอ ว่าเขาทำอะไรได้ดี ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองทำได้คือ
การให้กำลังใจในสิ่งที่เค้าทำเต็มที่ โดยไม่ควรคำนึงถึงผลว่ามันจะออกมาอย่างไร
และคอยสังเกตในสิ่งที่เขาทำได้ดี และส่งเสริมทางด้านนั้นๆ (ไม่ใช่เกมส์ online) เพราะในกระบวนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดไม่ได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
เช่น เสื้อจะต้องมีทั้ง designer
, ช่างตัด , ช่างปัก
ซึ่งในแต่ละทีมไม่ได้ใช้พนักงานคนเดียวกันทำเลยแม้แต่อย่างเดียว
เพราะฉนั้นความถนัดหรือความชอบ ของเด็กแต่ละคน มันคือ sense ในแต่ละด้านที่เค้ามีแตกต่างกันไปเพียงเท่านั้นเอง…..
Apr 07
ช่วงเวลาของการสอบคัดเลือกผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
ทั้งการสอบเด็กเล็ก (เครือสาธิต) และเด็กโต (มัธยม) เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดความผิดหวังกับหลายๆ
ครอบครัวในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง เหตุการณ์ที่น่ากังวลคือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ที่สอบแข่งขันเพื่อเข้าโรงเรียนสาธิต
ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูงมาก อัตราการแข่งขันเฉลี่ย 1:30 เด็กหลายๆ คนต้องติวเพื่อสอบเป็นเวลา 1 ปีเต็ม
โดยไม่ได้หยุดแม้กระทั่งวันอาทิตย์ แล้วการสอบตัวเค้าก็มีความรู้สึกว่าทำได้
ข้อสอบไม่ได้ยาก ทำให้เค้ามีความหวังว่าเค้าต้องติดแน่ๆ หลังจากออกจากห้องสอบ
พ่อแม่ผู้ปกครองก็จะคอยถามว่า เป็นยังไง ทำข้อสอบได้มั้ย เค้าก็ตอบตามความรู้สึกว่าเค้าทำได้
ต่างฝ่ายต่างมีความหวังว่าจะติด แต่เมื่อประกาศผลการคัดเลือก กลับไม่มีชื่อเค้า
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กหลายๆ คนคือ ทำไมเค้าไม่ติด ในขณะที่เพื่อนติด
แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้นคือ ความไม่มั่นใจที่จะไปสอบในที่ต่างๆ อีก
ในขณะที่หลายๆ โรงเรียนมีเพียงอนุบาล เด็กหลายๆ คนถูกบั่นทอนความมั่นใจที่เคยมี จากการสอบเพียงครั้งเดียวตั้งแต่วัย
5 ขวบ แล้วช่วงวัยต่อจากนี้ไปเขาจะต้องดำเนินต่อไปอย่างไร เพราะต่อจากเด็กเล็ก จะต้องมีการสอบคัดเลือกทุกๆ
6 ปี
แต่ในวัยอนุบาลควรหลีกเลี่ยงเพราะเค้าเล็กเกินกว่าที่จะอธิบายให้เค้าได้เข้าใจถึงอัตราการแข่งขัน
แต่สิ่งที่สำคัญคือ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ที่มองบุตรหลานออกว่าสามารถยอมรับกับการไม่ได้คัดเลือก
หรือไม่ได้สนใจกับผลที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ถ้าไม่
ควรหลีกเลี่ยงการสอบแข่งขันที่มีอัตราการแข่งขันสูงขนาดนั้นดังนั้นการบ่มเพาะความรัก
ความเอาใจใส่บุตรหลาน เป็นสิ่งสำคัญ ต้องให้เค้าได้รู้ว่าไม่ว่าเค้าจะผิดพลาดอย่างไร
พ่อแม่ยังคงอยู่เคียงข้างเค้าเสมอ การสอบเข้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่จะทำงานโดยมีเวลาจำกัด
การมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ และทำสิ่งที่ทำอยู่ให้ดีที่สุด ผลจะออกมาเป็นอย่างไรไม่สำคัญ
พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นคนสร้างภูมิด้านจิตใจให้เค้าให้แกร่งขึ้น
เพื่อพร้อมรับกับภาวะของการแข่งขันที่จะต้องมีผู้ที่ถูกคัดออก