เรียนอะไรดี

Posted by malinee on Monday Aug 28, 2017 Under เกร็ดความรู้

เนื่องจากในปีการศึกษา 2561 จะเป็นปีแรกที่มีการรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาแบบใหม่ ที่เรียกว่า ระบบ TCAS (Thai University Central Admission System)  ซึ่งเป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเป็นรอบๆ โดยมีทั้งสิ้น  5 รอบและในแต่ละรอบจะมีการกำหนดวัน Clearing house ซึ่งเป็นการตัดสิทธิ์สำหรับเด็กที่ได้เลือกคณะที่ตนเองได้เลือกแล้ว เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับผู้อื่น และในปัจจุบันก็มีสาขาวิชาที่ให้เลือกเรียนมากมาย

การเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนนั้น หลายๆ กระแสก็ให้เลือกตามแนวโน้มของโลกในอนาคต เนื่องจากนักวิเคราะห์หลายๆ สังกัดก็มีการบ่งชี้ว่ามีหลายๆ อาชีพที่จะไม่เป็นที่ต้องการ หรือหายไปในที่สุด ด้านนักเศรษฐศาสตร์ก็วิเคราะห์ว่า แนวโน้มในอนาคตคนทำงานควรมีอาชีพมากกว่า 1 อย่าง การวิเคราะห์ดังกล่าว ทำเอาทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง และตัวเด็กเองเกิดความสับสน และลังเลใจ ไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนอะไรดี หรือหาอาชีพที่สองได้อย่างไร

การเลี้ยงดูของพอแม่ผู้ปกครองในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ นั่นคือ แบบที่ปล่อยให้เด็กเรียนรู้ไปตามวัย โดยปล่อยหน้าที่เรื่องของการเรียนให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พาบุตรหลานเรียนเสริมในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เด็กมีความโดดเด่นทางด้านวิชาการ สามารถสอบแข่งขันในสนามต่างๆ ได้ทุกสนาม กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีการพาบุตรหลานส่งเสริมในกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียน เช่นด้านกีฬา ดนตรี ต่อเนื่องจนเด็กมีทักษะในการเรียนเสริมที่ดี

ลักษณะการเสริมความรู้ และทักษะของครอบครัวในแต่ละกลุ่มจะทำให้เด็กมีทักษะที่แตกต่างกัน เด็กในกลุ่มแรก เด็กจะเรียนรู้ได้จากโรงเรียนเพียงอย่างเดียว เด็กในกลุ่มที่ 2 จะเป็นเด็กที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และเขาเหล่านั้นก็จะสามารถเลือกเรียนในสาขาที่เขาต้องการได้ ส่วนเด็กในกลุ่มที่ 3 อาจเป็นเด็กที่มีผลกาเรียนในระดับกลางๆ แต่มีทักษะด้านอื่นที่เรียนมาเพิ่ม จะสามารถนำทักษะที่ได้เรียนมาเป็นอาชีพรองต่อไป

พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจกังวลว่าแล้วในอนาคตเค้าจะสามารถดูแลตนเอง ได้หรือไม่ หากวันนี้เราทำหน้าที่ในการดูแล อบรม เลี้ยงดูเขาเหล่านั้นให้เป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของตนเอง ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลแทนเขาเลย

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

5070402-head-silhouette-and-gears-mental-health-concept            ผู้ปกครองหลายๆคน ยังคงมีข้อสงสัยว่าจินตคณิตกับการคิดในใจเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สิ่งที่เหมือนกันของการคิดในใจกับจินตคณิตก็คือ ผลลัพธ์ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ วิธีการที่แตกต่ากัน มาดูการคิดในใจกันก่อน การคิดในใจคือการคิดคำนวณด้วยจำนวน โดยที่เด็กที่จะคิดในใจได้จะต้องมีทักษะ หรือครูชี้แนะวิธี เช่น 27 + 9  การ +9 ทำได้โดยการ  + 10 ก่อน แล้วค่อย -1 ซึ่ง 27 + 1สิบ (การบวก 1 ในหลักสิบ) ก็จะได้ 37 แล้วลดลง 1 (เนื่องจากบวกเกินไป 1) ก็จะได้ผลลัพธ์คือ 36  หรือการคิดในใจแบบการลบ ก็ทำได้เช่นกัน เช่น  22 – 8 การ -8 ทำได้โดยการ – 1 สิบ แล้ว +2 นั่นคือ 22 – 1สิบ จะได้ 12 แล้ว + 2 (การลบ 10 เป็นการลบเกินไป 2 ก็ต้องบวกกลับเข้ามา 2)ผลลัพธ์ก็คือ 14 นั่นเอง ซึ่งในการฝึกคิดเลขในใจ จะเห็นว่าเด็กจะต้องมีความเข้าใจอย่างแม่นยำในเรื่องของค่าประจำหลัก จึงจะทำให้เด็กมีการคำนวณที่ไม่ผิดพลาด

ส่วนจินตคณิตนั้น เป็นการคิดคำนวณเป็นภาพลูกคิด มีการเคลื่อนเม็ดลูกคิดขึ้นลง 4 มิติ การเห็นภาพเคลื่อนไหวของเม็ดลูกคิด (เราเรียกกันว่าการจินตนาการ) นั้น ทำให้เด็กสามารถจดจำคำตอบได้อย่างแม่นยำ หากเปรียบเทียบการคิดเลขในใจ กับการจินของจินตคณิต การคิดในใจเหมือนการอ่านวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องใช้ประสบการณ์ในการอ่านเพื่อทำความเข้าใจมาวิเคราะห์เป็นตัวหนังสือที่เป็นความเข้าใจของตัวเองอีกครั้ง ส่วนจินตคณิตเปรียบเหมือนกับการดูการ์ตูนที่เป็นภาพเคลื่อนไหวของเด็ก เด็กจะสามารถจำภาพเคลื่อนไหวได้ดีกว่า (ในเด็กเล็ก) การคิดเป็นจำนวน

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments