เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เป็นการประกาศผลการสอบ o-net ของนักเรียนชั้น ป。6 ,ม。3 และม。6 ซึ่งผู้ปกครองหลายๆ คน มักมีคำถามการสอบ o-net เป็นการสอบเพื่ออะไร มีประโยชน์หรือจุดประสงค์ใด

เรามาดูแนวคิดและจุดประสงค์ของการสอบกัน

วัตถุประสงค์ของการสอบ O-net
1. เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียน ป.6, ม.3 และ ม.6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

  1. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
  2. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
  3. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
  4. เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการตัดสินผลการเรียนของผู้ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
  5. ใช้เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และสถาบันอุดมศึกษา

จากวัตถุประสงค์ของจัดสอบนั้น มีจุดมุ่งหมายที่ดี หากได้มีการดำเนินปรับปรุงแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของเด็กหรือพัฒนาการเรียนรู้ตามนโยบายให้ดีขึ้น

แต่จากผลการสอบมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เห็นนโยบายในการพัฒนาการทางด้านการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมให้เห็นอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่วิเคราะห์ได้คือ นโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นนโยบายที่ล้มเหลว ซึ่ง ครูได้มีโอกาสได้คุยกับนักเรียนที่อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาที่ได้รับนโยบายดังกล่าว เด็กๆ จะไม่มีการเรียน ไม่มีกิจกรรม ในคาบสุดท้าย แล้วครูถามว่าแล้วเด็กๆ ทำอะไร คำตอบที่ได้คือ การท่องโลกอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เค้าเหล่านั้นอย่างอิสระ  ในปีนี้ ผลคะแนนเฉลี่ยของเด็กในกรุงเทพเอง มีเพียงภาษาไทยและสังคมศึกษาเท่านั้น ที่มีคะแนนมากกว่า 50% ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเห็นผลคะแนนเฉลี่ยในระดับประเทศแล้ว เหลือเพียงภาษาไทยวิชาเดียวที่เกินครึ่ง ที่เหลือคะแนนจะอยู่ระหว่าง 30 – 45% เท่านั้น ซึ่งคะแนนที่ครูนำมาอ้างอิงเป็นคะแนนในระดับป。6 เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน เมื่อค่าเฉลี่ยต่ำตั้งแต่ในช่วงชั้นประถม เราก็จะเห็นแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยในระดับที่สูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเลย  badgradeclipart

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

จากค่าเฉลี่ยของการสอบ O-Net ของโรงเรียนแต่ละโรง โดยรวมแล้วเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยในวิชาหลักไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 50) โดยส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 22 – 30% เท่านั้น ซึ่งเป็นผลการประเมินที่น่าตกใจเมื่อเทียบกับการร่ำเรียน ศึกษามาตลอด 1 ปีการศึกษา ที่น่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นเพราะเรากำลังจะเปิด AEC ในปี 2558 ซึ่งเมื่อดูจากผลการสอบแล้ว เด็กไทยมีอาการเข้าขั้นวิกฤติเมื่อต้องแข่งขันกันในระดับอาเซียน ไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันระดับโลกกันแล้ว หากการเรียนการศึกษาของลูกหลานเรายังคงมีผลประเมินในแนวทางนี้ เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการเลี้ยงดูลูกหลานให้มีความรู้ที่ไม่ใช่ในแนวท่องจำเพียงอย่างเดียวแล้ว เราต้องฝึกให้เด็กได้มีการคิดวิเคราะห์ และการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้นแล้ว ไม่ใช่การอ่านและท่องจำเพื่อให้ได้คะแนนสอบในโรงเรียนเท่านั้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments