จากที่กล่าวมาแล้ว ก็จะพบว่าไม่ว่าจะเป็น IQ (ความฉลาด สติปัญญา) หรือ EQ (ความฉลาดทางอารมณ์) ต่างก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ดังนั้นเพื่อพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านอารมณ์และสติปัญญา เด็ก ๆ ควรจะได้รับการส่งเสริมทั้งสิ้น

นอกจาก 2Qs ดังกล่าวแล้ว สิ่งที่สำคัญลำดับต่อไป นักวิชาการมักเรียกว่า “AQ “ (Adversity quotient) ซึ่งหลาย ๆ คนเข้าใจว่า AQ เป็นเพียงความมุ่งมั่นในการทำให้สำเร็จ ความพยายามที่จะทำสิ่งที่ท้าทาย แต่ AQ หมายรวมถึง การเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส หรือ แม้กระทั่งการรู้จักยอมรับความผิดหวัง

จากคำจำกัดความต่าง ๆ ข้างต้น เราสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม AQ ได้ ตัวอย่าง การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงก่อนวัยเรียน เราสามารถหากิจกรรมที่ท้าทายความสามารถให้เหมาะกับอายุได้ เช่นการให้เด็กร้อยเชือกผ่านชิ้นงานในแบบต่าง ๆ โดยมีต้นแบบให้ และเพิ่มความยากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และความสนุก เมื่อได้ทำกิจกรรมที่ยากขึ้น  ก็เป็นการส่งเสริมความพยายามที่จะทำให้สำเร็จได้  หรือเมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็ก ๆ ก็จะต้องเข้าเล่น หรือทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน ซึ่งในการเล่นย่อมจะมีผู้แพ้ และผู้ชนะ ทำให้เขาได้เรียนรู้ถึงความผิดหวังบ้าง และเมื่อเขาโตขึ้น เขาก็สามารถยอมรับ และเผชิญกับปัญหาได้มากขึ้น

แต่ในทางกลับกัน หากครอบครัวใดไม่เคยส่งเสริมพัฒนาการทาง AQ อาจเป็นเพราะไม่รู้ว่าการตามใจ หรือให้ความช่วยเหลือจนเกินขอบเขตเป็นการบ่อนทำลายภูมิต้านทานเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ถึงความลำบาก ความพยายาม ความผิดหวัง หรือแม้กะทั่งการยอมรับในความพ่ายแพ้ เมื่อเขาเหล่านั้นโตขึ้น เข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้น โดยไม่มีใครสามารถปกป้องเขาได้อีก เขาจะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง จนมีโอกาสที่จะทำอะไรโดยขาดสติยั้งคิดได้ หากวันนี้เรายังคงพอมีเวลา เราควรหันกลับมาส่งเสิรมพัฒนาการทางด้านนี้ เพื่อให้เขาเติบโตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

จากตอนที่ 2 ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีการเรียนรู้โดยการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับวัยทารก แต่เด็กแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในการเรียนรู้ของเขา แต่มีงานวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนว่า หากเด็ก ที่เข้าโรงเรียนโดยมีทัศนคติในเชิงบวก และมีการฝึกทักษะ (นั่นคือการเคลื่อนไหวในวัยทารก) แล้ว เขาจะมีทักษะในการเรียนรู้ที่ดี และมีความก้าวหน้าในการเรียนที่ดี ซึ่งเด็กทุกคนจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ หรือความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว เพียงแต่เรามีหน้าที่ที่จะต้องกระตุ่นหรือสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม

เด็กวัยอนุบาล มักมีการเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน การเข้าสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ซึ่งเราสามารถให้ความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดังนี้

–           กระตุ้นให้ทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ โดยให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ แต่ความช่วยเหลือที่ให้ต้องไม่เกินขอบเขต สิ่งที่เด็กจะได้รับ คือประสบการณ์ที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ให้สำเร็จ

–           สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าสนใจ เพื่อเพิ่มหรือเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้

–           การฝึกให้เด็กหัดสังเกต สิ่งแวดล้อม อาจทำได้ง่าย ๆ โดยการถามถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในวันนั้น ๆ เช่นการถามว่าวันนี้คุณครูใส่เสื้อสีอะไร เพื่อกระตุ้นให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต

–           ให้ความสนใจกับสิ่งที่เขาทำ หรือยินดีเมื่อเขาทำสำเร็จ  เด็ก ๆ ทุกคนมักจะภูมิใจกับสิ่งที่ตนเองเริ่มทำ และทำสำเร็จ ซึ่งเป็นประสบการณ์ในเชิงบวก และนอกจากนี้ ยังทำให้เขาเกิดความมั่นใจ กล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ  แต่หากเขาทำไม่สำเร็จ ต้องให้กำลังใจ ถึงแม้สิ่งที่เด็กได้รับจะไม่ใช่ความสำเร็จ แต่เขาก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ และ ความพยายามที่จะติดตัวเขาไป

–           พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้มีทักษะในการลำดับเหตุการณ์ และการใช้ภาษา โดยปล่อยให้เขาได้คิดอย่างอิสระ แก้ข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด เพื่อให้เขาได้กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการ

–           สร้างสถานการณ์ผ่านกิจกรรม ให้เขาได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

–           หากิจกรรมประเภท การแยกประเภท สี ขนาด เพื่อฝึกการพิจารณาสิ่งของในแบบรูปต่าง ๆ ให้เขาสามารถแยกความแตกต่างของรูปทรงต่าง ๆ

หากเราสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ หรือเสริมทักษะ เขาก็จะยังคงมีธรรมชาติของการอยากเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น แต่หากเด็กไม่ได้พัฒนาการเรียนรู้ให้สนุก สิ่งที่ติดตัวเด็กมา (ความอยากรู้อยากเห็น การชอบการเรียนรู้) ก็จะหายไปในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

             ในปัจจุบันนี้มีการศึกษาในแนวทางเลือกมากมาย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา  ซึ่งการเรียนจินตคณิตโดยใช้ลูกคิดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งเป็นการเรียนเพื่อเสริมศักยภาพของสมองให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กใช้สมองทั้ง 2 ซีกในการทำงานอย่างอัตโนมัติ แต่การเรียนนั้นกว่าจะสู่จุดหมายดังกล่าวใช่ว่าจะต้องใช้พรสวรรค์ของเด็กเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องใช้พรแสวงของเด็ก ๆ ด้วย ซึ่งการเรียนจินตคณิตนั้นถ้าจะให้เห็นผลอย่างชัดเจน ทั้งเด็ก และ ผู้ปกครองจะต้องใช้เวลา และ ความสม่ำเสมอในการทำแบบผึกหัด อีกทั้งการมีวินัยในการฝึกฝน แต่มันก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของเด็ก ๆ เลย ที่จะเรียนจินตณิตได้อย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเสริมสร้างวินัยและการเรียนรู้ในทุก ๆ ด้าน ต่อไป 

กล้วยไม้มีดอกช้า………..ฉันใด

การศึกษาเป็นไป…………..เช่นนั้น

แต่ดอกออกคราวไร…………..งามเด่น

งานสั่งสอนปลูกปั้น………เสร็จแล้วแสนงาม

(บทประพันธ์ของ หม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล)

Tags : , , , , , , | add comments