responsibility-clipart-6BcaEBdT8            ผ่านไปแล้วสำหรับการประกาศผลสอบเข้าเรียนในห้องเรียนพิเศษ (Gifted และ EP) ครูต้องขอแสดงความยินดีกับน้องๆ หลายๆ คนที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งนั่นหมายถึงการเตรียมความพร้อมได้เป็นอย่างดี แต่อีกหลายๆ คนไม่ได้เลือกลงเข้าการคัดเลือกในรอบนี้ หรือน้องๆ บางคนที่พลาดในรอบนี้ นั่นไม่ได้หมายความว่าตนเองจะหมดโอกาส ทุกๆ คนยังมีโอกาสในสนามใหญ่อีกครั้งในวันที่ 1 เมษายน นี้ ซึ่งเป็นการแข่งขันพร้อมกันทุกโรงเรียน ดังนั้นเด็กที่พลาดจากสนามแรก ก็จะต้องเข้าสอบในสนามนี้

สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำคือ การพิจารณาโรงเรียนในการให้น้องๆ สอบคัดเลือกของพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรประเมินปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เด็กมีโอกาสได้รับการคัดเลือกมากที่สุด ซึ่งหมายถึง จำนวนคู่แข่ง : จำนวนนักเรียนที่รับ และการเตรียมตัวของตัวบุตรหลาน และตัวเด็กๆ เองก็ต้องรู้หน้าที่ของตัวเอง ต้องอ่านหนังสือ ทำแบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาทักษะของตนเองให้ได้รับคัดเลือกในที่สุด

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แนวโน้มไม่ได้เป็นแบบนั้น เนื่องจากเด็กๆ ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ไม่เรียนรู้ว่าการเรียนเป็นสิ่งเดียวที่เป็นหน้าที่ของตนเอง และทำในสิ่งที่ตนเองสนใจเท่านั้น โดยไม่รู้สึกเดือดร้อนกับความบกพร่องในหน้าที่ของตนเอง เพราะรู้อยู่แล้วว่าไม่มีทางที่ตนเองจะไม่มีที่เรียน ในที่สุด พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องคอยวิ่งเต้น เพื่อให้ตนเองได้มีที่เรียนในที่สุด

หากพิจารณากันดีๆ แล้ว ความผิดพลาดในพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้เกิดขึ้น เนื่องจากเขาเหล่านั้นไม่เคยถูกสอน หรือฝึกให้อยู่ในระเบียบวินัยในการทำหน้าที่ของตนเอง และสิ่งที่แย่กว่านั้นคือ เด็กไม่เคยได้รับบทลงโทษเมื่อทำผิดกฎ หรือระเบียบใดๆ เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ปกป้องอย่างไม่มีเหตุผล จนกลายเป็นการบ่มเพาะนิสัยที่ไม่รู้จักหน้าที่ ของตนเอง ไม่มีความรับผิดชอบและไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ในที่สุด หากเด็กๆ ได้รับการฝึกระเบียบวินัย และรู้จักหน้าที่ของตนเอง ต่างคนต่างรู้และรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง ก็เป็นเหมือนจิกซอรที่ทุกคนในครอบครัวช่วยกันต่อจนเป็นภาพที่สมบูรณ์ในที่สุด

 

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

5326158-homework-frustration            ข่าวล่ามาแรงเรื่องการรับจ้างทำการบ้านผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากตามข่าวกันจริงๆ แล้ว การรับจ้างทำงานทั้งการบ้านและงานวิจัยต่างๆ มีมานานแล้ว และมีอยู่มากมายหลากหลายเจ้าให้เลือก แต่สิ่งที่น่าตกใจคือ อายุที่น้อยลงของการว่าจ้าง ตอนนี้ไม่ใช่การว่าจ้างในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว แต่เป็นการว่าจ้างในระดับเด็กประถม ถึงมัธยม

หากใครได้สัมผัสกับ เด็กๆ หรือเยาวชนในยุคปัจจุบันบ่อยๆ จะพอทราบว่ากระแสสังคมในยุคดิจิตอลนั้นค่อนข้างก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของความอดทน ความพยายามในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง นอกจากนี้เด็กในยุคปัจจุบันยังมีแนวโน้มของการเป็นสมาธิสั้น หรือขาดความสนใจในทุกๆ เรื่อง จนกลายเป็นเด็กเฉื่อยในที่สุด หลายๆ คนคงสงสัยว่ามันเกี่ยวกันอย่างไรกับเรื่องของการบ้านที่เป็นที่ฮือฮากันในปัจจุบัน ผลของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ทำให้ผู้คนเกิดความสะดวกสบาย จนไม่มีความอดทนพอที่จะรออะไรที่ต้องใช้เวลา เด็กๆ ก็จะซึมซับพฤติกรรมดังกล่าวจากสิ่งแวดล้อมที่เร่งรีบ จนกลายเป็นนิสัย จนอาจเกิดเป็นเด็กสมาธิสั้น ที่ไม่สามารถอยู่นิ่งๆ หรือมีสมาธิในการทำงานแต่ละชิ้น (ซึ่งเกิดเนื่องมาจากการเลี้ยงดู) หรือเด็กอีกกลุ่มที่พ่อแม่ ดูแลเอาใจใส่แบบเกินร้อย จนทำให้เด็กไม่มีความกระตือรือร้นในการทำอะไรเลย ทุกอย่างเดี๋ยวก็มีคนจัดการให้ เขาทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือ “รอ” ในที่สุดเด็กก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มีความพยายามในการเรียนรู้ หรือทำงานใดๆ เลย สาเหตุเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่ฝึกวินัยหรือความรับผิดชอบใดๆ เลย เขาก็จะไม่มีความรู้สึกเดือดร้อนกับการบ้านหรืองานที่ถูกมอบหมายมา แต่ผู้ที่จะกระวนกระวายคือตัวพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซึ่งจะต้องให้บุตรหลาน สะสมคะแนนเก็บจากงานต่างๆ จึงต้องหาทางออก โดยการทำให้ด้วยตนเอง หรือหากทำด้วยตนเองไม่ได้ ก็ต้องไปว่าจ้าง สุดท้ายสิ่งที่ตามมาคือ เด็กที่ไม่มีคุณภาพ (ที่มีปัจจัยหลักเกิดจากการเลี้ยงดูเป็นต้นเหตุ) แม้แต่สิ่งเดียวที่รับผิดชอบยังไม่สามารถทำให้ดีได้ ไม่ต้องพูดถึงอนาคตของเขาที่จะมาเป็นผู้ใหญ่ หรือ พ่อแม่ในรุ่นต่อไปเลย หากพ่อแม่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างวินัยให้กับบุตรหลาน ก็ต้องยอมรับกับผลที่ตามมา คือ เขาจะไม่สามารถรับผิดชอบอะไรเลยแม้แต่ตัวเขาเองไม่ว่าเขาจะอยู่วัยใดก็ตาม

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

จากกระแสที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหูตอนนี้  นั่นก็คือ รายการไทยแลนด์ ก๊อต ทาเลนท์ 2013 ที่มีการออกอากาศในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นการสัญญาณหลาย ๆ อย่างมายังสังคม หากกรณีนี้เป็นเรื่องจริงที่ไม่ใช่เจตนาของผู้จัดรายการ ก็สามารถสื่อให้เห็นได้ว่า สังคมไทยมันอยู่ในช่วงขาลงมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว มันเป็นสัญญาณของบ่งบอกถึงทัศนคติการดูแล เอาใจใส่ หรือ การเลี้ยงดู แต่สิ่งที่บ่งบอกชัดเจนคือ ผู้จัดรายการใช้สื่อโดยไม่นึกถึงผลกระทบของสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากรายการนี้เป็นรายการที่สามารถตัดต่อเทปได้  แต่ทางผู้จัดก็ไม่คิดจะตัดตอนนี้ออกไป อีกทั้งรายการนี้เป็นรายการในช่วงเย็นของวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่มักอยู่หน้าจอทีวี แต่เพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ในการสร้างกระแสเพื่อให้รายการเป็นที่กล่าวขวัญอีกครั้ง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ น่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ปกครองหลาย ๆ คนที่ปล่อยเด็ก ๆ ไว้หน้าทีวี โดยการเลือกช่วงเวลาของเด็ก ๆ ควรจะอยู่หน้าจอทีวี (ที่ผู้จัดรายการขาดสำนึกผู้รับผิดชอบต่อสังคม) ผู้ปกครองควรจะอยู่กับบุตรหลานเพื่อคอยชี้แนะ ทั้งในสิ่งที่ดี และสิ่งที่ไม่ดี เนื่องจากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถเลือกเสพแต่รายการดี ๆ ได้ด้วยตนเอง

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 เดือน ก็มีข่าวการเสียชีวิตของเด็ก ๆ ติดต่อกัน 3 คน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเด็ก พิจารณาถึงสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วหาวิธี หรือหนทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ความปลอดภัยของเด็ก ๆ ที่ผู้ปกครองฝากไว้ในมือของโรงเรียน ก็จะมีมากขึ้น

girls-playing-basketball-black-white      จากเหตุการณ์ล่าสุดที่น้องนนท์ หลังจากได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จุฬาเป็นเวลา 3 เดือน ที่ล่วงลับไป มันทำให้เกิดคำถามขึ้นหลายฝ่ายว่า เด็ก 2 คนที่ร่วมกันรุมทำร้ายน้องนนท์นั้น เกิดเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการเลี้ยงดูของครอบครัว(ที่ปัจจุบันมักเป็นครอบครัวเดี่ยว ที่มีลูกเพียงคนเดียว) หรือมีเหตุปัจจัยอื่น เช่น เกมที่ไม่ได้รับการคัดกรองจากผู้ปกครอง แฝงด้วยความรุนแรง กันแน่ เราไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะครู หรือทางโรงเรียนเท่านั้นที่เป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อตัวเด็ก แต่หมายรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบพฤติกรรมของตัวเด็ก ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมเด็กที่แสดงออกมา นอกจากให้กำเนิดเขาเหล่านั้นแล้ว ยังต้องมีหน้าที่เลี้ยงดู อบรม บ่มนิสัย เพื่อให้เขาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมในภายภาคหน้า

หลาย ๆ ครอบครัว ทั้งพ่อและแม่ให้ความสำคัญกับปากท้อง และความมีหน้ามีตาในสังคมมากกว่าการให้เวลาในการอบรม เลี้ยงดูบุตรหลาน คอยชี้นำในสิ่งที่ดี มีคุณธรรมให้เป็นคนดีในสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการทำงานไม่สำคัญ แต่เป็นเรื่องของการแบ่งเวลา ให้มีความเหมาะสม  พ่อแม่มีหน้าที่ที่จะต้องดูแลบุตรหลานเมื่อเขาอยู่ที่บ้าน ส่วนครูก็มีหน้าที่อบรมบ่มนิสัย ให้ความรู้กับเด็กนักเรียนเมื่อเขาอยู่ที่โรงเรียน หากมีการรับ-ส่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี เชื่อว่าสังคมเราก็น่าอยู่ขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

อะไร ……. สำคัญกว่า?

Posted by malinee on Sunday Jun 3, 2012 Under Uncategorized

หากคุณพ่อ คุณแม่สมัยใหม่นึกย้อนกลับไปดี ๆ เมื่อสมัยที่คุณยังเป็นเด็กอยู่นั้น จะพบว่าเด็กในสมัยก่อน กับสมัยนี้นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งได้แก่ ขนาดของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ การเลือกโรงเรียน หรือแม้แต่การอบรมเลี้ยงดู

สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพียงต้องการชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของวิถีชีวิตในแบบตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของคนไทย ทุกสิ่งทุกอย่างสะดวกสบายมากขึ้น การติดต่อสื่อสารใช้เวลาสั้นลง จนเกิดเป็นความเคยชินจนลืมนึกถึงบางอย่างที่ไม่สามารถเร่งหรือย่นระยะเวลาได้ด้วยเทคโนโลยี  เช่น เราไม่สามารถเร่งให้เด็กเดินได้ตั้งแต่ 6 เดือนแรก ซึ่งการที่เด็กแต่ละคนจะสามารถเดินได้นั้น ก็ต้องเริ่มมีการพัฒนาเรื่องการทรงตัวจากการนั่ง และการคลานก่อน นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างทางด้านร่างกายก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน หากเด็กยังมีกระดูกหรือกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง การเดินก็ถือเป็นสิ่งที่อันตรายต่อตัวเขาเช่นกัน

การยกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ของเด็ก  ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน หรือเด็กหลาย ๆ คนอาจต้องการวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม นั่นไม่ได้แปลว่าเขามีปัญหาในการเรียนรู้ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งหมายถึงพ่อแม่ ครู อาจารย์ มักใช้ข้อสอบหรือแบบทดสอบในการวัดผลออกมาในรูปของคะแนน เนื่องจากเป็นผลที่ออกมาเป็นตัวเลขได้แน่นอน สิ่งต่าง ๆ ที่วัดออกมา บางคนอาจเรียกว่าความฉลาด ความเข้าใจ หรือความรู้ แต่โดยรวมเข้าใจได้ว่าคือ “IQ” นั่นเอง

นอกจาก IQ แล้ว งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นก็ยังสนับสนุนว่ายังมีความฉลาดด้านอื่น ๆ อีกที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็ก ซึ่งพอสรุปได้อีก 2 ประเด็นก็คือ EQ  , SQ

เราจะมาพูดถึงทีละประเด็น ซึ่ง Q ต่อมาคือ EQ หลาย ๆ คนทราบดีว่า EQ คือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ หลาย ๆ ครอบครัวที่ปล่อยปละละเลยกับการส่งเสริมการมี EQ ของเด็ก มักทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่รู้จักการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ การส่งเสริมนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เกมส์ต่าง ๆ เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ ให้รู้จักแพ้ชนะ (เกมส์ที่แนะนำควรเล่นกันในครอบครัว เช่น เกมส์เศรษฐี บันไดงู) ในช่วงแรกของการเล่น เด็กจะไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อสร้างสถานการณ์ขึ้นบ่อย ๆ แล้วมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการที่มีผู้ใหญ่ที่คอยชี้แนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม  การที่เด็กถูกปล่อยให้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ IPad โดยเล่นอยู่คนเดียว จึงมีโอกาสที่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้อย่างง่ายดาย

Q ต่อมาคือ SQ (Spiritual intelligence) ความหมายของ SQ ไม่มีบทเฉพาะตัว แต่พอจะกล่าวกว้าง ๆ ได้ว่าคือความฉลาดในความอดทน การประเมินตนเอง การรู้คุณค่าของตนเอง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าความรู้หลายเท่ามาก หากเด็กคนใดที่มีการฝึกในเรื่องของ AQ, SQ, MQ มาเป็นอย่างดี ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขทั้งในหน้าที่การงานและชีวิต เนื่องจากเขาสามารถเปลี่ยนทัศนคติในเชิงลบให้เป็นบวกได้ หรือปล่อยวางสิ่งที่ตนเองไม่สามารถแก้ไขได้ คนที่มี SQ ที่ดีมักเป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี (ซึ่งไม่ได้หมายถึงฐานะทางการเงิน แต่เป็นความรักความอบอุ่น)นั่นเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

สองมือแม่นี้ที่หายไป

Posted by malinee on Tuesday Sep 20, 2011 Under Uncategorized

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศตึงเครียด จะมีเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้นที่ไม่ต้องกังวล แต่สังคมโดยรวม หรือประชากรส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ กับความฝืดเคือง ภาวะเงินเฟ้อ ข้าวยากหมากแพง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกที่เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะที่จะต้องดิ้นรนเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งอาจทำได้โดยการทุ่มเทกับงานให้มากขึ้น เพื่อโอกาสก้าวหน้าทางด้านการงาน ทำงานพิเศษ นอกเวลา ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวส่งผล 2 ด้าน นั่นคือ การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และ ผลทางด้านครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่เป็นครอบครัวเดี่ยว เนื่องจาก เมื่อพ่อแม่ให้ความสำคัญกับหน้าที่การงานมาก ก็จะทำให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูลูกน้อยลง เป็นสาเหตุของปัญหาสังคม จริยธรรม ที่เราได้ยินได้ฟังจนกลายเป็นความเคยชิน จนไม่มีใครมีสำนึกที่จะช่วยแก้ปัญหา
ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมเมื่อสืบสาวกันลึก ๆ มักเกิดจากปัญหาพื้นฐานทางครอบครัวเป็นหลัก ความรุนแรงของปัญหานั้น ๆ ขึ้นอยู่กับว่า คนที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองนั้นตระหนักหรือรับทราบถึงปัญหาหรือไม่ มีสำนึกถึงหน้าที่ของความเป็นบุพการีมากน้อยเพียงใด ภาพรวมของผู้เป็นพ่อแม่ปัจจุบัน นิยมผลักเด็กออกจากตัวเองโดยไม่รู้ตัว แล้วมีคำพูดที่เป็นข้อแก้ต่างตลอดเวลาว่า ไม่มีเวลา ต้องทำงาน ไม่แม้กระทั่งหาข้อมูล (ที่แสนจะง่ายดาย และสะดวกสบาย) เกี่ยวกับพฤติกรรมในแต่ละวัย บางครอบครัวไม่มีเวลาถึงขนาดไม่รู้ด้วยซ้ำว่าลูกหลานของตนมีพฤติกรรมอย่างไร มีการเรียนย่ำแย่ หรือดีแค่ไหน ปล่อยให้หน้าที่ดังกล่าวเป็นของทางโรงเรียน และโรงเรียนกวดวิชา ส่วนตนเองมีหน้าที่หาปัจจัยต่าง ๆ มาบำรุง บำเรอ ความสุข ความสะดวกสบาย หรือหน้าตาทางสังคม โดยไม่เหลียวแลหน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัย การขัดเกลาจิตใจ จึงทำให้เด็กมีความเชื่อ และค่านิยมผิด ๆ โดยขาดการชื้ทางที่ถูกที่ดี
ครอบครัวที่มีพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น เมื่อดูภายนอกแล้ว เป็นครอบครัวที่มีความสุข สมบูรณ์ ก็เหมือนกับผลไม้ที่เน่าข้างใน โดยที่ผิวด้านนอกยังดูดีอยู่ เราจะไม่รู้เลยจนกว่าเราจะไปสัมผัส จับต้องมัน แล้วเจ้าหนอนตัวเล็ก ๆ ก็จะชอนไชออกมาพร้อมกลิ่นเหม็น เช่นเดียวกับปัญหาเล็ก ๆ ภายในครอบครัว หากเกิดในช่วงสั้น ๆ หากรู้แล้วสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ก็สามารถกำจัดหนอนน้อยเพียงไม่กี่ตัวไปได้จากเนื้อทั้งชิ้น แต่ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่รับรู้ และไม่พยายามที่จะหาสาเหตุของปัญหา ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อ ผูกจากปมหนึ่งไปอีกปมโดยไม่สิ้นสุด จนสุดท้ายปัญหาต่าง ๆ ไม่สามารถคลี่คลายได้ ก็ปล่อยไปตามยถากรรม เมื่อครอบครัวซึ่งถือเป็นฐานของบ้านเมือง หากฐานเองยังไม่มีความมั่นคงแข็งแรงแล้ว ไหนเลยจะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับตึกทั้งหลังได้เล่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวต่าง ๆ เหล่านี้จะเบาบางลงถ้า พ่อแม่ให้ความสำคํญกับหน้าที่ของความเป็นพ่อแม่อย่างแท้จริง มิฉะนั้นก็รอวันที่ประเทศชาติจะล้มลงด้วยมือของทุกคนที่ไม่สำนึกในหน้าที่ของตนเอง

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

IQ หรือ I kill

Posted by malinee on Monday Sep 5, 2011 Under Uncategorized, ทฤษฎีลูกคิด

อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่ว่า ณ ปัจจุบันนี้ในบ้านเรามีแนวการศึกษาให้เลือกในแบบต่าง ๆ มากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ยังไม่เห็นความโดดเด่นในเรื่องของวิชาการในเด็กรุ่นนี้มากนัก หากแต่สิ่งที่เราเห็นนั้นมันกับตรงกันข้าม บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินได้ฟังจากพ่อแม่ผู้ปกครองว่า ลูกเรียนแล้วไม่ได้อะไร ไม่มีความรับผิดชอบ ต้องคอยดูแลจนกระทั่งโต หรือได้ยินได้ฟังจากครูว่าเด็กรุ่นนี้ ไม่เอาใจใส่ต่อการเรียน ไม่มีความพยายาม หรือแม้กระทั่งบทความต่าง ๆ ที่เรามักจะได้อ่านพบว่าเด็กไทย ไอคิวต่ำลง ทั้งนี้ทั้งนั้นมันคงไม่ได้เป็นที่กลุ่มของเด็ก หรือวัยของเด็ก หากเกิดมาจากหลายปัจจัย ซึ่งพอจะประมวลได้ดังนี้
– กฏกระทรวงที่สร้างสรรค์ ให้โรงเรียนรับนโยบายที่ว่าไม่มีการตกซ้ำชั้น ซึ่งไม่ว่าเด็กคนนั้นจะไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ก็สามารถสอบขึ้นชั้นได้ โดยที่มีคะแนนเก็บ ซึ่งเป็นรายงาน คะแนนความประพฤติ แล้วนำมารวมกับคะแนนสอบ กลางภาค (ประมาณ 10%) กับคะแนนสอบปลายภาค (อีก 20%) ซึ่งรวมคะแนนสอบแล้วไม่สามารถบอกความสามารถ หรือความรู้พื้นฐานของเด็กได้ ซึ่งเมื่อเด็กเรียนในชั้นที่สูงขึ้นไป ความสามารถในการรับรู้ หรือในเรื่องของการอ่านยังไม่ได้ถูกฝึกให้พัฒนาขึ้น ทำให้ครูผู้สอนไม่สามารถที่จะต่อยอดความรู้หรือเนื้อหาใหม่ให้เด็กได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ ปล่อยให้ครูผู้สอนระดับต่อไปรับเด็กต่อไปเรื่อย ๆ สุดท้ายเมื่อเด็กไปโรงเรียนก็ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่ขวนขวายหาความรู้ เพราะติดขัด ไม่มีความสุข ไม่มีความภูมิใจในตัวเอง เด็กกลุ่มนี้ก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และรวมกลุ่มกันหาสิ่งที่ทำโดยที่ตัวเองมีความสุข ซึ่งถ้าสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขเป็นประโยชน์กับตัวเองก็ไม่น่าเป็นห่วงซักเท่าใด แต่ความสุขที่เด็กกลุ่มนี้พบมักเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา กว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะรู้เท่าทันทุกอย่างก็สายเสียแล้ว
– สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเป็นในส่วนของการบริหารระบบแล้ว ยังเกิดจากสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการคือ ความใกล้ชิด ดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งมักมีข้ออ้างหลักที่คนกลุ่มนี้ใช้คือ ไม่มีเวลา ต้องทำงาน แล้วให้จัดหาคน หรือ สิ่งของที่ดูแลลูกอย่างขาดวิจารณญาน ไม่ได้ไตร่ตรองถึงข้อเสียว่ามันคุ้มค่ากับสิ่งที่เรายอมเสียให้กับลูกหรือไม่ ผู้ใหญ่มักคิดว่าตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ มากมาย เห็นว่าเด็กยังไงก็ไม่ยอมรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง ซึ่งมีเพียงการเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ขาดความรู้เท่าทันไปว่า สิ่งที่ตนเองให้กับลูก (เกมส์ , iPad , iPhone หรือแม้กระทั่งทีวี) นั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กขาดวินัย และความรับผิดชอบ เห็นเพียงแต่ว่าเมื่อเด็กอยู่กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ทำให้เขาไม่เข้ามากวนใจ หรือต้องคอยหาอะไรให้ทำ เพราะเด็กจะอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้นานเป็นหลายชั่วโมง
สิ่งที่น่าเศร้าคือ เคยได้ยินว่าจะมีนโยบายจากกระทรวงให้เด็กชั้นประถม 1 (ซึ่งยังจับดินสอไม่ถนัด เขียนหนังสือยังไม่ได้ ต้องหัดลากตามรอยเส้นประ) ใช้ tablet เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงเทคโนโลยี คาดว่านโยบายนี้จะเป็นนโยบายเพิ่ม I kill เด็กไทย ไม่ใช่ IQ ซะแล้ว

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments