ปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปมากมาย ทำให้เกิดเครื่องมือที่ทันสมัยมากมาย ยิ่งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองในยุคใหม่ยิ่งได้รับความสนใจกันอย่างมาก

คงมีหลายๆ ครอบครัวที่รู้จักเครื่องที่ใช้สแกนลายนิ้วมือของเด็ก เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ได้รู้ว่าบุตรหลานมีความถนัด หรือต้องส่งเสริมด้านใด สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงสถิติที่เก็บข้อมูลเพื่ออ้างอิงให้พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นแนวทาง  หลายๆ ครอบครัวใช้ผลของการสแกนลายนิ้วมือนี้ เป็นตัวชี้นำว่าจะต้องส่งเสริมบุตรหลานด้านใด ในความเป็นจริงแล้ว หากพ่อแม่ผู้ปกครองดูแลเอาใจใส่ ให้เวลากับบุตรหลานมากพอ ก็ไม่ยากเลยที่จะรู้ว่าบุตรหลานของตน มีความถนัดด้านใดเพื่อให้ความสามารถด้านนั้นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ในการดำเนินชีวิตของคนแต่ละคน ไม่สามารถที่จะใช้ทักษะเพียงด้านเดียวได้ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรเพิ่มทักษะให้กับบุตรหลานในทุกๆ ด้าน  โดยไม่มุ่งเน้นไปด้านใดเพียงด้านเดียว วัยเด็กนั้นสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ทุกๆ ด้าน ขึ้นอยู่กับการส่งเสริมให้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยการจัดกิจกรรมในวันหยุดภายในครอบครัว เพื่อให้เขาได้พัฒนาศํกยภาพของตนเองในแต่ละด้านได้อย่างสมดุล

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

หากใครได้ติดตstudyingามข่าวการศึกษา หรือข่าวทั่ว ๆ ไป ตอนนี้ก็คงได้ยินคำว่า แอดมิชชั่น กัน หลาย ๆ คนอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบแอดมิชชั่นเป็นอย่างดี แต่หลาย ๆ คน ก็ยังงง ๆ กับการสอบดังกล่าวว่าคืออะไร

แอดมิชชั่น (Admission) เป็นระบบกลางที่คัดเลือกนักเรียนนักศึกษาเข้าสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นการสอบที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องสอบและนำคะแนนที่ได้มายื่นเพื่อเลือกคณะที่ตนเองจะเข้าศึกษาอีกที

ระบบแอดมิชชั่นนี้ บริหารงานโดย สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า สทศ. โดยที่หน้าที่ของสทศ. คือพัฒนาข้อสอบเพื่อวัดและประเมินมาตรฐานการศึกษา วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแต่ละคน สทศ.จะรับผิดชอบการประเมินผลด้านการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนหลักสูตรไทย ในประเทศไทย หลายครั้งด้วยกันคือ ป.3, ป.6, ม.3, และ ม.6 แต่ในการสอบแอดมิชชั่นนั้นจะนับกันเฉพาะ การสอบวัดผลในระดับชั้น ม.6 เท่านั้น

ยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง

และยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง

คราวนี้เรากลับมาที่การสอบแอดมิชชั่นว่า เด็กนักเรียนจะต้องสอบข้อสอบดังต่อไปนี้

1. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว แนวคิดของ O-NET คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆเท่านั้น

2. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก

3. PAT (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเด็กในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องมีการเตรียม ตัวกับการสอบคัดเลือกดังกล่าว แต่ในปัจจุบันนี้สถาบันอุดมศึกษาหลาย ๆ แห่งก็เปิดรับสมัครสอบตรง โดยไม่อิงคะแนนแอดมิชชั่น แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีการเตรียมตัวในการสอบเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมและมีการวางแผนร่วมกับบุตรหลานของตนว่าจะเรียนในสาขาวิชาใด หากคุณพ่อคุณแม่มีการวางแผนที่ดี ก็จะทำให้บุตรหลานมีอนาคตที่ดีเช่นกัน ดังคำที่ว่า “If your today is good not only your past was good but your future also good.”

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เชาวน์ปัญญา เป็นสิ่งที่ท่านมีมาแต่กำเนิด มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตท่านตั้งแต่แรกเริ่ม เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมเชาวน์ปัญญา พวกเขามีความแหลมคม แต่พอพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่ สิ่งเหล่านี้กลับหายไปจนเกือบจะหมดสิ้น มันต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่ผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างทางเป็นแน่

เพื่อนข้าพเจ้าคนหนึ่งได้ส่งเรื่องที่ชื่อว่า “โรงเรียนของสัตว์” ให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยากจะเล่าให้ท่านฟัง เรื่องมีอยู่ว่า…

“ในวันหนึ่งสัตว์ทั้งหลายในป่าได้มารวมตัวกัน และตัดสินใจว่าจะตั้งโรงเรียนของสัตว์ขึ้นมา กระต่าย นก กระรอก ปลา และปลาไหล ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการพัฒนาหลักสูตร กระต่ายยืนกรานว่าเรื่องการวิ่งจะต้องเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตร นกบอกว่าเรื่องการบินก็ต้องอยู่ในหลักสูตร ปลาบอกว่าการว่ายน้ำจะต้องอยู่ในหลักสูตรเช่นกัน ส่วนกระรอกนั้นบอกว่าการปีนขึ้นต้นไม้ในแนวดิ่งก็เป็นสิ่งที่จำเป็น และเห็นว่าน่าจะต้องรวมไว้ในหลักสูตรด้วย ซึ่งในที่สุดพวกสัตว์ทั้งหลายที่ได้รับมอบหมายให้ร่างหลักสูตรก็ได้นำวิชาต่างๆ เหล่านี้มารวมกัน และจัดทำเป็นหลักสูตรขึ้นมา พวกมันได้ป่าวประกาศไปยังสัตว์ทั้งหลาย และบังคับให้สัตว์ที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้จะต้องผ่านทุกวิชาตามที่กำหนดไว้

กระต่ายซึ่งเคยได้เกรดเอจากการวิ่ง มีปัญหามากในเรื่องการปีนต้นไม้ในแนวดิ่ง มันปีนขึ้นไปแล้วก็ตกลงมาครั้งแล้วครั้งเล่า ในที่สุดหัวสมองของมันก็ถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ทำให้ไม่สามารถจะวิ่งต่อไปได้ จากที่มันเคยได้เกรดเอในการวิ่ง ตอนนี้มันกลับได้เกรดซี และที่แน่นอนก็คือมันได้เอฟ (สอบตก) ในการปีนต้นไม้ นกที่เคยเก่งมากในเรื่องการบิน แต่พอต้องเรียนวิชาขุดโพรงลงไปในดิน มันก็ทำได้ไม่ดีนัก จะงอยปากของมันแตกและปีกของมันก็หัก ไม่ช้าไม่นานมันก็ได้เกรดซีในวิชาการบิน และได้เอฟในวิชาขุดโพรง และมันก็ประสบปัญหาในเรื่องการปีนต้นไม้ในแนวดิ่งเช่นกัน

ในที่สุดสัตว์ที่สามารถเรียนจบผ่านหลักสูตรนี้ไปได้กลับกลายเป็นเจ้าปลาไหล ที่ทำทุกอย่างผ่านได้แบบครึ่งๆ กลางๆ แต่มันก็ทำให้ผู้สร้างหลักสูตรมีความสุข ที่เห็นว่าสัตว์เหล่านั้นได้เรียนรู้ทุกวิชาที่เหล่าบรรดากรรมการหลักสูตรได้พัฒนาขึ้นมา และต่างพากันเรียกการศึกษาแบบนี้ด้วยความภูมิใจว่าการศึกษาแบบ “ครอบจักรวาล”

ฟังเรื่องนี้แล้วเราอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่าขบขัน แต่นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับการศึกษาของพวกเรา เราพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้คนทุกคนเหมือนกัน เราได้ทำลายศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายในคนแต่ละคน เราบั่นทอนความเป็นตัวของตัวเองในคนแต่ละคนจนหมดสิ้น

เชาวน์ปัญญาที่ติดตัวมาเริ่มตายไปในขณะที่เราพยายามจะลอกเลียนคนอื่น หากท่านต้องการจะให้เชาวน์ปัญญาที่มีมาคงอยู่ ท่านต้องเลิกการเลียนแบบ เชาวน์ปัญญาจะถูกกำจัดไปโดยปริยายหากท่านทำตามผู้อื่น เมื่อใดก็ตามที่ท่านเริ่มคิดจะเป็นเหมือนคนอื่น ท่านจะสูญเสียเชาวน์ปัญญาทีท่านมีอยู่ไป ท่านเริ่มจะโง่เขลานับตั้งแต่วินาทีที่ท่านเริ่มเปรียบเทียบตัวท่านกับคนอื่น ท่านจะสูญเสียความสามารถตามธรรมชาติของท่าน ท่านจะไม่มีความสุขอีกต่อไป ท่านจะไม่ได้สัมผัสกับความใสสะอาด ท่านจะสูญเสียความคมชัด เสียวิสัยทัศน์ของท่านไป ท่านจะต้องหยิบยืมดวงตาของผู้อื่นมาใช้ แล้วเราจะมองผ่านดวงตาของคนอื่นได้อย่างไร? เราต้องใช้ดวงตาของเราเอง เราต้องเดินด้วยลำแข้งของเราเอง เราต้องใช้หัวใจที่เป็นของเราเอง คนหลายคนมีชีวิตอยู่ได้โดยอาศัยของที่หยิบยืมมาจากผู้อื่น คนเหล่านี้จะรู้สึกว่าชีวิตของเขาติดขัดเป็นอัมพาต มันทำให้พวกเขารู้สึกว่าโง่เง่าเบาปัญญา

โลกเราต้องการการศึกษาในรูปแบบใหม่ คนที่เกิดมาเป็นกวี จะรู้สึกว่าตัวเองนั้นโง่มากในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนคนที่อัจฉริยะในทางคณิตศาสตร์ก็ต้องมามะงุมมะงาหราอยู่กับการท่องวิชาประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งทุกอย่างมันกลับหัวกลับหางค่อนข้างยุ่งเหยิง เป็นเพราะว่าการศึกษาไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติของคนแต่ละคน ไม่ได้ให้ความเคารพในสิ่งที่คนแต่ละคนมี ควบคุมบังคับให้ทุกคนเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด อาจจะมีคนบางคนที่เดินไปกับรูปแบบนี้ได้ แต่ก็มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

คนส่วนใหญ่จะรู้สึกเหมือนหลงทาง และลำบากใจ

ความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตคือความรู้สึกที่ว่าตัวเองโง่ ไม่มีค่า ไม่มีเชาวน์ปัญญา เราต้องอย่าลืมว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับเชาวน์ปัญญา เราเกิดมาพร้อมกับความงดงามนี้ มันเป็นสิ่งที่หอมหวานที่ติดตามเรามาจากดินแดนอันไกลโพ้น แต่ครั้นเมื่อมาถึงโลกนี้ สังคมก็เริ่มโจมตีเรา เข้ามาจัดแจง เปลี่ยนแปลง สั่งสอน ตัดต่อ เติมแต่ง จนในที่สุดเราก็สูญเสียสิ่งเดิมที่มีติดมาจนไม่เหลืออะไรเลย นั่นคือวิถีทางที่ทำให้เชาวน์ปัญญาของเราถูกทำลาย

จากหนังสือ “ปัญญาญาณ” ของ OSHO แปลโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด สำนักพิมพ์ Free MIND

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments