หลายๆ คน คงได้ติดตามข่าวที่ว่าเด็กไทยเกินครึ่งไอคิวต่ำ เมื่ออ่านเจาะลึกลงในรายละเอียดไม่ใช่แต่เพียง IQ เท่านั้นที่ต่ำ EQ (ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์)และ AQ (ความพยายามในการแก้ปัญหา) ก็ต่ำด้วย หลายๆ ครอบครัวก็กังวลว่าบุตรหลานเราจะเข้าข่ายดังกล่าวหรือไม่ ก็พากันไปปรึกษาจิตแพทย์ หรือวัด IQ กันเป็นการใหญ่ ส่วนใหญ่คุณหมอก็มักซักประวัติกิจวัตรประจำวันของบุตรหลาน จากคุณพ่อคุณแม่ และแนะนำให้เปลี่ยนหรือปรับพฤติกรรม โดยปรับวิธีการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง หากเรามามองวิธีการเลี้ยงดู หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็กในปัจจุบัน ก็อาจจะไม่แปลกใจสักเท่าใดนัก นั่นหมายความว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ประเด็นอยู่ที่วิธีการเลี้ยงดูเป็นหลัก

ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงดูในปัจจุบันนี้ เรามักพบว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองรุ่นใหม่ มักมีเวลาในการดูแลบุตรหลานที่จำกัด กิจกรรมทุกอย่างจะทำด้วยความเร่งรีบ ซึ่งปลูกฝังนิสัยของการไม่รู้จักรอคอยให้กับเด็กโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เด็กใม่มีพัฒนาการทางด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ บางครั้งอาจเป็นเรื่องของรางวัลที่เด็กได้มาอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้ความมานะ พยายามเท่าใดนัก เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กไม่มีความพยายามที่จะทำผลงานในชิ้นที่ยากขึ้น ส่งผลถึงการเรียนที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เด็กก็จะไม่มีความพยายามในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่เหมือนกับการเล่นเกมส์ที่มีการแข่งขันกันในกลุ่มเพื่อนเพื่อการเอาชนะ เพียงเพื่อให้ได้คะแนนที่สูงที่สุดในวันนั้น

หากเป็นเช่นนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองอาจต้องลองย้อนมองพฤติกรรมบุตรหลาน ว่าสาเหตุจริงๆ อาจจะเกิดจากข้อผิดพลาดในการเลี้ยงดู ซึ่งเราสามารถปรับปรุง แก้ไข ให้ทุกอย่างดีขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งจิตแพทย์เลย

ครูจา

Tags : , , , , , , | add comments

imagesAOG1JC17                        เมื่อพูดถึงคำว่า เวลา เราจะไม่รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่มีค่าอะไรนัก จนกว่าจะมีการขีดเส้นจำกัดเวลาของกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่ง เมื่อนั้นเราถึงจะรู้คุณค่าของมัน ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ เช่นการทำข้อสอบ หากเราใช้เวลาในการทำข้อสอบในช่วงแรกนานจนเกินไป เราอาจถูกเก็บข้อสอบก่อนที่เราจะทำเสร็จ เช่นเดียวกัน เวลาที่เป็นวัยทองของเด็กก็มีจำกัดเช่นกัน วัยทองหมายถึงวัยของการเรียนรู้ ที่ผู้ใหญ่สามารถป้อนข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา หรือ การเรียนรู้ เราจะมีเวลาตั้งแต่ทารก จนถึง 10 ปีเท่านั้น เนื่องจากวัยดังกล่าวนั้น เป็นช่วงที่สมองยังมีการเชื่อมต่อปลายประสาท ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเรียนรู้ การรับรู้ และความฉลาดของเด็กเมื่อโตขึ้น

                        นอกจากในเรื่องของการเจริญเติบโตของสมองแล้ว เราจะกล่าวถึงเวลาในแง่ของการฝึกทักษะของคนโดยทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น การหัดขับรถของผู้ใหญ่ ก่อนที่จะขับขี่บนท้องถนนได้ ก็จะต้องเข้าใจอุปกรณ์ในรถยนต์ให้ครบทุกชิ้นก่อน แล้วจึงหัดเข้าเกียร์ และลงถนน พร้อมกับการเรียนรู้กฎจราจร นอกจากนี้การฝึกขับรถให้ชำนาญ สามารถแซง หรือการขับรถบนภูเขา ซึ่งต้องใช้ความชำนาญทั้งพื้นที่และการขับรถที่ต้องใช้ประสบการณ์ที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนของเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเรียนเสริมในใด ๆ  เช่น การเรียนดนตรี ศิลปะ หรือแม้กระทั่งวิชาการต่าง ๆ หากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้ เรียนรู้ และฝึกประสบการณ์ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะให้คล่องแคล่ว พร้อมกับการสั่งสมประสบการณ์เพื่อให้สามารถพลิกแพลงเมื่อพบกับปัญหาที่แตกต่างจากเดิม  

                        หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่มีความอดทน รอคอยให้เด็ก ๆ ได้สะสมประสบการณ์ จะทำให้ขาดความชำนาญ ไม่ว่าจะให้เด็กฝึกทักษะใด ๆ หากไม่มีประสบการณ์ที่มากพอแล้วหยุดการฝึกประสบการณ์ จะทำให้สิ่งที่สะสมมา ก็จะไม่เกิดประโยชน์ เมื่อเทียบกับเวลา(ในวัยทอง)ที่เสียไป

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

คราวนี้เราก็พอมองภาพกว้าง ๆ ออกแล้วว่า เราไม่ควรให้ความสนใจ หรือพัฒนาทักษะ หรืออัจฉริยภาพในด้านเดียว แต่ควรให้เด็กมีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กันทุกาน คราวนี้มาดูว่าอีก 2 Q ที่เหลือจะหมายถึงอะไร และมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร

ความฉลาดทางสังคม (SQ) ซึ่งนักจิตวิทยาหลาย ๆ ท่านให้คำจำกัดความว่า เป็นการที่บุคคลสามารถเจรจา ต่อรอง ในสภาวะต่าง ๆ หรือความเข้าใจในภาวะต่าง ๆ และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างฉลาด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ทดสอบด้าน SQ ที่ได้คะแนนมากกว่าจะมีความฉลาดทางสังคมมากกว่า เพียงแต่คนแต่ละกลุ่มก็จะมีความเชื่อ ความมุ่งมั่น ความสนใจ ความหวังและทัศนคติที่แตกต่างกันเท่านั้น

แต่ในทางกลับกันหากเด็กไม่ได้ถูกฝึกให้มีทักษะในการเข้าสังคม เมื่อเขาต้องเข้าสู่สังคมที่ใหญ่ขึ้น ก็อาจจะทำให้เขาเหล่านั้นรู้สึกอึดอัด ขัดข้องได้ หากเขารู้สึกว่าไม่อยากอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น มันอาจเป็นแรงกระตุ้นให้เขาเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่หากเขาไม่รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ (นั่นก็คือ ทัศนคติที่แตกต่างกันนั่นเอง) เขาก็ไม่เดือดร้อนที่จะต้องเปลี่ยนแปลง

สุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ MQ คือความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การมีน้ำใจ ความเข้าใจผู้อื่น การรู้จักแยกแยะดีชั่ว สิ่งเหล่านี้หลาย ๆ คนมักคิดว่าเป็นเรื่องที่สอนยาก แต่จริง ๆ แล้วเด็ก ๆ เรียนรู้จากการเห็นตัวอย่างที่พ่อแม่เป็นผู้กระทำ และเด็ก ๆ จะเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่เขาได้รับรู้ ได้สัมผัส เป็นสิ่งที่เขาแสดงออกมา  MQ  เป็นสิ่งที่มีผลต่อสังคมมากที่สุด นั่นคือ หากเด็กถูกปลูกฝัง ให้รู้จักความดี ความชั่ว บาป บุญ คุณ และโทษ สังคมก็จะน่าอยู่ แต่ถ้าเด็กถูกสอนให้รู้จักแต่เอาชนะไม่ว่าจะด้วยวิธีที่บริสุทธิ์ หรือไม่ การอยู่ร่วมกันในสังคมก็ไม่น่าอยู่เสียแล้ว

สุดท้ายเราคงต้องฝากอนาคตของชาติ สังคมไทย ที่อยู่ในมือของพ่อแม่ ผู้ปกครองว่าจะทำให้สังคมผันแปรไปในทิศทางใด หรือ อยากให้ลูกหลานเติบโตในสังคมแบบใด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

          จากที่กล่าวมาแล้ว ก็จะพบว่าไม่ว่าจะเป็น IQ (ความฉลาด สติปัญญา) หรือ EQ (ความฉลาดทางอารมณ์) ต่างก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ดังนั้นเพื่อพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านอารมณ์และสติปัญญา เด็ก ๆ ควรจะได้รับการส่งเสริมทั้งสิ้น

นอกจาก 2Qs ดังกล่าวแล้ว สิ่งที่สำคัญลำดับต่อไป นักวิชาการมักเรียกว่า “AQ “ (Adversity quotient) ซึ่งหลาย ๆ คนเข้าใจว่า AQ เป็นเพียงความมุ่งมั่นในการทำให้สำเร็จ ความพยายามที่จะทำสิ่งที่ท้าทาย แต่ AQ หมายรวมถึง การเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส หรือ แม้กระทั่งการรู้จักยอมรับความผิดหวัง

จากคำจำกัดความต่าง ๆ ข้างต้น เราสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม AQ ได้ ตัวอย่าง การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงก่อนวัยเรียน เราสามารถหากิจกรรมที่ท้าทายความสามารถให้เหมาะกับอายุได้ เช่นการให้เด็กร้อยเชือกผ่านชิ้นงานในแบบต่าง ๆ โดยมีต้นแบบให้ และเพิ่มความยากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และความสนุก เมื่อได้ทำกิจกรรมที่ยากขึ้น  ก็เป็นการส่งเสริมความพยายามที่จะทำให้สำเร็จได้  หรือเมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็ก ๆ ก็จะต้องเข้าเล่น หรือทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน ซึ่งในการเล่นย่อมจะมีผู้แพ้ และผู้ชนะ ทำให้เขาได้เรียนรู้ถึงความผิดหวังบ้าง และเมื่อเขาโตขึ้น เขาก็สามารถยอมรับ และเผชิญกับปัญหาได้มากขึ้น

แต่ในทางกลับกัน หากครอบครัวใดไม่เคยส่งเสริมพัฒนาการทาง AQ อาจเป็นเพราะไม่รู้ว่าการตามใจ หรือให้ความช่วยเหลือจนเกินขอบเขตเป็นการบ่อนทำลายภูมิต้านทานเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ถึงความลำบาก ความพยายาม ความผิดหวัง หรือแม้กะทั่งการยอมรับในความพ่ายแพ้ เมื่อเขาเหล่านั้นโตขึ้น เข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้น โดยไม่มีใครสามารถปกป้องเขาได้อีก เขาจะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง จนมีโอกาสที่จะทำอะไรโดยขาดสติยั้งคิดได้ หากวันนี้เรายังคงพอมีเวลา เราควรหันกลับมาส่งเสิรมพัฒนาการทางด้านนี้ เพื่อให้เขาเติบโตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า IQ คือวัตถุดิบที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จด้านการเรียน  ส่วน EQ นั้น จะมุ่งเน้นไปในเรื่องของทักษะการเข้าสังคม และทักษะทางอารมณ์ ที่แสดงออกมา นักวิจัยหลาย ๆ ท่านมักกล่าวว่า EQ จะทำให้คนประสบความสำเร็จได้มากกว่า IQ ทั้ง ๆ ที่IQ เป็นตัวชี้วัดความฉลาด นั่นเป็นเพราะการที่คนเราเมื่ออยู่ในองค์กรใด ๆ จะทำสิ่งใดก็ตามให้สำเร็จด้วยนั้น จะต้องมีการทำงานแบบเป็นทีม ต้องมีการติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่การต่อรองทางธุรกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สูงสุด ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ EQ มากกว่า IQ

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง IQ กับ EQ คือ EQ เป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรมเลย ดังนั้นพ่อแม่ หรือ ครู สามารถส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ได้

EQ คืออะไร?

เมื่อพูดถึง EQ หลาย ๆ คนมักคิดแต่เพียงเรื่องของอารมณ์เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว EQ กล่าวโดยรวมว่า เป็นการเห็นคุณค่าของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  การแสดงออกในเชิงบวก (การรู้จักควบคุมอารมณ์) และการมีทักษะทางด้านสังคมที่ดี  นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การเรียนรู้ทางด้านสังคมและอารมณ์ นอกจากส่งผลให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดีแล้ว  ยังช่วยลดความรุนแรงทางอารมณ์ลงอีกด้วย

วิธีการส่งเสริมให้เด็กมี EQ ที่ดี

ในช่วงที่เด็กอยู่ในวันก่อนวัยเรียน พ่อแม่ควรสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กในวัยดังกล่าวจะมีพฤติกรรมเลียนแบบ เราควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็ก รับฟังเมื่อเขาต้องการจะบอกบางอย่างกับเรา การหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาท มีระเบียบวินัยที่ขัดเจน ลงโทษเมื่อเด็กทำผิด และกล่าวชื่นชมเมื่อเขาทำดี สร้างบรรยากาศให้มีความรู้สึกปลอดภัย ไม่ใช่ว่าพ่อแม่ต้องคอยปกป้องทุกอย่างให้กับเขา ในบางเรื่องต้องให้เขาได้เรียนรู้ว่าสิ่งใดเป็นอันตราย หรือไม่ควรเข้าใกล้ ซึ่งทำให้เขารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง   และสิ่งที่ดีที่สุดคือการเป็นตัวอย่างที่ดีโดยการที่พ่อแม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง การมีระเบียบวินัย และการเห็นคุณต่าของตนเอง

จากสิ่งที่กล่าวมาแล้วเราจะพบว่าการสร้าง หรือ พัฒนา EQ ให้กับเด็กเป็นเรื่องที่ยาก แต่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องคอยดูแลเอาใจใส่ให้เขาเหล่านั้นเติบโตตามวัย และเขาก็จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีความสุขต่อไป

ครู จา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

Q ไหนสำคัญที่สุด? I AM ES Qs (2)

Posted by malinee on Saturday Nov 24, 2012 Under Uncategorized

ในแต่ละครอบครัวที่มีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มขึ้นมาแต่ละคน  คงไม่มีใครคัดค้านว่านอกจากความสมบูรณ์ แข็งแรงทางร่างกายแล้ว ทุกคนต้องการให้เจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการที่ดี และฉลาดหลักแหลม เราจึงต้องให้ความสำคัญของ IQ ไม่น้อยกว่าตัวอื่น ๆ

มักมีความเชื่อกันว่าความฉลาดนั้นเกิดจากปัจจัยพันธุกรรมเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น แต่จากงานวิจัยหลาย ๆ ชิ้น กล่าวว่าความฉลาดนั้นมีปัจจัยจากพันธุกรรมเพียงครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเราสามารถพัฒนาได้จากการเลี้ยงดู  และสามารถพัฒนาได้ในช่วงที่เด็กมีอายุ 0 – 3 ปีเท่านั้น ตามทฤษฏีทางด้านพันธุกรรมคือ ยีน (gene) ที่มีหน้าที่ถ่ายทอดพันธุกรรมนั้น ยีนของอัจฉริยะเป็นยีนด้อย ซึ่งทำให้โอกาสที่เด็กเกิดมาจะเป็นอัจฉริยะนั้นน้อยมาก

จากข้อมูลต่าง ๆ เราจะพบว่าความฉลาด หรือ IQ ของคนส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมากนัก (ในด้านของพันธุกรรม) แต่สิ่งที่ทำให้ความฉลาดในเด็กแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ วิธีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันนั่นเอง การเลี้ยงดูที่มีการพัฒนาให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย และส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละวัยอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการเล่น หรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่นวัย 6 – 8 เดือน เด็กจะมีการใช้ทักษะมือให้สัมพันธ์กับตา เป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อกับระบบประสาท หากเด็กได้รับการส่งเสริมจะทำให้การเรียนรู้ทางมิติสัมพันธ์เมื่อเขาโตขึ้นได้ดี   ส่วนเด็กที่อยู่ในช่วงกำลังหัดพูด ก็ต้องมีการพัฒนาทางด้านการฟังก่อน แล้วจึงพัฒนาการเลียนแบบเสียงต่าง ๆ ต่อไป การพัฒนาในด้านการพูด การฟัง ก็สามารถต่อยอดให้เด็กมีทักษะทางด้านภาษาที่ดีในอนาคตได้

จากวัย 0 – 3 ปี พัฒนาการของเด็กนั้นจะต้องผ่านกิจกรรมที่ใช้ทักษะทางด้านร่างกายเป็นหลัก ทั้งการมอง การฟัง การพูด การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก ซึ่งหากเด็กได้มีการเล่นผ่านของเล่นที่จับต้องได้ ควบคู่ไปกับใช้ทักษะต่าง ๆ (ยิ่งมาก ยิ่งนาน) เด็กก็จะเกิดประสบการณ์ ความชำนาญ จนกลายเป็นการเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว  แต่ในทางกลับกัน เด็กที่อยู่นิ่ง ๆ ใช้ทักษะด้านใดด้านหนึ่ง เช่นการให้เด็กนั่งเล่นเกมส์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเกมส์การศึกษาก็ตาม เด็กจะใช้สายตาในระยะเดียว (ระยะที่อยู่ภายในจอ ไม่ได้กวาดสายตาไปหลายจุด) และกล้ามเนื้อก็ใช้เพียงบางส่วนเท่านั้น  ความฉลาดที่ได้จึงได้จากพันธุกรรมที่เหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

อะไร ……. สำคัญกว่า?

Posted by malinee on Sunday Jun 3, 2012 Under Uncategorized

หากคุณพ่อ คุณแม่สมัยใหม่นึกย้อนกลับไปดี ๆ เมื่อสมัยที่คุณยังเป็นเด็กอยู่นั้น จะพบว่าเด็กในสมัยก่อน กับสมัยนี้นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งได้แก่ ขนาดของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ การเลือกโรงเรียน หรือแม้แต่การอบรมเลี้ยงดู

สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพียงต้องการชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของวิถีชีวิตในแบบตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของคนไทย ทุกสิ่งทุกอย่างสะดวกสบายมากขึ้น การติดต่อสื่อสารใช้เวลาสั้นลง จนเกิดเป็นความเคยชินจนลืมนึกถึงบางอย่างที่ไม่สามารถเร่งหรือย่นระยะเวลาได้ด้วยเทคโนโลยี  เช่น เราไม่สามารถเร่งให้เด็กเดินได้ตั้งแต่ 6 เดือนแรก ซึ่งการที่เด็กแต่ละคนจะสามารถเดินได้นั้น ก็ต้องเริ่มมีการพัฒนาเรื่องการทรงตัวจากการนั่ง และการคลานก่อน นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างทางด้านร่างกายก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน หากเด็กยังมีกระดูกหรือกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง การเดินก็ถือเป็นสิ่งที่อันตรายต่อตัวเขาเช่นกัน

การยกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ของเด็ก  ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน หรือเด็กหลาย ๆ คนอาจต้องการวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม นั่นไม่ได้แปลว่าเขามีปัญหาในการเรียนรู้ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งหมายถึงพ่อแม่ ครู อาจารย์ มักใช้ข้อสอบหรือแบบทดสอบในการวัดผลออกมาในรูปของคะแนน เนื่องจากเป็นผลที่ออกมาเป็นตัวเลขได้แน่นอน สิ่งต่าง ๆ ที่วัดออกมา บางคนอาจเรียกว่าความฉลาด ความเข้าใจ หรือความรู้ แต่โดยรวมเข้าใจได้ว่าคือ “IQ” นั่นเอง

นอกจาก IQ แล้ว งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นก็ยังสนับสนุนว่ายังมีความฉลาดด้านอื่น ๆ อีกที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็ก ซึ่งพอสรุปได้อีก 2 ประเด็นก็คือ EQ  , SQ

เราจะมาพูดถึงทีละประเด็น ซึ่ง Q ต่อมาคือ EQ หลาย ๆ คนทราบดีว่า EQ คือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ หลาย ๆ ครอบครัวที่ปล่อยปละละเลยกับการส่งเสริมการมี EQ ของเด็ก มักทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่รู้จักการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ การส่งเสริมนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เกมส์ต่าง ๆ เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ ให้รู้จักแพ้ชนะ (เกมส์ที่แนะนำควรเล่นกันในครอบครัว เช่น เกมส์เศรษฐี บันไดงู) ในช่วงแรกของการเล่น เด็กจะไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อสร้างสถานการณ์ขึ้นบ่อย ๆ แล้วมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการที่มีผู้ใหญ่ที่คอยชี้แนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม  การที่เด็กถูกปล่อยให้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ IPad โดยเล่นอยู่คนเดียว จึงมีโอกาสที่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้อย่างง่ายดาย

Q ต่อมาคือ SQ (Spiritual intelligence) ความหมายของ SQ ไม่มีบทเฉพาะตัว แต่พอจะกล่าวกว้าง ๆ ได้ว่าคือความฉลาดในความอดทน การประเมินตนเอง การรู้คุณค่าของตนเอง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าความรู้หลายเท่ามาก หากเด็กคนใดที่มีการฝึกในเรื่องของ AQ, SQ, MQ มาเป็นอย่างดี ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขทั้งในหน้าที่การงานและชีวิต เนื่องจากเขาสามารถเปลี่ยนทัศนคติในเชิงลบให้เป็นบวกได้ หรือปล่อยวางสิ่งที่ตนเองไม่สามารถแก้ไขได้ คนที่มี SQ ที่ดีมักเป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี (ซึ่งไม่ได้หมายถึงฐานะทางการเงิน แต่เป็นความรักความอบอุ่น)นั่นเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

จากตอนที่ 2 ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีการเรียนรู้โดยการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับวัยทารก แต่เด็กแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในการเรียนรู้ของเขา แต่มีงานวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนว่า หากเด็ก ที่เข้าโรงเรียนโดยมีทัศนคติในเชิงบวก และมีการฝึกทักษะ (นั่นคือการเคลื่อนไหวในวัยทารก) แล้ว เขาจะมีทักษะในการเรียนรู้ที่ดี และมีความก้าวหน้าในการเรียนที่ดี ซึ่งเด็กทุกคนจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ หรือความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว เพียงแต่เรามีหน้าที่ที่จะต้องกระตุ่นหรือสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม

เด็กวัยอนุบาล มักมีการเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน การเข้าสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ซึ่งเราสามารถให้ความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดังนี้

–           กระตุ้นให้ทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ โดยให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ แต่ความช่วยเหลือที่ให้ต้องไม่เกินขอบเขต สิ่งที่เด็กจะได้รับ คือประสบการณ์ที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ให้สำเร็จ

–           สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าสนใจ เพื่อเพิ่มหรือเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้

–           การฝึกให้เด็กหัดสังเกต สิ่งแวดล้อม อาจทำได้ง่าย ๆ โดยการถามถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในวันนั้น ๆ เช่นการถามว่าวันนี้คุณครูใส่เสื้อสีอะไร เพื่อกระตุ้นให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต

–           ให้ความสนใจกับสิ่งที่เขาทำ หรือยินดีเมื่อเขาทำสำเร็จ  เด็ก ๆ ทุกคนมักจะภูมิใจกับสิ่งที่ตนเองเริ่มทำ และทำสำเร็จ ซึ่งเป็นประสบการณ์ในเชิงบวก และนอกจากนี้ ยังทำให้เขาเกิดความมั่นใจ กล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ  แต่หากเขาทำไม่สำเร็จ ต้องให้กำลังใจ ถึงแม้สิ่งที่เด็กได้รับจะไม่ใช่ความสำเร็จ แต่เขาก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ และ ความพยายามที่จะติดตัวเขาไป

–           พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้มีทักษะในการลำดับเหตุการณ์ และการใช้ภาษา โดยปล่อยให้เขาได้คิดอย่างอิสระ แก้ข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด เพื่อให้เขาได้กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการ

–           สร้างสถานการณ์ผ่านกิจกรรม ให้เขาได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

–           หากิจกรรมประเภท การแยกประเภท สี ขนาด เพื่อฝึกการพิจารณาสิ่งของในแบบรูปต่าง ๆ ให้เขาสามารถแยกความแตกต่างของรูปทรงต่าง ๆ

หากเราสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ หรือเสริมทักษะ เขาก็จะยังคงมีธรรมชาติของการอยากเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น แต่หากเด็กไม่ได้พัฒนาการเรียนรู้ให้สนุก สิ่งที่ติดตัวเด็กมา (ความอยากรู้อยากเห็น การชอบการเรียนรู้) ก็จะหายไปในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เด็กทุก ๆ คนเมื่อเกิดมา นับตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาดูโลก เขาจะใช้อวัยวะของร่างกายในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว  จึงเป็นที่มาของนักจิตวิทยาเด็ก ที่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวมาวิจัยเกี่ยวกับเด็กทารก แล้วก็พบว่าประสบการณ์ทางด้านความรู้สึกทางอารมณ์และการเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความฉลาดและการเจริญเติบโตของเด็กทารกจนกระทั่งอายุ 2 ปี หากเด็กมีการเรียนรู้ทั้งสองด้านอย่างต่อเนื่อง  ก็จะสะท้อนออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพ (ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย) , วุฒิภาวะทางอารมณ์ และการเข้าสังคมเมื่อเขาเติบโตขึ้น (เรามักจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เมื่อลูกเข้าสู่วัยประถม)

จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เรากล่าวถึงประสบการณ์ในวัยทารกอยู่ 2 ด้าน ซึ่งได้แก่

  1. ประสบการณ์ด้านอารมณ์และความรู้สึก เมื่อมองย้อนกลับไปในวัยทารก เด็กส่วนใหญ่จะได้รับความรักความอบอุ่นจากแม่ ภาษากายที่แม่ส่งผ่านความรักให้กับลูกผ่านการอุ้ม การสัมผัสของแม่นั้น เป็นประสบการณ์ในเชิงบวกที่ลูกจะได้เรียนรู้ว่าตนเองจะปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมกอด หากแต่เมื่อใดที่ต้องการความช่วยเหลือ แค่เพียงร้องไห้ เขาก็จะได้สัมผัสที่เขาต้องการอีกครั้ง  ซึ่งประสบการณ์ในเชิงบวกนี้มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในวัยทารกมาก เมื่อเขารู้สึกอบอุ่น และปลอดภัย เขาก็สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างผ่อนคลาย  แต่ในทางกลับกัน  หากครอบครัวใดไม่มีความพร้อม หรือยังไม่ได้เตรียมรับกับสถานการณ์ที่จะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อย ๆ ที่ค่อนข้างเอาแต่ใจมาเพิ่ม การเรียนรู้ของเขาก็จะเป็นประสบการณ์ในเชิงลบ  เนื่องจากในสถานการณ์ที่ยังไม่พร้อมนั้น จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกตลอด 24 ชั่วโมงนั้น หมดความอดทนลงได้ในเสี้ยววินาที  หากเป็นเช่นนั้น เด็กเองจะมีความรู้สึกหวั่นไหว ไม่ปลอดภัย ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเขาให้พัฒนาช้าลง จนอาจกลายเป็นกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้เมื่อโตชึ้น
  2. การเคลื่อนไหว  เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่า ในวัยทารกนั้น เด็กในช่วง 7 เดือนแรกไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ทำให้การเรียนรู้ในช่วงนั้นจะต้องเป็นการเรียนรู้จากแขนขาที่ขยับได้เต็มที่ แล้วขยับไปเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า ในช่วงของวัยที่ต้องอยู่ในเปล คนโบราณจึงนำโมบายมาห้อยไว้ที่หัวเตียง เพื่อเป็นอุบายให้เด็กขยับแข้งขา ให้เขามองแล้วไขว่ขว้า  และก็เป็นสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า การเคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานการพัฒนาในทุก ๆ ด้านของเด็ก ทั้งในเรื่องกล้ามเนื้อ  ความจำ และบุคลิกภาพ

หลาย ๆ ครอบครัวมักจำกัดกรอบการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ไม่ให้ปีนป่าย เนื่องจากกลัวการลาดเจ็บ  การจำกัดกรอบต่าง ๆ ดังกล่าว เท่ากับการปฏิเสธที่จะให้เขามีประสบการณ์ในการใช้กล้ามเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ  หรือในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บ เขาก็ยังได้ประสบการณ์ว่าในการปีนป่ายต้องมีความระมัดระวังในจุดไหนมากกว่าปกติ  (จริง ๆ ผู้ใหญ่สามารถป้องกันการบาดเจ็บได้ หรือลดความเสี่ยงได้ โดยไม่ไปจำกัดกรอบการเล่น การเรียนรู้ของเด็ก)  ซึ่งประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวนี่เอง เป็นพื้นฐานที่ทำให้เขามีสุขภาพดี และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

จากบทความข้างต้น ชี้ให้เห็นแล้วว่าวัยทารกนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก หากเราต้องการให้ลูกหลานเป็นเด็กฉลาด สิ่งที่เราจะทำได้ก็คือ การยื่นความรัก ความอบอุ่น และการเล่นโดยใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน ที่จำกัดกรอบการเล่นให้น้อยที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

            วันที่ 9 ธ.ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผย ภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการ “สำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา  เด็กไทยปี 2554” ซึ่งกรมสุขภาพจิตร่วมกับกรม พินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ดำเนินการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทยจำนวนประมาณ 100,000 คนทั่วประเทศ ว่า ข้อมูลจากหนังสือของ Lynn ปี 2006 ได้ทำการสำรวจ IQ ของเด็กทั่วโลก พบว่า IQ ของเด็กไทยอยู่ที่ประมาณ 91 จัดอยู่ในระดับที่ 53 จาก 192 ประเทศทั่วโลก ซึ่งต่ำกว่าระดับ IQ ของเด็กในประเทศอื่นๆในเอเชีย เช่น เด็กในประเทศจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม รวมทั้งมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบว่า ตั้งแต่ปี 2002-2006 อันดับ IQ ของเด็กไทยแทบจะไม่มีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ระดับ IQ ของเด็กเพิ่มจาก 103 ในปี ค.ศ.2002 เป็น 108 ในปี ค.ศ. 2006 ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เมื่อนำระดับ IQ แสดงผลเป็นกราฟรูประฆังคว่ำ พบว่า IQ ที่ระดับ 91 ของเด็กไทย มีแนวโน้มที่จะเอียงไปทางซ้ายของกราฟ ซึ่งเป็นด้านที่ตรงข้ามกับระดับการแปรผลที่ฉลาดกว่า รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จากการศึกษาของ นพ.อีริค อาร์ แคนเดล จิตแพทย์รางวัลโนเบลในปี 2553 พบว่า การเรียนรู้ ความรู้ ความจำ ความคิด อารมณ์ สติปัญญา เกิดจากการที่เซลล์สมองแตกกิ่งมาเชื่อมต่อกันเป็นวงจร สมองส่วนที่มีการจัดระเบียบใยประสาทจะเพิ่มการเชื่อมต่อใหม่ๆเพิ่มขึ้นจำนวน มาก ขณะที่ใยประสาทส่วนที่ไม่ได้ใช้จะหายไป ใยประสาทส่วนที่ใช้บ่อยจะหนาตัวขึ้น ทั้งนี้ ทารกอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี จะเป็นช่วงที่สมองมีพัฒนาการมากที่สุด ดังนั้น การสร้างการพัฒนาสมองให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายใยประสาทที่แข็งแรงจะมีส่วน ทำให้เด็กมีระดับ IQ ที่เพิ่มขึ้นด้วย
ด้าน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า นอกจากระบบใยประสาทในสมองแล้ว ยังพบว่า สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการพัฒนาสมองของคนอย่างมาก การวิจัยในสัตว์และคนให้ผลยืนยันตรงกันว่า ความสามารถของสมองในการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า Neuro-Plasticity  หมายถึง การที่เราใช้สมองส่วนใดบ่อยๆ สมองส่วนนั้นจะเจริญเติบโตได้ดี แต่หากเราไม่ได้ใช้สมองส่วนนั้นเลย นานๆเข้า สมองส่วนนั้นก็จะฝ่อไป
           ในปีพ.ศ.2541 มีการศึกษาพบว่า หลังคลอดออกมา สมองเด็กทุกคนทั่วโลกจะมีรูปแบบที่เหมือนกัน แต่วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ และอบรมเลี้ยงดูต่างกัน
จะทำให้ IQ เด็กต่างกัน เซลล์สมองส่วนไหนที่ไม่ได้เชื่อมโยงกันจะถูกทำลาย ทำให้ประสิทธิภาพของสมองส่วนนั้นถูกทำลาย เช่นการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นจะหายไป
จึงมีการสรุปว่า จินตนาการของคนไทยหายไป เนื่องจากเราไม่ค่อยกระตุ้นให้เด็กฝึกคิด
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมอง
เด็กจำนวนมาก ระบุตรงกันถึงการกระตุ้นการใช้สมองที่เหมาะสม
เช่น การพบว่าสมองของเด็กในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้ามีบางส่วนเสียการทำงานไป คล้ายๆกับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือ เด็กที่ถูกทารุณกรรมจะมีระดับสารความเครียดในเลือดสูง หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ และจะมีปัญหาพัฒนาการสมอง อารมณ์ ความประพฤติ และการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ระบุว่า เด็กที่ได้รับการตอบสนองจากผู้เลี้ยงดูช้า เช่น ปล่อยให้ร้องไห้นานๆ หิวแล้วยังไม่ได้กิน เกิดความกลัวโดยไม่มีใครมาอยู่ใกล้ชิด ไม่มีใครมาสัมผัส
โอบอุ้ม เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตนเอง ไม่มั่นคงในชีวิต หวาดระแวง ฯลฯ
     “ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์นั้น เซลล์ประสาทจะมีการสร้างขึ้นมากกว่าแสนล้านเซลล์ แต่ถ้าไม่มีการกระตุ้นจะด้วยการเสริมอาหาร หรือการเลี้ยงดู ที่เหมาะสม ก็จะขาดเครือข่ายเส้นใยประสาทที่ยื่นยาวออกมา ที่พร้อมจะส่งเสริมให้เด็กฉลาดและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้น”นพ.อภิชัย กล่าว

สาเหตุ
    ระดับเฉลี่ยของสติปัญญาเด็กไทย ต่ำกว่า ในประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่นๆ ในโลกซึ่งอยู่ที่ 104  เรายังต่ำอยู่ค่อนข้างมาก หลายคนยัง เชื่อว่า เด็กไทยส่วนหนึ่ง ฉลาดมาก เพราะ เท่าที่เห็น ไปแข่งโอลิมปิกวิชาการ ทีไร กวาดชัยชนะทุกที แต่โดยภาพรวม ยังน่าห่วง
สำหรับสาเหตุหลักๆ น่าเกิดจาก
    1.  การขาดไอโอดีน   ไอโอดีนมีผลต่อระดับ IQ  
    2.  การศึกษา ไม่เอื้อต่อการพัฒนา  อาจเป็นเพราะ หลักสูตร  วิธีการสอน  เทคโนโลยียัง
น้อยมาก 3G บ้านเรายังไม่มี 
    3.  สภาพแวดล้อม  ในการเลี้ยงดู
    4.  กรรมพันธุ์ไม่น่ามีผล  เพราะ โดยหลักวิชาการ น่าจะ อยู่ในระดับสูง

จาก : OK Nation blog    วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม 2553

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments