เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้ครอบครัวแต่ละครอบครัวมีบุตรน้อย เมื่อบุตรหลานเข้าสู่วัยเรียน ก็เฟ้นหาโรงเรียนที่คิดว่าดีที่สุดให้กับเขา แต่หลายๆ ครอบครัวก็หลงลืมไปว่าช่วงก่อนวัยเรียน เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดที่จะพ่อแม่จะสามารถสร้างนิสัยให้กับบุตรหลานได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการสร้างนิสัยในเรื่องของความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ การสังเกต การรู้จักกฎระเบียบ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ให้กับบุตรหลาน  รวมถึงกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญของพัฒนาการในวัยเตาะแตะ (Toddlers) ร่วมกับสมาธิ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานเมื่อก้าวเข้าสู่วัยเรียน

การเสริมสร้างลักษณะนิสัยต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากปัจจุบันด้วยสภาพสังคมในยุคดิจิตอลที่สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้เวลาที่ควรเป็นของครอบครัวถูกเบียดบังด้วยสื่อต่างๆ มากมาย หลายๆ ครอบครัวถูกครอบงำด้วยเทคโนโลยี และติดกับไปกับสีสัน สังคมในหน้าจอ เข้าใจผิดคิดว่า การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นตัวช่วยในการพัฒนาบุตรหลาน ทำให้การทำกิจกรรมที่เสริมสร้างพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ หรือเพียงแค่การตบมือ การเล่นจ๊ะเอ๋นั้น เป็นการสร้างการเชื่อมโยงของปลายประสาทของสมองที่กำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดดผ่านกิจกรรมทางด้านร่างกายผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในช่วง 7 ขวบปีแรก ถดถอยลง เมื่อเด็กไม่มีการใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ นอกจากตาและนิ้วเพียงนิ้วเดียว

เมื่อถึงวัยเรียนกล้ามเนื้อมือที่ควรจะแข็งแรงและพร้อมจะขีดเขียน ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน กลายเป็นเด็กรู้สึกว่าการเรียนไม่ใช่เรื่องที่เขาอยากทำ สิ่งที่เลวร้ายที่สุด คือสมาธิที่ไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะเลือกโรงเรียนหรือครูที่ดีเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ได้ เปรียบเหมือนกับน้ำที่เต็มแก้ว ไม่สามารถรับน้ำได้เพิ่มอีกแล้ว ไม่ว่าจะรินน้ำดี หรือสะอาดเพียงใด ก็ไม่สามารถรับเข้าไปได้เพิ่มอีกแล้ว ในเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ที่รู้ว่าสิ่งใดดีกับการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับบุตรหลาน ควรเลือกเติมเต็มสิ่งที่ดีให้กับบุตรหลาน เพื่อให้เขาได้เติบโตและเรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

640x390_707243_1468417064          จากข่าว น้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ นักแบตมินตันมือหนึ่งของชาวไทย ที่มีกระแสข่าวว่า ตรวจพบยาโด๊ปหรือสารกระตุ้น ซึ่งส่งผลกระทบในการส่งตัวนักกีฬาเข้าแข่งขัน โอลิมปิกเกมส์ 2016  โดยเลขาธิการสมาคมแบตมินตันไทย ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อโต้แย้งและอุทธรณ์ แต่หากพบสารกระตุ้นจริงจะขอลดโทษหนักให้เป็นเบา ซึ่งการลงโทษนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณและ สารกระตุ้นที่ใช้ จะมีโทษงดเข้าแข่งเป็นเวลา 2 – 4 ปี

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร… คงไม่มีใครเชื่อว่าน้องเมย์ใช้สารกระตุ้น เพราะหากทำเช่นนั้นถือว่าเป็นการตัดอนาคตของตัวเอง แต่เหตุการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การได้รับยาสเตยรอยส์ในการรักษาอาการบาดเจ็บที่หัวเข่า จากแพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์ทางการกีฬา (ผิดกฏทางการกีฬา เนื่องจากสเตยรอยส์เป็นสารที่นอกจากจะระงับความเจ็บปวดแล้ว ยังสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้มีพละกำลังมากขึ้นอีกด้วย)

จากเหตุการณ์ดังกล่าว เพียงเพื่อต้องการยกตัวอย่างให้เห็นว่า ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคน ๆ หนึ่ง จะส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของอีกคนอย่างมาก เช่นเดียวกับที่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตา ยาย หรือ พี่เลี้ยง ที่มีหน้าที่ในการดูแลเจ้าตัวน้อย ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งเกมส์ หรือ ปล่อยให้เค้าอยู่กับทีวี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ซึ่งผลที่เห็นได้ชัด คือเด็กอยู่นิ่งๆ ไม่กวน ไม่ซน แต่หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ เขาจะไม่สามารถอยู่เฉยได้ และเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลในอนาคตต่อการเรียนของเขาเหล่านั้น เมื่อเขาเรียนไม่ได้ แล้วอนาคตของเขาจะดูแลตัวเองได้อย่างไร

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments