เนื่องจากครูมีโอกาสได้เข้าไป​เป็น​ out source ของโรงเรียนหลาย​ๆ​ แห่ง​ ก็จะได้เห็นวัฒนธรรม​การดูแลเด็กในแต่ละโรงเรียน​ การปฏิบัติ​ต่อผู้ปกครอง​ การให้คำปรึกษา​ การเรียนการสอน​ นโยบาย​ ของแต่ละโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน​
ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้การเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียน​ ทำให้ครูต้องปรับการเรียนการสอนแปรผันตามความพร้อมของเด็ก ไม่ใช่ว่าเด็กมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน​ แต่เด็กได้รับการฝึกทักษะกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน​
เด็กแต่ละคนมีความเป็นปัจเจก​บุคคล​ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เค้าเติบโตมาตั้งแต่เค้าเกิดมา​ เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่คุยเล่นกัน​ มีอะไรคุยกัน​ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันบนโต๊ะอาหาร​ โดยทิ้งทุกอย่าง​ มีแต่การสนทนากัน​ จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าความของความสุขเกิดขึ้นจริง​ๆ​ บ้านคือบ้าน​ ไม่ว่าเค้้าจะมีปัญหาสักแค่ไหน​ เค้าจะกลับมาตรงนี้​ ตรงที่มีคนฟังเค้า​ ในทางกลับกัน ถ้าเค้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนไม่พูดไม่จากันก้มหน้าก้มตา​ online อยู่กับสิ่งที่ตัวเองสนใจ​ เขาก็จะเติบโตมาแบบไม่ได้รู้สึกว่าการปฏิสัมพันธ์​กับคนรอบข้างเป็นเรื่องปกติ​ กลายเป็นเด็กเก็บตัว​ คุณพ่อคุณแม่จะไม่มีทางได้รับรู้ว่าเค้ามีความสุข​หรือเค้ามีปัญหาเรื่องอะไร​ เพราะเค้าไม่เคยเรียนรู้ที่จะพูดเรื่องอะไรตอนไหน​ ไม่รู้ว่าจะมีใครฟังหรือไม่​ ในบ้านเองเขายังไม่รู้จะพูดกับใครเลย​ มันกลายเป็นการสร้างกำแพงขึ้น​เมื่อเขาโตขึ้น​ เขาไม่ได้ถูกสอนให้เข้ากลุ่ม​เพื่อน​ เพราะคุณเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เค้าได้เรียนรู้การอยู่แบบทางเดียว​คือการสื่อสารผ่าน​ social​ ที่เค้าไม่เคยเห็นเลย
อย่าเลือกโรงเรียนที่ดีที่สุดให้เค้า​ ก่อน​ เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดของเค้าเพื่อให้เค้าได้เติบโตอย่างมีความสุขไม่ว่าเค้าจะเจออุปสรรค​ใดๆ​ อย่างน้อยคุณยังเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้้เค้ารู้สึกอบอุ่นใจทุกครั้ง​ และเป็นกำลังใจให้เค้าได้ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง​ ไม่มีโรงเรียนไหนดีเท่าโรงเรียนพ่อแม่หรอก…. เชื่อสิ

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เป็นการส่งผลการประเมินการเรียนรู้ของเด็กๆ จากทางโรงเรียน เด็กหลายๆ คนผ่านการทุ่มเทในการอ่านหนังสือ และทบทวนบทเรียน เป็นผลให้ผลการเรียนออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทำให้คุณพ่อ คุณแม่ อดไม่ได้ที่จะต้องให้รางวัลแก่ความเพียงพยายาม และความตั้งใจ

รางวัลที่เด็กๆ อยากได้ในปัจจุบัน หรือพ่อแม่เลือกให้เป็นของรางวัลมักเป็นโทรศัพท์มือถือ แทปเลต หรือ เงินในเกมส์ การให้รางวัลของพ่อแม่ มักคิดว่าเพื่อเป็นกำลังใจ และตอบแทนในความตั้งใจ นอกจากนี้แล้วยังเป็นสิ่งที่บุตรหลาน ต้องการอีกด้วย จึงไม่ลังเลที่จะให้ แต่เป็นการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากเด็กที่มีเครื่องมือสื่อสารแบบไร้พรมแดน สามารถท่องโลกออนไลน์อย่างอิสระ เมื่อใดก็ได้นั้น เป็นการเปิดโอกาสให้สิ่งเร้ามีผลกับสมาธิ และการเรียนรู้ของบุตรหลานอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการปิดกั้นให้บุตรหลานมีโลกส่วนตัวที่เราไม่สามารถเข้าถึงได้ ไม่สามารถรู้ความคิดที่เกิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่จะเป็นตัวบ่งชี้ได้ดีที่สุด คือ การประเมินผลการเรียนรู้จากทางโรงเรียน การรายงานพฤติกรรมทั้งด้านการเรียนรู้ ที่ไม่มีสมาธิ และพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้หากสะสมนานเข้า ปัญหาก็จะยิ่งสะสมตามเวลาที่ถูกปล่อยผ่าน จนในที่สุดไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลย

ดังนั้นในเมื่อการให้รางวัลกับบุตรหลาน เป็นสิ่งที่อยากตอบแทนในความตั้งใจ พ่อแม่ควรจะเป็นผู้กำหนดรางวัลที่มีคุณค่า ควรพิจารณาถึงผลดีผลเสีย ที่จะส่งผลต่อตัวเด็กเป็นหลัก เพราะต่อไป เพราะเมื่อเขาเติบโตจนสามารถเป็นผู้เลือกด้วยตนเอง พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องมีหน้าที่ชี้แนะให้เขาต่อไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เสริมทักษะเพื่อพัฒนาสมองสองด้าน ควบคู่กับสมาธิที่ดี ด้วยจินตคณิต , โจทย์คณิตคิดง่าย หรือศิลปะเชิงสร้างสรรค์ ช่วงปิดภาคเรียนกับสถาบันคิดสแควร์ โดยแบ่งเป็น 2 รอบ คือ
รอบแรก ; 3 – 14 ตุลาคม 2559
รอบสอง ; 17-28 ตุลาคม 2559
ติดค่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ครูจิ๋ม 084-527365114369949_977478845713636_7779803429405157938_n

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

Summer Camp

Posted by malinee on Monday Sep 28, 2015 Under กิจกรรม

เปิดแล้ว ซัมเมอร์คอร์สกับสถาบันคิดสแควร์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ครุจิ๋ม 084-5273651 คะuntitled

Tags : , , , , , , | add comments

W020130718633296446895           ช่วงนี้เป็นฤดูกาลสอบปลายภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา 2557 หลังจากจบการเรียนในภาคต้น ก็จะเข้าสู่ช่วงของการปิดภาคเรียนเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน คราวนี้ก็ถึงคราวที่คุณพ่อคุณแม่ ต้องเสาะหากิจกรรมหรือการเรียนเสริมให้กับบุตรหลาน การเริ่มกิจกรรมในช่วงปิดภาคเรียนถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีให้กับบุตรหลาน เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆหรือเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานในการเรียนต่อในภาคเรียนที่ 2 ต่อไป

เช่นเดียวกับกิจกรรมต่างๆ จินตคณิตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสนใจเรียนเสริมในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายอันดีในการเริ่มต้น แต่หลายๆ ครอบครัวคิดว่าการเรียนเสริมในช่วงสั้นๆ จะทำให้เด็กๆ มีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดและสามารถต่อยอดกับการเรียนในโรงเรียนได้ โดยใช้เวลาแค่ช่วงปิดภาคเรียนเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง การเรียนหรือการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ต้องให้เวลา มีการเรียนอย่างต่อเนื่องและมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจึงจะเห็นผลอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกเรียนจินตคณิตในช่วงเวลาสั้นๆ เฉพาะปิดภาคเรียนนั้น ผลสัมฤทธิ์จะยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าใดนัก ดังนั้นการหากิจกรรมเสริมในช่วงปิดภาคเรียนควรเป็นการเริ่มปูพื้นฐานและเร่งเนื้อหาในช่วงปิดภาคเรียน และ ต่อยอดไปจนถึงช่วงเปิดภาคเรียนต่อไป

ครูจา

Tags : , , , , , , | add comments

สมาธิกับเกมส์

Posted by malinee on Tuesday Apr 1, 2014 Under เกร็ดความรู้

CoolClips_vc004797            ในช่วงของการปิดภาคเรียนแต่ละครั้งนั้น หลายๆ ครอบครัวที่เป็นครอบครัวเดี่ยว มักส่งบุตรหลานเรียนภาคฤดูร้อนกับทางโรงเรียน เพื่อให้เด็กได้มีการทบทวนบทเรียนเก่า พร้อมกับการเรียนรู้เนื้อหาล่วงหน้า ในขณะที่บางครอบครัวที่มีญาติผู้ใหญ่อยู่บ้าน อาจเลือกให้เด็กอยู่บ้าน เพื่อให้เด็กได้พักในช่วงปิดภาคเรียน สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กรุ่นนี้ที่แตกต่างจากรุ่นที่เมื่อพ่อแม่ยังเด็กคือ ในช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ยังเด็กนั้น มักมีคุณยาย ซึ่งเป็นแม่บ้านสามารถดูแลบุตรหลานที่บ้านได้ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องส่งบุตรหลานเข้าเรียน ทำให้เด็กๆ มีกลุ่มการเล่นในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งเขาจะได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้จากประสบการณ์จากรุ่นพี่ รุ่นน้อง เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่รู้ตัว

แต่เด็กรุ่นใหม่ ครอบครัวส่วนใหญ่ทั้งคุณพ่อคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้านจึงให้บุตรหลานอยู่กับผู้ใหญ่ (คุณตา คุณยาย หรือ คุณปู่ คุณย่า) พร้อมกับเกมส์หรือทีวีที่บ้าน ก่อนอื่นต้องยอมรับก่อนว่า ความแตกต่างของวัยที่ต่างกันถึง 2 รุ่นนั้น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยอย่างชัดเจน ทำให้ปฏิสัมพันธ์ที่น้อยลงเนื่องจากความไม่เข้าใจ และความต้องการลดความขัดแย้ง

สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตร ก็คือ เด็กๆ ถูกปล่อยให้อยู่กับเกมส์หรือทีวี ตลอดช่วงเช้าจรดเย็น ตลอดระยะเวลาช่วงปิดภาคเรียน ผลที่ตามมาคือ การบ่มเพาะนิสัย ที่เกิดขึ้น 2 แบบคือ เด็กไม่มีสมาธิในการทำงานใด ๆ เนื่องจากสมาธิที่เสียไปกับการจดจ่อกับเกมส์หรือทีวีมากจนเกินไป อีกกรณคือ เด็กอาจเป็นเด็กที่ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่สามารถจดจ่อทำอะไรให้สำเร็จลุล่วง ปัญหาดังกล่าวนี้ พ่อแม่มักหาวิธีแก้ไข โดยการหากิจกรรมให้บุตรหลานเรียน เพื่อเพิ่มสมาธิ ต้องการให้เด็กนิ่งขึ้น สำหรับกรณีแรก ส่วนกรณีที่เด็กไม่มีความกระตือรือร้น พ่อแม่ผู้ปกครองอาจสังเกตได้ช้ากว่า เนื่องจากเด็กจะดูนิ่ง (ไปเลย)

สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น หากถูกบ่มเพาะจนกลายเป็นนิสัยของเด็กแล้ว เป็นสิ่งที่แก้ยาก หากแต่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถปรับพฤติกรรมได้บ้าง จากการแยกสื่อ และเกมส์ออกจากเด็กให้ได้มากที่สุด แล้วจึงหากิจกรรมเพื่อเสริม เมื่อเด็กทำกิจกรรม ก็จะมีสมาธิ หรือจดจ่อ ในการทำกิจกรรมอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ และจะเพิ่มสมาธิมากขึ้น เมื่อกิจกรรมดังกล่าวนั้นยากขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

หนูเหนื่อยจัง

Posted by malinee on Sunday Mar 23, 2014 Under เกร็ดความรู้

ช่วงนี้เป็นช่วงของการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนในแนวสาธิตฯ ของทุก ๆ มหาวิทยาลัย เป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มผู้ปกครองว่า ในการสอบคัดเลือกนั้นมีการแข่งขันกันสูงมาก เช่น การสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีอัตราส่วนการแข่งขันสูงถึง 1 : 50 – 1 : 60 เป็นต้น ด้วยอัตราการแข่งขันดังกล่าว จึงทำให้ผู้ปกครองที่มีความต้องการให้บุตรหลาน เรียนในโรงเรียนดังกล่าว จะต้องมีการเตรียมตัวเพื่อให้เด็กพร้อม โดยการพาเด็ก ๆ ไปติวสอบสาธิต ซึ่งจะมีทั้งการใช้เกมส์และแบบฝึกหัดมากมาย เพื่อฝึกให้เด็กผ่านการทำข้อสอบข้อเขียนในแบบเชาวน์ มีการฝึกให้เด็กทำตามคำสั่งต่าง ๆ เช่นการใช้ปากกาแดงในการทำข้อสอบ การจัดวางรองเท้าหน้าห้องให้เป็นระเบียบ ซึ่งความพร้อมต่าง ๆ เหล่านี้มีผลต่อการตัดสินเด็กเพื่อเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษา ในช่วงของการเตรียมตัวดังกล่าว หลาย ๆ ครอบครัวเลือกการส่งบุตรหลานไปเรียนแนวติวเข้าสาธิต ซึ่งจะต้องมีช่วงของการเรียนแบบเข้ม ใน อาทิตย์หรือ 2 อาทิตย์ก่อนการสอบ ซึ่งเป็นข่วงเวลาที่เด็กบางคน อาจมีความรู้สึกว่า ได้รับความกดดัน จนอาจเกิดความเครียดได้ นอกจากโรงเรียนในแนวสาธิต แล้ว ยังมีโรงเรียนในแนวกระแส ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองนิยมพาลูกเข้าแข่งขัน นั่นได้แก่ โรงเรียนในแนวเซนต์ต่าง ๆ หรือโรงเรียนคริสต์ อีกหลายแห่ง ซึ่งโรงเรียนในแนวนี้จะมีแนวการเรียนการสอนที่แตกต่างจากโรงเรียนในแนวสาธิตโดยสิ้นเชิง นั่นคือ โรงเรียนในแนวนี้ จะมีแนวการเรียนการสอนแบบเร่งเรียน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองมักให้เด็กสอบทั้ง 2 แบบ เนื่องจากช่วงเวลาการสอบที่แตกต่างกัน แนวการเรียนการสอนที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนี้ มักมีผลกระทบกับเด็ก ๆ ซึ่งเด็กที่เรียนในแนวสาธิต พ่อแม่ผู้ปกครองมักมีความคิดว่า การเรียนการสอนในแนวสาธิต จะไม่ทันกับการเรียนการสอนของโรงเรียนในแบบเร่งเรียน จึงต้องพาบุตรหลานไปเรียนในแนววิชาการเพิ่มเติม ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ แต่ไม่ใช่ว่าเด็กที่เรียนในแนวโรงเรียนแบบเร่งเรียนจะไม่ได้รับผลกระทบ หากเด็กเริ่มวัยอนุบาลของเขาในแนวบูรณาการ เขาจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากในการเข้าเรียนในโรงเรียนแบบเร่งเรียน หากเรียนไม่ทันเพื่อน พ่อแม่ก็ต้องส่งเรียนพิเศษเพื่อให้เขาเรียนทันเพื่อนเช่นกัน

Tags : , , , , , , , , | add comments

ทัศนของผู้ปกครองหลาย ๆ คนที่ส่งบุตรหลานมาเรียนจินตคณิตส่วนใหญ่มุ่งหวังให้บุตรหลานมีการคิดคำนวณที่รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดเนื่องจากการทำการตลาดการตลาดของสถาบันการสอนจินตคณิตเกือบทุกแห่งมักเน้นเรื่องความเร็วในการคิดคำนวณ นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งขันคณิตคิดเร็วกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ถ้าเด็ก ๆ ได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง ที่ต้องให้เวลากับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาเรื่องความเร็วและความแม่นยำ แต่ในปัจจุบันนี้สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องเรียนรู้และฝึกฝนมีมากขึ้น เมื่อเทียบกับเวลาที่เด็ก ๆ มีอยู่ ทำให้การฝึกฝนของเขาต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับแต่ละครอบครัว

นอกจากเรื่องของเวลา(ของการฝึกฝนที่ต้องแบ่งไปให้กับการเรียนที่มาก) แล้ว ธรรมชาติของเด็กที่ถูกอบรมเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมของเด็ก หล่อหลอมให้เด็กแต่ละคนมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ คงหนีไม่พ้นกระต่ายกับเต่า ซึ่งธรรมชาติของกระต่ายก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากเมื่อเทียบกับเต่า ดังนั้นหากเด็กที่ถูกเลี้ยงมาให้เป็นเด็กที่ทำงานทุกชิ้นอย่างประณีต มักใช้เวลากับงานแต่ละชิ้นเป็นเวลานาน หรือใช้เวลากับงานแต่ละอย่างแบบช้า ๆ การฝึกให้คิดเลขเร็ว ก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะกับธรรมชาติของเด็กคนนั้น แต่เมื่อเทียบกับเด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกกระตุ้นให้ใช้เวลากับการทำงานแบบเร็ว ๆ การคิดเลขเร็วก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขา หากเด็กได้รับการฝึกฝน อย่างสม่ำเสมอจะทำให้เขาคิดเลขได้เร็วและแม่นยำ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเด็กไม่ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่เกิดคู่กันกับความเร็วคือความผิดพลาด เมื่อเทียบกับเด็กที่ช้ากว่าแต่มีความรอบคอบ และแม่นยำมากกว่าน่าจะมีประโยชน์กว่าการที่จะฝึกให้เด็กเน้นแต่ความเร็วเพียงอย่างเดียว  เช่นเดียวกับนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า ที่เด็กหลาย ๆ คนที่ได้ฟังเรื่องนี้มักอยากเป็นเต่าที่มีมานะอดทนมากกว่าการเป็นกระต่ายที่มีแต่ความประมาท

หากเรามองถึงเรื่องเส้นชัย นั่นคือการที่เด็กสามารถสร้างศักยภาพของสมองทั้งสองด้าน ผ่านการคิดคำนวณ ก็ถือเป็นผลสำเร็จที่น่าชื่นชม

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | Comments Off on เส้นชัยของเต่ากับกระต่าย

20130920_161033 20130920_160604 20130920_145726 20130920_145701 20130920_143940

Tags : , , , , , , | add comments

จากที่มีการเปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) มีนโยบายปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรับฌครงสร้างเวลาเรียน โดยการปรับลดเวลาในการเรียนวิชาการให้น้อยลง ในขณะที่เพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนให้มากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่นี้ จะมีการปรับโครงสร้างทุกระดับชั้นต้งแต่ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมต้น และ มัธยมปลาย

นอกจากการปรับลดจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาการลงแล้ว จะมีการปรับสัดส่วนการเรียนวิชาต่างๆ ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นด้วย จากเดิมที่ให้สัดส่วนเวลาเรียนทุกวิชาเท่าๆ กัน ก็จะเปลี่ยนมามีจุดเน้นให้ตรวตามวัย โดยระดับประถมต้นโดยเฉพาะ ป.1-2 จะเน้นการเรียนรู้ทักษะด้านภาษาเป็นหลัก จนถึงระดับประถมปลายจึงจะเพิ่มเติมทักษะด้านการคิดคำนวณ ส่วนระดับมัธยมต้นจะเพิ่มเติมทักษะในการแสวงหาความรู้ให้กับเด็ก และมัธยมปลายจะเน้นให้เด็กนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้

ในการปรับโครงสร้างการเรียนดังกล่าว น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เมื่อมีการศึกษาหรือการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดลองใช้หลักสูตรในโรงเรียนต้นแบบเพียงบางโรงเรียนก่อน  เพื่อให้ครูมีการเตรียมความพร้อมของตนเองในการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน เนื่องจากการเรียนการสอนนอกห้องเรียนนั้นยากต่อการประเมินว่านักเรียนจะได้เรียนรู้สิงต่าง ๆ ตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน  อีกทั้งครูผู้สอนยังเป็นปัจจัยหลักที่มมีผลต่อการเรียนการสอน หากครูผู้สอนไม่มีเป้าหมายหรือไม่มีการเตรียมการเรียนการสอน หรือไม่ได้รับการฝึกอบรมการสอนในแบบของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน นั่นหมายถึงเวลาที่เด็กจะเสียโอกาสในการเรียนวิชาการในแต่ละครั้ง

ส่วนเรื่องสัดส่วนของวิชาการที่ถูกเน้นในแต่ละช่วงชั้นที่แตกต่างกันนั้น  เมื่อเด็กขึ้นมาถึงช่วงชั้นที่มีการเน้นสัดส่วนที่เปลี่ยนไป อาจทำให้เด็กนักเรียนเกิดความไม่ต่อเนื่องในการเรียน ทำให้การเรียน แทนที่จะมีการเรียนอย่างต่อเนื่องก็ต้องมาย้ำเนื้อหาที่น่าจะทำได้ดีแล้วในช่วงชั้นก่อน ๆ หรือทักษะบางทักษะที่จะต้องมีการสะสมประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาทักษะดังกล่าว ก็อาจทำให้เด็กขาดความรู้ความชำนาญในทักษะนั้น ๆ เพียงเพราะไม่ได้ถูกฝึกมา หรือการเรียนขาดช่วงไป

ในการคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ ในเรื่องของศึกษาน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หากเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการศึกษา จากโรงเรียนต้นแบบอย่างจริงจัง ไม่ใข่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเขาใช้แบบนี้ โดยไม่ได้ศึกษาจากธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กไทยเป็นตัวตั้ง

Tags : , , , , , , , , , | add comments