ตอนนี้กระแสวิพากษ์วิจารณ์​กันในสังคมคงหนีไม่พ้นเรื่องของการเรียนออนไลน์​ เนื่องจากสถานการณ์​การแพร่ระบาดทำให้การเปิดเทอมของเด็ก​ต้องยืดเยื้อ​ออกไป​ จริงที่ว่าการเรียนของเด็กๆ​ ไม่ควรหยุดชะงัก​ แต่การเรียนออนไลน์​ของเด็ก​ ต้องพิจารณา​ถึงวัยของเด็กด้วย​ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์​ที่ไหนๆ​ จะเป็นการเปิดสอนในระดับมหาวิทยาลัย​ทั้งสิ้น​ หากเป็นในระดับปฐมวัย​จนถึงมัธยม​จะเป็นการเรียนแบบ​ home school ซึ่งเป็นการนำหลักสูตร​จากประเทศ​ต่างๆ​ มาเป็นแนวการเรียนการสอน​ โดยพ่อแม่​ผู้ปกครอง​ เป็นเสมือนครูผู้สอน
การเรียน​การสอนออนไลน์​ ยิ่งเด็กยิ่งเล็ก​ ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก​ เนื่องด้วยวัย​ ที่ทำให้เรื่องของสมาธิที่ที่จดจ่ออยู่กับเรื่องบางเรื่องนานๆ​ เป็นไปได้ยาก​ นอกจากนี้แล้ววิชาบางวิชาอย่างคณิตศาสตร์​ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะขึ้นเรื่องใหม่ๆ​ ให้กับเด็ก​ เช่น​ถ้าเด็กกำลังเริ่มที่จะเรียนการคูณเลข​สองหลักคูณสองหลัก​ การทำความเข้าใจ​กับเด็กให้มีความเข้าใจ​ ต้องมีการ​ ​recheck กันหลายครั้งเพื่อความมั่นใจว่าเด็กมีความเข้าใจจริงๆ​ ถึงจะให้การบ้านได้​ แล้วลองนึกภาพของการสอนเรื่องการวัดมุมกันนะคะ​ ขนาดสอนกันแบบเห็นกันเป็นตัวเป็นตน​ยังต้องใช้เวลาเลย​แล้วนึกสภาพการเรียนออนไลน์​ ถ้าเป็นการเรียนแบบกลุ่ม​ ไม่มีทาง ที่ทักษะเด็กแต่่ละคนจะเท่ากันได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในวัยเดียวกันก็ตามเพราะฉะนั้นการเรียนออนไลน์ไม่ใช่จะเหมาะกับทุกคนและไม่ใช่ทุกวิชาที่จะสามารถสอนออนไลน์ได้
ดังนั้นการเรียน​ออนไลน์​ในช่วงนี้ของเด็กเล็กเป็นเพียงช่วงเวลาที่รอสถานการณ์​ของการแพร่ระบาด​ให้คลี่คลายเท่านั้น​ แต่การที่การศึกษา​ในช่วงของปฐมวัยจนถึงประถมน้ัินคงไม่อาจถูก​ disruption ด้วยระบบออนไลน์​ได้​ด้วยวัยและความพร้อมของเขา​ นอกจากนี้แล้วเด็กในวัยดังกล่าวไม่ควรถูกปล่อยให้อยู่กับการสื่อสารทางเดียว​ เค้าควรได้มีการเรียนรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัส​ให้ครบทั้ง​ ​5 และมีการฝึกทักษะต่างๆผ่านระบบประสาท​สัมผัสดังกล่าว​ เพื่อก่อให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์​ และเพื่อค้นหาความสามารถ​ และความถนัดต่อไป…
#เราจะผ่านมันไปด้วยกัน
#สถาบันคิดสแควร์

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments


#นี่เราอยู่ระหว่างสงครามรึปล่าวเนี่
จากเหตุการณ์​ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้วต่อเนื่องมาเรื่อยๆ​ เราคงต้องย้อนกลับมาดูกันหน่อยมั้ยว่า​ โครงสร้างทางสังคมของเรามันผิดเพี้ยนไป​ ลักษณะเด่นของความเป็นคนไทยเป็นคนอ่อนน้อม​ ถ่อมตน​ รู้จักผิดชอบชั่วดี​ มีน้ำใจ​ เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ​ แต่หลังจากเหตุการณ์​ข่าวต่างๆที่ได้ยินอย่างต่อเนื่อง​ ทั้ง​ฆาตกรต่อเนื่อง​ นายสมคิด​ , ผ.อ.​ กอล์ฟ​ คดีปล้นทอง​, ไอซํืหีบเหล็ก​ และล่าสุดนายทหาร​คลั่งที่โคราช
เหตุการณ์​ต่างๆ​ ที่เกิดขึ้น​ เป็นแนวโน้มของสังคมที่ใช้ความรุนแรง​โดยขาดความยั้งคิด​ ในแต่ละคดีที่เกิดขึ้น​ เกิดจากความโลภ​ ใช้เงินเกินรายได้ที่มี อยากได้รับการยอมรับนับหน้าถือตา ประกาศให้ทุกคนรู้เรื่องความสุขของตนในการใช้ชีวิต​หรูหราบนสังคมออนไลน์​ โดยการกู้หนี้ยืมสิน​ เมื่อถูกทวงหนักเข้า​ก็หาทางออกโดยการก่อคดีปล้น​ เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการเท่านั้น​
คดีของไอซ์หีบเหล็ก​ เป็นอีกคดีสะเทือนใจ​ จากข่าวที่มีผู้หญิง​จำนวนไม่น้อยที่ต้องถุูกฆ่า​ แล้วศพก็ถูกอำพรางโดยการใส่หีบเหล็กทิ้งไว้ในบ่อน้ำในบ้านที่ตนเองอยู่​ โดยที่ไม่รู้สึกถึงสิ่งที่ตนเองได้กระทำลงไป​ แต่กลับก่อเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่า​ จากคำให้การของคนที่ทำงานกับทางครอบครัวของไอซ์​ อาจวิเคราะห์​ได้ใว่าเค้าขาดการดูแลเอาใจใส่​จากพ่อแม่​ ไม่มีใครคอยอบรมบ่มนิสัย​ ประกอบกับการติดยาเสพติด​ ทำให้สมองในส่วนของความรู้จักยั้งคิดหายไป​ ใช้สัญชาตญาณ​ในการดำรงชีวิต​เพียงอย่างเดียว
คดีสุดท้าย​ คือคดีของนายทหารคลั่ง​ เป็นคดีที่สะเทือนใจที่สุด​เพราะผู้ก่อคดี​เป็นคนในเครื่องแบบ​ ซึ่งหน้าที่ของทหารคือป้องกันอริราษฎร์​ศัครู​ แต่ในครั้งนี้​ ทหารเองเป็นผู้หันปลายกระบอกปืนเข้าหาประชาชน​ที่ไม่ได้รู้เรื่อง​ เพียงเพราะคุณคิดว่าคุณอยู่ในโลกของเกมส์ออนไลน์​ โดยที่คุณปล้นอาวุธ​ครบมือ​ พร้อมอุปกรณ์​ป้องกันตัว​ แล้วลงใน​ ​fb​ ประกาศ​ตนว่ามีใครจะกล้าลุยกับคุณมั้ย​ นี่คือผลของจินตนาการ​จากเกมส์ออนไลน์​ที่ออกมาบนโลกของความเป็นจริง​กับคนอายุ​ 32​ ที่มีวุฒิภาวะ​ โศกนาฏกรรม​ครั้งนี้ที่เกิดขึ้นมันชี้ชัดแล้วว่า​ จินตนาการ​ในเกมส์​ออนไลน์​ การฆ่าเป็นการเก็บแต้ม​ การขโมยอาวุธ​ เพื่อให้การเก็บแต้มมีประสิทธิภาพ​ คงเห็นแล้วนะว่าเกมส์ไม่ใช่เรื่องเล่นๆอีกแล้ว​ สิ่งที่เกิดขึ้น​.มันเกิดขึ้นกับคนที่มีวุฒิภาวะ​แล้ว​ แต่ถ้าคุณจะยังคงส่งเกมส์​ลักษณะ​นะให้กับบุตรหลาน​ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ​ ก็คงจะมีข่าวอาชญากรรม​เกิดขึ้นไม่ใช่แค่รายวันแล้ว​ คงต้องตามกันเป็นรายชั่วโมง
… ใส่ใจบุตรหลานของตนเองเถอะคะ​ ให้เวลากับเค้า​ อย่าให้เครื่องมือสื่อสารมาแทนทีี่เวลาของครอบครัว​ ที่เหลือจากหลังเวลาเลิกงานที่เหลือไม่ถึง​ 10 ชัวโมง​ มานั่งพูดคุยสารทุกข์สุกดิบ​ เล่าประสบการณ์​ของแต่ละวัน​ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์​ สิ่งที่ลูกทำผิดก็อบรม​ สอนเค้า​ เรื่องการใช้ความรุนแรงต้องสอนลูก หรือให้เค้าได้แสดงความคิดเห็นหากจะมีการเปลี่ยนแปลง​ บางอย่าเล็กๆ​ น้อยๆ​ ให้เค้าได้รู้ว่าเค้าเป็นส่วนหนึ่งและมีความสำคัญ​ในครอบครัว​ แล้วเค้าจะไม่ไปพยายามเป็นคนสำคัญ​นอกบ้าน​ ไม่ไปแสวงหาความรักจากที่อื่น​ ถ้าที่บ้านมีให้เค้าจนเต็ม….
#ในนามสถาบันคิดสแควร์ขอแสดงความเสียใจกับครอบผู้เสียชีวิตในทุกๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
#ขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานทุกท่านที่เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องทุกชีวิต
#อยากให้เกิดขึ้นอีกเลย
#เคารพด้วยหัวใจ
#สถาบันคิดสแควร์

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

          จากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเป็นยุค Globalization ซึ่งทั่วโลกสามารถสื่อสารและมีวิวัฒนาการส่งถึงกันได้อย่างง่ายดาย จึงทำให้ทุกๆ วงการรวมไปถึงวงการการศึกษาที่มีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีและสื่อการสอนจากประเทศต่างๆ มาช่วยในการสอน หรือบางโรงเรียนในต่างประเทศก็มาเปิดเป็นโรงเรียนทางเลือกในบ้านเรามากมาย

            ผู้ปกครองหลายๆ คนที่มีบุตรหลานที่กำลังจะต้องเข้าโรงเรียน ก็มีโรงเรียนทางเลือกอยู่ มากมาย แต่หากแยกกันจริงๆ แล้วมีเพียง 2 แนว คือ โรงเรียนในแนวเร่งเรียน และโรงเรียนในแนวบูรณาการ ซึ่งความแตกต่างกันอยู่ตรงที่นโยบายของโรงเรียนในแนวบูรณาการคือ การเรียนผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยไม่เร่งให้เด็กได้ขีดเขียน แต่ใช้กิจกรรมในการสอน ส่วนในแนวของโรงเรียนที่เร่งเรียน ก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าเร่ง นั่นคือ เด็กจะต้องเริ่มจับดินสอ ขีดเขียนหนังสือตั้งแต่ในวัยอนุบาล ซึ่งนโยบายแต่ละโรงเรียนก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน โรงเรียนในแนวบูรณาการที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นโรงเรียนในแนวอินเตอร์นั้น ซึ่งหลักๆ แนวบูรณาการนี้เกิดจากหลักสูตรอังกฤษ หรืออเมริกัน ซึ่งครูจะมีการพัฒนาอุปกรณ์และวิธีการสอนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้วหลักสูตรที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้กับประเทศในแถบยุโรป ซึ่งประเทศต่างๆ เหล่านั้นจะดูแลบุตรหลานจนถึง 7 ปีแล้วจึงส่งเข้าเรียน และจะสร้างกฎกติกาภายในบ้านให้เด็กต้องทำตาม ให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเอง ไม่มีพี่เลี้ยงคอยดูแล ต้องมีระเบียบวินัย ซึ่งเมื่อเขาเข้าสู่โรงเรียน เขาจะเรียนรู้ที่จะทำตามกฎของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด และการเรียนการสอนจะเน้น creative thinking คือการให้เด็กได้คิดสร้างสรรค์ คำถามเป็นคำถามปลายเปิดที่คำตอบไม่มีผิดไม่มีถูก เพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก ส่วนโรงเรียนในแนวเร่งเรียนส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้เด็กนั่งเรียน อ่านเขียนไม่วิ่ง ไม่ซน ไม่เน้นเรื่องการแสดงความคิดเห็น แต่เน้นการแสดงวิธีทำที่ถูก หรือการหาคำตอบที่ถูกต้อง

            โรงเรียนในบ้านเราหลายๆ โรงเรียนก็นำเอาแนวบูรณาการมาปรับใช้ แล้วนำเป็นนโยบายการเรียนการสอนของโรงเรียน แต่ความแตกต่างของบ้านเราคือ ครูผู้สอนของบ้านเรา ตอนที่เขาเป็นเด็ก เขาถูกสอนให้อยู่ในกรอบ ไม่มีการโต้แย้ง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นอกจากนั้นครูในบ้านเราเน้นเรื่องการทำวิทยฐานะเพื่อปรับเลื่อนขั้นเพื่อความมั่นคงในอาชีพ มากกว่าการทุ่มเทให้กับการพัฒนาการเรียนการสอน นอกจากนี้แล้วครอบครัวคนไทยค่อนข้างมองข้ามเรื่องกฎระเบียบ หรือหน้าที่ความรับผิดชอบ มีข้อแก้ตัวให้กับเด็กว่าเขายังเล็กอยู่ตลอดเวลา กลายเป็นว่าเด็กถูกละเลยเรื่องการเรียนรู้ เพราะกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนที่ทำให้เด็กอ่านออกนั้น เป็นวิธีการเรียนที่ทำให้เด็กอ่านออกอย่างได้ผลดี แต่แต่ทักษะการอ่านและการการเขียน เป็นคนละทักษะ ทางบ้านต้องเสริมเรื่องกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก เพราะการเขียนต้องฝึกใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็ก ซึ่งหลายๆ ครอบครัวจะมองข้าม ปล่อยเรื่องการเรียน เป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงฝ่ายเดียว ทำให้เด็กเขียนไม่ได้หรือใช้เวลามากกว่าปกติ หรือเด็กบางคนจะไม่ยอมเขียนเลย เพราะไม่เคยชินกับการขีดเขียน เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเขียนจะรู้สึกเบื่อ หรืออาจถึงขั้นต่อต้าน เพราะมีความรู้สึกเหมือนถูกบังคับ ทำให้เด็กไม่ชอบการเรียน

            จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ว่าโรงเรียนในแนวบูรณาการไม่ดี เพียงแต่ว่าหากทางครอบครัวมีการเสริมเรื่องกล้ามเนื้อมือมัดเล็กให้กับบุตรหลาน จะทำให้เมื่อถึงเวลาที่เขาต้องเขียน จะทำให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี แต่หลายๆ ครอบครัวที่ทิ้งทุกอย่างให้กับโรงเรียน เด็กก็จะมีพัฒนาการค่อยเป็นค่อยไป แต่หากครอบครัวที่นอกจากทิ้งเรื่องเรียนให้กับโรงเรียน และครอบครัวเป็นผู้ส่งความสุข (เกมส์ , ทีวี) ให้กับบุตรหลาน เขาจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกัน และจะกลายเป็นปัญหาในที่สุด 

ดังนั้นก่อนที่จะเลือกโรงเรียนให้บุตรหลาน เราควรเลือกให้เหมาะกับตัวเด็กและวิธีการดูแลบุตรหลานของเรา อย่าทิ้งหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งให้กับใคร เพราะการที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาได้ พ่อแม่ผู้ปกครองมีหน้าที่รับผิดชอบชีวิตของเขาตั้งแต่เขาลืมตาดูโลก  

Tags : , , , , , , | add comments

            ในเดือนหน้าจะเป็นช่วงของการเปิดปีการศึกษาใหม่ของเด็กโรงเรียนไทย ซึ่งโดยปกติจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก แต่มีอยู่วัยหนึ่งที่เด็กจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบก้าวกระโดด นั่นคือการเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งเรื่องการนอนกลางวัน การช่วยเหลือตนเอง การเรียนในชั้นเรียนที่ใหญ่ขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนต่างๆ จะเปิดเรียนภาคฤดูร้อนเพื่อให้เด็กๆ ได้ปรับตัวก่อนที่จะเปิดปีการศึกษาใหม่อย่างเต็มตัว

            ปัจจุบันนี้โรงเรียนประถมมีอยู่หลากหลาย แต่ก็จะมีแนวทางหลักๆ เพียง 2 – 3 แนว คือ แนวเร่งเรียน (แนวโรงเรียนคาทอลิค)  , โรงเรียนในแนวบูรณาการ (แนวสาธิต) และสุดท้ายเป็นแนวสองภาษา (Bilingual) ซึ่งแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกัน มีข้อเด่นข้อด้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปกครองว่าไปตรงกับแนวทางหรือหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนใด สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองเลือกให้กับบุตรหลานนั้น เป็นสิ่งที่แต่ละครอบครัวคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุตรหลาน ของตน แต่เรามักหลงลืมไปว่า คนเรียนคือตัวบุตรหลาน เขาควรได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในชีวิตการเรียน ซึ่งต้องใช้เวลา 1 ใน 3 ของวันอยู่ที่นั่น การเลือกโรงเรียนของพ่อแม่ผู้ปกครองนั้น จะต้องรู้ถึงแนวทางการเรียนการสอนว่าเหมาะกับบุตรหลานหรือไม่ เพราะไม่มีใครรู้จักนิสัยลูกของเราได้เท่าพ่อแม่ เด็กส่วนใหญ่หลายๆ คนไม่มีปัญหากับการเปลี่ยนสถานที่เรียน เขาสามารถปรับตัวให้เข้าได้กับทุกๆ สถานที่ แต่เด็กหลายๆ คนที่มีพี่เลี้ยงคอยดูแลตลอดเวลาที่เค้าลืมตา หรือพ่อแม่ผู้ปกครองที่ตามใจ โดยที่บุตรหลานไม่เคยต้องหยิบจับหรือทำอะไรด้วยตัวเอง จะไม่เห็นความสำคัญของเรื่องเวลา เพราะไม่เคยทำอะไรด้วยตนเอง ไม่ต้องเร่งรีบ เพราะยังไงก็มีคนทำให้ แต่ชีวิตในโรงเรียนที่มีเวลาในแต่ละคาบที่จำกัด เขาไม่สามารถมีผู้ติดตามอย่างพี่เลี้ยงหรือพ่อแม่ ที่คอยเข้าไปดูแลได้ ทำให้เขาทำทุกอย่างได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือใช้เวลามากกว่าเด็กคนอื่นๆ ทำให้ถูกตำหนิ ว่ากล่าวเป็นประจำ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะเกิดปัญหา การไม่อยากไปโรงเรียน  การไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะมักถูกครูดุ หรือถ้าร้ายกว่านั้น เขาจะเป็นเด็กที่ไม่สนใจในสิ่งที่ครูพูด กลายเป็นเด็กดื้อเงียบ อยากทำอะไรก็ทำ ไม่อยากทำอะไรก็จะไม่ทำ อย่างไม่มีเหตุผล เอาอารมณ์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วเขาไม่ได้มีปัญหาของการเรียนรู้ แต่มีปัญหากับทัศนคติ และพฤติกรรมในโรงเรียน และปัญหานี้จะพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถแก้ไขได้             เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทุกปี แต่พ่อแม่ผู้ปกครองคิดว่าซักวันเด็กจะปรับตัวเข้ากับโรงเรียนได้เอง ต้องอดทน แต่ไม่เคยมีเด็กคนไหนกลับมาเป็นเด็กดีของพ่อแม่ และครูได้อีกเลย ดังนั้นอย่าให้เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับเด็กที่ไม่ได้มีปัญหา แต่เราเป็นคนยัดเยียดปัญหาให้เค้า โดยพาเค้าไปในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับตัวเค้า หรือเราไม่ได้เตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจกับเค้าว่า เค้าโตขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

            พูดถึงวิชาคณิตศาสตร์แล้ว เด็กๆ หลายคนไม่ชอบเท่าไรนัก แต่มันเป็นหนึ่งในวิชาหลักที่พวกเค้าจะต้องเรียนไปจนกว่าจะจบมัธยมต้น แต่กลับกลุ่มเด็กอีกหลายๆ คนที่เป็นกลุ่มของเด็กที่เรียกว่ามี sense ทางคณิตศาสตร์จะวิ่งเข้าใส่ ไม่ว่าโจทย์จะพลิกแพลงยังไง รูปแบบไหน เขาเหล่านี้ไม่เคยถอย คณิตศาสตร์เป็นอาหารสมองอันโอชะของเขาเหล่านั้น จากสถิติหลายๆ สำนักมักพบว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์ดี จะมีคะแนนวิทยาศาสตร์ดีด้วยเช่นกัน เด็กในกลุ่มนี้จะมีความโดดเด่นในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มากกว่าเด็กปกติ โดยปกติเราจะพบเด็กที่มี sense ทางคณิตศาสตร์ไม่มากนัก

            สอนเด็กที่ไม่มี sense คณิตศาสตร์ให้มี sense ได้หรือไม่ ต้องบอกก่อนว่าการที่บุตรหลานของเราไม่มี sense ทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด เพียงแต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่ทำให้เค้าเกิดทัศนคติทางด้านลบกับคณิตศาสตร์ ค่อยๆ ให้เค้าได้เรียนรู้คณิตศาสตร์รอบตัวผ่านประสบการณ์จริง ถึงแม้เด็กที่มี sense ทางคณิตศาสตร์หากเจอครูที่ทำให้ทัศนคติทางคณิตศาสตร์เสียไป ก็อาจจะทำให้เขาเสียเวลาอยู่นานกว่าจะค้นพบตัวตนของตัวเอง การฝึกฝนเป็นวิธีหนึ่งที่เพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ ทุกคน ยิ่งฝึกมากความถนัดหรือทักษะก็มากขึ้นตามไปด้วย อาจจะจริงที่คนที่ไม่มี sense อาจต้องใช้เวลามากกว่า หรือแบบฝึกหัดที่มากกว่า แต่เราก็สามารถฝึกให้เด็กทุกคนมีกระบวนการคิดให้เป็นระบบ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นอย่ากังวลว่าบุตรหลานจะสู้กับเด็กคนอื่นไม่ได้ ความถนัดของคนแต่ละคนแตกต่างกัน คนทุกคนไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกัน หรือเก่งเท่ากัน สิ่งที่สำคัญคือ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่เปรียบเทียบบุตรหลานของตนเองกับเพื่อนคนอื่นๆ มันเป็นเหมือนดาบ 2 คม ถ้าเค้าอยู่แนวหน้าของห้อง เขาจะไม่มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่หากเค้าอยู่แนวกลางค่อนหลัง เค้าจะรู้สึกว่าเขาสู้ใครไม่ได้ และไม่มีความภูมิใจในตัวเอง (ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ สร้างขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก) หากเขาถูกทำลายด้วยคะแนน หรือวิชาที่เขาไม่ชอบ เขาจะไม่มีทางค้นหาตัวเองเจอ ว่าเขาทำอะไรได้ดี   ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองทำได้คือ การให้กำลังใจในสิ่งที่เค้าทำเต็มที่ โดยไม่ควรคำนึงถึงผลว่ามันจะออกมาอย่างไร และคอยสังเกตในสิ่งที่เขาทำได้ดี และส่งเสริมทางด้านนั้นๆ (ไม่ใช่เกมส์ online) เพราะในกระบวนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดไม่ได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เช่น เสื้อจะต้องมีทั้ง designer , ช่างตัด , ช่างปัก ซึ่งในแต่ละทีมไม่ได้ใช้พนักงานคนเดียวกันทำเลยแม้แต่อย่างเดียว เพราะฉนั้นความถนัดหรือความชอบ ของเด็กแต่ละคน มันคือ sense ในแต่ละด้านที่เค้ามีแตกต่างกันไปเพียงเท่านั้นเอง…..

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

            ช่วงเวลาของการสอบคัดเลือกผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งการสอบเด็กเล็ก (เครือสาธิต) และเด็กโต (มัธยม) เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดความผิดหวังกับหลายๆ ครอบครัวในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง   เหตุการณ์ที่น่ากังวลคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ที่สอบแข่งขันเพื่อเข้าโรงเรียนสาธิต ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูงมาก อัตราการแข่งขันเฉลี่ย 1:30 เด็กหลายๆ คนต้องติวเพื่อสอบเป็นเวลา 1 ปีเต็ม โดยไม่ได้หยุดแม้กระทั่งวันอาทิตย์ แล้วการสอบตัวเค้าก็มีความรู้สึกว่าทำได้ ข้อสอบไม่ได้ยาก ทำให้เค้ามีความหวังว่าเค้าต้องติดแน่ๆ หลังจากออกจากห้องสอบ พ่อแม่ผู้ปกครองก็จะคอยถามว่า เป็นยังไง ทำข้อสอบได้มั้ย เค้าก็ตอบตามความรู้สึกว่าเค้าทำได้ ต่างฝ่ายต่างมีความหวังว่าจะติด แต่เมื่อประกาศผลการคัดเลือก กลับไม่มีชื่อเค้า สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กหลายๆ คนคือ ทำไมเค้าไม่ติด ในขณะที่เพื่อนติด แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้นคือ ความไม่มั่นใจที่จะไปสอบในที่ต่างๆ อีก ในขณะที่หลายๆ โรงเรียนมีเพียงอนุบาล เด็กหลายๆ คนถูกบั่นทอนความมั่นใจที่เคยมี จากการสอบเพียงครั้งเดียวตั้งแต่วัย 5 ขวบ แล้วช่วงวัยต่อจากนี้ไปเขาจะต้องดำเนินต่อไปอย่างไร เพราะต่อจากเด็กเล็ก จะต้องมีการสอบคัดเลือกทุกๆ 6 ปี

            แต่ในวัยอนุบาลควรหลีกเลี่ยงเพราะเค้าเล็กเกินกว่าที่จะอธิบายให้เค้าได้เข้าใจถึงอัตราการแข่งขัน แต่สิ่งที่สำคัญคือ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ที่มองบุตรหลานออกว่าสามารถยอมรับกับการไม่ได้คัดเลือก หรือไม่ได้สนใจกับผลที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ถ้าไม่ ควรหลีกเลี่ยงการสอบแข่งขันที่มีอัตราการแข่งขันสูงขนาดนั้นดังนั้นการบ่มเพาะความรัก ความเอาใจใส่บุตรหลาน เป็นสิ่งสำคัญ ต้องให้เค้าได้รู้ว่าไม่ว่าเค้าจะผิดพลาดอย่างไร พ่อแม่ยังคงอยู่เคียงข้างเค้าเสมอ การสอบเข้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่จะทำงานโดยมีเวลาจำกัด การมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ และทำสิ่งที่ทำอยู่ให้ดีที่สุด ผลจะออกมาเป็นอย่างไรไม่สำคัญ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นคนสร้างภูมิด้านจิตใจให้เค้าให้แกร่งขึ้น เพื่อพร้อมรับกับภาวะของการแข่งขันที่จะต้องมีผู้ที่ถูกคัดออก

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

จากที่เคยกล่าวถึงโรงเรียนในแนวต่างๆ  มาแล้ว คราวนี้เราลองมาสอดส่องโรงเรียนไทยที่มีทางเลือกหลากหลายให้กับพ่อ แม่  ผู้ปกครองในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ค่าเทอมของโรงเรียนอินเตอร์มีอัตราที่สูงลิ่ว ซึ่งมีเพียงไม่กี่ครอบครัวเท่านั้นที่สามารถส่งเสริมบุตรหลานให้เรียนได้  ประกอบกับโรงเรียนหลายๆ โรงเรียนมีการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีหลากหลายแบบให้เลือก ทั้งแบบ  Gifted ,EP และภาคปกติ  เรามาดูรายละเอียดของการเรียน EP ว่าแตกต่างจากภาคเรียนปกติอย่างไร

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็หวังว่าการส่งบุตรหลานเรียน EP  จะทำให้บุตรหลานได้มีความเข้าใจภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยอาจรู้เท่าไม่ถึงว่าแนวการเรียนการสอนเป็นอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว โรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ  EP จะมีการเพิ่มการเรียนการสอนวิชา  Math , Science , Social  Study  ซึ่ง ผู้ปกครองหลายๆ คนที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมเด็กก่อนที่จะเข้าเรียนในแนว EP  ส่งบุตรหลานเรียนอนุบาลในแนวไทย เข้าใจว่าเด็กๆ  จะสามารถปรับตัวได้เอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กไม่สามารถปรับตัวได้เลย เพราะหนังสือที่ใช้ส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์ หลายๆ โรงเรียนเลือกใช้หนังสือจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งหนังสือที่ใช้เป็นหนังสือที่ดีมาก  แต่เราต้องอย่าลืมว่าภาษาอังกฤษของประเทศสิงคโปร์เป็นภาษาแม่ก็ว่าได้ ดังนั้นภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นแบบ  EFL  (English First  Language) ซึ่งเด็กไทยภาษาอังกฤษไม่ใช่ทั้งภาษาแม่และภาษาทางราชการ ทำให้เด็กเกิดปัญหา เพราะไม่ได้ถูกปูพื้นฐานมาตั้งแต่ต้น พ่อแม่ ผู้ปกครองเองบางคนที่ไม่ติดเรื่องภาษา ก็ต้องติดกับเรื่องของการอธิบาย เพราะเค้าใช้วิธี   Singapore  Math ทำให้เกิดปัญหากับการเรียนคณิตศาสตร์

หลายๆ ครอบครัวช่วยบุตรหลานโดยการส่งให้เรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่ม  แต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ได้ทำให้บุตรหลานเข้าใจการเรียนคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น  เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะการเรียนภาษาอังกฤษในเมืองไทย มุ่งเน้นให้เด็กเรียนไวยากรณ์  ท่องศัพท์เพื่อให้รู้หน้าที่ของคำ  แต่การเรียนคณิตศาสตร์จะมีศัพท์เฉพาะทาง เช่น perpendicular,  denominator, parallel, numerator, reciprocal เป็นต้น  กลายเป็นปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

ดังนั้นการเลือกโรงเรียนนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องมีการวางแผนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาให้กับบุตรหลาน  แต่หากเด็กเข้าไปอยู่ในระบบแล้ว ควรช่วยเค้าให้ถูกทาง เลือกเรียน Singapore Math เพื่อให้เกิดความเข้าใจวิธีการแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้แล้วเพื่อไม่ให้ปัญหาค่อยๆ พอกพูนจนไม่สามารถแก้ไขได้ ร่วมกับการที่เวลาที่สอนในโรงเรียนปกติ 8 วิชา เพิ่มอีก 3 วิชาโดยมีเวลาเรียนเท่าเดิม กลายเป็นว่าภาษาไทยก็ไม่ได้ ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ วิชาการอะไรก็ไม่ได้สักด้านเดียว……

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

จากระบบการศึกษาไทยที่หลายๆ ครอบครัวเกิดความไม่เชื่อมั่น ทั้งในเรื่องขององค์ความรู้ ผู้สอ น อีกทั้งอัตราการแข่งขันเพื่อให้ได้เรียนโรงเรียนดังๆ หรือในโรงเรียนกระแสทั่วไป หลายๆ ครอบครัวมักพูดว่าไปเรียนอินเตอร์บุตรหลานจะได้ไม่ต้องแข่งขันมาก ไม่อยากให้บุตรหลานเครียด ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองในกลุ่มนี้ เลือกโรงเรียนในแนวของโรงเรียนอินเตอร์ ที่มีจำนวนมากขึ้นในช่วงทศวรรษหลัง แต่ในการส่งบุตรหลานเรียนในโรงเรียนอินเตอร์ พ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบ และอาจต้องมีการตรวจสอบวุฒิการศึกษา เมื่อเทียบกับกระทรวงของบ้านเราด้วย หากยังต้องการให้บุตรหลานเรียนต่ออุดมศึกษาในเมืองไทย

หลักสูตรของโรงเรียนอินเตอร์หลักๆ จะแยกออกเป็น 2 แนวใหญ่ๆ คือแนวบูรณาการ ซึ่งจะใช้ curriculum อยู่ 2 แนว คือแบบ British Curriculum และในแนว American Curriculum ซึ่งเป็นแนวการเรียนที่เน้นความพร้อมของเด็ก และไม่เร่งให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการขีดเขียน มุ่งเน้นการเรียนแบบ well rounded (การเรียนรู้รอบด้าน) เนื่องจากสังคมของประเทศดังกล่าวมุ่งเน้นให้เกิดงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีการประยุกต์ชิ้นงานจากความคิดความสามารถรอบด้านที่สะสมมา และแนวทางการเลี้ยงดูบุตรหลานมุ่งเน้นให้เด็กคิดอย่างอิสระ ส่งเสริมกิจกรรมกลางแจ้งให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว เปิดโอกาสให้เด็กได้ออกเดินทาง ทัศนศึกษา จัดกิจกรรมสันทนาการไปตามที่ต่างๆ โดยมีคู่มือ แผนที่ของสถานที่ มีการค้นคว้าข้อมูลที่ตนเองสนใจ พร้อมกับการมีคำถามปลายเปิดในการเรียนรู้ทุกๆ กิจกรรมโดยที่คำถามต่างๆ เหล่านั้น เด็กๆ จะต้องให้เหตุผลในคำตอบของตนเอง คำตอบไม่มีผิด ไม่มีถูก เพื่อส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าทำสิ่งต่างๆ นอกกรอบที่เรียนมา เป็นเหตุให้เราจะได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ จากประเทศดังกล่าวเสมอ ส่วนในอีกแนวทางคือเป็นแนวทางของการเร่งเรียน นั่นคือแนวทางของ Singapore ซึ่งเน้นทั้งด้านภาษา (อังกฤษและจีน) คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เนื่องจากประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่เน้นสร้างบุคลากรมนุษย์ เนื่องจากทรัพยาการทางธรรมชาติไม่ได้อุดมสมบูรณ์แบบบ้านเรา จึงเน้นใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้ใช้ความรู้ที่จะใช้ทรัพยาการธรรมชาติ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองเบนเข็มไปในแนวของโรงเรียนอินเตอร์ มักคาดหวังว่าลูกจะเป็นเด็กที่กล้าคิด กล้าแสดงออก มีความสามารถด้านภาษา นอกจากนี้แล้วพ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนจึงปล่อยการเรียนให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงฝ่ายเดียว จนไม่รู้ว่าบุตรหลาน ได้ความรู้ ความมั่นใจ ความคิดจากโรงเรียนดังกล่าวหรือไม่ หลงลืมไปว่าภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแรกของเรา การเรียนการสอนในแนวของโรงเรียนอินเตอร์จะสอนในแนวที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกที่เค้าเรียกว่า Mother tongue หรือ EFL (English First Language) แนวการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะแตกต่างจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สาม แต่แน่นอนเด็กๆ ที่เรียนจะได้เรื่องการสื่อสาร การฟัง แต่เรื่องของการอ่าน การเขียนจะต้องฝึกมากกว่าเด็ก EFL แน่นอน  นอกจากเรื่องของภาษาแล้ว ยังมีเรื่องของวิธีการเลี้ยงดู คนไทยหากมีศักยภาพเพียงพอที่จะส่งบุตรหลานเรียนโรงเรียนดังกล่าว เด็กเมื่ออยู่บ้าน ไม่ต้องคิดเอง ทำอะไรเอง กิจกรรมทุกอย่างมีคนคอยคิด คอยหยิบยื่นความช่วยเหลือให้อยู่แล้ว ทำให้กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์และปลูกฝังให้คิดด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ต้องเริ่มจากที่บ้านจนกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวเค้า ไม่ใช่สิ่งที่จะสอนกันได้เพียงในเวลาเรียน ซ้ำร้ายกว่านั้นทำให้กลายเป็นคนเฉื่อย ไม่พยายาม ไม่มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำอะไรให้สำเร็จ เพราะทุกอย่างที่ได้รับมาล้วนถูกหยิบยื่นแบบไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย

จากเรื่องของวิธีคิด มาพูดถึงเรื่องวิชาการ เด็กที่เรียนโรงเรียนอินเตอร์ส่วนใหญ่จะไม่ชอบการเรียนคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ เนื่องจากทั้งสองวิชาเป็นวิชาที่มีคำตอบตายตัว ไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่อาจมีวิธีคิดที่หลากหลายได้ ซึ่งแตกต่างจาก Literature ซึ่งเป็นวิชาที่อิสระ ไม่มีผิดไม่มีถูก แต่ขึ้นกับทัศนคติ และวิธีคิดของแต่ละคน หากพ่อแม่ ผู้ปกครองเลือกโรงเรียนในแนวอินเตอร์ให้บุตรหลานแล้ว ต้องมองยาวๆ ไปจนถึงอุดมศึกษา หากยังคงส่งให้เรียนในประเทศไทย ซึ่งก็ยังมีทางเลือกของการเรียนในแนวของอินเตอร์ แต่สิ่งที่สำคัญคือ โรงเรียนดังกล่าวได้รับการรับรองจากกระทรวงบ้านเราหรือไม่ และสิ่งที่ต้องศึกษาคือ ในแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยจะมี requirement ที่เด็กจะต้องสอบเพื่อยื่นเป็น portfolio หรือ profile เพื่อให้ได้คณะและมหาวิทยาลัยที่ต้องการ ซึ่งก็จะหนีไม่พ้น SAT , TOEFL , IELT หรือหากต้องการไปในแนวของแพทย์ก็จะต้อง Apply BMAT และพวก SAT Subject ต่างๆ ต่อไป

อย่าให้บุตรหลาน สุดท้ายมีข้อได้เปรียบเพียงภาษาเพียงอย่างเดียว มันน่าเสียดายกับเวลา ศักยภาพในตัวเด็ก และเงินที่ทุ่มเทลงไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ลูก….ไม่ใช่ไม้ผลัด

Posted by malinee on Sunday Dec 2, 2018 Under Uncategorized

ในปัจจุบันที่ครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวที่มีลูกคนเดียว จึงทำให้ความทุ่มเทและคาดหวังตกอยู่กับลูกโทน เป็นเหตุให้เมื่อบุตรหลานเข้าสู่วัยเรียน จึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองพิถีพิถันในการเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลาน

หลายๆ ครอบครัวที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบการศึกษาของบ้านเรา ก็จะรับรู้ว่า ระบบการศึกษาไทยมีปัญหาหลายด้าน ทั้งเรื่องบุคลากรที่ผ่านการสอบคัดเลือกแบบ(ติวข้อสอบข้าราชการ ครูผู้ช่วย) ซึ่งหลังจากที่ได้รับราชการแล้ว ทุกอย่างจบสิ้น ไม่มีการพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อให้ทันกับยุคสมัย  แนวการเรียนการสอนที่เด็กนักเรียนจะต้องปรับเข้าหาครู (แทนที่ครูจะหาวิธีสอนที่ทำให้เด็กเข้าใจ) ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นที่มักได้ยินกันเป็นประจำคือ ในชั้นเรียนครูไม่สอน แต่ให้เด็กไปเรียนพิเศษกับครูข้างนอก เมื่อใกล้สอบจะมีการบอกข้อสอบเพื่อให้ได้คะแนนดีๆนอกจากนี้ยังรวมไปถึงหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนการสอนที่มีการปรับปรุงทุกๆ ทศวรรษ ซึ่งในปัจจุบันแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีแต่หลักสูตรแนวแกนกลางกระทรวงยังคงอยู่ที่ปี 2551 อยู่เลย

หลายๆ ครอบครัวจึงหันเหไปหาโรงเรียนอินเตอร์ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่หลายๆ ครอบครัวที่มีกำลังพอจะส่งเสริม เพราะหวังว่าเด็กได้ภาษาแน่ๆ และเข้าใจว่าโรงเรียนในแนวดังกล่าวจะสอนให้เด็กๆ สามารถคิด วิเคราะห์ได้ดีกว่าเด็กโรงเรียนไทย  โดยลืมไปว่าการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมของคนไทยกับต่างชาติแตกต่างกัน  เด็กทุกคนจะมีลักษณะนิสัยส่วนตัวซึ่งถูกบ่มเพาะจากทางบ้าน จริงอยู่ที่เด็กอยู่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน (ในวัยเรียน) แต่ครอบครัวได้หล่อหลอมเขาตั้งแต่แรกเกิดจนก่อนเข้าวัยเรียน หากเด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่ว่าเขาจะอยู่ตรงไหน ลักษณะนิสัยดังกล่าวก็ยังคงเป็นตัวเขา  หากพ่อแม่ผู้ปกครองบ่มเพาะให้เขาหัดเป็นคนช่างสังเกต หรือมีระเบียบวินัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็จะติดตัวเค้าไปทุกที่ แต่อย่างไรก็ดีโรงเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ครูมีผลต่อทัศนคติของเด็กในวิชาที่ครูผู้นั้นสอน ดังนั้นทางที่ดี ในส่วนของพ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่ให้บุตรหลานเหมือนไม้ผลัด ที่เรื่องของการเรียนส่งต่อให้โรงเรียนรับผิดชอบเพียงไม้เดียว ส่วนผู้บิรหารโรงเรียนนอกจากจะมีการประเมินการเรียนการสอน ซึ่งคือการประเมินการเรียนของเด็กเพียงด้านเดียว แต่ควรประเมินการสอนของครูผู้สอนด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาไปทั้งสองฝั่ง ทั้งฝั่งของทางบ้าน และฝั่งของโรงเรียนไปพร้อมๆ กัน…

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เด็กๆ กำลังเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าไม่ว่าจะเป็นม.1 หรือ ม.4 ซึ่งอัตราการแข่งขันในปัจจุบันค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการแบ่งสัดส่วนของเด็กในพื้นที่และเด็กนอกพื้นที่ ร่วมกับการลดจำนวนนักเรียนต่อห้องที่ถูกกำหนดให้ลดลงตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้เด็กที่ไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่จำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวในการแข่งขันในเขตโรงเรียนที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ยิ่งถ้าช่วงชั้นที่สูงขึ้น การแข่งขันยิ่งดุเดือดมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ ดังนั้นในช่วงปิดภาคเรียนจึงเป็นช่วงที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องส่งบุตรหลานเข้าสู่สถาบันติวที่มีผลงานการันตีเป็นรายชื่อนักเรียนที่สอบติดตามโรงเรียนชื่อดังต่างๆ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น พอถึงตอนเย็นก็หมดแรงที่จะทำอะไร เด็กๆ ก็จะเรียกร้องขอเวลาพักเนื่องจากเหน็ดเหนื่อยมาทั้งวันแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองก็ปล่อยเวลาดังกล่าวให้เป็นเวลาพักของเขา

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เกิดขึ้นกับครอบครัวโดยส่วนใหญ่ การติวสอบเพื่อสอบเข้าโรงเรียนดังๆ ที่มีการแข่งขันสูง ไม่สามารถใช้ข้อสอบแบบปกติเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาได้ จึงจำเป็นที่จะต้องออกข้อสอบที่ยากเกินระดับ ดังนั้นการติวเพื่อสอบเข้าตามสถาบันต่างๆ จึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นไปแล้ว แต่การที่เด็กเรียนตั้งแต่เช้าจรดเย็นนั้น เขาจะรู้สึกว่าเขาเข้าใจในสิ่งที่เรียนมาทั้งหมด จึงทำให้ขาดการทำแบบฝึกหัด หรือการทบทวน หลังจากกลับถึงบ้านก็ใช้เวลาที่เหลือเล่นเกมส์ หรือผ่อนคลายในแบบที่ตนเองต้องการ ผลสุดท้ายเมื่อเด็กเข้าห้องสอบ กลับไม่รู้จะเริ่มที่ตรงไหนก่อน โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจากการเรียนกวดวิชานั้น เขาจะให้สูตรและวิธีลัดมากมาย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการและนำไปใช้ได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือการทบทวน และฝึกฝนทักษะของการทำโจทย์เพื่อให้รู้ขั้นตอน กระบวนการ และคิดอย่างเป็นระบบ หากเขาเรียนเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ฝึกทำด้วยตนเอง เขาจะไม่เกิดทักษะของการวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอนเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ดังกล่าว เริ่มต้นไม่ถูกได้แต่นึกคุ้นๆ

ดังนั้นการที่ส่งบุตรหลานไปเรียนพิเศษ พ่อแม่ผู้ปกครองควรตามดูว่าเขามีการทบทวน หรือได้ฝึกทำโจทย์ เพื่อให้เม็ดเงินและเวลาที่เสียไปเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments