ภาพลวงตา

Posted by malinee on Sunday Apr 22, 2018 Under เกร็ดความรู้

มีกระแสของการศึกษาที่มีอยู่เนืองๆ ว่าควรจะมีการยกระดับการศึกษาไทยให้มีคุณภาพดีทั่วประเทศเสียที  หลายๆ คนอาจกล่าวว่า ระบบการศึกษาในโรงเรียนควรจะมีการบูรณาการตามความสามารถของเด็ก หรือตามความสนใจของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความพร้อมและ ความสนใจที่แตกต่างกัน จึงควรมีการจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามความถนัดของเด็ก

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพียงการคัดเลือกข้าราชการครูเข้ามารับหน้าที่ในการสอน ยังไม่ตรงกับความถนัด หรือสาขาวิชาที่เรียนมาเลยด้วยซ้ำ อย่าพูดถึงคุณภาพของเด็กที่จะได้รับการเรียนการสอนที่ดีเลย นอกจากในส่วนของผู้สอนแล้ว ตัวผู้เรียนก็เป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพในการเรียนด้วย เราต้องยอมรับก่อนว่าเด็กก่อนวัยเรียนในแต่ละครอบครัวก็มีความแตกต่างกันแล้ว ครูไม่ได้กล่าวถึงความพร้อมด้านเศรษฐกิจ แต่ ณ ที่นี้จะกล่าวถึงหน้าที่ในการสร้างความพร้อมในการเรียนรู้ก่อนวัยเรียน เด็กหลายๆ คนถูกปล่อยปละ หรือขาดทักษะทางด้านร่างกาย ซึ่งหมายถึงกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ที่ส่งผลต่อทักษะในการเรียนรู้ในวัยเรียน ที่จะต้องใช้ทักษะพื้นฐานในช่วงก่อนวัยเรียน หลายๆ ครอบครัวที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า การเล่นเกมส์เป็นการฝึกทักษะและภาษาให้กับเด็กโดยที่เด็กจะใช้นิ้วชี้เพียงนิ้วเดียวในการเล่นเกมส์ ซึ่งต่างจากการเล่นของเล่นที่เป็นชิ้น ที่สามารถเสริมสร้างทั้งกล้ามเนื้อ ความสัมพันธ์ของการทำงานระหว่างมือกับตา อีกทั้งยังได้เรื่องของจิตนาการอีกด้วย

เมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียน ก็ไม่มีความพร้อมที่จะเรียน เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่พร้อม สมาธิไม่ดี หรือแม้กระทั่งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในเรื่องพื้นฐานที่ควรจะถูกฝึกจากบ้าน คิดเพียงแต่ว่าโรงเรียนมีหน้าที่ที่จะสอนให้บุตรหลานอ่านออกเขียนได้ โดยขาดการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ

มันจะเป็นธรรมกว่าหรือไม่ ถ้าต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ให้ถูกที่ถูกเวลา ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างโยนความรับผิดชอบให้พ้นๆ ตนเองไป พ่อแม่ผู้ปกครองก็โยนความรับผิดชอบไปให้โรงเรียน ครูชั้นอนุบาลก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ เพราะในที่สุดเด็กก็จะต้องขึ้นไปเรียนชั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ นี่เป็นเพียงความรับผิดชอบในงานเล็กๆ ของตนเอง เราก็ไม่ต้องหันไปพึ่งใครที่มีหน้าที่เพียงไม่กี่ปี หรือไม่กี่วาระที่จะมาแก้ปัญหาการศึกษาของไทยเลย เพราะต่างก็คิดว่า ปีหน้าเราก็หมดวาระ หรือหมดหน้าที่แล้ว เพราะฉะนั้น ครอบครัวจึงเป็นสถาบันเล็กๆ ที่ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้แข็งแกร่งที่สุด อย่าไปหวังน้ำบ่อหน้า ซึ่งมันไม่มีจริงเลย มันเป็นเพียงภาพลวงตา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ผลของ AEC

Posted by malinee on Monday Jun 9, 2014 Under เกร็ดความรู้

aec-asian-kids-global-countries-31274934            เหลือเวลาอีกไม่ถึงปี ที่จะมีการเปิดประเทศเข้าสู่ AEC (ประชาคมอาเซียน) ทำให้เกิดการกระตุ้นทางด้านการศึกษากันอย่างกว้างขวาง  โรงเรียนหรือสถานศึกษาหลายๆ แห่งเปิดโครงการการเรียนการสอนแบบ EP (English Program) กันอย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ต้องการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กๆ ในด้านของภาษามากขึ้น

แนวทางในการเรียน EP ของหลายๆ โรงเรียน จะเป็นการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษเพิ่มเข้ามาจากหลักสูตรปกติ แนวทางดังกล่าวน่าจะส่งผลดีกับตัวเด็ก ให้เด็กได้มีความคุ้นเคยในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยที่ทั้งหลักสูตรที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษควรจะไปในทิศทางเดียวกัน หรือคู่ขนานกันไป รวมทั้งหากเด็กได้ฝึกฝน หรือเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาไว้แล้ว แต่ในทางกลับกัน หลักสูตรที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ร่วมกับการติดอยู่กับภาษาของเด็กหลายๆ คน ที่ไม่มีความคุ้นเคยกับการใช้ภาษา และยังต้องมีคำศัพท์เฉพาะอีกมากมายที่ต้องจำและทำความเข้าใจ ส่งผลให้เด็กเกิดความท้อแท้ เนื่องจากความไม่เข้าใจด้านภาษา รวมกับความไม่เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน

ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องการให้บุตรหลาน มีการเรียนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ควรมีการติดตามแนวการเรียนการสอนของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง หรือ ในช่วงของการสอบคัดเลือก ควรจะมีการศึกษาถึงแนวการเรียนการสอนของแต่ละโรง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลาน ให้เขาใช้เวลาในช่วงของการปรับตัวในช่วงที่สั้นที่สุด เพื่อให้การเรียนได้สัมฤทธิ์ผลที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , | add comments

 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

อึ้ง ! ครูคณิตสอบตก 60% ในวิชาที่ตัวเองสอน เผยคะแนนเด็กไทยเทียบนานาชาติ อยู่ในระดับแย่ ด้าน อดีต สวพ. ชี้ต้นเหตุมาจากนักการเมืองที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยล่มสลาย

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556 นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ อดีตประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ (สวพ.) กล่าวถึงกรณีที่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะทำการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่า เป็นการรีบปรับเปลี่ยนเกินไป และไม่ได้ดูบริบทอื่น ๆ เลยว่า เขตพื้นที่การศึกษาจะมีปัญหาเรื่องการจัดการหรือไม่ และการผลิตครูมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด แต่กลับไปปรับหลักสูตรจากเดิม 8 สาระกลุ่มการเรียนรู้ ให้เหลือ 6 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากสับสนและวุ่นวาย ทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง

โดยเฉพาะตัวครูเองก็คงจะลำบากมากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรเดิมก็ยังสอนไม่ได้เลย อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีการทดสอบครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์แล้วพบว่า ครู 60% สอบตกในวิชาที่ตัวเองเป็นคนสอน ดังนั้น หากมีหลักสูตรใหม่เกิดขึ้น เชื่อว่าก็จะต้องมีการอบรมครูเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก เนื่องจากครูต้องทิ้งนักเรียนไว้ ทำให้ไม่มีเวลาสอนอย่างเต็มที่

นายชัยณรงค์ กล่าวอีกว่า ตนมองว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องปรับหลักสูตรใด ๆ และการระบุว่าการปรับหลักสูตรให้เหลือ 6 กลุ่มสาระ จะทำให้เด็กมีชั่วโมงเรียนที่น้อยลงนั้น เป็นเรื่องที่ไร้สาระ เนื่องจากวิชายังอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่แค่มาจัดหมวดหมู่และเปลี่ยนชื่อใหม่เท่านั้นเอง ส่วนกระบวนการคิดของคนปรับหลักสูตรก็ยังเป็นแบบวิทยาศาสตร์ ที่คิดถึงแต่ผลผลิต พอผลผลิตออกมาไม่ดีก็คิดแต่จะเปลี่ยน ซึ่งตนคิดว่าระบบนี้นำมาใช้กับระบบการศึกษาไม่ได้

นอกจากนี้ นายชัยณรงค์ กล่าวถึงผลการสอบโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ว่า การประเมินดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าเด็กไทยมีคุณภาพการศึกษาที่ล้มเหลว โดยคะแนนของเด็กนั้นได้มาจากการท่องจำเพียงอย่างเดียว ทั้ง ๆ ที่ PISA มีคะแนนในหลายด้าน อาทิ การคิดวิเคราะห์ การสร้างสรรค์จินตนาการ และการนำไปใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์จากคะแนนนานาชาติ จะเห็นได้ว่า คุณภาพของเด็กไทยลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับ 30 ปี ที่แล้วที่เด็กไทยมีคะแนนอยู่ในระดับดี แต่หลังจากนั้นคะแนนก็ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ในระดับที่แย่ ส่วนสาเหตุเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน ศธ. และนักการเมืองทั้งหลายที่เข้ามาแย่งงบประมาณหลายแสนล้าน อีกทั้งใช้บุคลากร ศธ. มาเป็นฐานเสียงให้กับพรรคของตัวเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของระบบการศึกษาไทย

ที่มา : http://education.kapook.com/view74467.html

Tags : , , , , , , , , | add comments

จากที่มีการเปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) มีนโยบายปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรับฌครงสร้างเวลาเรียน โดยการปรับลดเวลาในการเรียนวิชาการให้น้อยลง ในขณะที่เพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนให้มากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่นี้ จะมีการปรับโครงสร้างทุกระดับชั้นต้งแต่ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมต้น และ มัธยมปลาย

นอกจากการปรับลดจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาการลงแล้ว จะมีการปรับสัดส่วนการเรียนวิชาต่างๆ ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นด้วย จากเดิมที่ให้สัดส่วนเวลาเรียนทุกวิชาเท่าๆ กัน ก็จะเปลี่ยนมามีจุดเน้นให้ตรวตามวัย โดยระดับประถมต้นโดยเฉพาะ ป.1-2 จะเน้นการเรียนรู้ทักษะด้านภาษาเป็นหลัก จนถึงระดับประถมปลายจึงจะเพิ่มเติมทักษะด้านการคิดคำนวณ ส่วนระดับมัธยมต้นจะเพิ่มเติมทักษะในการแสวงหาความรู้ให้กับเด็ก และมัธยมปลายจะเน้นให้เด็กนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้

ในการปรับโครงสร้างการเรียนดังกล่าว น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เมื่อมีการศึกษาหรือการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดลองใช้หลักสูตรในโรงเรียนต้นแบบเพียงบางโรงเรียนก่อน  เพื่อให้ครูมีการเตรียมความพร้อมของตนเองในการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน เนื่องจากการเรียนการสอนนอกห้องเรียนนั้นยากต่อการประเมินว่านักเรียนจะได้เรียนรู้สิงต่าง ๆ ตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน  อีกทั้งครูผู้สอนยังเป็นปัจจัยหลักที่มมีผลต่อการเรียนการสอน หากครูผู้สอนไม่มีเป้าหมายหรือไม่มีการเตรียมการเรียนการสอน หรือไม่ได้รับการฝึกอบรมการสอนในแบบของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน นั่นหมายถึงเวลาที่เด็กจะเสียโอกาสในการเรียนวิชาการในแต่ละครั้ง

ส่วนเรื่องสัดส่วนของวิชาการที่ถูกเน้นในแต่ละช่วงชั้นที่แตกต่างกันนั้น  เมื่อเด็กขึ้นมาถึงช่วงชั้นที่มีการเน้นสัดส่วนที่เปลี่ยนไป อาจทำให้เด็กนักเรียนเกิดความไม่ต่อเนื่องในการเรียน ทำให้การเรียน แทนที่จะมีการเรียนอย่างต่อเนื่องก็ต้องมาย้ำเนื้อหาที่น่าจะทำได้ดีแล้วในช่วงชั้นก่อน ๆ หรือทักษะบางทักษะที่จะต้องมีการสะสมประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาทักษะดังกล่าว ก็อาจทำให้เด็กขาดความรู้ความชำนาญในทักษะนั้น ๆ เพียงเพราะไม่ได้ถูกฝึกมา หรือการเรียนขาดช่วงไป

ในการคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ ในเรื่องของศึกษาน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หากเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการศึกษา จากโรงเรียนต้นแบบอย่างจริงจัง ไม่ใข่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเขาใช้แบบนี้ โดยไม่ได้ศึกษาจากธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กไทยเป็นตัวตั้ง

Tags : , , , , , , , , , | add comments

หลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ ยังเป็นเด็กนักเรียน เราไม่เห็นความแตกต่างของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของเราพัฒนาไปจากเดิมเลย ซ้ำร้ายบุคลากร (ครูผู้สอน) ในปัจจุบันเป็นเพียงลูกจ้างของทางโรงเรียน ที่หาจิตวิญญาณในการสอนเหมือนแต่เก่าก่อนยากขึ้นเรื่อย ๆ  สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมันอาจเกิดจากระบบของเรื่องค่าตอบแทนที่บุคลากรควรได้รับ เพื่อให้มีการทุ่มเทแรงกายแรงใจ พัฒนาเด็กรุ่นต่อ ๆ ไป ให้มีคุณภาพ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมันกลับตรงกันข้าม เนื่องด้วยค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อขวัญ กำลังใจ หรือทัศนคติที่ดีกับการสอน ซึ่งส่งผลให้ครูในปัจจุบัน มีความรับผิดชอบต่อการเรียนการสอน และมาตรฐานการสอนที่ต่ำลง

ปัจจัยหลักของการเรียนในวัยเด็กว่าจะมีทัศนคติในเชิงบวกหรือลบนั้น ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นหลัก นอกจากนี้แล้วอุปกรณ์ หรือสื่อการสอนก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เด็กสามารถเข้าใจบทเรียน หรือการแปลงจากข้อความ ที่เป็นนามธรรม ให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กเพิ่งเริ่มเรียนเรื่องเศษส่วน จะเกิดความสับสนทุกครั้งในเรื่องของการเปรียบเทียบเศษส่วนว่าตัวไหนมีค่ามากกว่าตัวไหน ซึ่งถ้าเรามีสื่อการสอนที่ดี จะทำให้เด็กเข้าใจได้ว่าการเปรียบเทียบเศษส่วนจะมีหลักอย่างไร

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการเรียนของเด็ก คือความเข้าใจโดยให้เห็นเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

           ปัจจุบันนี้การศึกษาปฐมวัยของบ้านเรามีหลายหลายแนวการศึกษาให้เลือกมากมาย ทั้งแบบบูรณาการ  แบบมอนเตสเซอรี่ แบบวอลดอร์ฟ หรือแม้กระทั่งแบบเร่งเขียนอ่าน ซึ่งในหแต่ละแบบก็มีแนวการศึกษา หรือหลักแนวคิดที่แตกต่างกัน
การเรียนในแบบบูรณาการ จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือเรียนตามความสนใจของผู้เรียน เน้นความรู้แบบองค์รวมไม่ได้เน้นรายวิชา ซึ่งหมายความว่าการเรียนจะมีอยู่ภายใต้หัวข้อเดียวกัน และเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
          การเรียนแบบมอนเตสเซอรี่เป็นระบบการศึกษาที่เน้นให้เด็กๆใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระบบแบบแผนโดยเฉพาะเรื่องการฝึกให้เด็กมีระเบียบ วินัย และพัฒนาการทั้งความคิด อารมณ์ และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย โดยผ่านสื่อการเรียนการสอนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของมอนเตสเซอรี่
          การเรียนแบบวอลดอร์ฟ เป็นการเรียนที่ให้อิสระกับผู้เรียน เรียนผ่านการเล่น ฝึกให้เด็กได้รับประสบการณ์จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในแต่ละวัน เสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็กผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
          จากแนวการเรียนการสอนที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้น มีทั้งข้อดี ข้อเสีย นั่นคือ ผู้ปกครองมีแนวทางเลือกที่เพื่อเหมาะสมกับลูกหลานมากขึ้น แต่ในบางครั้งหากไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ อาจทำให้เด็กต้องพบกับปัญหาของการปรับตัวเมื่อต้องย้ายโรงเรียนเมื่อเด็กโตขึ้น 
 ดังนั้นควรมีการหาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งข้อมูลของแนวการเรียนของสถานศึกษา ลักษณะการเรียนที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้กระทั่งความต่อเนื่องในแนวการเรียนแต่ละแนว เพื่อให้เด็กมีความสุขในการเรียน และมีความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ในหน้าที่ของตนเองเมื่อโตขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

               ปัจจุบันการเรียนการสอนคณิตศาสตร์บ้านเราเมื่อเทียบกับประเทศไต้หวัน หรือ สิงคโปร์ เราจะพบว่าความเข้มข้นของเนื้อหาในการเรียนในช่วงประถมต้นนั้นค่อนข้างเบา ซึ่งมีแนวคิดหรือทัศนคติจากหลายฝากฝั่ง บ้างก็ว่าเด็กควรจะมีอิสระในความเป็นเด็ก นั่นคือปล่อยให้เขาได้เล่นในวัยของเขา  บ้างก็ว่าเด็กควรจะมีการเรียนผ่านการเล่น (ซึ่งมีโรงเรียนในแนวของการเรียนผ่านการเล่นมากมาย แต่ก็มีปัญหาบ้างว่าโรงเรียนเหล่านั้นส่วนใหญ่เปิดสอนเพียงระดับชั้นประถมเท่านั้น แล้วเด็กที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบดังกล่าวอาจต้องมีการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่เมื่อเข้าสู่มัธยม) ซึ่งในแนวคิดแต่ละแนวไม่มีแนวใดผิดแนวใดถูก แต่สิ่งที่สำคัญคือ ในช่วง 10 ปีแรกเป็นวัยทองของเด็กในการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีวิธีการสอนที่ดีควบคู่กันไปด้วย ตามแนวการเรียนการสอนของทางสิงคโปร์ เนื้อหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์จะค่อนข้างเข้มข้นตั้งแต่ประถมต้น หรืออาจเรียกได้ว่ามีความสม่ำเสมอจนกระทั่งเข้าสู่วัยมัธยม ส่วนในบ้านเราการวางแนวทางการสอนคณิตศาสตร์นั้น เพื่อให้เด็กส่วนใหญ่ (ซึ่งค่าเฉลี่ย IQ ต่ำกว่ามาตรฐาน) ได้มีความเข้าใจในเนื้อหา จึงทำให้เด็กส่วนใหญ่จะทำคะแนนได้ดีเมื่ออยู่ในประถมต้น แต่เมื่อเข้าสู่ประถมปลายจะมีเนื้อหาใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามามากมาย ทำให้คะแนนในตอนประถมปลายของเด็กแตกต่างจากตอนประถมต้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งถ้าเราไม่ได้มีการเสริมการเรียนรู้ในแนวอื่น ๆ จะทำให้เด็กถูกจำกัดความสามารถ แต่เมื่อถึงประถมปลาย เนื่องจากต้องเร่งเนื้อหาให้ทันกับการเรียนในชั้นมัธยมต่อไป ทำให้เด็กถูกเร่งให้รับข้อมูล หรือสิ่งต่าง ๆ ในเวลาที่น้อยลง จึงดูเหมือนกับว่าพัฒนาการทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กจะถดถอยลง

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments