Jun 07
เสาร อาทิตย์นี้แล้ว ที่เด็กๆ จะต้องสอบคัดเลือกเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ4 หลังจากการถูกเลื่อนการสอบกันมาตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม ซึ่งเด็กๆหลายคนมีการเตรียมพร้อมกันมาเป็นเวลานาน เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคCOVID19 จึงทำให้ทุกอย่างต้องหยุดชะงักลงชั่วขณะ เด็กหลายๆ คน ถ้าทางบ้านมีเวลาดูแลเอาใจใส่ก็ยังอาจมีเวลาในการทบทวนบทเรียนเพื่อเตรียมตัวตลอดเวลา แต่หลายๆ ครอบครัว มิได้เป็นเช่นนั้น เด็กๆ เนื่องจากความเป็นเด็ก ก็จะไม่เลือกที่จะหยิบจับหนังสืออยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองหาวิธีในการแก้ปัญหา โดยการให้บุตรหลานเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถทำได้ในสถานการณ์ช่วงนี้แต่ การเรียนนั้นเป็นการทบทวนบทเรียนวิธีหนึ่ง แต่การเรียนนั้นอย่างมากก็ทำได้วันละไม่เกิน2 ชัวโมง หลังจากการเรียน ไม่ว่าจะเป็นนการเรียนวิชาใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคณิตศาสตร์ หากไม่ทบทวนหรือเริ่มกระบวนการคิดด้วยตนเอง ก็จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
การเรียนคณิตศาสตร์นั้น เป็นการฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ในระหว่างการเรียน ถ้าเป็นเรื่องใหม่ๆ การเรียน เราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีการให้แบบฝึกหัดเพื่อทบทวนบทเรียน เพื่อฝึกกระบวนการคิดอย่าเป็นระบบ และเมื่อเรียนในครั้งต่อไปจะสามารถต่อยอดไปเรื่องใหม่ได้ แต่เด็กๆ ส่วนใหญ่ เมื่อเรียนจบคือทิ้ง ไม่ทวน แล้วเวลาเรียนก็กลายเป็นว่าต้องเริ่มใหม่ทุกครั้ง ไม่พยายามคิดด้วยตัวเอง ไม่เริ่มที่จะคิด บ่มเพราะจนกลายเป็นนิสัยเป็นเด็กเฉื่อย ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีความพยายาม ไม่คิดที่จะเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ การเรียนรู้กลายเป็นว่าต้องมีคนป้อน ต้องมีคนสอน ไม่สามารถอ่านหนังสือหรือทบทวนเนื้อหาบทเรียนได้ด้วยตนเอง ลองสังเกตบุตรหลานของตัวเองว่่า คุณให้เขาเรียนแล้วเขาได้เคยนำบทเรียนมาทบทวนหรือไม่ หรือ ให้เรียนทุกวันจนทำให้เขารู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการเรียน แล้วหลังจาการเรียนที่เหนื่อยล้าคือเวลาที่เป็นเวลาที่จะต้องพักสะทีและการพักของเด็กก้อไม่พ้นการเล่นเกม..
#เรียนเยอะไม่แปลว่าเก่ง
#เรียนแล้วเก็บไม่ทวนไม่แปลว่าทำได้
#เป็นกำลังให้เด็กทุกคน
#สถาบันคิดสแควร์
May 11
ในช่วงของสถานการณ์ที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆคนมีโอกาสได้อยู่บ้านแบบยาวๆ เด็กๆ เองก็หยุดแบบยาวๆ กัน การมีเวลาว่างๆ ของเด็ก ถ้าเป็นครอบครัวที่สรรหากิจกรรมต่างๆ ได้ทำร่วมกัน ก็จะทำให้เด็กๆ อาจมีเวลาค้นหาตัวตนของตนเองว่าชอบอะไร แต่ในปัจจุบันน่าเสียดายที่เวลาของครอบครัวถูกเบียดด้วยจอสี่เหลี่ยมที่เราเป็นคนพามันเข้าสู่ครอบครัว แล้วทำให้เวลาในการปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัวหายไป ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน
จากสถานการณ์ของการระแพร่ระบาด ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ปรากฏการณ์ใหม่ๆ หรืออาจเรียกว่าวิวัฒนาการที่ทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนแบบไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ที่แน่ๆ คือเด็กในรุ่นนี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงมาก คงไม่มีพ่อแม่ คนไหนคิิดจะให้บุตรหลานอยู่ภายใต้ปีกที่อบอุ่นของตนเองจนเค้าจากไป เรามีเพียงหน้าที่ที่จะดูแลชี้นำในสิ่งที่ถูกต้องหรือ เลือก#โรงเรียน สังคมให้เขาในวัยเด็กเท่านั้น สิ่งที่เราต้องคิดคือ เราได้เตรียมความพร้อมให้กับเขาสำหรับยุคของการใช AI (Artificial Intelligence) แล้วหรือยัง
ยุคของ AI คืออะไร คือยุคที่มีการเปลี่ยนจากแรงงานคนเป็นคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด คำว่าแรงงานไม่ได้หมายความแค่ผู้ใช้แรงงาน แต่หมายรวมถึงพนักงานทั่วไป ที่จะถูกแทนที่ด้วยระบบที่มีฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ด้วยความที่เกิดมาในยุคดิจิทัล ทำให้ทุกอย่างต้องรวดเร็ว จึงขาดทักษะของการรอคอย ไม่เห็นคุณค่าของการสิ่งของที่ได้มาเพราะไม่เคยต้องแลกกับการรอคอย หรือการต้องทำบางอย่างเพื่่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ ประกอบกับทางเลือกของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้เด็กทุกคนกลายเป็นลูกเทวดาในโรงเรียน เพราะโรงเรียนมีการแข่งขันกันสูงจึงถือว่าเด็กนักเรียนเป็นลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้าต้องมาก่อน เมื่อหันไปหาโรงเรียนทางเลือกอย่างโรงเรียนอินเตอร์ ซึ่งในช่วงของปฐมวัยจนจบระดับประถมศึกษา เน้นการเรียนแบบ child center นั่นคือแบบบูรณาการที่เราคุ้นเคย การเรียนขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก บางโรงเรียนการบ้านเป็นแบบ optional คือส่งหรือไม่ส่งก็ได้ กลับกลายเป็นทำให้เด็กขาดวินัยอย่างรุนแรง สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เด็กในยุค 4.0 กลับกลายเป็นการบ่มเพาะความเปราะบางทางด้านอารมณ์ ขาดวินัย ไร้ความพยายาม ไม่มีความอดทน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถทำให้เขาเติบโตในยุคของการแข่งขันกับเทคโนโลยีได้เลย
ดังนั้น อย่าให้เขาต้องเผชิญปัญหาในขณะที่เขาไม่สามารถแก้ไขนิสัยได้ เราซึ่งเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นผู้ที่วางกรอบให้ แต่ไม่ได้มีหน้าที่ในการตีกรอบ วางให้เขาอยู่ในระเบียบวินัย ใส่ทักษะของการรอคอย ปล่อยให้เรียนรู้ที่จะผิดหวัง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สร้างภูมิต้านทานให้เขาได้ก้าวเดินอย่างมั่นคงในเวลาที่เขาต้องเดินโดยไม่มีไหล่คุณให้เกาะ..
#เรามีสิทธิเลือกเส้นมางให้ลูก
#เลือกผิด= เหนื่อยเพิ่มขึ้น
#เลือกถูก= อนาคตที่ดีของลูกเรา
#สถาบันคิดสแควร์
Mar 01
สถานการณ์ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าโลกของเราอยู่ในภาวะที่มีการระบาดของโรค
COVID 19
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่สามารถรับมือกับภาวะการระบาดของโรคอยู่ในลำดับต้นๆ
จนกระทั่งเมื่อสายของวันนี้ ที่มีข่าวของการเสียชีวิตของผู้ป่วย COVID 19 ทำให้เกิเความตื่นตระหนกกันมากขึ้น
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากได้ตามข่าวจะพบว่า
สถานการณ์การควบคุมโรคระบาดของจีนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
มีจำนวนผู้ป่วยลดลงเรื่อยๆ แต่ในทางกลับกัน การระบาดในประเทศต่างๅ กลับมีอัตราการแพร่ระบาดที่สูงขึ้น เราอาจจะต้องทบทวนเรื่องการจัดการที่แตกต่างกัันระหว่างจีนกับเราสักหน่อยมั้ย
เพราะเรื่องของยารักษา หมอบ้านเราคิดได้ก่อนจีนซะอีก
คราวนี้มาพิจารณาความแตกต่างของการจัดการมันแตกต่างกัน
ที่ทำให้ประเทศจีนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้
เนื่องจากประเทศจีนเป็นสาธารณรัฐซึ่งทุกคนอยู่ภายใต้กฎและเงื่อนไขเดียวกันโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ
ทั้งสิ้น หลังจากการแพร่ระบาดอย่างหนักประเทศจีนสั่งปิดประเทศ
งดการเดินทางเข้า-ออก นอกจากนี้แล้วหลายๆ มณฑลที่มีการแพร่ระบาด
ก็ถูกห้ามการเดินทางเข้า-ออก จากพื้นที่ดังกล่าวด้วยเช่นกัน การเดินทางออกจากบ้านจะออกจากบ้านได้อาทิตย์ละ2 วันเท่านั้น
และการออกจากเคหะสถานต้องมีการสวมหน้ากากอนามัยเท่านั้น
หากไม่สวมหน้ากากอนามัยก็ไม่สามารถออกจากบ้านได้
นอกจากนี้แล้วโรงงานอุตสาหกรรมหลายๆ แห่งที่ถูกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศจีน
(เนื่องจากประเทศจีนมีทั้งวัตถุดิบและแรงงานที่มีราคาถูก)
มีกฏว่าจะสามารถเดำเนินการผลิตได้ก็ต่อเมื่อพนักงานสวมหน้ากากอนามัยในการทำงานทุกคนและทุกวัน
ในขณะที่บ้านเรา การเดินทางเข้า-ออกเป็นอิสระ
ไม่ว่าคุณจะไปประเทศกลุ่มเสี่ยงสักกี่ี่รอบ คุณก็สามารถเดินผ่านเข้า ต.ม. ได้ง่ายดายเกินไป
และคนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวจึง ซึ่งเกิดเป็นความประมาท
(เช่นเดียวกับเรื่องฝุ่น ซึ่งมันยังไม่ได้หายไปไหน
แต่เราไม่ได้รู้สึกว่ามันเดือดร้อนแล้วในวันนี้ จริงๆ
แล้วมันอยู่ในทางเดินหายใจของคนกรุงเทพทุกวัน แล้วมันค่อยๆทำให้ระบบภูมิต้านทางของเราลดลงเรื่อยๆ)
เมื่อเปิดข่าวเช้า จะได้ข่าวการระบาดเริ่มไปทางซีกตะวันตกเพิ่มขึ้น
ยิ่งทำให้เรารู้สึกว่ามันไกลตัวเราออกไปแล้ว ยิ่งทำให้คนส่วนใหญ่ละเลยและประมาท
ร่วมกับการขาดสำนึกของการอยู่ร่วมกัน ยิ่งทำให้การแพร่ระบาดของโรคถูกบิดเบือนไป
รวมกับความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐที่มีการปล่อยผ่านนักท่องเที่ยวกลุ่มเสี่ยงกลุ่มแล้วกลุ่มเล่า
เข้ามาตามด่านต่างๆได้อย่าง่ายดาย
หากเราไม่ร่วมด้วยช่วยกันสอดส่องดูแล
ทั้งตัวเราเอง และคนใกล้ชิด ไม่ให้เข้าไปอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
เราจะกลายเป็นภาระให้กับหมอที่ปกติก็แทบไม่มีเวลาให้กับครอบครัวอยู่แล้ว
ให้ความยุติธรรมกับหมอ กับ พยาบาล
ที่เค้าไม่ได้มีส่วนร่วมในการเดินทางสุดหรรษาของคุณเลย
แต่เค้ากลับต้องเป็นด่านหน้ารับเชื้อต่่อจากคุณทั้งหลาย เพื่อ……….
เพียงเพราะ…………
#อย่าเห็นแก่ตัว..
#อย่าเป็นภาระให้สังคม
#เริ่มจากดูแลตัวเองเราจะผ่านมันไปได้
#ด้วยความห่วงใย
#สถาบันคิดส์สแควร์
Jan 30
Posted by malinee on Thursday Jan 30, 2020 Under ข่าวการศึกษา
ครูได้มีโอกาสคุยกับเด็ก ม.ปลาย หลายๆ คน หลายๆ ครั้งที่ได้คุยกันเรื่องการเลือกเรียนต่อในมหาวิทยาลัย คำตอบที่ได้กลับมาคือ การอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ ค่านิยมดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากการที่เด็กมีความรู้สึกว่าการเรียนต่อต่างประเทศเป็นการอัพเกรดให้ตนเองเมื่อจบมาจะได้มีเงินเดือนที่สูงกว่าการเรียนในประเทศ หรือส่วนใหญ่ประเมินว่าตนเองจะไม่สามารถเข้าเรียนในสาขาวิชาที่ตนเองต้องการในประเทศได้
ที่จริงแล้วการเรียนต่อต่างประเทศที่จะทำให้ได้เงินเดือนที่สูงขึ้นได้ เพราะการเรียนต่อในแบบดังกล่าวเป็นการสอบชิงทุน ซึ่งการสอบชิงทุนนั้นจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกที่เลือกเฟ้นผู้เรียน ที่มีความรับผิดชอบในการเรียน และะความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง โดยการเรียนดีอาจเป็นสิ่งเดียวที่เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าเด็กคนนั้นมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง (มาตรฐานของคนไทย) เพราะเด็กไทยไม่ต้องรับผิดชอบหน้าที่ด้านอื่น
ส่วนการเรียนต่อต่างประเทศ โดยใช้ทุนของตนเอง อาจเป็นเพราะลดภาวะการสอบแข่งขันให้กับบุตรหลาน..เช่นใน การเรียนหมอ ..คำตอบของเด็กหลายๆ คนว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร คำตอบที่เราได้รับจะหนีไม่พ้น หมอ หรือ ครู แต่เมื่อเด็กโตขึ้น ความอยากเป็นครูจะหายไป เหตุผลคือ ผลตอบแทน และการเป็นที่ยอมรับในสังคม ความเป็นหมอมีมากที่สุดในสังคมไทย จึงทำให้เด็กหลายคนรวมทั้งพ่อแม่อยากให้ลูกเป็นหมอ..ซึ่งการเรียนในสายแพทย์ในเมืองไทย แน่นอนจะต้องเรียนในสายวิทย์-คณิต แต่ที่มากกว่านั้นคือความเพียร ความช่างสังเกต การจดบันทึก ความมีระเบียบวินัยความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และความพยายามในการแก้ปัญหา ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มักจะถูกฝึกจากการเรียนที่ค่อนข้างหนักในสายวิทย์-คณิต แต่ไม่ได้หมายความว่าการเรียนในสายอื่นไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ การสอบคัดเลือกเข้าเรียนโรงเรียนแพทย์ในรอบแรก (รอบ portfollio) จะต้องมีเกรดเฉลี่ย 3.5 ขึ้นไป และส่งผลของการสอบ Bmat และ ภาษาอังกฤษ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ในขณะที่การเรียนต่อโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศ ต้องการเกรดเฉลี่ย3.0 โดยที่เด็กไม่จำเป็นต้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั้ง3 ตัว(และไม่มีสายวิทย์ คณิต)เหมือนบ้านเรา การเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นการเลือกเรียน2 ใน3 ตัวเท่านั้น เนื่องจากในต่างประเทศมุ่งเน้นให้เด็กรู้จักตัวตนก่อน แล้วจึงเลือกเรียน จึงไม่มีการเลือกสาย เหมือนบ้านเรา ทำให้เด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยเลือกเรียนในด้านวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่ยากกว่าการเรียนภาษา ดังนั้นการเลือกเรียนหมอที่เมืองนอกจึงง่ายกว่าเมืองไทย ถ้าพูดถึงการสอบคัดเลือกในกาเรียนหมอเมืองไทยเข้มกว่ามากเพราะเข้มและยากกว่านี่เองทำให้เด็กที่จบหมอจากบ้านเรามามีเก่งในทุกด้านและความรักและภูมิใจในอาชีพ และบ้านเราจะได้หมอที่มีฝีมือที่ดีมากไม่แพ้เมืองนอกเลย..
จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่ว่าระบบการศึกษาของบ้านเราล้มเหลวแต่เพียงเพราะค่านิยมของคำว่า จบจากเมืองนอก หรือไปเรียนเมืองนอกทำให้เด็กไทยพยายามหาทางไปเรียนต่อต่างประเทศซึ่งจริงๆแล้วการศึกษาบ้านเราเก่งไม่แพ้ใครเพียงแต่เด็กในรุ่นหลัง ขาดความอดทน พ่อแม่ตามใจ พอเจอการเรียนที่ยากหน่อย ก้อไม่พยายามสู้ มีฐานะหน่อยก้อหาทางลัดให้ลูกจบได้ง่ายกว่า จึงทำให้ค่านิยมนี้ยังอยู่กับเด็กไทยไปทุกยุคทุกสมัย. สุดท้ายนี้ครูอยากฝากถึงเด็กม.ปลายทุกคนที่กำลังจะเลือกคณะเข้ามหาวิทยาลัย มันคือ ประตูก้าวแรกที่เราจะเลือกในการดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้า ไม่ว่าจะเลือกสายไหน อาชีพไหนก็ตาม..ขอแค่หาตัวเองให้เจอ และที่สำคัญ เป็นคนดีของสังคม…
#เรียนเมืองไทยภูมิใจกว่าเยอะ.
#เด็กไทยเก่งไม่แพ้ชาติไหน..
#เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ..
#สถาบันคิดสแควร์
Dec 10
Posted by malinee on Tuesday Dec 10, 2019 Under เกร็ดความรู้
เนื่องจากครูมีโอกาสได้เข้าไปเป็น out source ของโรงเรียนหลายๆ แห่ง ก็จะได้เห็นวัฒนธรรมการดูแลเด็กในแต่ละโรงเรียน การปฏิบัติต่อผู้ปกครอง การให้คำปรึกษา การเรียนการสอน นโยบาย ของแต่ละโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน
ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้การเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียน ทำให้ครูต้องปรับการเรียนการสอนแปรผันตามความพร้อมของเด็ก ไม่ใช่ว่าเด็กมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน แต่เด็กได้รับการฝึกทักษะกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน
เด็กแต่ละคนมีความเป็นปัจเจกบุคคล ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เค้าเติบโตมาตั้งแต่เค้าเกิดมา เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่คุยเล่นกัน มีอะไรคุยกันถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันบนโต๊ะอาหาร โดยทิ้งทุกอย่าง มีแต่การสนทนากัน จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าความของความสุขเกิดขึ้นจริงๆ บ้านคือบ้าน ไม่ว่าเค้้าจะมีปัญหาสักแค่ไหน เค้าจะกลับมาตรงนี้ ตรงที่มีคนฟังเค้า ในทางกลับกัน ถ้าเค้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนไม่พูดไม่จากันก้มหน้าก้มตา online อยู่กับสิ่งที่ตัวเองสนใจ เขาก็จะเติบโตมาแบบไม่ได้รู้สึกว่าการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นเด็กเก็บตัว คุณพ่อคุณแม่จะไม่มีทางได้รับรู้ว่าเค้ามีความสุขหรือเค้ามีปัญหาเรื่องอะไร เพราะเค้าไม่เคยเรียนรู้ที่จะพูดเรื่องอะไรตอนไหน ไม่รู้ว่าจะมีใครฟังหรือไม่ ในบ้านเองเขายังไม่รู้จะพูดกับใครเลย มันกลายเป็นการสร้างกำแพงขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น เขาไม่ได้ถูกสอนให้เข้ากลุ่มเพื่อน เพราะคุณเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เค้าได้เรียนรู้การอยู่แบบทางเดียวคือการสื่อสารผ่าน social ที่เค้าไม่เคยเห็นเลย
อย่าเลือกโรงเรียนที่ดีที่สุดให้เค้า ก่อน เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดของเค้าเพื่อให้เค้าได้เติบโตอย่างมีความสุขไม่ว่าเค้าจะเจออุปสรรคใดๆ อย่างน้อยคุณยังเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้้เค้ารู้สึกอบอุ่นใจทุกครั้ง และเป็นกำลังใจให้เค้าได้ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง ไม่มีโรงเรียนไหนดีเท่าโรงเรียนพ่อแม่หรอก…. เชื่อสิ
Sep 08
มีกระแสมากมายเรื่องการเรียนพิเศษ มีทั้งนักวิชาการ นักวิจัย จิตแพทย์เด็ก ออกมาแสดงความคิดเห็นต่างๆ แต่โดยรวมไม่เห็นด้วยกับการเรียนพิเศษ
หากกล่าวถึงเรื่องการเรียนพิเศษในบ้านเรา ต้องแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ออกเป็นกลุ่มๆ โดยหากแยกตามวัยแล้ว เด็กเล็กก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนพิเศษ เพราะไม่มีเรื่องที่ยากจนพ่อแม่ผู้ปกครองสอนเองไม่ได้ แต่ในกลุ่มเด็กที่โตขึ้น ในช่วงของประถมปลาย ความจำเป็นเกิดขึ้นกับเด็กที่มีปัญหาการเรียนในชั้นเรียน กับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานได้เรียนในโรงเรียนรัฐที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายความถึงครูที่สอนในโรงเรียนดังกล่าวย่อมถูกคัดกรองอย่างมีคุณภาพเฉกเช่นเดียวกับเด็กที่ต้องฝ่าด่านการสอบคัดเลือกอย่างดุเดือดเข้มข้นไม่แพ้กัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เกิดเนื่่องจากคุณภาพของโรงเรียนในบ้านเราไม่ได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด คุณภาพของครูผู้สอนก็เช่นกัน หากเลือกได้ไม่มีใครอยากเป็นครูเลย ทำให้ครูในเครื่องแบบในปัจจุบัน หลังจากสอบบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว ถ้าไม่ได้อยู่ในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ก็แทบไม่ได้คิดวิธีใหม่ๆในการสอนเลย สอนตามหน้าที่ให้หมดวัน..เด็กจะรู้เรื่องหรือไม่ก็แล้วแต่ พอคะแนนสอบออกมาสอบตก ครูก้อบอกให้ไปเรียนพิเศษ..เรียนกับครูก็จะได้คะแนนเยอะหน่อย แต่ถ้าเรียนที่อื่นคะแนนก้อตามความจริง..คิดเพียงแต่จะหารายได้เสริมจากการสอนพิเศษให้เด็กมาเรียนกับตน จิตสำนึกของความเป็นครูเพื่อทำให้ลูกศิษย์มีความรู้เหมือนครูในสมัยก่อนหายไป ซึ่งทำให้ผ้ปกครองทุกวันนี้ต้องหาที่เรียนพิเศษ..ไม่ใช่ความผิด ของครูแต่มันเป็นที่ระบบการศึกษาตั้งแต่สอบคัดเลือกเข้ามาเลยเพราะสอบราชการยากมาก ต้องติวจะมีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อให้ผ่านการบรรจุ ซึ่งเขาถือว่ามันคือการลงทุน การเรียนพิเศษในคนเอเชียกลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เพียงแค่คนไทย เหตุผลเพียงเพราะ ใครๆก็อยากได้ในสิ่งที่ดีกว่าทั้งนั้น…
..#ฝากไว้สักนิด.. การเป็นครูไม่แค่สอนให้หมดวัน แต่เราต้องสอนเค้าในทุกเรื่องเพื่อให้เค้าเติบโตไปมีความรู้และเป็นคนดี..
Apr 07
ช่วงเวลาของการสอบคัดเลือกผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
ทั้งการสอบเด็กเล็ก (เครือสาธิต) และเด็กโต (มัธยม) เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดความผิดหวังกับหลายๆ
ครอบครัวในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง เหตุการณ์ที่น่ากังวลคือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ที่สอบแข่งขันเพื่อเข้าโรงเรียนสาธิต
ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูงมาก อัตราการแข่งขันเฉลี่ย 1:30 เด็กหลายๆ คนต้องติวเพื่อสอบเป็นเวลา 1 ปีเต็ม
โดยไม่ได้หยุดแม้กระทั่งวันอาทิตย์ แล้วการสอบตัวเค้าก็มีความรู้สึกว่าทำได้
ข้อสอบไม่ได้ยาก ทำให้เค้ามีความหวังว่าเค้าต้องติดแน่ๆ หลังจากออกจากห้องสอบ
พ่อแม่ผู้ปกครองก็จะคอยถามว่า เป็นยังไง ทำข้อสอบได้มั้ย เค้าก็ตอบตามความรู้สึกว่าเค้าทำได้
ต่างฝ่ายต่างมีความหวังว่าจะติด แต่เมื่อประกาศผลการคัดเลือก กลับไม่มีชื่อเค้า
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กหลายๆ คนคือ ทำไมเค้าไม่ติด ในขณะที่เพื่อนติด
แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้นคือ ความไม่มั่นใจที่จะไปสอบในที่ต่างๆ อีก
ในขณะที่หลายๆ โรงเรียนมีเพียงอนุบาล เด็กหลายๆ คนถูกบั่นทอนความมั่นใจที่เคยมี จากการสอบเพียงครั้งเดียวตั้งแต่วัย
5 ขวบ แล้วช่วงวัยต่อจากนี้ไปเขาจะต้องดำเนินต่อไปอย่างไร เพราะต่อจากเด็กเล็ก จะต้องมีการสอบคัดเลือกทุกๆ
6 ปี
แต่ในวัยอนุบาลควรหลีกเลี่ยงเพราะเค้าเล็กเกินกว่าที่จะอธิบายให้เค้าได้เข้าใจถึงอัตราการแข่งขัน
แต่สิ่งที่สำคัญคือ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ที่มองบุตรหลานออกว่าสามารถยอมรับกับการไม่ได้คัดเลือก
หรือไม่ได้สนใจกับผลที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ถ้าไม่
ควรหลีกเลี่ยงการสอบแข่งขันที่มีอัตราการแข่งขันสูงขนาดนั้นดังนั้นการบ่มเพาะความรัก
ความเอาใจใส่บุตรหลาน เป็นสิ่งสำคัญ ต้องให้เค้าได้รู้ว่าไม่ว่าเค้าจะผิดพลาดอย่างไร
พ่อแม่ยังคงอยู่เคียงข้างเค้าเสมอ การสอบเข้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่จะทำงานโดยมีเวลาจำกัด
การมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ และทำสิ่งที่ทำอยู่ให้ดีที่สุด ผลจะออกมาเป็นอย่างไรไม่สำคัญ
พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นคนสร้างภูมิด้านจิตใจให้เค้าให้แกร่งขึ้น
เพื่อพร้อมรับกับภาวะของการแข่งขันที่จะต้องมีผู้ที่ถูกคัดออก
Mar 25
คณิตศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่เป็นยาขม
อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ปกครองเองในวัยที่ตนเองเป็นเด็กก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่
หากมาพิจารณาคณิตศาสตร์ในแต่ละช่วงวัย
เราก็สามารถจะแก้ปัญหาให้กับบุตรหลานได้อย่างถูกจุดได้อย่างไม่ยากนัก เรามาดูวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัยจะได้ส่งเสริมทักษะและพัฒนาการได้อย่างถูกต้องดังนี้
-เด็กในวัยอนุบาล
เป็นช่วงที่เรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เชื่อมโยงหน้าตา (ภาษาๆ ใหม่ของเด็กๆ) กับจำนวน และต่อยอดไปในเรื่องของค่าที่มากกว่า น้อยกว่า
การนับเพิ่ม นับลด ซึ่งใช้เวลา 3 ปี เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กไปพร้อมๆ
กับการใช้กล้ามเนื้อมือให้สัมพันธ์กับตาด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดในวัยนี้
คือทัศนคติกับการเรียน ครูผู้สอนมีผลที่สุดกับทัศนคติในการเรียนของเด็ก
-เด็กในวัยประถมต้น
สิ่งที่จำเป็นในวัยนี้ จะเป็นเรื่องของปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หาร
เด็กๆ จะต้องมีการเรียนรู้เรื่องค่าประจำหลัก เพื่อให้เข้าใจการทดเลขเมื่อบวกเกิน
หรือการลบเลขแบบขอยืม ฝึกทักษะของการบวก ลบ จนคล่อง
ต่อจากนั้นควรเข้าใจถึงทฤษฏีพื้นฐานของการคูณ การหาร ซึ่งการท่องสูตรคูณ
ถือเป็นเรื่องที่สำคัญในช่วงนี้ (ทางบ้านต้องมีส่วนช่วยในการส่งเสริมผลักดันให้เด็กท่องสูตรคูณให้ได้)
-เด็กในวัยประถมปลาย
จะมีการเรียนรู้ลำดับขั้นปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ เศษส่วน ทศนิยม ร้อยละ เรขาคณิต และการแก้สมการ
(ในชั้น ป.6) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ๆ ที่เด็กๆ จะต้องใช้ทั้งความเข้าใจและความจำ(สูตร)ต่างๆ
รวมไปถึงการประยุกต์การแก้ไขปัญหาโจทย์ปัญหาที่มีการรวมเนื้อหาหลายๆ เรื่องให้เด็กๆ
ได้รู้จักการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานได้อย่างแม่นยำ สิ่งที่สำคัญในวัยนี้
จะเป็นเรื่องของความเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้องแม่นยำ ร่วมกับการตีความโจทย์ปัญหาให้ถูกต้อง
-เด็กในวัยมัธยม
การเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงวัยนี้จะเรียนในแบบที่ใช้ความรู้เดิมไม่เกิน 30% และจะเป็นความรู้ในแนวศาสตร์จริงๆ (Pure Mate) เด็กหลายๆ คนที่ไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์มักเกิดคำถามขึ้นว่าทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงวัยนี้เสมอ
เนื่องจากการเรียนไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเลย แต่ในการเรียนคณิตศาสตร์ระดับนี้เป็นการเรียนที่ต้องใช้ในการต่อยอดเพื่อใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อด้วย
ดังนั้น
ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ในแต่ละวัยของเด็กๆ นั้น
ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองตามติดการเรียนของบุตรหลาน
ก็จะได้แก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ให้กับบุตรหลานได้อย่างทันท่วงที และถูกจุด
เนื่องจากผู้ปกครองหลายๆ คนที่มีบุตรหลานอยู่ในประถมปลายซึ่งมีปัญหาทางคณิตศาสตร์
มักคิดว่าปัญหาเกิดจากการคิดคำนวณ ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นปัญหาของเด็กประถมปลายเกิดจากการวิเคราะห์โจทย์
โดยที่การวิเคราะห์โจทย์ผิดพลาด ส่งผลให้การคำนวณพลาดไปด้วย
ซึ่งการคำนวณพลาดเป็นเพียงปลายเหตุเท่านั้น
ดังนั้นปัญหาคณิตศาสตร์แต่ละช่วงวัยควรแก้ไขให้ถูกจุด เพื่อให้เด็กได้เรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีเข้าใจ
Mar 17
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีระดับการศึกษาดีอยู่ในระดับ
1 ใน 10 ของโลก นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเป็นอันดับ 1 ในการสอบวัดผล PISA ใน 75
ประเทศทั่วโลกซึ่งจัดทำโดยองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OCED)
เพื่อประเมินผลการเรียนด้านคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ และการอ่าน
ผลการจัดอันดับการศึกษาที่ดีของสิงคโปร์มิใช่ได้มาจากความบังเอิญ
แต่เกิดจากปัจจัยหลายด้าน ซึ่งรวมถึงพนักงานของภาครัฐที่ต้องได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
และมีภารกิจที่ชัดเจนเพื่อพลิกโฉมสิงคโปร์ให้มีการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก
เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุดในโลก
นอกจากนี้แล้วยังทุ่มงบประมาณ 20% ของงบประมาณภาครัฐทั้งหมด
เพื่อทุ่มให้กับระบบการศึกษา บุคคลากรครูมีคุณภาพสูง
บุคคลากรทางการศึกษามีอัตราเงินเดือนเทียบเท่ากับอัตราเงินเดือนในภาคอุตสาหกรรม
และการเงิน ซึ่งดึงดูดให้บัณฑิตที่มีคุณภาพสนใจทำงานด้านนี้
หลายๆ
คนคงไม่เคยรู้ว่าครั้งหนึ่งสิงคโปร์เคยเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชีย หลังจากปี
ค.ศ. 1965 ที่สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากมาเลเซีย
มีเพียงชนชั้นนำเท่านั้นที่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา ประชากรครึ่งหนึ่งไม่รู้หนังสือ
อีกทั้งสิงคโปร์เป็นประเทศที่ขาดทรัพยากรทางธรรมชาติ สิ่งที่รัฐบาลทำได้ คือการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพโดยการให้การศึกษา
สิงคโปร์จึงมีรัฐบาลอำนาจนิยมที่จำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานบางอย่าง
หนึ่งในนั้นคือการเชื่อฟัง เป็นการรับประกันความปลอดภัยและการอยู่ดีกินดี
ซึ่งปรัชญานี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบการศึกษาของสิงคโปร์ ซึ่งสาเหตุต่างๆ
เหล่านี้ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง อยากให้บุตรหลานได้เรียนในโรงเรียนดีๆ
ซึ่งมีการแข่งขันสูง ทำให้เด็กต้องเรียนเสริมจนเวลาในวัยเด็กหายไป ขาดความสุข
เกิดความเครียด โดยรัฐบาลสิงคโปร์เล็งเห็นว่าการเรียนการสอนที่มีการแข่งขันสูงส่งผลให้เด็กขาดความสุข
เกิดโรคซึมเศร้ามากขึ้น และที่รุนแรงที่สุดคือการฆ่าตัวตาย
ปัจจุบันนักเรียนชั้นประถมปีที่
1 ไม่มีการสอบวัดระดับแล้ว นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์ยังประกาศว่าในปี 2019
เป็นต้นไปจะยกเลิกการสอบทั้งกลางภาคและปลายภาคของนักเรียนชั้น ป.2 และนักเรียนชั้น
ป.3,
ป.5,ม.1 และ ม.3 จะยกเลิกการสอบกลางภาคเท่านั้น
ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์
นายอ่อง เย กัง (Ong Ye Kung) กล่าวว่าการยกเลิกการสอบในระดับประถมนั้นเพื่อรักษาความสมดุลในการเรียนรู้ของเด็กๆ
และลดความกดดันในการแข่งขันลง
แต่สัมฤทธิผลของการศึกษาก็จะเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินและรายงาน
โดยรวมแนววิธีการศึกษาบ้านเราใกล้เคียงกับประเทศสิงคโปร์มาก สิ่งที่แตกต่างกันคือ เราไม่เคยติด 1
ใน 10 เหมือนสิงคโปร์ รัฐบาลของเราไม่เคยมีชุดไหนที่ทำเพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง
ครูไม่ใช่อาชีพที่ 1 ที่เมื่อเด็กโตขึ้นแล้วอยากเป็น และที่สำคัญที่สุดคือ
พ่อแม่มีหน้าที่เพียงแค่หาเงินมาเพื่อซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับตนเองและลูก
โดยไม่ได้สอนให้เค้ามีจิตสำนึก ไม่ได้สอนให้รู้จักหน้าที่ เด็กทุกวันนี้
หากมีใครถามเขาว่า หนูเรียนหนังสือเพื่ออะไร อาจจะไม่ได้ตอบกลับมา ดังนั้นหากจะเอาใครเป็นต้นแบบ ต้องศึกษาให้รอบคอบและปรับให้เหมาะสมกับลักษณะนิสัยของเรา
ใช่ว่าเห็นช้างขี้แล้วจะขึ้ตามช้างได้
Feb 05
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นอาทิตย์ของการสอบ O-Net ของนักเรียนชั้น ป.6 และ ม.3 ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจยังมีความไม่เข้าใจอยู่บ้าง เรามาดูว่าการสอบ O-Net เป็นการสอบเพื่ออะไร และส่งผลอย่างไรกับใครบ้าง
ก่อนอื่นเรามารู้จักคำว่า O-Net กันก่อน ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก Ordinary National Educational Test ซึ่งเป็นข้อสอบกลางที่ออกมาจาก สทศ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ) โดยจะมีการสอบ 8 กลุ่มสาระ ผลการสอบเพื่อวัดสัมฤทธิผลของการเรียนการสอนของโรงเรียนเป็นหลัก โดยคะแนนของเด็กแต่ละคนจะมีการเปรียบเทียบกับโรงเรียนของตนเอง โรงเรียนในเขตพื้นที่ เทียบขนาดของโรงเรียน เทียบคะแนนระดับจังหวัด และภูมิภาค หลักๆ แล้วการจัดการสอบเพื่อจุดประสงค์หลักเพื่อการวัดมาตรฐานการเรียนการสอนของโรงเรียนมากกว่า ดังนั้นหลายๆ โรงเรียนจึงมีการเรียนเพิ่มโดยมีติวเตอร์จากสถาบันที่มีชื่อเสียงมาสอนให้กับนักเรียน เพื่อให้โรงเรียนจัดอยู่อันดับต้นๆ ของประเทศ ส่วนหลายๆ โรงเรียนผลของการสอบประเมินที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ก็ไม่เห็นได้รับการแก้ไข หรือกระตุ้นจากภาครัฐเพื่อให้เด็กมีคุณภาพของการเรียนการสอนมากขึ้น หากผลของการสอบไม่ได้มีผลกับทั้งตัวนักเรียน เนื่องจากการสอบคัดเลือกนั้น การสมัครสอบอยู่ในช่วงเวลาที่ผลสอบยังไม่ออก และการสอบคัดเลือกของโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงนั้น ระดับความซับซ้อนของการสอบในวิชาหลักจะมีความยากกว่าการสอบ O-Net อย่างมาก เด็กในกลุ่มดังกล่าวที่ต้องการสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงนั้น จะมีระดับคะแนน O-Net ที่สูงมากใกล้เคียงกันหมด จึงไม่สามารถนำข้อสอบกลางชุดดังกล่าวมาเป็นตัวชี้วัดได้เลย นอกจากนี้แล้วทางฝ่ายทะเบียนก็ยุ่งยากเกินกว่าที่จะนำคะแนนมามีส่วนในการคัดเด็กด้วย
ดังนั้นหากการสอบระดับชาตินี้ ไม่ได้สะท้อนปัญหาของการเรียนการสอนในโรงเรียน ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดให้กับภาครัฐว่าโรงเรียนบางโรงจำเป็นต้องมีบุคลากรครูที่ต้องมีการอบรมเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม ก็หยุดใช้งบประมาณส่วนนี้ ที่ให้ผู้บริหารกระทรวงเดินทางต่างประเทศเพื่อดูงานการศึกษาในหลายๆ ประเทศอย่างไร้ประโยชน์ พร้อมกับ งบประมาณที่ใช้ในการจัดสอบ มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์ด้านการศึกษาในเรื่องอื่น เช่นการซื้ออุปกรณ์ในห้องทดลอง หรือสื่อการเรียนการสอนที่มีประโยชน์กับการเรียน ยังดีกว่าการทุ่มงบประมาณไปกับข้อสอบระดับชั้นละ 8 ฉบับกับผลที่เป็นเพียงกระดาษ 2 แผ่น ที่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพการเรียนการสอนจากทางโรงเรียนอย่างแท้จริง