Jan 30
Posted by malinee on Tuesday Jan 30, 2018 Under เกร็ดความรู้
เราทราบกันหรือไม่ว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ของการรังแกกัน โดยการใช้ความรุนแรงของเด็ก และกลุ่มที่ใช้สื่อทางเทคโนโลยีพวกโซเชียลในการทำร้ายเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง จากการเก็บข้อมูลพบว่าเด็กในกลุ่มที่เป็นเหยื่อจะเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มของเด็กพิเศษ ซึ่งจะถูกกลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกันเกเร รังแกโดยใช้ความรุนแรง ส่วนกลุ่มที่เป็นตัวการมักเป็นเด็กในกลุ่มที่ติดกับการเล่นเกมส์รุนแรง ร่วมกับการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องพฤติกรรมจากครอบครัว จึงไม่มีความรู้สึกว่าสิ่งที่ตนเองทำเป็นเรื่องรุนแรง
ส่วนกลุ่มที่โตขึ้นจะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งเหยื่อ โดยนำเรื่องที่น่าอาย หรือแม้แต่การแต่งเรื่องแล้ว post ขึ้นบนสื่อโซเชียล ให้เหยื่อได้รับความอับอาย ผลที่ได้คือเด็กในกลุ่มที่ถูกรั
แกทั้งสองกลุ่ม หากไม่ได้รับการแก้ไขเหยื่อจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า
หากไม่มีใครตระหนัก หรือร่วมกันแก้ไขปัญหา เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะแย่ลงเรื่อยๆ เพียงร่วมมือกัน ช่วยกันคนละเล็กละน้อย โดยการดูแลบุตรหลานไม่ให้เป็นเหยื่อ โดยการหลีกเลี่ยงปัจัยทุกอย่างที่ส่งผลให้บุตรหลานกลายเป็นเด็กพิเศษ และช่วยกันดูแล อบรมบุตรหลานให้เป็นคนดีไม่รังแกหรือทำร้ายผู้อื่นไม่ว่าจะทางใดก็ตาม
Aug 07
คำๆนี้..ฟังแล้วมันมีความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับครอบครัวที่มีลูกคนเดียว เค้าเป็นทั้งแก้วตา ดวงใจ ทุกอย่างของชีวิตของคนเป็นพ่อและแม่และมันจะพร้อมกับคำว่า..#คาดหวัง…เพราะเค้าเป็นทุกอย่างเราเลยคาดหวังให้เค้าเป็นที่สุด เป็นที่หนึ่ง เป็นทุกอย่างอย่างที่ใจเราอยากให้เป็น ทุ่มเททุกอย่างให้เพื่อให้เค้าได้ดั่งใจเราให้เค้าเป็นในสิ่งที่เราต้องการ..ซึ่งในบางครั้งเค้าพยายามแล้วแต่มันจะไม่ได้เป็นในสิ่งที่เราต้องการทั้งหมด ไม่ได้ดั่งใจเราไปสะทุกอย่าง..พ่อแม่หลายคนผิดหวัง เพราะคาดหวังสูงเกินไป..ใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อให้ลูกได้เห็นในสิ่งที่เราอยากให้เป็น..
.. ดูลูกบ้านนี้สิ เค้าสอบเข้ารร.ดังๆได้นะ..ดูพี่คนนี้สิ เค้าเอ็นติดวิศวะนะ ดูลูกเพื่อนแม่สิเค้าสอบได้ที่หนึ่งนะ สารพัดคำพูดที่สรรหามาพูดกับลูก บางคนเปรียบเทียบกับญาติตัวเอง ดูลูกป้า ลูกลุง ลูกอา ลูกน้า..เค้าเก่งกว่าเธออีก เธอไม่ตั้งใจ เธอไม่ได้ดั่งใจชั้นเลย..ดูลูกคนอื่นแล้ว เคยคิดมั้ยว่าลูกรู้สึกอย่างไร ..มองแต่ลูกคนอื่น เคยหันมาดูมั้ยว่าลูกตัวเองเสียใจกับคำพูดที่ตัวเองพูดหรือเปล่า..ลองมองย้อมกลับมาดูลูกตัวเองบ้างมั้ย..ซึ่งบางทีลูกไม่ได้แย่ไปกว่าลุกคนอื่นเลย แต่ความคาดหวังที่พ่อแม่มีมากเกินไปจนกลายเป็นการทำร้ายความรู้สึกของลูกตัวเอง..
วิธีการเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลุกคนอื่นป็นการสร้างปมในใจให้กับลูกที่แย่ที่สุด เด็กจะคิดว่าหนูไม่เก่ง หนูไม่ดี หนูสู้คนอื่นไม่ได้ สุดท้าย จะมีคำถามตามมาว่า แม่ พ่อ ไม่รักหนู…ท้ายที่สุดถ้าปมนี้มันใหญ่ขึ้นเค้ากลายเป็นเด็กมีปัญหา แล้วมันมาจากใครหละ…มันจะดีกว่ามั้ย ถ้าเราลดการคาดหวังลงและหันมายอมรับในสิ่งที่ลูกเราทำได้อาจจะไม่ได้เป็นที่หนึ่ง ไม่ได้รับการชื่นชมจากคนอื่น แต่มันก้อไม่ได้แย่ และกำลังใจเดียว ที่ลูกอยากได้ เค้าไม่ได้อยากได้จากคนอื่น..
…อย่าให้ความคาดหวังที่มันมีมากจนเกินไป มาทำร้ายคนที่เป็นทั้งความรัก ทั้งชีวิต เป็นทั้งจิตใจ..และที่สำคัญเค้าเป็น..คนเดียว เค้าเป็น..ที่สุด และ เค้าเป็น..ที่หนึ่ง ในใจเราเสมอ..#ขอบคุณและสวัสดีค่ะ.
Oct 28
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
อึ้ง ! ครูคณิตสอบตก 60% ในวิชาที่ตัวเองสอน เผยคะแนนเด็กไทยเทียบนานาชาติ อยู่ในระดับแย่ ด้าน อดีต สวพ. ชี้ต้นเหตุมาจากนักการเมืองที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยล่มสลาย
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556 นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ อดีตประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ (สวพ.) กล่าวถึงกรณีที่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะทำการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่า เป็นการรีบปรับเปลี่ยนเกินไป และไม่ได้ดูบริบทอื่น ๆ เลยว่า เขตพื้นที่การศึกษาจะมีปัญหาเรื่องการจัดการหรือไม่ และการผลิตครูมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด แต่กลับไปปรับหลักสูตรจากเดิม 8 สาระกลุ่มการเรียนรู้ ให้เหลือ 6 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากสับสนและวุ่นวาย ทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง
โดยเฉพาะตัวครูเองก็คงจะลำบากมากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรเดิมก็ยังสอนไม่ได้เลย อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีการทดสอบครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์แล้วพบว่า ครู 60% สอบตกในวิชาที่ตัวเองเป็นคนสอน ดังนั้น หากมีหลักสูตรใหม่เกิดขึ้น เชื่อว่าก็จะต้องมีการอบรมครูเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก เนื่องจากครูต้องทิ้งนักเรียนไว้ ทำให้ไม่มีเวลาสอนอย่างเต็มที่
นายชัยณรงค์ กล่าวอีกว่า ตนมองว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องปรับหลักสูตรใด ๆ และการระบุว่าการปรับหลักสูตรให้เหลือ 6 กลุ่มสาระ จะทำให้เด็กมีชั่วโมงเรียนที่น้อยลงนั้น เป็นเรื่องที่ไร้สาระ เนื่องจากวิชายังอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่แค่มาจัดหมวดหมู่และเปลี่ยนชื่อใหม่เท่านั้นเอง ส่วนกระบวนการคิดของคนปรับหลักสูตรก็ยังเป็นแบบวิทยาศาสตร์ ที่คิดถึงแต่ผลผลิต พอผลผลิตออกมาไม่ดีก็คิดแต่จะเปลี่ยน ซึ่งตนคิดว่าระบบนี้นำมาใช้กับระบบการศึกษาไม่ได้
นอกจากนี้ นายชัยณรงค์ กล่าวถึงผลการสอบโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ว่า การประเมินดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าเด็กไทยมีคุณภาพการศึกษาที่ล้มเหลว โดยคะแนนของเด็กนั้นได้มาจากการท่องจำเพียงอย่างเดียว ทั้ง ๆ ที่ PISA มีคะแนนในหลายด้าน อาทิ การคิดวิเคราะห์ การสร้างสรรค์จินตนาการ และการนำไปใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์จากคะแนนนานาชาติ จะเห็นได้ว่า คุณภาพของเด็กไทยลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับ 30 ปี ที่แล้วที่เด็กไทยมีคะแนนอยู่ในระดับดี แต่หลังจากนั้นคะแนนก็ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ในระดับที่แย่ ส่วนสาเหตุเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน ศธ. และนักการเมืองทั้งหลายที่เข้ามาแย่งงบประมาณหลายแสนล้าน อีกทั้งใช้บุคลากร ศธ. มาเป็นฐานเสียงให้กับพรรคของตัวเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของระบบการศึกษาไทย
ที่มา : http://education.kapook.com/view74467.html
Jun 17
จากที่มีการเปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) มีนโยบายปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรับฌครงสร้างเวลาเรียน โดยการปรับลดเวลาในการเรียนวิชาการให้น้อยลง ในขณะที่เพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนให้มากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่นี้ จะมีการปรับโครงสร้างทุกระดับชั้นต้งแต่ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมต้น และ มัธยมปลาย
นอกจากการปรับลดจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาการลงแล้ว จะมีการปรับสัดส่วนการเรียนวิชาต่างๆ ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นด้วย จากเดิมที่ให้สัดส่วนเวลาเรียนทุกวิชาเท่าๆ กัน ก็จะเปลี่ยนมามีจุดเน้นให้ตรวตามวัย โดยระดับประถมต้นโดยเฉพาะ ป.1-2 จะเน้นการเรียนรู้ทักษะด้านภาษาเป็นหลัก จนถึงระดับประถมปลายจึงจะเพิ่มเติมทักษะด้านการคิดคำนวณ ส่วนระดับมัธยมต้นจะเพิ่มเติมทักษะในการแสวงหาความรู้ให้กับเด็ก และมัธยมปลายจะเน้นให้เด็กนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้
ในการปรับโครงสร้างการเรียนดังกล่าว น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เมื่อมีการศึกษาหรือการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดลองใช้หลักสูตรในโรงเรียนต้นแบบเพียงบางโรงเรียนก่อน เพื่อให้ครูมีการเตรียมความพร้อมของตนเองในการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน เนื่องจากการเรียนการสอนนอกห้องเรียนนั้นยากต่อการประเมินว่านักเรียนจะได้เรียนรู้สิงต่าง ๆ ตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน อีกทั้งครูผู้สอนยังเป็นปัจจัยหลักที่มมีผลต่อการเรียนการสอน หากครูผู้สอนไม่มีเป้าหมายหรือไม่มีการเตรียมการเรียนการสอน หรือไม่ได้รับการฝึกอบรมการสอนในแบบของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน นั่นหมายถึงเวลาที่เด็กจะเสียโอกาสในการเรียนวิชาการในแต่ละครั้ง
ส่วนเรื่องสัดส่วนของวิชาการที่ถูกเน้นในแต่ละช่วงชั้นที่แตกต่างกันนั้น เมื่อเด็กขึ้นมาถึงช่วงชั้นที่มีการเน้นสัดส่วนที่เปลี่ยนไป อาจทำให้เด็กนักเรียนเกิดความไม่ต่อเนื่องในการเรียน ทำให้การเรียน แทนที่จะมีการเรียนอย่างต่อเนื่องก็ต้องมาย้ำเนื้อหาที่น่าจะทำได้ดีแล้วในช่วงชั้นก่อน ๆ หรือทักษะบางทักษะที่จะต้องมีการสะสมประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาทักษะดังกล่าว ก็อาจทำให้เด็กขาดความรู้ความชำนาญในทักษะนั้น ๆ เพียงเพราะไม่ได้ถูกฝึกมา หรือการเรียนขาดช่วงไป
ในการคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ ในเรื่องของศึกษาน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หากเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการศึกษา จากโรงเรียนต้นแบบอย่างจริงจัง ไม่ใข่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเขาใช้แบบนี้ โดยไม่ได้ศึกษาจากธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กไทยเป็นตัวตั้ง