math_clipart              ในการเรียนคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในแนวใด ๆ เด็กทุกคนจะต้องเริ่มต้นพื้นฐานการบวก ลบก่อน ต่อจากนั้นในช่วงระดับชั้นประถมปีที่ 2 ก็จะเข้าสู่เนื้อหาของการคูณ และ การหาร ซึ่งในเบื้องต้นเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจให้เด็กได้เข้าใจว่าการคูณนั้นคือการบวกเลขซ้ำ ๆ  และการหารคือการลบเลขซ้ำ ๆ กันนั่นเอง

              หลังจากการเรียนให้เข้าใจเรื่องของการคูณ-หาร แล้วเด็ก ๆ ก็จะต้องใช้สูตรคูณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีเรื่องการคูณ-หารเป็นพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจะเห็นว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองจะมีส่วนช่วยผลักดันให้เด็กได้มีทัศนคติที่ดี หรือไม่กลัวคณิตศาสตร์นั้น เราจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมให้น้อง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้น หากเราเริ่มต้นเร็ว เด็ก ๆ ก็จะไม่มีแรงกดดันเรื่องเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเรียนโดยที่เขายังไม่ถูกเตรียมความพร้อมมา การท่องสูตรคูณ 12 แม่ในช่วงเวลาสั้น ๆ จะทำให้เขารู้สึกว่าเขาถูกบีบให้ต้องจำในช่วงเวลาที่จำกัด  

               เช่นเดียวกับการเรียนจินตคณิต เมื่อเด็กสามารถจินตนาการการบวก-ลบ จนคล่องในระดับหนึ่งแล้ว การเรียนในขั้นต่อไปคือการเรียนคูณ-หาร ซึ่งก็หนีไม่พ้นเรื่องการใช้สูตรคูณ เด็กส่วนใหญ่ที่ถูกเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดีในเรื่องของการท่องสูตรคูณ จะสามารถเรียนรู้ และมีความเข้าใจการเรียนได้เป็นอย่างดี และเมื่อถึงขั้นจินตนาการ เขาจะสามารถทำโจทย์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กที่ไม่ได้ท่องสูตรคูณ จะไม่สามารถเรียนได้ เพียงแต่ประสิทธิผลที่ได้จะช้ากว่ามาก และอาจส่งผลให้เด็กมีความรู้สึกในเชิงลบกับการเรียนคูณ-หาร เนื่องจากเขาไม่สามารถท่องสูตรคูณได้  

               ดังนั้นคุณพ่อ คุณแม่ ควรจะมีการเตรียมความพร้อมของลูกน้อยในช่วงปฐมวัย เพื่อเป็นการปูพื้นฐานและสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับบุตรหลานในการเรียน หลังจากที่เขามีพื้นฐานการเรียนที่ดี ประกอบกับวัยที่โตขึ้นแล้ว เขาก็จะมีกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง โดยที่ความต้องการในการดูแลก็จะน้อยลงตามลำดับ

ครู จา

Tags : , , , , , , , | add comments

math_clipart            การเรียนจินตคณิตโดยใช้ลูกคิดเป็นสื่อนั้น ถ้าเด็กสามารถใช้จินตนาการได้ ก็ถือเป็นประโยชน์สูงสุดที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของการเรียน ซึ่งในการเรียนในช่วงของการบวก ลบเราจะมีการแทรกการดีดต่อเนื่อง (การบวกซ้ำ ๆ) เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในเรื่องของการคูณ เป็นการเตรียมน้องให้พร้อมกับการเรียนลูกคิดในระดับที่สูงขึ้น เมื่อเด็กได้เข้าใจเรื่องการบวกต่อเนื่อง ก็สามารถต่อยอดไปถึงการคูณ ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เด็ก(เล็ก) ยังไปไม่ถึงบทเรียนในโรงเรียน ในขณะที่ทำให้เด็ก(โต) มีความเข้าใจภาพของการคูณที่ชัดขึ้น เมื่อเด็ก ๆ ดีดต่อเนื่อง (ทั้งบวกเพิ่ม = การคูณ หรือ การดีดแบบลด = การหาร) จนเกิดความเคยชิน ก็เสมือนการท่องสูตรคูณ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้สูตรคูณในการดีด หรือการจิน ก็จะไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กที่ยังไม่เรียนการคูณ การหารในโรงเรียน ได้อย่างสบาย

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

       การปูพื้นฐานที่มั่นคงในการเรียนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากเด็กขาดทักษะทางคณิตศาสตร์อาจทำให้เขามีปัญหาในการเรียน หรือขาดความมั่นใจในการเรียนรู้ เด็กที่ขาดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์จะเพิ่มความรู้สึกยุ่งยากและความสับสนในการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อย ๆ แต่เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เราจะพบว่าความกดดันที่เด็กได้รับจากทักษะทางคณิตศาสตร์ก็หมดไปเช่นกัน จนเราอาจจะได้ยินว่าลูกชอบคณิตศาสตร์ในที่สุด
        การสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กนั้นจะมีวิธีการอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีส่วนในการสร้างความมั่นใจและความเข้าใจเชิงลึกให้กับเด็ก สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองมักสับสนกับการเป็นผู้สอนเด็กมีดังนี้
-อาจเกิดจากการมุ่งเน้นในบางเรื่องเท่านั้น เช่นการมุ่งเน้นในเรื่องของจำนวนจนลืมหัวข้ออื่น ๆ ที่เด็กต้องเรียนรู้ในระดับต้น การทบทวนแบบไม่มีลำดับขั้น

        การมุ่นเน้นคณิตศาสตร์ให้กับชั้นประถมปีที่นั้นจะมีหัวข้อสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
–  ระบบจำนวน ซึ่งหมายรวมลำดับขั้นของกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และค่าประจำหลักด้วย
–  ความสัมพันธ์ ในชั้นประถมต้นจะเรียนแบบรูปที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อน หรืออาจเป็นการหาตัวแปรแบบง่าย ๆ
–  เรขาคณิต และมิติสัมพันธ์ เด็กจะเรียนรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน แล้วจึงเพิ่มในเรื่องของมิติสัมพันธ์ การอ่านแผนที่ และการแก้ปัญหาเรขาคณิต
–  การวัด และการเปรียบเทียบเชิงปริมาณทั้งในเรื่องความยาว น้ำหนัก อุณหภูมิ ความจุ เวลา และเรื่องเงิน
–  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การใช้ตาราง แผนภูมิ กราฟ เพื่อจัดรูปแบบข้อมูล
      คณิตศาสตร์สำหรับชั้นประถมปีที่ 1 – 3
     ชั้นประถมปีที่ 1 มุ่งเน้นการเรียนเรื่องจำนวนและระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะเรียนเรื่องการบวก-ลบ จำนวนจาก 1 – 100 นอกจากนี้ยังมีการเรียนเรื่องรูปทรงเรขาคณิต การวัด เงิน แผนภูมิ กราฟ การวิเคราะห์ข้อมูล และแบบรูปทางคณิตศาสตร์
     ชั้นประถมปีที่ 2 เรียนเรื่องการจับกลุ่ม 10 , 100 และลำดับของระบบปฏิบัติการจำนวนไม่เกิน 1,000   ค่าประจำหลัก การคูณและการหาร
     ชั้นประถมปีที่ 3 จะยังคงเรียนเรื่องเดิมแต่เน้นในเรื่องของการแก้โจทย์ปัญหา การเรียนเรื่องเศษส่วน และทศนิยม เด็กในวัยนี้จะเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการวัด รูปทรงเรขาคณิต และความสัมพันธ์
     ชั้นประถมปีที่ 4 เรียนในเรื่องเดิมแต่มีความลึกมากขึ้น เช่นในเรื่องของเศษส่วน จะมีการเปรียบเทียบเศษส่วน การบวกลบ เศษส่วน มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องของปริมาตร พื้นที่ เส้นรอบรูป และเรื่องของการวัดมุม
     ชั้นประถมปีที่ 5 มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องของตัวประกอบ ตัวประกอบเฉพาะ 
     ชั้นประถมปีที่ 6 มีการแปลงทศนิยมเป็นเศษส่วน และการบวกลบคูณหารเศษส่วนและทศนิยม การเรียนเรื่องเปอร์เซ็นต์ ร้อยละ อัตราส่วน การสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางคณิตศาสตร์
      จากแนวทางการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษานั้นจะเห็นได้ว่า โดยหลักสูตรไม่ได้เน้นหนักในเรื่องของจำนวนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องมีการเสริมเนื้อหาในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้เด็กมีความสุขกับการเรียน และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาต่าง ๆ อีกหลายวิชาในอนาคต

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments