มีกระแสมากมายเรื่องการเรียนพิเศษ​ มีทั้งนักวิชาการ​ นักวิจัย​ จิตแพทย์เด็ก​ ออกมาแสดงความคิดเห็น​ต่างๆ​ แต่โดยรวมไม่เห็นด้วยกับการเรียนพิเศษ
หากกล่าวถึงเรื่องการเรียนพิเศษ​ในบ้านเรา​ ต้องแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ​ ออกเป็นกลุ่มๆ โดยหากแยกตามวัย​แล้ว​ เด็กเล็กก็ไม่มีความจำเป็น​ที่จะต้องเรียนพิเศษ​ เพราะไม่มีเรื่องที่ยากจนพ่อแม่ผู้ปกครองสอนเองไม่ได้​ แต่ในกลุ่มเด็กที่โตขึ้น​ ในช่วงของประถมปลาย​ ความจำเป็นเกิดขึ้นกับเด็กที่มีปัญหาการเรียนในชั้นเรียน​ กับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานได้เรียนในโรงเรียนรัฐที่มีคุณภาพ​ ซึ่งหมายความถึงครูที่สอนในโรงเรียนดังกล่าวย่อมถูกคัดกรองอย่างมีคุณภาพ​เฉกเช่นเดียวกับเด็กที่ต้องฝ่าด่านการสอบคัดเลือกอย่างดุเดือดเข้มข้นไม่แพ้กัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้​ เกิดเนื่่องจากคุณภาพของโรงเรียนในบ้านเราไม่ได้อยู่ในมาตรฐาน​เดียวกันทั้งหมด​ คุณภาพของครูผู้สอนก็เช่นกัน​ หากเลือกได้ไม่มีใครอยากเป็นครูเลย​ ทำให้ครูในเครื่องแบบในปัจจุบัน​ หลังจากสอบบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว​ ถ้าไม่ได้อยู่ในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง​ ก็แทบไม่ได้คิดวิธีใหม่ๆในการสอนเลย​ สอนตามหน้าที่ให้หมดวัน..เด็กจะรู้เรื่องหรือไม่ก็แล้วแต่ พอคะแนนสอบออกมาสอบตก ครูก้อบอกให้ไปเรียนพิเศษ..เรียนกับครูก็จะได้คะแนนเยอะหน่อย แต่ถ้าเรียนที่อื่นคะแนนก้อตามความจริง..คิดเพียงแต่จะหารายได้เสริมจากการสอนพิเศษ​ให้เด็กมาเรียนกับตน จิตสำนึกของความเป็นครูเพื่อทำให้ลูกศิษย์​มีความรู้เหมือนครูในสมัยก่อนหายไป​ ซึ่งทำให้ผ้ปกครองทุกวันนี้ต้องหาที่เรียนพิเศษ..ไม่ใช่ความผิด ของครูแต่มันเป็นที่ระบบการศึกษาตั้งแต่สอบคัดเลือกเข้ามาเลยเพราะสอบราชการยากมาก ต้องติวจะมีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อให้ผ่านการบรรจุ ซึ่งเขาถือว่ามันคือการลงทุน​ การเรียนพิเศษ​ในคนเอเชียกลายเป็นเรื่องปกติ​ ไม่ใช่เพียงแค่คนไทย​ เหตุผลเพียงเพราะ​ ใครๆก็อยากได้ในสิ่งที่ดีกว่าทั้งนั้น…
..#ฝากไว้สักนิด.. การเป็นครูไม่แค่สอนให้หมดวัน แต่เราต้องสอนเค้าในทุกเรื่องเพื่อให้เค้าเติบโตไปมีความรู้และเป็นคนดี..

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

เป็นที่ถกเถียงกันมากมายเรื่องการสอบเข้าโรงเรียนสาธิตในช่วงที่ผ่านมา นักวิชาการหลายๆ ท่านก็มีความคิดเห็นที่ไม่สนับสนุนให้พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องพาเด็กไปติวหนักเป็นปี เพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าว เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทุกปี การส่งให้เด็กติวเข้านั้น ใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เป็นเหตุให้พ่อแม่ ผู้ปกครองย่อมคาดหวังว่าเม็ดเงินที่เสียไป จะต้องทำให้บุตรหลานได้เรียนในโรงเรียนที่ดีในสายตาของตนเอง

การติวเข้าโรงเรียนแนวสาธิต จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กในเรื่องของเชาวน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ในสถาบันต่างๆ มักสร้างสถานการณ์ในช่วงของการใกล้สอบจนบางครั้งมีเด็กบางคนเกิดอาการเครียด โดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ความคาดหวังของพ่อแม่ ผู้ปกครองยังส่งผลต่อเด็ก เมื่อเขาไม่ได้มีชื่อที่ผ่านการสอบคัดเลือก ซึ่งการไม่ได้รับเลือกเป็นนักเรียนในโรงเรียน ไม่ได้มีผลต่อตัวเขา หรือความรู้สึกใดๆ เลย แต่ผู้ที่มีผลกับเขาคือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เป็นเหมือนพู่กันที่แต้มสีสันลงบนความรู้สึกนึกคิดของเขามากกว่า หากส่งผ่านความผิดหวังไปที่เด็ก ก็เปรียบกับการแต้มสีดำ หรือเทา ทำให้ผ้าขาวเกิดจุด หรือรอยด่างดำ ซึ่งมันจะติดตัวเขาไปตลอด ความรู้สึกไม่มีความภูมิใจในตัวเอง เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะบ่มเพาะจนกลายเป็นลักษณะนิสัยของเขาไปเลย ซึ่งเด็กในวัยอนุบาลไม่ใช่วัยที่จะต้องก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือเพื่อสอบจอหงวน เขาควรได้เล่นเป็นกลุ่มกับเพื่อนเพื่อเพิ่มทักษะทางสังคม เล่นกันอย่างสนุกสนาน การเล่นเป็นกลุ่มยังส่งผลให้เขาได้แก้ปัญหาเล็กๆ น้อยในการเล่นอีกด้วย มันเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน นอกจากนี้แล้วการเล่นยังเป็นการเรียนรู้อย่างมีความสุขในวัยนี้ พ่อแม่ ผู้ปกครองเอง ก็ควรจะเป็นจิตรกรผู้แต่งแต้มสีสันอันสดใสให้กับเขา ชีวิตในวัยเด็กที่สดใส สนุกสนาน ให้ได้อยู่กับเขาได้นานที่สุด

แต่เมื่อโตขึ้น ในวัยที่เขามีความต้องการที่จะเลือกโรงเรียน แนวการเรียนของเขาเอง บางครั้งพ่อแม่ก็ยังทำตัวเหมือนเดิม เลือกทุกอย่าง รวมถึงปกป้อง จนเด็กไม่ได้เรียนรู้ที่จะควบคุมความรู้สึกใดๆ เลย จริงๆ แล้วหน้าที่ของความเป็นพ่อเป็นแม่ ก็ยังคงมีหน้าที่รักเค้าเหมือนเดิม แต่เมื่อเค้าโตขึ้น ต้องฝึกให้เค้าได้มีทักษะด้านอารมณ์ ให้มากขึ้น ให้รู้จักอดทนอดกลั้นมากขึ้น พ่อแม่เป็นเพียงผู้ชี้แนะ แล้วให้เขาเป็นผู้เลือกชีวิตและทางเดินของเขาด้วยตัวเอง เรามีหน้าที่ยอมรับในการตัดสินใจของเขา และเมื่อเขาผิดหวัง เขาต้องยอมรับข้อผิดพลาด รู้จักความผิดหวัง ต้องเรียนรู้ที่จะวางแผนการเรียน การเลือก และสุดท้ายคือจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึกที่อาจผิดหวัง โดยมีพ่อแม่ เป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจเมื่อเขาท้อแท้ หรือผิดหวัง ชื่นชมในความสำเร็จแม้เพียงเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ระบบการศึกษาไทย ยิ่งปรับยิ่งก้าวหน้าหรือถอยหลัง แต่เดิมที่มีการสอบคัดเลือกเพียงครั้งเดียว โดยให้เลือกอันดับของคณะและสถาบันที่ต้องการเรียน ต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนให้มีการสอบเป็นสองรอบ เพื่อให้ปรับแก้วิชาที่ยังคะแนนได้ไม่ดี จนมาถึงปัจจุบันเป็นระบบที่เรียกว่า TCAS ซึ่งแบ่งเป็นการสอบและยื่นคะแนนออกเป็น 5 รอบ  โดยในแต่ละรอบจะใช้คะแนนที่แตกต่างกัน โดยแยกเป็นรอบดังนี้

รอบแรก คือการยื่น portfolio  ซึ่งในรอบนี้มหาวิทยาลัยกำหนดเอง ค่าสมัครแต่ละโครงการๆ ละ 300 บาทขึ้นไป

รอบที่ 2 เป็นรอบของโควตามหาวิทยาลัยกำหนดเอง ค่าสมัครแต่ละโครงการๆ ละ 300 บาทขึ้นไป

รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน โดยราคาเริ่มต้นที่ 300 บาทถ้าเลือกสอบที่เดียว  เพิ่มอีกที่ละ 200 บาท รวม 4 วิชา 900  บาท

รอบที่ 4 แอดมิชชันราคาเริ่มต้นที่ 100 บาทถ้าเลือกสอบที่เดียว เพิ่มอีกที่ละ 50 บาท รวม 4 ที่ 250 บาท

รอบ 5 รับตรงอิสระมหาวิทยาลัยกำหนดเอง ค่าสมัครแต่ละโครงการๆ ละ 300 บาทขึ้นไป

โดยมีค่าสอบในข้อสอบกลางดังนี้

  • GAT/PAT วิชาละ 140 บาท ตามเกณฑ์ของคณะที่สนใจ
  • 9 วิชาสามัญ วิชาละ 100 บาท
  • วิชาเฉพาะ กสพท 800 บาท
  • ข้อสอบตรงของมหาวิทยาลัย
  • O-Net  ไม่เสียค่าใช้จ่าย

จากการแจกแจงค่าใช้จ่ายด้านบน เราจะพบว่า หากการเลือกสอบในแต่ละรอบไม่ได้คะแนนตามเกณฑ์ของคณะที่กำหนด  เราจะต้องสมัครในรอบต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งในแต่ละขั้นตอน เด็กๆ จะต้องมีการสอบเผื่อในทุกๆ รอบ จะเห็นว่าไม่ว่าจะสอบในรอบไหนๆ ก็เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนของการสอบ และส่วนของการยื่น เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ไม่ได้มีฐานะที่มั่นคง ก็อาจถูกตัดโอกาสทางการศึกษาไปเลยก็ได้ หากเป็นเช่นนี้แล้ว ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เป็นช่องว่างจะยิ่งถ่างกว้างขึ้นออกไปเรื่อยๆ จนในที่สุดอาจเป็นปัญหาทางสังคม  เพราะเขาเหล่านั้นอาจคิดว่าการทำอาชีพสุจริตได้รายได้น้อยเกินกว่าที่จะใช้จ่าย และก่อให้เกิดปัญหาด้านอาชญากรรมกันตามมาเป็นลูกโซ่

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

Pre Test  ออกแล้ว

Posted by malinee on Sunday Jan 7, 2018 Under เกร็ดความรู้

ต่อจากนี้ไป จะเป็นช่วงที่เด็กๆ จะต้องเรียนกันหนัก หลังจากการเที่ยวปีใหม่ผ่านไป เนื่องจากเด็กหลายๆ คนต้องมีการย้ายโรงเรียน จากชั้นประถม สู่ชั้นมัธยม และในปีการศึกษาหน้า การสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในหลายๆ โรงเรียน จะเพิ่มอัตราส่วนของเด็กในพื้นที่มากขึ้น นั่นส่งผลให้ เด็กๆ ที่อยู่นอกพื้นที่ของโรงเรียนดัง ต้องฝ่าด่านกันมากกว่าเดิม ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานให้ได้เข้าโรงเรียนที่ได้เลือกไว้ สิ่งที่ทำได้ คือการสมัครลงสอบ Pre Test เพื่อให้ลองสนามจริง กับเวลาในการทำข้อสอบจริง

คราวนี้เรามาดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับการสมัครสอบ Pre Test เนื่องจากเป็นการสอบ Pre Test  จะรับนักเรียนประถมปลาย และผลการสอบก็ออกมาทั้งคะแนนสอบ ค่ากลาง และลำดับของการสอบ การสอบ Pre Test  มีข้อดีคือ ทำให้เด็กๆ ได้รู้ข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ยังต้องปรับปรุง และได้เตรียมตัวให้มากขึ้น แต่ผลของลำดับที่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดได้ว่า เด็กจะไม่ผ่าน หรือ ผ่านการสอบคัดเลือกดังกล่าว เด็กหลายๆ คนยังมีโอกาสในการเตรียมความพร้อมได้อีก หนึ่งถึงสองปี นอกจากข้อดีดังกล่าวแล้ว ยังเป็นแนวให้ผู้ปกครองอีกว่า บุตรหลานจะเหมาะกับการสอบคัดเลือกในสนามนั้นหรือไม่ หากต้องทำให้ชีวิตในวัยเด็กของเค้า ทำได้แค่เพียงการเข้าสถาบันกวดวิชาทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด ทำให้ทักษะ หรือประสบการณ์ต่างๆ น้อยลง สู้ลดระดับการแข่งขันลง แต่เสริมกิจกรรม สร้างสรรค์ และเพิ่มทักษะด้านอื่นๆ คู่ไปด้วยจะดีกว่า เพราะเมื่อเขาโตขึ้น สิ่งที่สำคัญ คือประสบการณ์ และทักษะต่างหาก ที่ทำให้เค้าดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข

Tags : , , , , , , , , , | add comments

คัดเลือกครู ?

Posted by malinee on Monday May 1, 2017 Under เกร็ดความรู้

images          จากช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นช่วงที่เด็กๆ ปิดเทอม พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ ท่านก็จัดกิจกรรมการเรียนในวิชาต่างๆ ให้กับเด็กๆ เด็กหลายๆ คนผ่านการสอบคัดเลือกเข้าสู่ระดับมัธยม ก็จะต้องมีการเรียนภาคฤดูร้อนเพื่อเป็นการปรับพื้นฐาน หรือปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนที่โตขึ้น

หลังจากที่กล่าวถึงการสอบคัดเลือกเด็กๆ เข้าเรียนในโรงเรียนต่างๆ แล้ว ครั้งนี้เรามาศึกษาวิธีการสอบคัดเลือกของข้าราชการครูกันบ้าง การสอบคัดเลือกข้าราชการครูนั้น ครูทุกๆ คนจะต้องผ่านการสอบข้อสอบ ภาค ก และ ภาค ข ซึ่งคะแนนรวมคือ 400 คะแนน หลายๆ คนคงสงสัยว่า ครูจะเขียนบทความนี้เพื่ออะไร

การสอบภาค ก เป็นข้อสอบกลางในการคัดเลือกบรรจุข้าราชการทุกอัตรา (ไม่ใช่เฉพาะข้าราชการครู) ข้อสอบจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ กฎหมาย และพระราชบัญญัติ มาตราต่างๆ เกี่ยวข้องกับการทำงานของข้าราชการ โดยมีคะแนนเต็ม 200 คะแนน ส่วนภาค ข เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย ความรู้เกี่ยวกับวิชาการศึกษา (100 คะแนน) ส่วนความรู้ในวิชาที่จะเข้าสอน (วิชาเอก) อีก 100 คะแนน ซึ่งข้อสอบทั้งหมดเป็นข้อสอบปรนัย จากสัดส่วนของคะแนนที่รับข้าราชการครูเฉพาะสาขาวิชา เราจะเห็นว่า ความรู้ความสามารถในวิชาชีพคิดเป็นเพียง 25% เท่านั้น

ในความคิดเห็นของครู เห็นว่า แนวทางการคัดเลือกข้าราชการครู ควรจะมีมาตรฐานในการคัดเลือกให้มีการคัดเลือกจากส่วนกลาง แล้วกระจายครูไปยังภูมิภาคต่างๆ การสอบคัดเลือกควรมีการแยกข้อสอบการคัดความรู้เฉพาะทางให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ โดยให้แบ่งส่วนของการสอบออกเป็นภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติไปพร้อมกันเพื่อให้ได้ข้าราชการครูที่มีคุณภาพ แต่หลังจากที่เราได้ครูที่มีคุณภาพแล้ว งบประมาณต่างๆ ที่ลงมายังกระทรวงศึกษาธิการ ควรจะส่งตรงไปยังผลตอบแทนของครูมากกว่าการทุ่มงบให้ tablet ที่กระจายไปทั่วประเทศอย่างเสียเปล่า โดยให้แต่โทษไม่เกิดประโยชน์อะไรอย่างสิ้นเชิง อย่างน้อยเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่ต้องการเป็นครูที่จะพัฒนาตนเองเพื่อเด็กๆ ต่อไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เป็นการประกาศผลการสอบ o-net ของนักเรียนชั้น ป。6 ,ม。3 และม。6 ซึ่งผู้ปกครองหลายๆ คน มักมีคำถามการสอบ o-net เป็นการสอบเพื่ออะไร มีประโยชน์หรือจุดประสงค์ใด

เรามาดูแนวคิดและจุดประสงค์ของการสอบกัน

วัตถุประสงค์ของการสอบ O-net
1. เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียน ป.6, ม.3 และ ม.6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

  1. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
  2. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
  3. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
  4. เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการตัดสินผลการเรียนของผู้ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
  5. ใช้เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และสถาบันอุดมศึกษา

จากวัตถุประสงค์ของจัดสอบนั้น มีจุดมุ่งหมายที่ดี หากได้มีการดำเนินปรับปรุงแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของเด็กหรือพัฒนาการเรียนรู้ตามนโยบายให้ดีขึ้น

แต่จากผลการสอบมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เห็นนโยบายในการพัฒนาการทางด้านการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมให้เห็นอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่วิเคราะห์ได้คือ นโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นนโยบายที่ล้มเหลว ซึ่ง ครูได้มีโอกาสได้คุยกับนักเรียนที่อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาที่ได้รับนโยบายดังกล่าว เด็กๆ จะไม่มีการเรียน ไม่มีกิจกรรม ในคาบสุดท้าย แล้วครูถามว่าแล้วเด็กๆ ทำอะไร คำตอบที่ได้คือ การท่องโลกอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เค้าเหล่านั้นอย่างอิสระ  ในปีนี้ ผลคะแนนเฉลี่ยของเด็กในกรุงเทพเอง มีเพียงภาษาไทยและสังคมศึกษาเท่านั้น ที่มีคะแนนมากกว่า 50% ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเห็นผลคะแนนเฉลี่ยในระดับประเทศแล้ว เหลือเพียงภาษาไทยวิชาเดียวที่เกินครึ่ง ที่เหลือคะแนนจะอยู่ระหว่าง 30 – 45% เท่านั้น ซึ่งคะแนนที่ครูนำมาอ้างอิงเป็นคะแนนในระดับป。6 เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน เมื่อค่าเฉลี่ยต่ำตั้งแต่ในช่วงชั้นประถม เราก็จะเห็นแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยในระดับที่สูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเลย  badgradeclipart

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

responsibility-clipart-6BcaEBdT8            ผ่านไปแล้วสำหรับการประกาศผลสอบเข้าเรียนในห้องเรียนพิเศษ (Gifted และ EP) ครูต้องขอแสดงความยินดีกับน้องๆ หลายๆ คนที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งนั่นหมายถึงการเตรียมความพร้อมได้เป็นอย่างดี แต่อีกหลายๆ คนไม่ได้เลือกลงเข้าการคัดเลือกในรอบนี้ หรือน้องๆ บางคนที่พลาดในรอบนี้ นั่นไม่ได้หมายความว่าตนเองจะหมดโอกาส ทุกๆ คนยังมีโอกาสในสนามใหญ่อีกครั้งในวันที่ 1 เมษายน นี้ ซึ่งเป็นการแข่งขันพร้อมกันทุกโรงเรียน ดังนั้นเด็กที่พลาดจากสนามแรก ก็จะต้องเข้าสอบในสนามนี้

สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำคือ การพิจารณาโรงเรียนในการให้น้องๆ สอบคัดเลือกของพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรประเมินปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เด็กมีโอกาสได้รับการคัดเลือกมากที่สุด ซึ่งหมายถึง จำนวนคู่แข่ง : จำนวนนักเรียนที่รับ และการเตรียมตัวของตัวบุตรหลาน และตัวเด็กๆ เองก็ต้องรู้หน้าที่ของตัวเอง ต้องอ่านหนังสือ ทำแบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาทักษะของตนเองให้ได้รับคัดเลือกในที่สุด

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แนวโน้มไม่ได้เป็นแบบนั้น เนื่องจากเด็กๆ ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ไม่เรียนรู้ว่าการเรียนเป็นสิ่งเดียวที่เป็นหน้าที่ของตนเอง และทำในสิ่งที่ตนเองสนใจเท่านั้น โดยไม่รู้สึกเดือดร้อนกับความบกพร่องในหน้าที่ของตนเอง เพราะรู้อยู่แล้วว่าไม่มีทางที่ตนเองจะไม่มีที่เรียน ในที่สุด พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องคอยวิ่งเต้น เพื่อให้ตนเองได้มีที่เรียนในที่สุด

หากพิจารณากันดีๆ แล้ว ความผิดพลาดในพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้เกิดขึ้น เนื่องจากเขาเหล่านั้นไม่เคยถูกสอน หรือฝึกให้อยู่ในระเบียบวินัยในการทำหน้าที่ของตนเอง และสิ่งที่แย่กว่านั้นคือ เด็กไม่เคยได้รับบทลงโทษเมื่อทำผิดกฎ หรือระเบียบใดๆ เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ปกป้องอย่างไม่มีเหตุผล จนกลายเป็นการบ่มเพาะนิสัยที่ไม่รู้จักหน้าที่ ของตนเอง ไม่มีความรับผิดชอบและไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ในที่สุด หากเด็กๆ ได้รับการฝึกระเบียบวินัย และรู้จักหน้าที่ของตนเอง ต่างคนต่างรู้และรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง ก็เป็นเหมือนจิกซอรที่ทุกคนในครอบครัวช่วยกันต่อจนเป็นภาพที่สมบูรณ์ในที่สุด

 

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

59193aa2a373c419a7100878787f573e_108aacefc3e090fb4ab96fe480a9bd-clipart-tired-person_350-346                    ช่วงนี้เดือนหน้าจะเป็นช่วงของการสอบคัดเลือกประจำทุกปี น้องๆ หลายๆ คนก็ต้องให้เวลาในการเตรียมตัวกับตัวเองในการอ่านหนังสือ ลดเวลาเล่นกันก่อนนะคะ

หลายๆ ครั้งผู้ปกครองมักบ่นว่า บุตรหลานของตนไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง เฉื่อย ไม่มีความกระตือรือร้น สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากการเลี้ยงดูบุตรหลานในวัยเด็ก สาเหตุที่ทำให้เด็กไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง เนื่องมาจากในวัยเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครองคอยปกป้องดูแลเอาใจใส่จนเกินพอดี ไม่ให้บุตรหลานมีโอกาสที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ เมื่อเกิดปัญหาไม่ว่าเรื่องใดๆ พ่อแม่ก็คอยเป็นคนแก้ปัญหาให้ทุกเรื่อง การดำเนินชีวิตก็เป็นไปอย่างเรื่อยๆ ไม่มีความกระตือรือร้นทุกๆ เรื่องจนกลายเป็นนิสัยที่เฉื่อย ไม่สนใจต่อสถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมรอบข้างใดๆ เพราะถือว่าปัญหาต่างๆ จะคลี่คลายด้วยการแก้ปัญหาของพ่อแม่ ผู้ปกครองได้โดยง่าย

นิสัยดังกล่าวที่เกิดขึ้น ไม่ได้เปลี่ยนไปเมื่อเด็กโตขึ้น เขาจะโตขึ้นโดยแบบเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีความอดทน หากไม่อยากให้บุตรหลาน ดำเนินชีวิตโดยสามารถดูแลตนเองได้เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่

ดังนั้นในวัยเด็ก ซึ่งสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดที่เป็นโรงเรียนแรกของเด็กๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสอนให้เค้ารู้จักกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย หน้าที่ และความรับผิดชอบตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งการปลูกฝังนิสัยดังกล่าวตั้งแต่วัยเด็กจะยากลำบากบ้างในช่วงแรก แต่ผลที่ได้จะคุ้มค่ามากเมื่อเขาโตขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ปลายดินสอ

Posted by malinee on Monday Aug 29, 2016 Under เกร็ดความรู้

Pencil and pencil shavings studio isolated on white background

Pencil and pencil shavings studio isolated on white background

นานมาแล้วที่การเรียนในโรงเรียนของหลายๆ โรงเรียน หรือแม้แต่การสอบคัดเลือกก็ตามจะมีการแบ่งห้องเรียนของเด็กตามศักยภาพที่แสดงเป็นผลของการเรียน แต่ก็ยังมีหลายๆ โรงเรียนที่คละเด็ก ไม่ได้แบ่งตามผลการเรียน หลายๆ คนอาจมองว่าการคละเด็กที่มีการเรียนที่ต่างกันจะทำให้การเรียนในห้องจะต้องรอเด็กที่เรียนรู้ช้ากว่า และจะทำให้ครูผู้สอนมีความยากลำบากในการสอนมากขึ้น

แต่หลายๆ คนอาจคิดว่าการแบ่งเด็กตามศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็กจะทำให้ง่ายต่อครูผู้สอน เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนอย่างเต็มที่ เด็กจะแข่งกันเรียน

คราวนี้เรามามองถึงการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในห้องกิฟเต็ท (gifted) ของโรงเรียนต่างๆ เด็กหลายๆ คนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนอาจต้องมีการเรียน การติวอย่างหนัก จนได้รับคัดเลือกเข้าเรียน (เด็กที่อยู่ในกลุ่มท้ายๆ ของการคัดเลือก) การเตรียมตัวอย่างหนักก่อนสอบ เป็นการฝึกฝนการทำข้อสอบ เสมือนกับการเหลาดินสอของตนเองให้แหลมขึ้นๆ เรื่อยๆ จนเทียบเท่ากับของคนอื่นๆ แต่เมื่อเข้าเรียนแล้ว การเรียนในกลุ่มก็จะต้องมีการฝึกฝนตลอดเวลา หากเด็กที่อยู่ในกลุ่มท้ายของห้อง การเรียนจะต้องใช้การฝึกฝนมากกว่าเพื่อนในชั้นเดียวกัน เปรียบเหมือนดินสอแท่งที่ผ่านการเหลาแล้วเหลาอีก จนเหลือปลายดินสอที่สั้นจนไม่สามารถเหลาได้อีก เมื่อเทียบกับเพื่อนในห้องที่ปลายดินสอยังยาวอยู่ ก็อาจส่งผลต่อทรรศนคติในด้านลบของเขา ซึ่งมีผลเสียมากกว่าการที่เด็กที่มีการเรียนรู้ในเกณฑ์ดี แต่ไม่ได้ถูกคัดเลือกให้อยู่ในห้องที่ดีมาก ผลการเรียนอาจอยู่ในเกณฑ์ดีมากในห้องดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลดีต่อทรรศนคติในเรื่องของการเรียนมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับว่าห้องที่รองลงมา ต้องไม่ใช่ห้องที่เกเร ไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะกับการเรียนรู้ด้วย

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

บททดสอบบทแรก

Posted by malinee on Sunday Apr 3, 2016 Under เกร็ดความรู้
เมื่อวาน…คงเป็นวันที่เด็กๆหลายคนดีใจและเด็กอีกหลายคนเสียใจ เพราะเป็นวันประกาศผลสอบเข้าเรียนต่อม.1ของทุกๆโรงเรียน..ครูขอแสดงความยินดีกับเด็กๆ ที่สอบได้ในรร.เรียนที่เลือก ที่ตั้งใจเอาไว้ …เก่งมากๆ..ที่สามารถฝ่าฟันผู้ลงสนามสอบเป็น1000คนเข้าไปเรียนได้สำเร็จ..แต่อีกมุมนึงครูอยากบอกว่า…การสอบเข้าไปได้มันเป็นแค่จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น เปลี่ยนแปลงสังคมใหม่ๆ สภาพแวดล้อมใหม่ๆ และเนื้อหาที่ยากขึ้นตามลำดับของการเรียน ทั้งหมดคือการเปลี่ยนแปลงที่เด็กๆต้องเจอกับมัน โดยเฉพาะเนื้อหาของการเรียนที่เข้มข้นขึ้น ต้องการการตั้งใจเรียนที่มากขึ้น ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญมาก..
….ส่วนคนที่พลาดหวัง..ไม่ได้เรียนในรร.ที่ตั้งใจไว้ ครูอยากบอกว่า..การเสียใจเป็นเรื่องปกติของการพลาดในสิ่งที่เราหวังเอาไว้..เสียใจได้แต่อย่าท้อ…เพราะยังมีอีกหลายรร. ที่ดีและพร้อมรองรับพวกหนูเข้าไปเรียนกัน การที่เราพลาดไม่ได้แปลว่าเราไม่เก่งสู้คนอื่นไม่ได้ บางคนพูดว่า..หนูโง่..อย่าว่าตัวเองอย่างนั้น..เพียงแต่..เรายังเตรียมตัวมาไม่มากพอ คนที่เตรียมตัวมาได้ดีกว่าย่อมได้เปรียบเรามากว่าจำความผิดพลาดนี้ไว้เป็นบทเรียนและปรับปรุงมันให้ดีขึ้น..
……………..เชื่อครูเถอะว่า….เรียนรร.ไหนก็เหมือนกัน ต่อให้สอบเข้าไปเรียนในรร.ที่เป็นอันดับต้นๆของประเทศแต่..หนังสือไม่อ่าน การบ้านไม่ทำ แบบฝึกหัดไม่ทบทวน วันๆเล่นแต่ ipad
เล่นแต่มือถือ เล่นแต่เกม ก็สอบตกได้เหมือนกัน..
………………แต่ถ้าหากเรียนในรร.ธรรมดา ไม่ได้มีชื่อเสียงเหมือนที่อื่นๆ แต่ตั้งใจเรียน หมั้นฝึกฝน ทบทวนเนื้อหา เตรียมความพร้อมเยอะๆ เกรด4 ไม่หนีไปไหน ไม่น้อยหน้าคนอื่นแน่นนอน....สถามบันคิดสแควร์ทุกคนพร้อมเป็นกำลังใจให้กับเด็กทุกคน..สู้กันต่อไปนะค่ะ..แล้วพบกันใหม่..บ้ายบาย

12512654_871649192963269_2922076687200383852_n

Tags : , , , , , , | add comments