จากที่มีการเปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) มีนโยบายปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรับฌครงสร้างเวลาเรียน โดยการปรับลดเวลาในการเรียนวิชาการให้น้อยลง ในขณะที่เพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนให้มากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่นี้ จะมีการปรับโครงสร้างทุกระดับชั้นต้งแต่ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมต้น และ มัธยมปลาย

นอกจากการปรับลดจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาการลงแล้ว จะมีการปรับสัดส่วนการเรียนวิชาต่างๆ ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นด้วย จากเดิมที่ให้สัดส่วนเวลาเรียนทุกวิชาเท่าๆ กัน ก็จะเปลี่ยนมามีจุดเน้นให้ตรวตามวัย โดยระดับประถมต้นโดยเฉพาะ ป.1-2 จะเน้นการเรียนรู้ทักษะด้านภาษาเป็นหลัก จนถึงระดับประถมปลายจึงจะเพิ่มเติมทักษะด้านการคิดคำนวณ ส่วนระดับมัธยมต้นจะเพิ่มเติมทักษะในการแสวงหาความรู้ให้กับเด็ก และมัธยมปลายจะเน้นให้เด็กนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้

ในการปรับโครงสร้างการเรียนดังกล่าว น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เมื่อมีการศึกษาหรือการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดลองใช้หลักสูตรในโรงเรียนต้นแบบเพียงบางโรงเรียนก่อน  เพื่อให้ครูมีการเตรียมความพร้อมของตนเองในการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน เนื่องจากการเรียนการสอนนอกห้องเรียนนั้นยากต่อการประเมินว่านักเรียนจะได้เรียนรู้สิงต่าง ๆ ตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน  อีกทั้งครูผู้สอนยังเป็นปัจจัยหลักที่มมีผลต่อการเรียนการสอน หากครูผู้สอนไม่มีเป้าหมายหรือไม่มีการเตรียมการเรียนการสอน หรือไม่ได้รับการฝึกอบรมการสอนในแบบของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน นั่นหมายถึงเวลาที่เด็กจะเสียโอกาสในการเรียนวิชาการในแต่ละครั้ง

ส่วนเรื่องสัดส่วนของวิชาการที่ถูกเน้นในแต่ละช่วงชั้นที่แตกต่างกันนั้น  เมื่อเด็กขึ้นมาถึงช่วงชั้นที่มีการเน้นสัดส่วนที่เปลี่ยนไป อาจทำให้เด็กนักเรียนเกิดความไม่ต่อเนื่องในการเรียน ทำให้การเรียน แทนที่จะมีการเรียนอย่างต่อเนื่องก็ต้องมาย้ำเนื้อหาที่น่าจะทำได้ดีแล้วในช่วงชั้นก่อน ๆ หรือทักษะบางทักษะที่จะต้องมีการสะสมประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาทักษะดังกล่าว ก็อาจทำให้เด็กขาดความรู้ความชำนาญในทักษะนั้น ๆ เพียงเพราะไม่ได้ถูกฝึกมา หรือการเรียนขาดช่วงไป

ในการคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ ในเรื่องของศึกษาน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หากเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการศึกษา จากโรงเรียนต้นแบบอย่างจริงจัง ไม่ใข่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเขาใช้แบบนี้ โดยไม่ได้ศึกษาจากธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กไทยเป็นตัวตั้ง

Tags : , , , , , , , , , | add comments

ในยุคก่อน ๆ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่คุณปู่ คุณย่าของเด็กในยุคปัจจุบัน หลายคนคงเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า คนในรุ่นนั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่าใดนัก แต่เขาเหล่านั้นก็มีอยู่หลายครอบครัวที่สามารถก่ร่างสร้างตัวจนมีฐานะร่ำรวยในรุ่นต่อมา
กลับกันในยุคปัจจุบัน เด็กไทยทุกคนจะต้องเข้าโรงเรียนเพื่อให้ผ่านการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แม้กระทั่งชุดนักเรียนยังได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะทำให้แนวโน้มของความเสมอภาคกันทางด้านการศึกษา และน่าจะรวมไปถึงความเป็นอยู่ในสังคม แต่ความจริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ เมื่อภาครัฐกำหนดนโยบายให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครูกับจำนวนนักเรียนไม่สอดคล้องกัน (จำนวนเด็กมากเกินกว่าที่ครูจะสามารถเข้าถึงเด็กทุกคน) ประกอยกับความพร้อมของเด็กแต่ละคน ร่วมกับปัจจัยหลักนั่นคือ ความเอาใจใส่ ดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้เด็กบางส่วน หรืออาจจะเป็นส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในเนื้อหา หรือบทเรียนในแต่ละเรื่อง หากจะให้พ่อแม่ช่วยอธิบาย พวกท่านก็ไม่มีเวลา หรือพ่อแม่บางกลุ่มก็จะปฏิเสธที่จะสอนลูก เพียงเพราะว่าตนเองมีพื้นฐานทางวิชาการไม่ดี ครั้นจะไปถามครู ครูก็ดูน่ากลัวเกินกว่าที่จะเข้าใกล้ประชิดตัว
ปัญหาในกลุ่มเด็กดังกล่าวมักเกิดกับคนในสังคมที่มีฐานะค่อนข้างขัดสน ส่วยในกลุ่มที่อยู่ในฐานะปานกลาง ก็พร้อมที่จะส่งลูกเข้าสู่ระบบโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งเป็นสิ่งที่ง่ายกว่าที่ตนเองจะพยายามทำความเข้าใจในความรู้พื้นฐานที่ตนเองได้ผ่านมาแล้ว จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ช่องว่างที่เกิดขึ้นในสังคมจะถ่างออกไปเรื่อย ๆ โอกาสทางสังคมที่ทางรัฐได้หยิบยื่นให้ก็เปรียบเสมือนอากาศที่ลองลอยไปโดยไม่มีใครใส่ใจ และมองเห็นมันอย่างไร้ค่า เช่นเดียวกับเด็กและพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้ตระหนักว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นรากฐานให้ตนเอง เพื่อความมั่นคงของตนเองและครอบครัวต่อไปในอนาคต

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

จากเดลินิวส์ออนไลน์
วันพุธ ที่ 02 มีนาคม 2554
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า จากผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 2 พ.ศ. 2549-2553 ปรากฏว่ามีสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง และไม่ส่งแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อขอประเมินซ้ำให้แก่สมศ. ตามกำหนดเวลา 30 วันหลังรับทราบผลการประเมิน ทั้งสิ้น 6,994 แห่ง แบ่งเป็น สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน 6,917 แห่ง จากจำนวนสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง 7,900 แห่ง ระดับอาชีวศึกษา 77 แห่ง จากจำนวนสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง 87 แห่ง ส่วนระดับอุดมศึกษาที่มีสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง 25 แห่งนั้นได้ส่งแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อขอประเมินซ้ำมาครบทุกแห่งแล้ว ทั้งนี้ สมศ.ได้ทำการตัดยอดสถานศึกษาที่ไม่ได้ส่งแผนดังกล่าวออก และส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต้นสังกัดแล้ว หลังจากนี้ สมศ.จะเร่งออกทำการประเมินซ้ำให้แก่สถานศึกษา จำนวน 1,118 แห่ง ที่ส่งแผนขอประเมินซ้ำทันเวลา และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.นี้ ก่อนมีการประเมินภายนอกในรอบ 3 ต่อไป

“ในส่วนของสถานศึกษา จำนวน 6,994 แห่ง ที่ไม่ผ่านการรับรอง และไม่ส่งแผนพัฒนาฯมานั้น ก็ขึ้นอยู่กับต้นสังกัดว่าจะดำเนินการอย่างไรกับสถานศึกษาเหล่านั้น เพราะสมศ.ไม่มีอำนาจในการกำหนดบทลงโทษ ส่วนสาเหตุที่สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ส่งแผนฯนั้น บางแห่งแจ้งว่าเป็นเพราะขาดงบประมาณอุดหนุนในการประเมินซ้ำ เนื่องจากรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเฉพาะงบฯในการประเมินปกติเท่านั้น ซึ่ง สมศ.จะเก็บข้อมูลและเหตุผลในการไม่ยื่นแผนฯเพื่อขอประเมินซ้ำต่อไป” ผอ.สมศ.กล่าว.

Tags : , , | add comments