เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นอาทิตย์ของการสอบ O-Net ของนักเรียนชั้น ป.6 และ ม.3 ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจยังมีความไม่เข้าใจอยู่บ้าง  เรามาดูว่าการสอบ O-Net เป็นการสอบเพื่ออะไร และส่งผลอย่างไรกับใครบ้าง

ก่อนอื่นเรามารู้จักคำว่า O-Net กันก่อน ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก  Ordinary National Educational Test  ซึ่งเป็นข้อสอบกลางที่ออกมาจาก สทศ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ) โดยจะมีการสอบ 8 กลุ่มสาระ ผลการสอบเพื่อวัดสัมฤทธิผลของการเรียนการสอนของโรงเรียนเป็นหลัก โดยคะแนนของเด็กแต่ละคนจะมีการเปรียบเทียบกับโรงเรียนของตนเอง โรงเรียนในเขตพื้นที่ เทียบขนาดของโรงเรียน เทียบคะแนนระดับจังหวัด  และภูมิภาค หลักๆ แล้วการจัดการสอบเพื่อจุดประสงค์หลักเพื่อการวัดมาตรฐานการเรียนการสอนของโรงเรียนมากกว่า ดังนั้นหลายๆ โรงเรียนจึงมีการเรียนเพิ่มโดยมีติวเตอร์จากสถาบันที่มีชื่อเสียงมาสอนให้กับนักเรียน เพื่อให้โรงเรียนจัดอยู่อันดับต้นๆ ของประเทศ  ส่วนหลายๆ โรงเรียนผลของการสอบประเมินที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ก็ไม่เห็นได้รับการแก้ไข หรือกระตุ้นจากภาครัฐเพื่อให้เด็กมีคุณภาพของการเรียนการสอนมากขึ้น หากผลของการสอบไม่ได้มีผลกับทั้งตัวนักเรียน เนื่องจากการสอบคัดเลือกนั้น การสมัครสอบอยู่ในช่วงเวลาที่ผลสอบยังไม่ออก และการสอบคัดเลือกของโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงนั้น ระดับความซับซ้อนของการสอบในวิชาหลักจะมีความยากกว่าการสอบ O-Net อย่างมาก เด็กในกลุ่มดังกล่าวที่ต้องการสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงนั้น จะมีระดับคะแนน O-Net ที่สูงมากใกล้เคียงกันหมด  จึงไม่สามารถนำข้อสอบกลางชุดดังกล่าวมาเป็นตัวชี้วัดได้เลย นอกจากนี้แล้วทางฝ่ายทะเบียนก็ยุ่งยากเกินกว่าที่จะนำคะแนนมามีส่วนในการคัดเด็กด้วย

ดังนั้นหากการสอบระดับชาตินี้ ไม่ได้สะท้อนปัญหาของการเรียนการสอนในโรงเรียน  ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดให้กับภาครัฐว่าโรงเรียนบางโรงจำเป็นต้องมีบุคลากรครูที่ต้องมีการอบรมเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม ก็หยุดใช้งบประมาณส่วนนี้ ที่ให้ผู้บริหารกระทรวงเดินทางต่างประเทศเพื่อดูงานการศึกษาในหลายๆ ประเทศอย่างไร้ประโยชน์ พร้อมกับ งบประมาณที่ใช้ในการจัดสอบ มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์ด้านการศึกษาในเรื่องอื่น เช่นการซื้ออุปกรณ์ในห้องทดลอง หรือสื่อการเรียนการสอนที่มีประโยชน์กับการเรียน ยังดีกว่าการทุ่มงบประมาณไปกับข้อสอบระดับชั้นละ 8 ฉบับกับผลที่เป็นเพียงกระดาษ 2 แผ่น ที่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพการเรียนการสอนจากทางโรงเรียนอย่างแท้จริง

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

cliparti1_outdoor-clipart_08จากข่าวเรื่องของการลดเวลาเรียนให้น้อยลง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณาปรับลดชั่วโมงเรียนบางวิชาให้น้อยลง เพื่อให้เด็กได้มีการผ่อนคลาย ไม่เครียดในการเรียนมากเกินไป หรือต้องหอบการบ้านไปทำต่อที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีเวลาที่จะอยู่กับพ่อแม่มากขึ้น

จากข่าวดังกล่าว ครูขอแชร์ความคิดเห็นกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัว หากใครต้องการแสดงความคิดเห็น ร่วมกันแชร์ได้นะคะ ใจความของข่าวกล่าวว่าจะมีการน่ำร่องกับโรงเรียนในสังกัด สพฐ ประมาณ 10% เริ่มดำเนินการได้ในเทอม 2 ของปีการศึกษา 2558 นี้ ซึ่งเป็นการส่งนโยบายสู่โรงเรียน โดยยังไม่ชี้ชัดว่าจะปรับลดชั่วโมงเรียนในวิชาใด และจะจัดกิจกรรมประเภทใด การวางนโยบายดังกล่าวโดยไม่มีกรอบหรือแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน โดยให้เริ่มปฏิบัติทันทีในเทอมหน้า การทำกิจกรรมก็ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเพียงผ่ายเดียว หากครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมให้สอดรับกับบทเรียนในห้องเรียนที่ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กๆก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกันหากกิจกรรมที่จัดขึ้นไม่ได้รับความสนใจ หรือไม่มีการจัดกิจกรรมใดๆเลย การลดเวลาเรียน ให้เด็กมีเวลาว่างมากขึ้น อาจเป็นการผลักให้เด็กไปอยู่กับสิ่งที่เขาชอบ เช่น เกมส์ สังคมออนไลน์ มากขึ้น ซึ่งหลายๆคนก็ทราบถึงพิษภัยและน่าจะทราบว่าเป็นเรื่องยากที่จะดึงบุตรหลานออกจากเกมส์หรือ สังคมออนไลน์ดังกล่าว แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของครู ซึ่งอยากแชร์และขอความคิดเห็นของพ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆท่านด้วยนะคะ

ครูจา

 

 

Tags : , , , , , , , , , | add comments

จากค่าเฉลี่ยของการสอบ O-Net ของโรงเรียนแต่ละโรง โดยรวมแล้วเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยในวิชาหลักไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 50) โดยส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 22 – 30% เท่านั้น ซึ่งเป็นผลการประเมินที่น่าตกใจเมื่อเทียบกับการร่ำเรียน ศึกษามาตลอด 1 ปีการศึกษา ที่น่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นเพราะเรากำลังจะเปิด AEC ในปี 2558 ซึ่งเมื่อดูจากผลการสอบแล้ว เด็กไทยมีอาการเข้าขั้นวิกฤติเมื่อต้องแข่งขันกันในระดับอาเซียน ไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันระดับโลกกันแล้ว หากการเรียนการศึกษาของลูกหลานเรายังคงมีผลประเมินในแนวทางนี้ เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการเลี้ยงดูลูกหลานให้มีความรู้ที่ไม่ใช่ในแนวท่องจำเพียงอย่างเดียวแล้ว เราต้องฝึกให้เด็กได้มีการคิดวิเคราะห์ และการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้นแล้ว ไม่ใช่การอ่านและท่องจำเพื่อให้ได้คะแนนสอบในโรงเรียนเท่านั้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments