imagesAOG1JC17                        เมื่อพูดถึงคำว่า เวลา เราจะไม่รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่มีค่าอะไรนัก จนกว่าจะมีการขีดเส้นจำกัดเวลาของกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่ง เมื่อนั้นเราถึงจะรู้คุณค่าของมัน ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ เช่นการทำข้อสอบ หากเราใช้เวลาในการทำข้อสอบในช่วงแรกนานจนเกินไป เราอาจถูกเก็บข้อสอบก่อนที่เราจะทำเสร็จ เช่นเดียวกัน เวลาที่เป็นวัยทองของเด็กก็มีจำกัดเช่นกัน วัยทองหมายถึงวัยของการเรียนรู้ ที่ผู้ใหญ่สามารถป้อนข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา หรือ การเรียนรู้ เราจะมีเวลาตั้งแต่ทารก จนถึง 10 ปีเท่านั้น เนื่องจากวัยดังกล่าวนั้น เป็นช่วงที่สมองยังมีการเชื่อมต่อปลายประสาท ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเรียนรู้ การรับรู้ และความฉลาดของเด็กเมื่อโตขึ้น

                        นอกจากในเรื่องของการเจริญเติบโตของสมองแล้ว เราจะกล่าวถึงเวลาในแง่ของการฝึกทักษะของคนโดยทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น การหัดขับรถของผู้ใหญ่ ก่อนที่จะขับขี่บนท้องถนนได้ ก็จะต้องเข้าใจอุปกรณ์ในรถยนต์ให้ครบทุกชิ้นก่อน แล้วจึงหัดเข้าเกียร์ และลงถนน พร้อมกับการเรียนรู้กฎจราจร นอกจากนี้การฝึกขับรถให้ชำนาญ สามารถแซง หรือการขับรถบนภูเขา ซึ่งต้องใช้ความชำนาญทั้งพื้นที่และการขับรถที่ต้องใช้ประสบการณ์ที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนของเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเรียนเสริมในใด ๆ  เช่น การเรียนดนตรี ศิลปะ หรือแม้กระทั่งวิชาการต่าง ๆ หากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้ เรียนรู้ และฝึกประสบการณ์ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะให้คล่องแคล่ว พร้อมกับการสั่งสมประสบการณ์เพื่อให้สามารถพลิกแพลงเมื่อพบกับปัญหาที่แตกต่างจากเดิม  

                        หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่มีความอดทน รอคอยให้เด็ก ๆ ได้สะสมประสบการณ์ จะทำให้ขาดความชำนาญ ไม่ว่าจะให้เด็กฝึกทักษะใด ๆ หากไม่มีประสบการณ์ที่มากพอแล้วหยุดการฝึกประสบการณ์ จะทำให้สิ่งที่สะสมมา ก็จะไม่เกิดประโยชน์ เมื่อเทียบกับเวลา(ในวัยทอง)ที่เสียไป

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments