ปลายดินสอ

Posted by malinee on Monday Aug 29, 2016 Under เกร็ดความรู้
Pencil and pencil shavings studio isolated on white background

Pencil and pencil shavings studio isolated on white background

นานมาแล้วที่การเรียนในโรงเรียนของหลายๆ โรงเรียน หรือแม้แต่การสอบคัดเลือกก็ตามจะมีการแบ่งห้องเรียนของเด็กตามศักยภาพที่แสดงเป็นผลของการเรียน แต่ก็ยังมีหลายๆ โรงเรียนที่คละเด็ก ไม่ได้แบ่งตามผลการเรียน หลายๆ คนอาจมองว่าการคละเด็กที่มีการเรียนที่ต่างกันจะทำให้การเรียนในห้องจะต้องรอเด็กที่เรียนรู้ช้ากว่า และจะทำให้ครูผู้สอนมีความยากลำบากในการสอนมากขึ้น

แต่หลายๆ คนอาจคิดว่าการแบ่งเด็กตามศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็กจะทำให้ง่ายต่อครูผู้สอน เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนอย่างเต็มที่ เด็กจะแข่งกันเรียน

คราวนี้เรามามองถึงการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในห้องกิฟเต็ท (gifted) ของโรงเรียนต่างๆ เด็กหลายๆ คนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนอาจต้องมีการเรียน การติวอย่างหนัก จนได้รับคัดเลือกเข้าเรียน (เด็กที่อยู่ในกลุ่มท้ายๆ ของการคัดเลือก) การเตรียมตัวอย่างหนักก่อนสอบ เป็นการฝึกฝนการทำข้อสอบ เสมือนกับการเหลาดินสอของตนเองให้แหลมขึ้นๆ เรื่อยๆ จนเทียบเท่ากับของคนอื่นๆ แต่เมื่อเข้าเรียนแล้ว การเรียนในกลุ่มก็จะต้องมีการฝึกฝนตลอดเวลา หากเด็กที่อยู่ในกลุ่มท้ายของห้อง การเรียนจะต้องใช้การฝึกฝนมากกว่าเพื่อนในชั้นเดียวกัน เปรียบเหมือนดินสอแท่งที่ผ่านการเหลาแล้วเหลาอีก จนเหลือปลายดินสอที่สั้นจนไม่สามารถเหลาได้อีก เมื่อเทียบกับเพื่อนในห้องที่ปลายดินสอยังยาวอยู่ ก็อาจส่งผลต่อทรรศนคติในด้านลบของเขา ซึ่งมีผลเสียมากกว่าการที่เด็กที่มีการเรียนรู้ในเกณฑ์ดี แต่ไม่ได้ถูกคัดเลือกให้อยู่ในห้องที่ดีมาก ผลการเรียนอาจอยู่ในเกณฑ์ดีมากในห้องดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลดีต่อทรรศนคติในเรื่องของการเรียนมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับว่าห้องที่รองลงมา ต้องไม่ใช่ห้องที่เกเร ไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะกับการเรียนรู้ด้วย

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

may_3            ในช่วงนี้เรามีข่าวดีของชาวไทยนั่นคือ น้อยเมย์ รัชนก อินทนนท์ ครองตำแหน่งนักแบตมินตันหญิงเดี่ยวอันดับ 1 ของโลกไปแล้ว ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไทยกันทั่วหน้า

นอกจากความภาคภูมิใจในตัวสาวน้อยมหัศจรรย์คนนี้แล้ว ยังมีข้อคิดดีๆ หรือเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่เราควรนำมาปรับใช้นั่นคือข้อมูลจาก โค้ชเซี๊ยะ จือหัว ซึ่งเป็นชาวจีน และฝึกสอนอยู่ที่โรงเรียนบ้านทองหยอดมากว่า 20 ปี เผยว่า กว่าน้องเมย์ จะมาถึงวันนี้ได้ไม่ใช่แค่เรื่องพรสวรรค์ แต่เป็นพรแสวง ด้วยการฝึกฝนอย่างหนัก โดยเธอต้องใช้ชีวิตฝึกซ้อมแบดอยู่ที่โรงยิมตลอด 365 วัน ไม่มีวันหยุด!โดยซ้อมหนักสุดวันละ 7 ชั่วโมงและน้อยสุดวันละ 3 ชั่วโมง ควบคู่ไปกับการเรียนหนังสือ เธอทำเช่นนี้ทุกวันๆ นับตั้งแต่อายุ 6 ปี

จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่า ความสำเร็จของใครก็ตาม มักมีเบื้องหลังที่แลกมาด้วยความเพียรพยายาม การฝึกฝน อย่างจริงจัง เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในวิชาใดๆ ในช่วงแรกของการเรียนรู้ ไม่มีใครรู้ว่าตนเองมีพรสวรรค์ด้านไหน แต่คนที่มีพรสวรรค์ทางด้านไหน มักชอบทำในสิ่งนั้นเป็นประจำ เช่นเด็กที่มีพรสวรรค์ทางคณิตศาสตร์มักชอบแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งถือเป็นการฝึกฝนที่มากกว่าทำให้เกิดทักษะและความชำนาญที่มากกว่า การฝึกทักษะในโจทย์ที่หลากหลายจะทำให้เกิดวิธีคิด วิเคราะห์ที่หลากหลายมากขึ้นตามประสบการณ์ที่ได้จากการแก้ไขปัญหา แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่ไม่มีพรสวรรค์ทางคณิตศาสตร์จะต้องเรียนคณิตศาสตร์แย่ทุกคน แต่เด็กจะต้องใช้พรแสวง ที่ต้องเก็บเกี่ยวทีละเล็กทีละน้อย อย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ได้เช่นกัน

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

I love Math Clip Art            ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับการเรียนจินตคณิตก่อน การเรียนจินตคณิตเป็นการเรียนที่พัฒนาสมองผ่านการบวกลบคูณหารทางคณิตศาสตร์ โดยการใช้ลูกคิดเป็นสื่อก่อนในช่วงแรก หลังจากที่มีการฝึกฝนจนในที่สุดสามารถถอดลูกคิดออก และคิดคำนวณได้ด้วยการคิดเป็นภาพได้จากสมองซีกขวา

หลังจากทราบแล้วการเรียนจินตคณิตเป็นการเรียนเพื่อพัฒนาสมอง แต่กว่าที่จะสามารถคิดคำนวณเป็นภาพ จะต้องผ่านการฝึกฝนอย่างมีวินัยอย่างต่อเนื่อง หากเปรียบเทียบกันระหว่างเด็ก 2 คน ที่มีหัวปานกลางแต่มีวินัยด้านการฝึกฝน กับเด็กเก่งๆ ที่ไม่ค่อยได้รับการฝึกฝน เด็กที่ได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะสามารถพัฒนาตนเองไปในแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมา คือเด็กจะมีความมั่นใจในเรื่องจำนวน มีสมาธิและความแม่นยำในการคิดคำนวณ ในแต่ละข้อ หลังจากที่มีความมั่นใจ ร่วมกับความแม่นยำในการคำนวณ ก็ทำให้ทัศนคติทางคณิตศาสตร์เป็นบวกแล้ว ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการเรียนคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานที่ดีในการเรียน เมื่อเขาโตขึ้นการเรียนคณิตศาสตร์ที่จะมีเรื่องของการแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆ ก็ไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนมาเกี่ยวข้องอีก ถือว่าเป็นทางเลือกในการปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งให้กับบุตรหลานด้วย

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

20175387-a-vector-illustration-of-kids-studying-math-in-classroom-with-teacher            เคยมีผู้ปกครองหลายๆ คนถามว่า เด็กที่เรียนเก่งอยู่แล้ว ทำไมยังต้องเรียนเสริมอีก  และบางทีอาจเป็นคำถามจากตัวเด็กเอง คำอธิบายมีอยู่ว่า การเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์นั้น ในแต่ละช่วงชั้น หรือแม้กระทั่งในแต่ละปีระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น จะสอดคล้องกับระดับของความยาก ความซับซ้อนของการแก้ไขปัญหาโจทย์ก็จะมากขึ้นตามลำดับ ในการเรียนคณิตศาสตร์นั้น สิ่งที่จำเป็นในการเรียน เบื้องต้นคือความเข้าใจ สิ่งต่อมาที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือทักษะ นั่นหมายความว่าเด็กจะต้องมีความเข้าใจในการเรียน และมีการฝึกทักษะโดยการทำแบบฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอ จากโจทย์ปัญหาที่ผ่านการฝึกฝนโจทย์ปัญหาก็จะกลายเป็นแบบฝึกหัดธรรมดาในที่สุด การฝึกทักษะไม่จำเป็นต้องส่งบุตรหลานเรียนเสริมก็ได้ หากที่บ้านสามารถฝึกฝนให้เด็กมีการฝึกทักษะได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ แต่ในความเป็นจริงของยุคปัจจุบัน พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถฝึกทักษะต่างๆ ด้วยตนเองได้ การส่งบุตรหลานไปเรียน เป็นทั้งการฝึกทักษะเดิมให้มีความชำนาญมากขึ้น และนอกจากนี้แล้วยังเป็นการเรียนรู้เนื้อหาที่ลึกซึ้งมากขึ้น หรืออาจเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วย

นอกจากนี้การเรียนเพื่อเพิ่มทักษะ และความเข้าใจแล้ว ยังเป็นการเตรียมตัวให้เด็ก ซึ่งต้องมีวันใดวันหนึ่งที่เขาจะต้องเข้าสู่สนามสอบแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการคัดเด็กเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือในที่สุดก็เป็นสนามสอบเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

W020130718633296446895           ช่วงนี้เป็นฤดูกาลสอบปลายภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา 2557 หลังจากจบการเรียนในภาคต้น ก็จะเข้าสู่ช่วงของการปิดภาคเรียนเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน คราวนี้ก็ถึงคราวที่คุณพ่อคุณแม่ ต้องเสาะหากิจกรรมหรือการเรียนเสริมให้กับบุตรหลาน การเริ่มกิจกรรมในช่วงปิดภาคเรียนถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีให้กับบุตรหลาน เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆหรือเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานในการเรียนต่อในภาคเรียนที่ 2 ต่อไป

เช่นเดียวกับกิจกรรมต่างๆ จินตคณิตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสนใจเรียนเสริมในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายอันดีในการเริ่มต้น แต่หลายๆ ครอบครัวคิดว่าการเรียนเสริมในช่วงสั้นๆ จะทำให้เด็กๆ มีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดและสามารถต่อยอดกับการเรียนในโรงเรียนได้ โดยใช้เวลาแค่ช่วงปิดภาคเรียนเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง การเรียนหรือการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ต้องให้เวลา มีการเรียนอย่างต่อเนื่องและมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจึงจะเห็นผลอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกเรียนจินตคณิตในช่วงเวลาสั้นๆ เฉพาะปิดภาคเรียนนั้น ผลสัมฤทธิ์จะยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าใดนัก ดังนั้นการหากิจกรรมเสริมในช่วงปิดภาคเรียนควรเป็นการเริ่มปูพื้นฐานและเร่งเนื้อหาในช่วงปิดภาคเรียน และ ต่อยอดไปจนถึงช่วงเปิดภาคเรียนต่อไป

ครูจา

Tags : , , , , , , | add comments

imageจากบทความเมื่อครั้งที่แล้ว ก็มีคำถามมากมายเกี่ยวกับอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ขอเรียกง่ายๆ ว่า เซ้นส์ทางคณิตศาสตร์ มักมีคำถามมากมายตามมาว่า เราจะสังเกตบุตรหลานได้อย่างไรว่าเป็นเด็กมีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์หรือไม่ วิธีที่ง่ายๆ คือ การสังเกตความสนใจในการเรียนก่อนเป็นอันดับแรก ว่าหากมีโอกาสเขาจะเลือกเรียนอะไรก่อน ซึ่งเซ้นส์นั้นจะทำให้เขามีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ดี มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบกว่า เด็กในวัยเดียวกัน คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้หลักการ การคิดเป็นระบบ มาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา แต่การแก้ไขปัญหา ไม่จำเป็นที่จะต้องคิดเหมือนๆ กัน เด็กที่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์ 2 คน อาจคิดโจทย์ปัญหาที่ต่างกัน แต่ให้คำตอบเดียวกันได้ เนื่องจากมุมมองที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างโจทย์การแข่งขันแนวคิดและการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป. 3-4 เช่น

น้ำยาล้างจานขวดหนึ่งหนัก 250 กรัม เมื่อใช้ไป 1 ใน 4 ของขวด ปรากฏว่าหนัก 195 กรัม อยากทราบว่าขวดเปล่าหนักกี่กรัม

ตัวอย่างดังกล่าว เด็กที่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ มีการใช้ความรู้พื้นฐานทั้งในเรื่องของเศษส่วน และโจทย์ระคนมาใช้ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรม จึงสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก  แต่การที่เด็กจะมีอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่ว่าจะพบกันได้ทุกคน  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กที่ไม่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์จะไม่สามารถแก้ปัญหา หรือต้องเรียนคณิตศาสตร์อ่อนเสมอ เขาเหล่านั้นสามารถแก้ไขปัญหา หรือเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีเช่นกัน เพียงแต่ต้องมีการจัดระบบระเบียบการคิดวิเคราะห์ให้ดี และมีการฝึกฝนวิธีการคิดให้เป็นระบบ หรืออาจมีการสอนให้เด็กตีความจากประโยคบอกเล่า

ให้เป็นรูปธรรม และสิ่งที่ต้องมีอย่างเคร่งครัดคือ วินัยในการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เขามีความมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีกับการเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

clip_art_girl

ในการเรียนไม่ว่าจะอยู่ในระดับชั้นใด วิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นมีการทดสอบอัจฉริยภาพกันตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึง 6 ขวบ หลังจากทดสอบอัจฉริยภาพกันแล้วก็จะมีการมุ่งเน้นในด้านของอัจฉริยภาพในตัวเด็กอย่างเต็มที่ ซึ่งอัจฉริยภาพที่ทดสอบก็มีหลายด้าน และอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ ด้านนั้น

การที่เด็กมีอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์นั้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสำคัญและมีการสนับสนุนก็จะทำให้การเรียนของเด็กมีผลสัมฤทธิ์ที่ดี แต่หากไม่ได้รับการสนับสนุน เขาก็จะเรียนได้ตามศักยภาพที่มีอัจฉริยภาพของตัวเขาอยู่ แต่อัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์นั้น ไม่ได้มีกันทุกคน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เด็กที่ไม่มีอัจฉริยภาพไม่สามารถเรียนรู้ได้ เพียงแต่เด็กที่ไม่มีอัจฉริยภาพ จำเป็นต้องมีครูฝึกที่ดี ร่วมกับการมีวินัยในการฝึกฝน ซึ่งครูฝึก ณ ที่นี้หมายถึง ครูผู้สอน เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจในเนื้อหา แล้วยังรวมไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่มีหน้าที่ในการฝึกซ้อมให้เด็กๆ ได้มีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้นได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “พรแสวงฝึกได้” หรือคำว่า “อัจฉริยสร้างได้” เพียงแต่การไม่มีอัจฉริยภาพนั้นทำให้เด็กต้องมีวินัยในการฝึกปรือมากกว่าเท่านั้นเอง

แต่ในทางกลับกันพ่อแม่ผู้ปกครองในยุคปัจจุบัน นอกจากจะไม่ส่งเสริมอัจฉริยภาพหรือการฝึกฝนให้กับเด็กๆ ยังทำให้ทุกอย่างดูแย่ลงด้วยการปล่อยปละละเลย ปล่อยให้เด็กขาดวินัย แม้แต่การทำการบ้านเลยทีเดียว แบบนี้ถึงตัวเด็กที่มีอัจฉริยภาพได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม อัจฉริยภาพไม่ว่าจะด้านใด ก็สามารถที่จะลดลงและหายไปในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

5326158-homework-frustration            ข่าวล่ามาแรงเรื่องการรับจ้างทำการบ้านผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากตามข่าวกันจริงๆ แล้ว การรับจ้างทำงานทั้งการบ้านและงานวิจัยต่างๆ มีมานานแล้ว และมีอยู่มากมายหลากหลายเจ้าให้เลือก แต่สิ่งที่น่าตกใจคือ อายุที่น้อยลงของการว่าจ้าง ตอนนี้ไม่ใช่การว่าจ้างในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว แต่เป็นการว่าจ้างในระดับเด็กประถม ถึงมัธยม

หากใครได้สัมผัสกับ เด็กๆ หรือเยาวชนในยุคปัจจุบันบ่อยๆ จะพอทราบว่ากระแสสังคมในยุคดิจิตอลนั้นค่อนข้างก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของความอดทน ความพยายามในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง นอกจากนี้เด็กในยุคปัจจุบันยังมีแนวโน้มของการเป็นสมาธิสั้น หรือขาดความสนใจในทุกๆ เรื่อง จนกลายเป็นเด็กเฉื่อยในที่สุด หลายๆ คนคงสงสัยว่ามันเกี่ยวกันอย่างไรกับเรื่องของการบ้านที่เป็นที่ฮือฮากันในปัจจุบัน ผลของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ทำให้ผู้คนเกิดความสะดวกสบาย จนไม่มีความอดทนพอที่จะรออะไรที่ต้องใช้เวลา เด็กๆ ก็จะซึมซับพฤติกรรมดังกล่าวจากสิ่งแวดล้อมที่เร่งรีบ จนกลายเป็นนิสัย จนอาจเกิดเป็นเด็กสมาธิสั้น ที่ไม่สามารถอยู่นิ่งๆ หรือมีสมาธิในการทำงานแต่ละชิ้น (ซึ่งเกิดเนื่องมาจากการเลี้ยงดู) หรือเด็กอีกกลุ่มที่พ่อแม่ ดูแลเอาใจใส่แบบเกินร้อย จนทำให้เด็กไม่มีความกระตือรือร้นในการทำอะไรเลย ทุกอย่างเดี๋ยวก็มีคนจัดการให้ เขาทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือ “รอ” ในที่สุดเด็กก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มีความพยายามในการเรียนรู้ หรือทำงานใดๆ เลย สาเหตุเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่ฝึกวินัยหรือความรับผิดชอบใดๆ เลย เขาก็จะไม่มีความรู้สึกเดือดร้อนกับการบ้านหรืองานที่ถูกมอบหมายมา แต่ผู้ที่จะกระวนกระวายคือตัวพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซึ่งจะต้องให้บุตรหลาน สะสมคะแนนเก็บจากงานต่างๆ จึงต้องหาทางออก โดยการทำให้ด้วยตนเอง หรือหากทำด้วยตนเองไม่ได้ ก็ต้องไปว่าจ้าง สุดท้ายสิ่งที่ตามมาคือ เด็กที่ไม่มีคุณภาพ (ที่มีปัจจัยหลักเกิดจากการเลี้ยงดูเป็นต้นเหตุ) แม้แต่สิ่งเดียวที่รับผิดชอบยังไม่สามารถทำให้ดีได้ ไม่ต้องพูดถึงอนาคตของเขาที่จะมาเป็นผู้ใหญ่ หรือ พ่อแม่ในรุ่นต่อไปเลย หากพ่อแม่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างวินัยให้กับบุตรหลาน ก็ต้องยอมรับกับผลที่ตามมา คือ เขาจะไม่สามารถรับผิดชอบอะไรเลยแม้แต่ตัวเขาเองไม่ว่าเขาจะอยู่วัยใดก็ตาม

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

5070402-head-silhouette-and-gears-mental-health-concept            ผู้ปกครองหลายๆคน ยังคงมีข้อสงสัยว่าจินตคณิตกับการคิดในใจเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สิ่งที่เหมือนกันของการคิดในใจกับจินตคณิตก็คือ ผลลัพธ์ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ วิธีการที่แตกต่ากัน มาดูการคิดในใจกันก่อน การคิดในใจคือการคิดคำนวณด้วยจำนวน โดยที่เด็กที่จะคิดในใจได้จะต้องมีทักษะ หรือครูชี้แนะวิธี เช่น 27 + 9  การ +9 ทำได้โดยการ  + 10 ก่อน แล้วค่อย -1 ซึ่ง 27 + 1สิบ (การบวก 1 ในหลักสิบ) ก็จะได้ 37 แล้วลดลง 1 (เนื่องจากบวกเกินไป 1) ก็จะได้ผลลัพธ์คือ 36  หรือการคิดในใจแบบการลบ ก็ทำได้เช่นกัน เช่น  22 – 8 การ -8 ทำได้โดยการ – 1 สิบ แล้ว +2 นั่นคือ 22 – 1สิบ จะได้ 12 แล้ว + 2 (การลบ 10 เป็นการลบเกินไป 2 ก็ต้องบวกกลับเข้ามา 2)ผลลัพธ์ก็คือ 14 นั่นเอง ซึ่งในการฝึกคิดเลขในใจ จะเห็นว่าเด็กจะต้องมีความเข้าใจอย่างแม่นยำในเรื่องของค่าประจำหลัก จึงจะทำให้เด็กมีการคำนวณที่ไม่ผิดพลาด

ส่วนจินตคณิตนั้น เป็นการคิดคำนวณเป็นภาพลูกคิด มีการเคลื่อนเม็ดลูกคิดขึ้นลง 4 มิติ การเห็นภาพเคลื่อนไหวของเม็ดลูกคิด (เราเรียกกันว่าการจินตนาการ) นั้น ทำให้เด็กสามารถจดจำคำตอบได้อย่างแม่นยำ หากเปรียบเทียบการคิดเลขในใจ กับการจินของจินตคณิต การคิดในใจเหมือนการอ่านวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องใช้ประสบการณ์ในการอ่านเพื่อทำความเข้าใจมาวิเคราะห์เป็นตัวหนังสือที่เป็นความเข้าใจของตัวเองอีกครั้ง ส่วนจินตคณิตเปรียบเหมือนกับการดูการ์ตูนที่เป็นภาพเคลื่อนไหวของเด็ก เด็กจะสามารถจำภาพเคลื่อนไหวได้ดีกว่า (ในเด็กเล็ก) การคิดเป็นจำนวน

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

ทัศนของผู้ปกครองหลาย ๆ คนที่ส่งบุตรหลานมาเรียนจินตคณิตส่วนใหญ่มุ่งหวังให้บุตรหลานมีการคิดคำนวณที่รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดเนื่องจากการทำการตลาดการตลาดของสถาบันการสอนจินตคณิตเกือบทุกแห่งมักเน้นเรื่องความเร็วในการคิดคำนวณ นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งขันคณิตคิดเร็วกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ถ้าเด็ก ๆ ได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง ที่ต้องให้เวลากับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาเรื่องความเร็วและความแม่นยำ แต่ในปัจจุบันนี้สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องเรียนรู้และฝึกฝนมีมากขึ้น เมื่อเทียบกับเวลาที่เด็ก ๆ มีอยู่ ทำให้การฝึกฝนของเขาต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับแต่ละครอบครัว

นอกจากเรื่องของเวลา(ของการฝึกฝนที่ต้องแบ่งไปให้กับการเรียนที่มาก) แล้ว ธรรมชาติของเด็กที่ถูกอบรมเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมของเด็ก หล่อหลอมให้เด็กแต่ละคนมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ คงหนีไม่พ้นกระต่ายกับเต่า ซึ่งธรรมชาติของกระต่ายก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากเมื่อเทียบกับเต่า ดังนั้นหากเด็กที่ถูกเลี้ยงมาให้เป็นเด็กที่ทำงานทุกชิ้นอย่างประณีต มักใช้เวลากับงานแต่ละชิ้นเป็นเวลานาน หรือใช้เวลากับงานแต่ละอย่างแบบช้า ๆ การฝึกให้คิดเลขเร็ว ก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะกับธรรมชาติของเด็กคนนั้น แต่เมื่อเทียบกับเด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกกระตุ้นให้ใช้เวลากับการทำงานแบบเร็ว ๆ การคิดเลขเร็วก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขา หากเด็กได้รับการฝึกฝน อย่างสม่ำเสมอจะทำให้เขาคิดเลขได้เร็วและแม่นยำ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเด็กไม่ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่เกิดคู่กันกับความเร็วคือความผิดพลาด เมื่อเทียบกับเด็กที่ช้ากว่าแต่มีความรอบคอบ และแม่นยำมากกว่าน่าจะมีประโยชน์กว่าการที่จะฝึกให้เด็กเน้นแต่ความเร็วเพียงอย่างเดียว  เช่นเดียวกับนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า ที่เด็กหลาย ๆ คนที่ได้ฟังเรื่องนี้มักอยากเป็นเต่าที่มีมานะอดทนมากกว่าการเป็นกระต่ายที่มีแต่ความประมาท

หากเรามองถึงเรื่องเส้นชัย นั่นคือการที่เด็กสามารถสร้างศักยภาพของสมองทั้งสองด้าน ผ่านการคิดคำนวณ ก็ถือเป็นผลสำเร็จที่น่าชื่นชม

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | Comments Off on เส้นชัยของเต่ากับกระต่าย