เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นอาทิตย์ของการสอบ O-Net ของนักเรียนชั้น ป.6 และ ม.3 ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจยังมีความไม่เข้าใจอยู่บ้าง  เรามาดูว่าการสอบ O-Net เป็นการสอบเพื่ออะไร และส่งผลอย่างไรกับใครบ้าง

ก่อนอื่นเรามารู้จักคำว่า O-Net กันก่อน ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก  Ordinary National Educational Test  ซึ่งเป็นข้อสอบกลางที่ออกมาจาก สทศ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ) โดยจะมีการสอบ 8 กลุ่มสาระ ผลการสอบเพื่อวัดสัมฤทธิผลของการเรียนการสอนของโรงเรียนเป็นหลัก โดยคะแนนของเด็กแต่ละคนจะมีการเปรียบเทียบกับโรงเรียนของตนเอง โรงเรียนในเขตพื้นที่ เทียบขนาดของโรงเรียน เทียบคะแนนระดับจังหวัด  และภูมิภาค หลักๆ แล้วการจัดการสอบเพื่อจุดประสงค์หลักเพื่อการวัดมาตรฐานการเรียนการสอนของโรงเรียนมากกว่า ดังนั้นหลายๆ โรงเรียนจึงมีการเรียนเพิ่มโดยมีติวเตอร์จากสถาบันที่มีชื่อเสียงมาสอนให้กับนักเรียน เพื่อให้โรงเรียนจัดอยู่อันดับต้นๆ ของประเทศ  ส่วนหลายๆ โรงเรียนผลของการสอบประเมินที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ก็ไม่เห็นได้รับการแก้ไข หรือกระตุ้นจากภาครัฐเพื่อให้เด็กมีคุณภาพของการเรียนการสอนมากขึ้น หากผลของการสอบไม่ได้มีผลกับทั้งตัวนักเรียน เนื่องจากการสอบคัดเลือกนั้น การสมัครสอบอยู่ในช่วงเวลาที่ผลสอบยังไม่ออก และการสอบคัดเลือกของโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงนั้น ระดับความซับซ้อนของการสอบในวิชาหลักจะมีความยากกว่าการสอบ O-Net อย่างมาก เด็กในกลุ่มดังกล่าวที่ต้องการสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงนั้น จะมีระดับคะแนน O-Net ที่สูงมากใกล้เคียงกันหมด  จึงไม่สามารถนำข้อสอบกลางชุดดังกล่าวมาเป็นตัวชี้วัดได้เลย นอกจากนี้แล้วทางฝ่ายทะเบียนก็ยุ่งยากเกินกว่าที่จะนำคะแนนมามีส่วนในการคัดเด็กด้วย

ดังนั้นหากการสอบระดับชาตินี้ ไม่ได้สะท้อนปัญหาของการเรียนการสอนในโรงเรียน  ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดให้กับภาครัฐว่าโรงเรียนบางโรงจำเป็นต้องมีบุคลากรครูที่ต้องมีการอบรมเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม ก็หยุดใช้งบประมาณส่วนนี้ ที่ให้ผู้บริหารกระทรวงเดินทางต่างประเทศเพื่อดูงานการศึกษาในหลายๆ ประเทศอย่างไร้ประโยชน์ พร้อมกับ งบประมาณที่ใช้ในการจัดสอบ มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์ด้านการศึกษาในเรื่องอื่น เช่นการซื้ออุปกรณ์ในห้องทดลอง หรือสื่อการเรียนการสอนที่มีประโยชน์กับการเรียน ยังดีกว่าการทุ่มงบประมาณไปกับข้อสอบระดับชั้นละ 8 ฉบับกับผลที่เป็นเพียงกระดาษ 2 แผ่น ที่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพการเรียนการสอนจากทางโรงเรียนอย่างแท้จริง

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เป็นการส่งผลการประเมินการเรียนรู้ของเด็กๆ จากทางโรงเรียน เด็กหลายๆ คนผ่านการทุ่มเทในการอ่านหนังสือ และทบทวนบทเรียน เป็นผลให้ผลการเรียนออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทำให้คุณพ่อ คุณแม่ อดไม่ได้ที่จะต้องให้รางวัลแก่ความเพียงพยายาม และความตั้งใจ

รางวัลที่เด็กๆ อยากได้ในปัจจุบัน หรือพ่อแม่เลือกให้เป็นของรางวัลมักเป็นโทรศัพท์มือถือ แทปเลต หรือ เงินในเกมส์ การให้รางวัลของพ่อแม่ มักคิดว่าเพื่อเป็นกำลังใจ และตอบแทนในความตั้งใจ นอกจากนี้แล้วยังเป็นสิ่งที่บุตรหลาน ต้องการอีกด้วย จึงไม่ลังเลที่จะให้ แต่เป็นการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากเด็กที่มีเครื่องมือสื่อสารแบบไร้พรมแดน สามารถท่องโลกออนไลน์อย่างอิสระ เมื่อใดก็ได้นั้น เป็นการเปิดโอกาสให้สิ่งเร้ามีผลกับสมาธิ และการเรียนรู้ของบุตรหลานอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการปิดกั้นให้บุตรหลานมีโลกส่วนตัวที่เราไม่สามารถเข้าถึงได้ ไม่สามารถรู้ความคิดที่เกิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่จะเป็นตัวบ่งชี้ได้ดีที่สุด คือ การประเมินผลการเรียนรู้จากทางโรงเรียน การรายงานพฤติกรรมทั้งด้านการเรียนรู้ ที่ไม่มีสมาธิ และพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้หากสะสมนานเข้า ปัญหาก็จะยิ่งสะสมตามเวลาที่ถูกปล่อยผ่าน จนในที่สุดไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลย

ดังนั้นในเมื่อการให้รางวัลกับบุตรหลาน เป็นสิ่งที่อยากตอบแทนในความตั้งใจ พ่อแม่ควรจะเป็นผู้กำหนดรางวัลที่มีคุณค่า ควรพิจารณาถึงผลดีผลเสีย ที่จะส่งผลต่อตัวเด็กเป็นหลัก เพราะต่อไป เพราะเมื่อเขาเติบโตจนสามารถเป็นผู้เลือกด้วยตนเอง พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องมีหน้าที่ชี้แนะให้เขาต่อไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

12376364_864966883631500_1789777730002027356_n

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

อึ้ง ! ครูคณิตสอบตก 60% ในวิชาที่ตัวเองสอน เผยคะแนนเด็กไทยเทียบนานาชาติ อยู่ในระดับแย่ ด้าน อดีต สวพ. ชี้ต้นเหตุมาจากนักการเมืองที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยล่มสลาย

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556 นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ อดีตประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ (สวพ.) กล่าวถึงกรณีที่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะทำการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่า เป็นการรีบปรับเปลี่ยนเกินไป และไม่ได้ดูบริบทอื่น ๆ เลยว่า เขตพื้นที่การศึกษาจะมีปัญหาเรื่องการจัดการหรือไม่ และการผลิตครูมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด แต่กลับไปปรับหลักสูตรจากเดิม 8 สาระกลุ่มการเรียนรู้ ให้เหลือ 6 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากสับสนและวุ่นวาย ทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง

โดยเฉพาะตัวครูเองก็คงจะลำบากมากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรเดิมก็ยังสอนไม่ได้เลย อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีการทดสอบครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์แล้วพบว่า ครู 60% สอบตกในวิชาที่ตัวเองเป็นคนสอน ดังนั้น หากมีหลักสูตรใหม่เกิดขึ้น เชื่อว่าก็จะต้องมีการอบรมครูเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก เนื่องจากครูต้องทิ้งนักเรียนไว้ ทำให้ไม่มีเวลาสอนอย่างเต็มที่

นายชัยณรงค์ กล่าวอีกว่า ตนมองว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องปรับหลักสูตรใด ๆ และการระบุว่าการปรับหลักสูตรให้เหลือ 6 กลุ่มสาระ จะทำให้เด็กมีชั่วโมงเรียนที่น้อยลงนั้น เป็นเรื่องที่ไร้สาระ เนื่องจากวิชายังอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่แค่มาจัดหมวดหมู่และเปลี่ยนชื่อใหม่เท่านั้นเอง ส่วนกระบวนการคิดของคนปรับหลักสูตรก็ยังเป็นแบบวิทยาศาสตร์ ที่คิดถึงแต่ผลผลิต พอผลผลิตออกมาไม่ดีก็คิดแต่จะเปลี่ยน ซึ่งตนคิดว่าระบบนี้นำมาใช้กับระบบการศึกษาไม่ได้

นอกจากนี้ นายชัยณรงค์ กล่าวถึงผลการสอบโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ว่า การประเมินดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าเด็กไทยมีคุณภาพการศึกษาที่ล้มเหลว โดยคะแนนของเด็กนั้นได้มาจากการท่องจำเพียงอย่างเดียว ทั้ง ๆ ที่ PISA มีคะแนนในหลายด้าน อาทิ การคิดวิเคราะห์ การสร้างสรรค์จินตนาการ และการนำไปใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์จากคะแนนนานาชาติ จะเห็นได้ว่า คุณภาพของเด็กไทยลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับ 30 ปี ที่แล้วที่เด็กไทยมีคะแนนอยู่ในระดับดี แต่หลังจากนั้นคะแนนก็ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ในระดับที่แย่ ส่วนสาเหตุเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน ศธ. และนักการเมืองทั้งหลายที่เข้ามาแย่งงบประมาณหลายแสนล้าน อีกทั้งใช้บุคลากร ศธ. มาเป็นฐานเสียงให้กับพรรคของตัวเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของระบบการศึกษาไทย

ที่มา : http://education.kapook.com/view74467.html

Tags : , , , , , , , , | add comments

หากใครได้ติดตstudyingามข่าวการศึกษา หรือข่าวทั่ว ๆ ไป ตอนนี้ก็คงได้ยินคำว่า แอดมิชชั่น กัน หลาย ๆ คนอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบแอดมิชชั่นเป็นอย่างดี แต่หลาย ๆ คน ก็ยังงง ๆ กับการสอบดังกล่าวว่าคืออะไร

แอดมิชชั่น (Admission) เป็นระบบกลางที่คัดเลือกนักเรียนนักศึกษาเข้าสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นการสอบที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องสอบและนำคะแนนที่ได้มายื่นเพื่อเลือกคณะที่ตนเองจะเข้าศึกษาอีกที

ระบบแอดมิชชั่นนี้ บริหารงานโดย สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า สทศ. โดยที่หน้าที่ของสทศ. คือพัฒนาข้อสอบเพื่อวัดและประเมินมาตรฐานการศึกษา วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแต่ละคน สทศ.จะรับผิดชอบการประเมินผลด้านการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนหลักสูตรไทย ในประเทศไทย หลายครั้งด้วยกันคือ ป.3, ป.6, ม.3, และ ม.6 แต่ในการสอบแอดมิชชั่นนั้นจะนับกันเฉพาะ การสอบวัดผลในระดับชั้น ม.6 เท่านั้น

ยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง

และยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง

คราวนี้เรากลับมาที่การสอบแอดมิชชั่นว่า เด็กนักเรียนจะต้องสอบข้อสอบดังต่อไปนี้

1. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว แนวคิดของ O-NET คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆเท่านั้น

2. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก

3. PAT (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเด็กในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องมีการเตรียม ตัวกับการสอบคัดเลือกดังกล่าว แต่ในปัจจุบันนี้สถาบันอุดมศึกษาหลาย ๆ แห่งก็เปิดรับสมัครสอบตรง โดยไม่อิงคะแนนแอดมิชชั่น แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีการเตรียมตัวในการสอบเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมและมีการวางแผนร่วมกับบุตรหลานของตนว่าจะเรียนในสาขาวิชาใด หากคุณพ่อคุณแม่มีการวางแผนที่ดี ก็จะทำให้บุตรหลานมีอนาคตที่ดีเช่นกัน ดังคำที่ว่า “If your today is good not only your past was good but your future also good.”

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

จากค่าเฉลี่ยของการสอบ O-Net ของโรงเรียนแต่ละโรง โดยรวมแล้วเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยในวิชาหลักไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 50) โดยส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 22 – 30% เท่านั้น ซึ่งเป็นผลการประเมินที่น่าตกใจเมื่อเทียบกับการร่ำเรียน ศึกษามาตลอด 1 ปีการศึกษา ที่น่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นเพราะเรากำลังจะเปิด AEC ในปี 2558 ซึ่งเมื่อดูจากผลการสอบแล้ว เด็กไทยมีอาการเข้าขั้นวิกฤติเมื่อต้องแข่งขันกันในระดับอาเซียน ไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันระดับโลกกันแล้ว หากการเรียนการศึกษาของลูกหลานเรายังคงมีผลประเมินในแนวทางนี้ เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการเลี้ยงดูลูกหลานให้มีความรู้ที่ไม่ใช่ในแนวท่องจำเพียงอย่างเดียวแล้ว เราต้องฝึกให้เด็กได้มีการคิดวิเคราะห์ และการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้นแล้ว ไม่ใช่การอ่านและท่องจำเพื่อให้ได้คะแนนสอบในโรงเรียนเท่านั้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments