Jan 19
Posted by malinee on Thursday Jan 19, 2017 Under เกร็ดความรู้

หลังจากเด็กๆ เปิดเทอมกันมาซักระยะหนึ่งแล้ว แน่นอนสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น คือการประเมินผลการเรียนรู้ของเด็กๆ หลายๆ คนผลการประเมินออกมาเป็นที่น่าพอใจ แต่เด็กๆ หลายๆ คนมีผลการเรียนดีในเกือบทุกวิชา ยกเว้นก็แต่วิชาคณิตศาสตร์
คุณพ่อ คุณแม่หลายๆ คนก็หนักใจกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของบุตรหลาน มักคิดว่าเด็กไม่มีความเข้าใจในการเรียน จนทำให้เกิดทัศนคติในด้านลบ เกลียดวิชาคณิตศาสตร์ ปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ก่อนอื่น เรามาดูสิ่งที่เด็กๆ ต้องเรียนในโรงเรียนกันก่อน การเรียนในชั้นประถมของเด็กจะมีวิชาหลัก คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในช่วงประถมต้น การเรียนรู้ในทุกๆ วิชาของเด็กส่วนใหญ่จะเป็นการท่องจำ (รวมถึงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการเรียนสิ่งแวดล้อมรอบตัวก่อน) ยกเว้นวิชาคณิตศาสตร์ที่จะต้องเรียนรู้วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่ ป。1 ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง คือเด็กในยุคนี้ไม่อยากคิด ไม่อยากเริ่มอะไรด้วยตัวเอง เมื่อไม่อยากคิด กระบวนการเรียนรู้ที่ต้องคิดเป็นขั้นเป็นตอนก็ไม่เกิดการฝึกฝน ไม่ใช่ว่าเขามีปัญหาการเรียนรู้ และเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาดังกลาวจะบานปลายไปยังวิชาวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเมื่อเด็กเข้าสู้ประถมปลาย การเรียนวิทยาศาสตร์ ก็จะเริ่มมีการคิดวิเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เราจะสังเกตว่าเด็ก ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี จะสามารถเรียนในหลายๆ วิชา นั่นเป็นเพราะการเรียนคณิตศาสตร์เป็นการจัดลำดับกระบวนการคิดให้กับเด็กๆ นอกจากนี้การเรียนคณิตศาสตร์จะเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านการแก้ปัญหาให้กับเด็กๆ หากเด็กเริ่มต้นด้วยการขึ้เกียจคิด ทุกๆ การเรียนรู้ที้ต้องใช้กระบวนการคิดก็ไม่เกิดขึ้น และปัญหานี้ก็จะยุ่งเยิงพัวพันกับวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป
ในการเลี้ยงดูบุตรหลานแต่ล่ะคน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรฝึกให้เด็กได้มีอิสระทางความคิด และเสริมด้วยประสบการณ์ เช่นการเล่นเลียนแบบ การเล่นขายของ ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยคุณพ่อ คุณแม่ยังเด็กอยู่นั่นเอง
Jul 27
การเรียนของเด็กๆ นั้น วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่พ่อแม่ผู้ปกครองมักให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ นั่นอาจเกิดจากเหตุผลหลายประการ เช่น ตัวพ่อแม่ผู้ปกครองเองไม่ชอบคณิตศาสตร์ จึงไม่อยากให้บุตรหลานไม่ชอบคณิตศาสตร์เหมือนตนเอง หรืออาจเนื่องมาจากพ่อแม่ผู้ปกครองเห็นว่าหากเด็กๆ ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จะส่งผลระยะยาวจนเขาโตขึ้น โอกาสในการเลือกเรียนนสาขาวิชาต่างๆ ก็จะน้อยลงด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ หลายๆ ครอบครัวจึงปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ปฐมวัย บางครอบครัวก็เลือกวิธีที่จะสอนเอง โดยใช้สิ่งของเป็นสื่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่หลายๆ ครอบครัวใช้วิธีการส่งบุตรหลานเรียน หลายครั้งที่เด็กๆ ทำแบบฝึกหัดแบบซ้ำเดิม จนในที่สุดเด็กจำได้ เมื่อเห็นตัวเลขก็สามารถตอบได้ทันที การเรียนในแบบดังกล่าวให้ผลทั้งสองด้านกับเด็ก คือเด็กจะมีความมั่นใจและชอบคณิตศาสตร์มากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม การเรียนโดยวิธีการใช้ความจำไม่เหมาะกับการเรียนคณิตศาสตร์ เนื่องจากเมื่อเด็กเจอตัวเลขที่พลิกแพลงไม่ตายตัว เขาก็อาจจะติดอยู่ในกรอบของการจำจนทำไม่ได้ เช่น หากมีการให้ใส่ตัวเลข อะไรก็ได้ที่มีผลลัพธ์เป็น 5 หากเด็กรู้จักเพียงแค่ 4 + 1 แล้ว เขาจะได้เพียงคำตอบเดียว ซึ่งหลายๆ ครั้งที่คณิตศาสตร์ไม่ได้ต้องการเพียงคำตอบเดียว การเรียนคณิตศาสตร์ไม่ใช่วิชาท่องจำเหมือนวิชาประวัติศาสตร์ (เนื่องจากประวัติศาสตร์เป็นบันทึกความจริงที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้) ส่วนการเรียนคณิตศาสตร์ เมื่อเรียนขึ้นไปจนถึงชั้นมัธยม การเรียนคณิตศาสตร์จะเป็นการเรียนในขั้นที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้จินตนาการและความเข้าใจมากขึ้นในการเรียน เด็กที่ถูกฝึกให้คิดอยู่ในกรอบ จะมีแบบและวิธีคิดแก้ไขปัญหาคณิตศาสตร์ได้ค่อนข้างจำกัดจนในที่สุดความมั่นใจและความชอบคณิตศาสตร์ก็จะลดลง หากเป็นเช่นนี้ มันคงจะดีกว่าหากเราไม่ใส่กรอบในการเรียนคณิตศาสตร์
ครูจา
Jan 28
Posted by malinee on Tuesday Jan 28, 2014 Under เกร็ดความรู้
ในการเรียนของเด็กตั้งแต่อนุบาลนั้น เด็ก ๆ จะต้องเรียนรู้ทั้งภาษา และ จำนวน (คณิตศาสตร์) การเรียนโดยทั่วไปของการเรียนภาษา ก็จะต้องเริ่มต้นให้เด็กท่องจำ พยัญชนะในภาษาต่าง ๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ก่อนที่เด็กจะสามารถอ่านออกเขียนได้ เด็ก ๆ จำเป็นที่จะต้องฝึกทักษะการอ่านจากการสะกดคำแบบค่อยเป็นค่อยไป
เช่นเดียวกับการเรียนภาษา การเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงต้น ๆ ของชีวิต แน่นอน เด็ก ๆ จะต้องรู้จักจำนวนก่อน โดยที่จะต้องมีการเชื่อมโยงสัญลักษณ์ (ตัวเลข) กับจำนวนให้ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงค่อยมีการบวก การลบตามมาทีหลัง
ในการเรียนคณิตศาสตร์นั้น จะมีวิธีคิดหลาย ๆ วิธีที่ให้ได้คำตอบเดียวกัน เช่นเดียวกับการเดินทางให้ถึงจุดหมาย โดยที่แต่ละคนจะมีการเลือกใช้พาหนะที่แตกต่างกัน แต่ก็ไปถึงจุดหมายเดียวกันได้ โดยสิ่งที่แตกต่างกันก็คือเรื่องของเวลาเท่านั้น การเรียนคณิตศาสตร์ในโรงเรียน โดยทั่วไปจะมีการเชื่อมโยงจำนวนให้เป็นรูปธรรมโดยใช้นิ้ว (เป็นเครื่องมือที่อยู่กับเด็ก ๆ ตลอดเวลา) เช่นเดียวกับการบวก-ลบ เด็ก ๆ ก็จะถูกสอนให้ใช้นิ้วเป็นเครื่องมือช่วยคิด ซึ่งก็สามารถหาคำตอบในเรื่องการคำนวณได้เช่นกัน
ส่วนจินตคณิตนั้น เป็นการใช้ลูกคิดเป็นเครื่องมือ ซึ่งก่อนที่เด็กจะสามารถใช้ในการบวก-ลบได้คล่อง ก็ต่อเมื่อเขาเรียนรู้การใช้ลูกคิดได้ครบทุกสูตร แต่หากเด็กที่ถูกฝึกให้ใช้นิ้วเป็นเครื่องมือจนคล่องแล้ว มักคุ้นกับการนับนิ้ว (ซึ่งถูกฝึกในการเรียนทุกวัน) และการเรียนจินตคณิตไม่ได้มีใช้ในโรงเรียน มีผลให้เด็ก ๆ ไม่เอาใจใส่ต่อการบ้านที่ให้ทำเพื่อฝึกฝนระหว่างสัปดาห์ (ที่เรียนเพียงสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น) หากพ่อแม่ผู้ปกครองต้องการให้เด็ก ๆ เรียนจินตคณิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังนั้นทางโรงเรียนหรือครูจะต้องทำความเข้าใจกับนักเรียนและผู้ปกครองให้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำการบ้าน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะการใช้ลูกคิดให้คล่องและเมื่อถึงช่วงของการจินตนาการ ก็สามารถที่จะคำนวณได้อย่างถูกต้องและแม่นยำในที่สุด
ครูจา