เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมลูกเราถึงยิ่งเรียนยิ่งแย่ ไม่ว่าจะส่งเรียนพิเศษกี่ที่ คะแนนก็ไม่ดีขึ้น ทั้งๆ ที่ลูกก็ไม่มีปัญหาเรื่องการอ่าน สามารถอ่านออกเขียนได้ ปัญหาต่างๆ จะสะสมรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาที่ต้องใช้กระบวนการวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาคณิตศาสตร์

หลายๆ ครั้งที่ ปัญหาไม่ได้เกิดจากสติปัญญา หรือวิธีการสอน  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดเนื่องมาจากลักษณะนิสัยที่มาจากการเลี้ยงดู ที่บ่มเพาะจนเด็กกลายเป็นเด็กเฉื่อย ไม่คิด ไม่ทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่รู้จักหน้าที่ ไม่มีระเบียบวินัย

สิ่งต่างๆ เกิดเนื่องมาจากอะไร การเรียนคณิตศาสตร์ หากเป็นเพียงการทำตามเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ที่บ่งชี้เลยว่าเด็กต้องทำอะไร จะไม่เกิดปัญหาใด หากเขาไม่มีปัญหาด้านการคำนวณ แต่ในความเป็นจริงเมื่อเด็กโตขึ้น จะมีการใส่โจทย์เพื่อให้เด็กๆ ได้มีการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหา และซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเรียนในระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ การอ่านออกของเด็กที่ไม่เคยเรียนรู้ที่จะเริ่มทำอะไรด้วยตนเอง เป็นการอ่านแบบนกแก้วนกขุนทองเท่านั้น ไม่มีการคิดวิเคราะห์ใดๆ เพื่อแก้ปัญหานั้นๆ หากปล่อยให้สถานการณ์ดังกล่าวยังคงเกิดขึ้น โดยไม่ได้รับการแก้ไข สุดท้ายเด็กก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มั่นใจในการเรียน ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองในที่สุด

Tags : , , , , , , , , , | add comments

4cs จากในบทความที่เคยกล่าวมาแล้วว่า การเรียนคณิตศาสตร์ในระดับประถมนั้นเป็นการเรียนที่ทำให้เป็นรูปธรรมได้ จากการเรียนผ่านประสบการณ์รอบๆ ตัว เช่น การเรียนเรื่องเงิน การชั่ง ตวง วัด เป็นต้น ซึ่งการเรียนในระดับประถมนั้น จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนในระดับมัธยมต่อไป

การเรียนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมจะเริ่มเป็นการเรียนในลักษณะที่เป็นศาสตร์มากขึ้น เช่น พหุนาม เลขยกกำลัง กรณฑ์ เป็นต้น แต่การเรียนในระดับมัธยมนั้นจะต้องอาศัยพื้นฐานที่ดีในระดับประถม เปรียบเสมือนโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง หากมีฐานที่ไม่แข็งแรง สิ่งปลูกสร้างนั้นย่อมไม่สามารถสร้างให้สูงได้เช่นกัน เช่นเดียวกับการเรียนคณิตศาสตร์ หากมีพื้นฐานไม่ดีตั้งแต่ประถม เขาไม่มีความมั่นใจ และทัศนคติที่ดีกับการเรียน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา สิ่งที่ทำให้เด็กๆ ต่อต้านการเรียนคณิตศาสตร์เกิดเนื่องมาจาก การปิดสัญญาณในการเรียน นั่นหมายความถึงการปิดโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาของความไม่เข้าใจ เมื่อบวกรวมกับสิ่งแวดล้อมของการเลี้ยงดูที่ทำให้เด็กกลายเป็นคนที่ไม่รู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเอง ไม่รู้สึกเดือดร้อนกับคะแนนหรือเกรดที่ออกมา ทำให้เมื่อเข้าสู่มัธยมปลาย โอกาสหรือทางเลือกในการเรียนก็จะแคบลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หากเราสังเกตดีๆ จะเห็นว่าเด็กที่เรียนคณิตศาสตร์ได้ดีนั้น มักจะเรียนดีในเกือบทุกวิชา นั่นเราอาจหมายรวมได้ว่า การเรียนคณิตศาสตร์เป็นการจัดลำดับกระบวนการของความคิดให้กับเขาเหล่านั้น และสามารถพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ได้ดีกว่า

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

imageจากบทความเมื่อครั้งที่แล้ว ก็มีคำถามมากมายเกี่ยวกับอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ขอเรียกง่ายๆ ว่า เซ้นส์ทางคณิตศาสตร์ มักมีคำถามมากมายตามมาว่า เราจะสังเกตบุตรหลานได้อย่างไรว่าเป็นเด็กมีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์หรือไม่ วิธีที่ง่ายๆ คือ การสังเกตความสนใจในการเรียนก่อนเป็นอันดับแรก ว่าหากมีโอกาสเขาจะเลือกเรียนอะไรก่อน ซึ่งเซ้นส์นั้นจะทำให้เขามีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ดี มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบกว่า เด็กในวัยเดียวกัน คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้หลักการ การคิดเป็นระบบ มาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา แต่การแก้ไขปัญหา ไม่จำเป็นที่จะต้องคิดเหมือนๆ กัน เด็กที่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์ 2 คน อาจคิดโจทย์ปัญหาที่ต่างกัน แต่ให้คำตอบเดียวกันได้ เนื่องจากมุมมองที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างโจทย์การแข่งขันแนวคิดและการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป. 3-4 เช่น

น้ำยาล้างจานขวดหนึ่งหนัก 250 กรัม เมื่อใช้ไป 1 ใน 4 ของขวด ปรากฏว่าหนัก 195 กรัม อยากทราบว่าขวดเปล่าหนักกี่กรัม

ตัวอย่างดังกล่าว เด็กที่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ มีการใช้ความรู้พื้นฐานทั้งในเรื่องของเศษส่วน และโจทย์ระคนมาใช้ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรม จึงสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก  แต่การที่เด็กจะมีอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่ว่าจะพบกันได้ทุกคน  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กที่ไม่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์จะไม่สามารถแก้ปัญหา หรือต้องเรียนคณิตศาสตร์อ่อนเสมอ เขาเหล่านั้นสามารถแก้ไขปัญหา หรือเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีเช่นกัน เพียงแต่ต้องมีการจัดระบบระเบียบการคิดวิเคราะห์ให้ดี และมีการฝึกฝนวิธีการคิดให้เป็นระบบ หรืออาจมีการสอนให้เด็กตีความจากประโยคบอกเล่า

ให้เป็นรูปธรรม และสิ่งที่ต้องมีอย่างเคร่งครัดคือ วินัยในการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เขามีความมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีกับการเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

ธรรมชาติของเด็กจะชอบในการเรียนศิลป ทั้งการว่าดภาพ ระบายสี และการร้องรำทำเพลง แต่เมื่อโรงเรียนต่าง ๆ มีการจำกัดงบประมาณ วิชาศิลปก็มักเป็นวิชาแรกที่จะนำออกนอกหลักสูตร
  ผู้เชี่ยวชาญทางสรีรศาสตร์ กล่าวว่าสมองมนุษย์ประกอบด้วยกัน 2 ส่วนนั่นคือ สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาสมองซีกซ้ายนั้นใช้ในการคิดทางด้านตรรก และกระบวนการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับการฝึกจากการทำงานในโรงเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ , การอ่าน และวิทยาศาสตร์ ส่วนสมองซีกขวาจะถูกใช้ในเรื่องของอารมณ์ การรับรู้ สัญชาตญาณ และความคิดสร้างสรร สมองซีกขวาจะถูกใช้งานเป็นหลักเมื่อคนผู้นั้นทำงานศิลปะ และต้องใช้จินตนาการอย่างมากมายเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้สมองส่วนนี้จะถูกละเลยด้วยกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ภายในโรงเรียน
         จากผลการวิจัยพบว่า เมื่อเด็กที่มีอัจฉริยภาพ (gifted kids) แก้ไขปัญหาในด้านอัจฉริยภาพของเขา จะเกิดคลื่นแม่เหล็กเหนียวนำให้ใช้สมองทั้งสองข้าง นั่นแสดงให้เห็นว่าการทำงานของสมองที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำงานของสมองร่วมกันทั้งสองด้าน ศิลปะสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นและการฝึกสมองซีกขวา และยังช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงเกิดเครือข่ายของสมองทั้งสองด้าน ดังนั้นเด็กที่มีการเรียนศิลปก็จะฝึกใช้สมองทั้งสองด้านไปพร้อม ๆ กัน และจะเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ศักยภาพ
 
ประโยชน์ที่จะได้รับในการเรียนศิลป
  –      เด็กจะคิดอย่างสร้างสรรค์ ด้วยหัวใจที่เปิด
  –      เด็กจะเรียนรู้ในการสังเกตุ การอธิบาย การคิดวิเคราะห์ และการตีความ
  –      เรียนรู้ที่จะแสดงออก ทั้งทางวาจาและกาย
  –      เด็กจะสามารถฝึกการแก้ไขปัญหา การคิดวิเคราะห์ ภาษา และศัพท์ต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมทางศิลปะ
  –      เด็กจะค้นพบว่าวิธีการแก้ปัญหา หรือคำตอบของปัญหาไม่ได้มีแค่วิธีเดียว และเค้าจะมีมุมมองที่แตกต่าง
  –      เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่จะมีส่วนช่วยเหลือผู้อื่นทั้งเพื่อนรุ่นเดียวกันหรือแม้กระทั่งการช่วยเหลือผู้ใหญ่
  –      ศิลปะจะช่วยให้เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ รอบตัวและรอบโลก
  –      เด็ก ๆ จะมีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย จิดตใจ หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งผ่านประสบการณ์ในความสำเร็จจากงานศิลป
 –       เสิรมสร้างความมั่นใจ เนื่องจากงานศิลปไม่ได้มีเพียงทางเลือกเดียวและเค้าก็จะภาคภูมิใจกับงานที่ได้แสดงต้วตนของตนเอง

Tags : , , | 1 comment