13300502-illustration-of-a-girl-using-a-tablet-computer            ในปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ๆ หลายๆคนจะสังเกตเห็นแนวโน้มพฤติกรรมของเด็กในยุคนี้ว่า เด็กส่วนใหญ่จะต้องการการดูแลเอาใจใส่มากกว่าปกติ ต้องให้มีผู้ดูแลคอยจี้ หรือกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่สามารถมีสมาธิกับสิ่งที่ตนเองทำได้นานนัก ซึ่งเราสามารถแยกเด็กออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เด็กบางกลุ่มจะไม่สามารถนั่งนิ่งได้นานๆ กับอีกประเภทคือเด็กที่นั่งอยู่นิ่งนานจนผิดปกติ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเขามีสมาธิอยู่กับงานที่ทำ แต่เป็นอาการลอย ไม่มีสมาธิกับอะไรเลย เด็กทั้งสองกลุ่มดังกล่าวหากต้องทำงานที่ต้องใช้สมาธิ จะต้องมีคนคอยช่วยจี้ เพื่อกระตุ้นสมาธิให้อยู่กับงานที่ทำตลอดเวลา

เราลองมาย้อนดูสาเหตุของการต้องการการประกบดูแล หรือต้องคอยจี้อยู่เป็นประจำ ส่วนใหญ่สาเหตุหลักเกิดจากในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่ควรพาออกไปสู่การกระตุ้นให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ร่วมกับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ให้มีความแข็งแรง แต่ในปัจจุบันเหตุการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เด็กๆ มักถูกละเลย โดยการให้ทีวี เกมส์ หรือแท็บเล็ต เป็นผู้ช่วย หรือพี่เลี้ยง แทนที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็เหลือเพียง ตา กับ นิ้วเล็กๆ เพียงนิ้วเดียวเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้การฝึกทักษะการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสอีก 4 ด้านก็ไม่พัฒนา อีกทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ก็ไม่แข็งแรง นอกจากนี้แล้ว เด็กๆ มักใจจดใจจ่อกับเกมส์ จนกลายเป็นเด็กที่ขาดสมาธิ ถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า ได้ง่าย เป็นเหตุให้การเรียนในโรงเรียนที่กลุ่มใหญ่ขึ้นเมื่อโตขึ้น โดยที่ครูผู้สอนเริ่มประกบ หรือจี้น้อยลง จะทำให้ผลการเรียนไม่ค่อยดีนัก

ด้วยสาเหตุดังกล่าว การเลี้ยงดูบุตรหลานควรจะต้องมีกรอบ เช่นการมีกติกาในเรื่องของเวลา เพื่อไม่ให้เด็กๆ หลุดไปอยู่ในโลกจินตนาการที่ดึงเขาเหล่านั้นออกมายาก จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ยากจะแก้ในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

images            บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่เรียนคณิตศาสตร์ไม่เข้าใจ หรือค่อนข้างอ่อน หลังจากที่ส่งไปเรียนตามสถาบันต่างๆ หลายสถาบันก็ยังไม่เห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของบุตรหลาน มักจะมีความคิดที่จะหาครูเพื่อสอนบุตรหลานแบบตัวต่อตัว ก่อนที่จะคิดแก้ปัญหาโดยการหาครูเพื่อมาสอนบุตรหลานแบบตัวต่อตัวนั้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีไหมว่าบุตรหลานของเรามีความจำเป็นในการเรียนแบบตัวต่อตัวเหมือนเด็กพิเศษหรือ เนื่องจากการเรียนคณิตศาสตร์แบบตัวต่อตัวนั้น มักเหมาะกับการที่เด็กไม่สามารถเรียนรวมกับกลุ่มได้ มีสมาธิอยู่ในช่วงสั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เหมาะกับเด็กที่เป็นเด็กพิเศษ ดังนั้นจึงต้องมีครูพี่เลี้ยงคอยประกบในการเรียนอยู่ค่อนข้างตลอดเวลา

หากบุตรหลานไม่ได้เป็นเด็กพิเศษ การเรียนแบบตัวต่อตัวในมุมมองของครู แทบไม่ได้ส่งผลดีเลยในการเรียนคณิตศาสตร์ ครูเคยเขียนบทความเรื่องที่ว่าทำไมเด็กบางคนไม่สามารถเรียนในกลุ่มใหญ่ได้ (ลองย้อนกลับไปดูได้นะคะ) การที่เด็กบางคนเรียนตามกลุ่มเพื่อนไม่ทัน ไม่ได้หมายความว่าเขาจำเป็นต้องเรียนตัวต่อตัว เพียงแต่ว่าพื้นฐานและทักษะทางคณิตศาสตร์ของเขาไม่ทันกับกลุ่ม เนื่องจากความเข้าใจยังไม่สามารถเข้ากลุ่มที่เรียนไปพร้อมๆ กันได้ ซึ่งการเรียนคณิตศาสตร์ที่เหมาะกับเด็กกลุ่มนี้คือการเรียนที่ไม่ได้ไปพร้อมกันการเรียนเป็นการแบ่งกลุ่มเล็กๆ ที่มีเนื้อหาขึ้นอยู่กับเด็กและทักษะความเข้าใจของเด็กแต่ละคน ครูจะต้องทำความเข้าใจหรืออธิบายเนื้อหาให้กับเด็กก่อน แล้วหลังจากนั้นก็ต้องปล่อยให้เขาทำแบบฝึกหัดในการแก้ไขปัญหา นอกจากเด็กจะเกิดทักษะ และมีกระบวนการคิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แล้วยังเป็นการวัดความเข้าใจในบทเรียนที่ครูสอน ว่าเขามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้แล้วการเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ จะทำให้เด็กมีสังคม มีเพื่อน คอยกระตุ้นกันเองด้วย การเรียนแบบตัวต่อตัว ผู้ปกครองมักคิดว่าบุตรหลานจะได้รับความรู้ความเข้าใจเต็มชั่วโมง แต่ในทางกลับกันการเรียนคณิตศาสตร์แบบตัวต่อตัว เป็นความจริงที่ครูจะต้องเป็นคนประกบเด็กตลอดเวลา ถ้าเด็กเป็นเด็กที่ไม่มีความมั่นใจ ก็จะไม่กล้าที่จะเริ่มคิดวิเคราะห์ปัญหาด้วยตนเอง ครูก็จะเป็นฝ่ายที่จะเริ่มชี้นำวิธีคิดให้เขา เช่นเดียวกับเด็กที่เฉื่อย เนื่องจากเป็นเด็กที่เฉื่อยจะไม่พยายามทำอะไรด้วยตนเองอยู่แล้ว ก็ยิ่งไม่มีความพยายามที่จะคิดเมื่อมีคนคอยช่วย กระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองก็ไม่เกิดขึ้น  นอกจากนี้แล้วยังเกิดปัญหาการเข้าสังคมด้วย เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นลูกคนเดียว โดยปกติก็มีปัญหาการเข้าสังคมอยู่แล้ว หากยิ่งจัดสรรการเรียนให้เป็นแบบตัวต่อตัว นอกจากปัญหายังแก้ไม่ถูกจุดแล้ว ยังเป็นการเพิ่มปัญหาด้านสังคมเพิ่มขึ้นอีกปัญหาด้วย

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

หลาย ๆ คน มักสงสัยว่าถ้าลูกหลานเราเป็นเด็กปกติ แต่ทำไมไปเรียนแบบกลุ่มจึงไม่ได้ผล ถ้าน้อง ๆ ไม่มีปัญหาด้านการเรียนรู้แล้ว สิ่งที่เราพบว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนแบบกลุ่มใหญ่ได้ เนื่องจากเนื้อหาที่ถูกสะสมความไม่เข้าใจน่าจะเป็นสาเหตุหลัก เนื่องจากการเรียนในกลุ่มใหญ่ จะใช้ระดับชั้นเป็นเกณฑ์ในการเข้ากลุ่ม แต่เมื่อเด็กหลาย ๆ  คนเกิดปัญหาหรือความไม่เข้าใจบทเรียนในช่วงปีแรก และไม่ได้รับความกระจ่าง ก็จะเกิดการสะสมที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ในเนื้อหาที่ลึกขึ้น ทำให้เมื่อเวลาเข้ากลุ่มใหญ่ เกิดความไม่กล้าที่จะถาม ไม่อยากตอบคำถาม และความไม่เข้าใจก็ยังไม่ได้ถูกสะสางให้ดีขึ้น หากความไม่เข้าใจสะสมนานวันเข้า การที่เราส่งบุตรหลานเรียนในกลุ่ม หากเด็กสะสมความไม่เข้าใจ 2 ปี ซึ่งเปรียบเสมือนการส่งเด็ก ป.2 เข้าเรียนกับคนที่มีความรู้ในชั้น ป.4 ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่าจะมีความเข้าใจที่ใกล้เคียงกัน

Tags : , , , , , , , , , | add comments