Jan 19
Posted by malinee on Thursday Jan 19, 2017 Under เกร็ดความรู้
หลังจากเด็กๆ เปิดเทอมกันมาซักระยะหนึ่งแล้ว แน่นอนสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น คือการประเมินผลการเรียนรู้ของเด็กๆ หลายๆ คนผลการประเมินออกมาเป็นที่น่าพอใจ แต่เด็กๆ หลายๆ คนมีผลการเรียนดีในเกือบทุกวิชา ยกเว้นก็แต่วิชาคณิตศาสตร์
คุณพ่อ คุณแม่หลายๆ คนก็หนักใจกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของบุตรหลาน มักคิดว่าเด็กไม่มีความเข้าใจในการเรียน จนทำให้เกิดทัศนคติในด้านลบ เกลียดวิชาคณิตศาสตร์ ปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ก่อนอื่น เรามาดูสิ่งที่เด็กๆ ต้องเรียนในโรงเรียนกันก่อน การเรียนในชั้นประถมของเด็กจะมีวิชาหลัก คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในช่วงประถมต้น การเรียนรู้ในทุกๆ วิชาของเด็กส่วนใหญ่จะเป็นการท่องจำ (รวมถึงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการเรียนสิ่งแวดล้อมรอบตัวก่อน) ยกเว้นวิชาคณิตศาสตร์ที่จะต้องเรียนรู้วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่ ป。1 ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง คือเด็กในยุคนี้ไม่อยากคิด ไม่อยากเริ่มอะไรด้วยตัวเอง เมื่อไม่อยากคิด กระบวนการเรียนรู้ที่ต้องคิดเป็นขั้นเป็นตอนก็ไม่เกิดการฝึกฝน ไม่ใช่ว่าเขามีปัญหาการเรียนรู้ และเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาดังกลาวจะบานปลายไปยังวิชาวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเมื่อเด็กเข้าสู้ประถมปลาย การเรียนวิทยาศาสตร์ ก็จะเริ่มมีการคิดวิเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เราจะสังเกตว่าเด็ก ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี จะสามารถเรียนในหลายๆ วิชา นั่นเป็นเพราะการเรียนคณิตศาสตร์เป็นการจัดลำดับกระบวนการคิดให้กับเด็กๆ นอกจากนี้การเรียนคณิตศาสตร์จะเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านการแก้ปัญหาให้กับเด็กๆ หากเด็กเริ่มต้นด้วยการขึ้เกียจคิด ทุกๆ การเรียนรู้ที้ต้องใช้กระบวนการคิดก็ไม่เกิดขึ้น และปัญหานี้ก็จะยุ่งเยิงพัวพันกับวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป
ในการเลี้ยงดูบุตรหลานแต่ล่ะคน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรฝึกให้เด็กได้มีอิสระทางความคิด และเสริมด้วยประสบการณ์ เช่นการเล่นเลียนแบบ การเล่นขายของ ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยคุณพ่อ คุณแม่ยังเด็กอยู่นั่นเอง
Sep 20
Posted by malinee on Tuesday Sep 20, 2016 Under เกร็ดความรู้
….การบ้าน….พอพูดคำนี้เด็กๆทุกคนมักส่าหน้ากันทั้งนั้น เพราะวันๆหนึ่งเรียนตั้งหลายวิชาและมีการบ้านทุกวิชา(อันนี้ครูเข้าใจค่ะ)แต่..เหตุผลของการให้การบ้านในทุกวิชาที่เรียน มันก็เพื่อทบทวนบทเรียนเพื่อฝึกทักษะความเข้าใจ โดยเฉพาะในวิชาหลัก เช่น คณิต อังกฤษ วิทย์ ไทย สังคมฯลฯ โดยเฉพาะเลขต้องมีการบ้านในทุกครั้งที่เรียน(ซึ่งเด็กๆไม่อยากได้เป็นพิเศษ) เพื่อทบทวนความเข้าใจ ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะช่วยเด็กคิดและทำการสอนการบ้านในวิธีการที่เราเคยเรียนผ่านมาก่อนซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดีในการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว แต่การสอนตามที่เราเคยเรียนมาก่อนนั้นใช้ได้กับในบางวิชาเท่านั้น เพราะในบางวิชาก็มีวิธีคิดวิธีหาคำตอบในแบบของเค้า โดยเฉพาะวิชาจินตคณิตที่ใช้ลูกคิดเป็นสื่อในการสอนจะมีวิธีคิดตามแบบฉบับของตัวมันเองซึ่งผู้ที่เรียนเท่านั้น ที่จะสามารถใช้วิธีดีดลูดคิด เทคนิคการคำนวณ สูตรการคิด และการอ่านค่าลูกคิดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ..ดังนั้นหากบุตรหลานของท่านใดเรียนจินตคณิตครูอยากแนะนำว่า..ปล่อยให้เค้าทำการบ้านลูกคิดด้วยตัวของเค้าเอง เพราะเค้าเป็นคนเรียน ทักษะ เทคนิควิธีคิดต่างๆ เค้าเรียนจากครูผู้สอนมาแล้ว หากเค้าทำการบ้านไม่ได้(ทำไม่ได้จริงๆนะค่ะไม่ใช่ไม่อยากทำละบอกทำไม่ได้ แต่เอาเวลาไปไล่จับโปรเกม่อนแบบนี่ไม่ได้นะค่ะ) ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของลูกศิษทกับครูจะดีกว่า..ผู้ปกครองจะต้องเชื่อก่อนว่า การเรียนจินตคณิต และสถาบันที่สอนสามารถช่วยลูกๆในเรื่องของคณิตศาสตร์ การคำนวณ ได้จริง เชื่อมั่นในสถาบันที่สอนและเทคนิคของครูผู้สอน.. หากเชื่ออย่างนั้นแล้วก้อปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนเป็นคนสอนเค้าจะดีกว่า..ส่วนผู้ปกครองช่วยได้โดยการกวนขันให้เค้าทำการบ้านตามที่ครูกำหนด ไม่ใช่…. ไปบอกคำตอบเค้า ให้เค้านับนิ้ว ร้ายสุดให้เค้าใช้เครื่องคิดเลขในที่หาคำตอบ เพื่อให้การบ้านเด็กจะได้เสร็จๆไปหมดไปอีกหนึ่งภาระ การทำแบบนั้นจะเป็นการทำร้ายเด็กโดยตรงเลยทีเดียว..คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีคำตอบที่ตายตัว แต่มีวิธีคิดที่หลายหลาย..ปล่อยให้เค้าได้ใช้วิธีคิดด้วยตัวเค้าเองในแบบฉบับที่เค้าเรียนมาดีที่สุด..ขอบคุณและสวัสดีค่ะ..
May 07
จากตอนที่ 2 ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีการเรียนรู้โดยการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับวัยทารก แต่เด็กแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในการเรียนรู้ของเขา แต่มีงานวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนว่า หากเด็ก ที่เข้าโรงเรียนโดยมีทัศนคติในเชิงบวก และมีการฝึกทักษะ (นั่นคือการเคลื่อนไหวในวัยทารก) แล้ว เขาจะมีทักษะในการเรียนรู้ที่ดี และมีความก้าวหน้าในการเรียนที่ดี ซึ่งเด็กทุกคนจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ หรือความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว เพียงแต่เรามีหน้าที่ที่จะต้องกระตุ่นหรือสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม
เด็กวัยอนุบาล มักมีการเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน การเข้าสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ซึ่งเราสามารถให้ความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดังนี้
– กระตุ้นให้ทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ โดยให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ แต่ความช่วยเหลือที่ให้ต้องไม่เกินขอบเขต สิ่งที่เด็กจะได้รับ คือประสบการณ์ที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ให้สำเร็จ
– สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าสนใจ เพื่อเพิ่มหรือเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้
– การฝึกให้เด็กหัดสังเกต สิ่งแวดล้อม อาจทำได้ง่าย ๆ โดยการถามถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในวันนั้น ๆ เช่นการถามว่าวันนี้คุณครูใส่เสื้อสีอะไร เพื่อกระตุ้นให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต
– ให้ความสนใจกับสิ่งที่เขาทำ หรือยินดีเมื่อเขาทำสำเร็จ เด็ก ๆ ทุกคนมักจะภูมิใจกับสิ่งที่ตนเองเริ่มทำ และทำสำเร็จ ซึ่งเป็นประสบการณ์ในเชิงบวก และนอกจากนี้ ยังทำให้เขาเกิดความมั่นใจ กล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ แต่หากเขาทำไม่สำเร็จ ต้องให้กำลังใจ ถึงแม้สิ่งที่เด็กได้รับจะไม่ใช่ความสำเร็จ แต่เขาก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ และ ความพยายามที่จะติดตัวเขาไป
– พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้มีทักษะในการลำดับเหตุการณ์ และการใช้ภาษา โดยปล่อยให้เขาได้คิดอย่างอิสระ แก้ข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด เพื่อให้เขาได้กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการ
– สร้างสถานการณ์ผ่านกิจกรรม ให้เขาได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
– หากิจกรรมประเภท การแยกประเภท สี ขนาด เพื่อฝึกการพิจารณาสิ่งของในแบบรูปต่าง ๆ ให้เขาสามารถแยกความแตกต่างของรูปทรงต่าง ๆ
หากเราสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ หรือเสริมทักษะ เขาก็จะยังคงมีธรรมชาติของการอยากเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น แต่หากเด็กไม่ได้พัฒนาการเรียนรู้ให้สนุก สิ่งที่ติดตัวเด็กมา (ความอยากรู้อยากเห็น การชอบการเรียนรู้) ก็จะหายไปในที่สุด
ครูจา