ก่อนที่จะวิเคราะห์ถึงข้อดี-ข้อเสียของการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการของประชาคมอาเซียน เราควรจะศึกษาถึงข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ก่อน

เริ่มด้วยความมุ่งหวังของการรวมกลุ่มจัดตั้งประชาคมอาเซียนเป็นอันดับแรก จุดประสงค์หลักเพื่อให้เราเป็นตลาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งหมายความถึงการมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ส่วนในแง่ของการผลิต ก็จะมีฐานการผลิตร่วมกันโดยเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี

หลังจากศึกษาถึงจุดมุ่งหมายหลักของการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนแล้ว ลองมาดูผลสำรวจที่น่าสนใจ จากรายงานของ The Global Competitiveness Report 2011-2012 โดย World Economic Forum (WEF) ที่สำรวจอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 142 ประเทศ

ในปีนี้พบว่า ความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยลดลงจากอันดับที่ 27 เมื่อปีที่แล้วและอันดับที่ 26 เมื่อปี2553 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 30 เนื่องจากไทยมีปัญหาการพัฒนาประเทศในหลายด้าน ส่งผลให้อันดับขีดความสามารถการแข่งขันของไทยลดลง 4 ด้าน คือประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจ ด้านการทำงานของรัฐบาล ด้านธุรกิจ และโครงการสร้างพื้นฐาน

พบว่า อันดับความสามารถทางการแข่งขันของไทยปรับลดลง 1 ตำแหน่ง จากลำดับที่ 38 เมื่อปีที่แล้วเป็น 39 ในปีนี้(เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่ปรับลดจากลำดับที่ 44 เป็น46 เวียดนาม จาก 59 เป็น 65) ขณะที่ประเทศที่มีลำดับดีขึ้นได้แก่ สิงคโปร์ ดีขึ้นจากลำดับ 3 เป็น 2 มาเลเซีย จาก 26 เป็น 21 ฟิลิปปินส์ จาก 85 เป็น 75 กัมพูชา จาก 109 เป็น 97 ส่วนบรูไน ลำดับเท่าเดิม คือ 28

ประกอบกับการรายงานของ International Institute for Management Development (2003) มีนักวิชาการหลายท่านสรุปว่าความสามารถในการแข่งขันนอกจากมาจากปัจจัยการผลิต 4 ประการ คือ ที่ดิน ทุน ทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานแล้ว การศึกษา และการเพิ่มองค์ความรู้พิเศษ ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ลำพังความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษที่เราจะต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียน 2558 เราก็พบว่าความสามารถด้านภาษาอังกฤษของเด็กไทยก็ยังอยู่ในระดับต่ำ จากรายงานดัชนีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (EF English Proficiency Index) ปี 2011 ของสถาบันสอนภาษา Education First (EF) สถาบันสอนภาษาชั้นนำของโลก ซึ่งดัชนีดังกล่าวทำมาจากการรวบรวมข้อมูลจากประชากรในวัยทำงานกว่า 2 ล้านคนใน 44 ประเทศที่ภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นภาษาแม่ทั่วโลก การวัดผลก็จะวัดจากการทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษ

ผลของการวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษดังกล่าวปรากฏว่าความสามารถด้านภาษาอังกฤษของไทยอยู่ในอันดับที่ 42 จาก 44 ประเทศ โดยจัดอยู่ในกลุ่มความสามารถด้านภาษาอังกฤษต่ำมาก (Very Low Proficiency) และหากเทียบเฉพาะประเทศ ในทวีปเอเชียที่ทำการวิจัยมี 13 ประเทศ ปรากฏว่าประเทศที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษสูงสุด ได้แก่ มาเลเซีย รองลงมา คือ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นไต้หวัน ซาอุดีอาระเบีย จีน อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย คาซัคสถาน ตามลำดับ

หากเราพิจารณาถึงข้อมูลจากการสำรวจดังกล่าวในมุมของการศึกษาไทย ที่ผลิตบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียน คงเห็นภาพได้ลาง ๆ แล้วว่า ตลาดแรงงานไทย น่าจะมีผลกระทบในด้านใดมากกว่ากัน

 

ครูจา

ข้อมูลจาก  http://www.thai-aec.com

Leave a Reply