images (7)            สัปดาห์นี้เรามาคุยกันเรื่องการวางแผนการศึกษาของบุตรหลานกันดีกว่า การศึกษาของบ้านเรา (ไม่รวมถึงการศึกษาในแนวของโรงเรียนนานาชาติ) จะมีการแบ่งช่วงชั้นที่ชัดเจน ได้แก่ อนุบาล , ประถมศึกษา , มัธยมศึกษา และ อุดมศึกษา

หากแยกกันตามลักษณะการเรียนรู้ ก็มีทั้งแนวบูรณาการ แนวเร่งเรียน แต่ถ้าแยกตามความเข้มข้นทางด้านภาษาก็จะมี 2 แนวหลักๆ คือ แนวที่ยังเป็นแบบปกติ และแนวที่มีการเรียนเน้นภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยการเพิ่มวิชาเรียนได้แก่ Math , Social และ Science ซึ่งหลักๆ จะกล่าวถึงการเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลานจะเลือกแนวทางของภาษาเป็นหลัก

ในการปรับตัวของบุตรหลานที่เปลี่ยนแนวทางการศึกษาจะส่งผลกระทบกับตัวเด็กไม่มากนั้ก หากช่วงเวลาในการเปลี่ยนแนวการศึกษาไม่เกินประถมต้น แต่หากบุตรหลานต้องเปลี่ยนแนวในช่วงตั้งแต่ประถมปลายขึ้นไป การสอบแข่งขันจะยากขึ้น รวมถึงหากบุตรหลานได้รับคัดเลือกในการสอบ การปรับตัวในเรื่องการเรียนก็ยากไม่แพ้กัน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากหากเด็กเรียนในแนวของการเรียนแบบสองภาษา เวลาที่จะเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ก็จะถูกแบ่งไปเรียน Math และ  Science ทำให้ความเข้มข้นในเนื้อหาของ 2 วิชาดังกล่าวก็จะน้อยลงไปด้วย ส่วนเด็กที่ถูกเปลี่ยนแนวจากการเรียนในแบบปกติ มาเป็นแบบสองภาษา ก็ต้องปรับตัวในการเรียนเนื่องจากต้องมีการจำคำศํพท์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะที่นอกเหนือจากความเข้าใจพื้นฐานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

หากเด็กๆ สามารถปรับตัวได้ การเรียนรู้ก็จะไม่มี่ปัญหาเกิดขึ้น แต่หากเด็กไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เขาไม่มีความสุขกับการเรียน จนถึงวันที่ต้องเข้าสู่สนามการสอบคัดเลือก อาจจำเป็นต้องใช้เวลาในการเตรียมตัว หรือเสียค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติใน

ดังนั้น การศึกษาของบุตรหลานของท่าน ควรมีการวางแผนกันเป็นช่วงยาวๆ จะดีกว่าการเปลี่ยนม้ากลางศึก เพราะเขาอาจจะแพ้สงครามเนื่องจากยังไม่คุ้นเคยกับม้าที่นำมาเปลี่ยน เมื่อเทียบกับม้าที่กรำศึกมาด้วยกันมานาน

ครูจา

 

Leave a Reply