จากมุมคุณครู หนังสือพิมพ์เมเนเจอร์ออนไลน์

MyfirstBrain.com

 

ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนสนุก และในขณะเดียวกัน ก็ได้ความรู้ด้วยนั้น มิใช่มีแต่การทดลอง การสำรวจเท่านั้น การใช้เกม บทบาทสมมติ ฯลฯ ก็
เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและชวนให้นักเรียนสนุกเพลิดเพลินด้วยเช่นกัน

เกมที่เป็นที่รู้จักกันดีและครูคุ้นเคย คือการเล่นโดยใช้แผ่นเกมซึ่งเกมนี้จะมีผู้เล่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อแข่งขันเดินตัวหมาก  โดยผู้เล่นแต่ละคนจะทอดลูกเต๋า เพื่อเดินตัวหมากของตนเองผู้ที่เดินตัวหมากถึงช่องหมายเลขสุดท้ายก่อนจะเป็นผู้ชนะ เนื้อหาที่อาจใช้เป็นแนว ในการพัฒนาแผ่นเกม เช่น การใช้พลังงานอย่างฉลาด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้น้ำอย่าง ฉลาด
เป็นต้น

เกมอีกชนิดหนึ่งที่ครูคงรู้จักกันดีและนำมาใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาได้คือ โดมิโน
เนื้อหาที่อาจใช้เป็นแนวในการพัฒนา เช่น โซ่อาหาร ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของสัตว์ พืชใบเลี้ยง เดี่ยว – พืชใบเลี้ยงคู่ สถานะของสาร เป็นต้น ครูควรวาดรูปหรือติดรูปสีที่บัตรทั้ง 2 ด้านหรือ
ด้านหนึ่งเป็นตัวอักษรอีกด้านเป็นรูป แทนการใช้ตัวอักษรเพียงอย่างเดียวทั้ง
2 ด้าน เพื่อดึง ดูดความสนใจ

ยังมีเกมอีกหลายชนิด เช่น Jigsaw อักษรปริศนา กรรไกร – ค้อน – กระดาษ บิงโก  ซึ่งครู อาจนำแนวและกติกาการเล่นมาใช้ในการพัฒนาเกมที่มีเนื้อหาวิทยาศาสตร์ได้หรืออาจซื้อเกมสำเร็จรูปที่มีผู้ผลิตขึ้นมาใช้ เช่น แผ่นเกม ดังรูป ซึ่งเป็นแผ่นเกม ที่ออกแบบโดย สสวท. เป็นต้น ซึ่งอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะพัฒนาขึ้นเองหรือซื้อ ครูต้องศึกษาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาและวัยของนักเรียนในระดับนั้นๆ 

ครูอาจจัดเกมต่างๆ เหล่านี้ไว้ที่มุมห้องเพื่อให้นักเรียนได้เล่นในเวลาว่าง หรือท้ายคาบการ
เรียนเพื่อเป็นการสรุปหรือทบทวนในระหว่างเล่นครูอาจให้นักเรียนอธิบายเหตุผลถึงข้อ
ความที่ปรากฎในช่องบนแผ่นเกม หรือสาเหตุที่เลือกภาพหรือข้อความนั้นๆ

การใช้เกมเป็นกิจกรรมประกอบ
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์นั้นจะช่วยให้นักเรียนรู้สึกสนุกสนานไม่เคร่งเครียดมากนักกับการเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกิด ความรักความสนใจและต้องการเรียนวิทยาศาสตร์หรือมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ได้

โดย สมศรี ตั้งมงคลเลิศ

Leave a Reply