teaching_large          เคยสังเกตพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของบุตรหลานไหมว่า เป็นเด็กที่ชอบคิดโจทย์คณิตศาสตร์ในหลายๆ รูปแบบ หรือหยุดทุกครั้งเมื่อเจอกับโจทย์ปัญหา

การเรียนคณิตศาสตร์นั้น เราต้องเริ่มตั้งแต่วัยอนุบาล ซึ่งการเรียนจะเป็นการที่ครู หรือผู้ปกครองจะเป็นผู้ชี้แนะ หรือแนะนำวิธีการคิดคณิตศาสตร์ในขั้นพื้นฐานให้ ตั้งแต่การเชื่อมโยงตัวเลขให้เป็นรูปธรรม ไปจนถึงการนับ การบวก การลบ ซึ่งการเรียนในวัยนี้จะต้องพึ่งพิงครูเป็นผู้แนะนำวิธีการให้กับเด็กๆ เป็นหลัก คอยให้กำลังใจเมื่อเด็กๆ เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ยังคอยชื่นชมที่เด็กๆ ทำสิ่งใหม่ๆได้ จนถึงวัยประถม การแนะนำหรือการชี้แนะยังคงวิธีการจะเป็นการสอนในช่วงเข้าสู่บทเรียนใหม่ และจะต้องปล่อยให้เด็กได้ฝึกฝนและฝึกทักษะเพื่อให้เกิดประสบการณ์ หรือรวมไปถึงการประยุกต์ใช้วิธีที่ได้รับแต่สิ่งที่ถูกลืมคือ การคอยให้กำลังใจและชื่นชมที่ขาดหายไป การแนะนำจากครูผู้สอน เนื่องจากเมื่อเด็กเริ่มที่จะฝึกฝน มักจะเกิดข้อผิดพลาดในช่วงแรกได้บ้าง ครูหรือผู้ปกครองไม่ควรตำหนิในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เนื่องจากเด็กจะมีความรู้สึกกลัวที่จะเริ่มในสิ่งใหม่ๆ กลัวจะทำผิดเพราะจะถูกตำหนิได้ เมื่อเด็กถูกตำหนิ หรือลงโทษในข้อผิดพลาดบ่อยๆ ทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ควรเริ่มคิด หรือฝึกฝนอะไรด้วยตนเอง เพราะมักถูกตำหนิหรือลงโทษ เด็กที่อยู่ภายใต้ภาวะดังกล่าวจะไม่ยอมเริ่มเรียนรู้สิ่งใดๆ ด้วยตนเอง มักรอคอยการชี้แนะตลอดเวลาเป็นการเรียนแบบป้อน ซึ่งจะเป็นผลเสียกับการเรียนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคณิตศาสตร์ เพราะการเรียนคณิตศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องคิดวิธีการแก้ปัญหาในแบบต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มลำดับความยากมากขึ้นเรื่อยๆ ตามปีการศึกษาที่เพิ่มขึ้น การเรียนคณิตศาสตร์ในเด็กประเภทดังกล่าวจะย่ำอยู่กับที่และถอยหลังไปเรื่อยๆ เนื่องจากจะรอคอยการชี้แนะตลอดเวลา ไม่มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบด้วยตนเอง สิ่งที่ครูหรือผู้ปกครองควรทำคือ การชี้แนะให้เข้าใจว่าข้อผิดพลาดเกิดจากอะไร คอยให้กำลังใจ และชมเชยที่เด็กมีความพยายามในการฝึกฝนทักษะด้วยตนเอง ทำให้เด็กๆ ตองการที่จะฝึกทักษะและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด

ครูจา

Leave a Reply