จากที่มีการเปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) มีนโยบายปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรับฌครงสร้างเวลาเรียน โดยการปรับลดเวลาในการเรียนวิชาการให้น้อยลง ในขณะที่เพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนให้มากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่นี้ จะมีการปรับโครงสร้างทุกระดับชั้นต้งแต่ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมต้น และ มัธยมปลาย

นอกจากการปรับลดจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาการลงแล้ว จะมีการปรับสัดส่วนการเรียนวิชาต่างๆ ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นด้วย จากเดิมที่ให้สัดส่วนเวลาเรียนทุกวิชาเท่าๆ กัน ก็จะเปลี่ยนมามีจุดเน้นให้ตรวตามวัย โดยระดับประถมต้นโดยเฉพาะ ป.1-2 จะเน้นการเรียนรู้ทักษะด้านภาษาเป็นหลัก จนถึงระดับประถมปลายจึงจะเพิ่มเติมทักษะด้านการคิดคำนวณ ส่วนระดับมัธยมต้นจะเพิ่มเติมทักษะในการแสวงหาความรู้ให้กับเด็ก และมัธยมปลายจะเน้นให้เด็กนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้

ในการปรับโครงสร้างการเรียนดังกล่าว น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เมื่อมีการศึกษาหรือการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดลองใช้หลักสูตรในโรงเรียนต้นแบบเพียงบางโรงเรียนก่อน  เพื่อให้ครูมีการเตรียมความพร้อมของตนเองในการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน เนื่องจากการเรียนการสอนนอกห้องเรียนนั้นยากต่อการประเมินว่านักเรียนจะได้เรียนรู้สิงต่าง ๆ ตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน  อีกทั้งครูผู้สอนยังเป็นปัจจัยหลักที่มมีผลต่อการเรียนการสอน หากครูผู้สอนไม่มีเป้าหมายหรือไม่มีการเตรียมการเรียนการสอน หรือไม่ได้รับการฝึกอบรมการสอนในแบบของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน นั่นหมายถึงเวลาที่เด็กจะเสียโอกาสในการเรียนวิชาการในแต่ละครั้ง

ส่วนเรื่องสัดส่วนของวิชาการที่ถูกเน้นในแต่ละช่วงชั้นที่แตกต่างกันนั้น  เมื่อเด็กขึ้นมาถึงช่วงชั้นที่มีการเน้นสัดส่วนที่เปลี่ยนไป อาจทำให้เด็กนักเรียนเกิดความไม่ต่อเนื่องในการเรียน ทำให้การเรียน แทนที่จะมีการเรียนอย่างต่อเนื่องก็ต้องมาย้ำเนื้อหาที่น่าจะทำได้ดีแล้วในช่วงชั้นก่อน ๆ หรือทักษะบางทักษะที่จะต้องมีการสะสมประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาทักษะดังกล่าว ก็อาจทำให้เด็กขาดความรู้ความชำนาญในทักษะนั้น ๆ เพียงเพราะไม่ได้ถูกฝึกมา หรือการเรียนขาดช่วงไป

ในการคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ ในเรื่องของศึกษาน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หากเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการศึกษา จากโรงเรียนต้นแบบอย่างจริงจัง ไม่ใข่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเขาใช้แบบนี้ โดยไม่ได้ศึกษาจากธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กไทยเป็นตัวตั้ง

Leave a Reply