2336591            สมัยก่อนมักมีคำพูดดังกล่าวเสมอว่า หลังจากดูละครแล้ว ให้ลองย้อนกลับมาดูตัวเรา เพื่อให้เราได้พิจารณาว่าเราเป็นเสมือนหนึ่งตัวแสดงในละครหรือไม่  แต่ในปัจจุบันนี้กลุ่มของผู้ดูละคร อายุเฉลี่ยลดลงเรื่อย ๆ นั่นหมายความถึงความสามารถในการกลั่นกรอง พิจารณาข้อมูลก็น้อยลง ในขณะที่ละครไทยในปัจจุบันมีความรุนแรง ก้าวร้าว และการแต่งตัวที่แสดงออกในเรื่องเพศมากขึ้น  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักมีผลในเชิงลบกับกลุ่มเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย เมื่อเทียบกับการดูละครในเรื่องเดียวกัน  อาจเป็นเพราะในละครไทยส่วนใหญ่ปัจจุบัน นักแสดงนำที่สวมบทนางร้ายมีมากกว่า หรือแม้กระทั่งตัวนางเอกเอง บุคลิกในปัจจุบันมักเป็นผู้หญิงเปรี้ยว มีความมั่นใจในตัวเอง มีบุคลิกในแนวตาต่อตา ฟันต่อฟัน มากกว่านางเอกที่เป็นผู้หญิงเรียบร้อยเหมือนในอดีต ซึ่งส่งผลให้เด็กที่ขาดวิจารณญาณ หรือการดูละครร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่คอยชี้แนะในสิ่งที่ดี และไม่ดี แต่เป็นการดูละครเพียงลำพัง ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ทันตั้งตัว หรือแม้กระทั่งตัวประกอบที่มีบุคลิกก้ำกึ่งมีอยู่ในละครทุก ๆ เรื่อง จุดประสงค์เพื่อให้ละครมีสีสัน ความสนุกมากขึ้น เด็กผู้ชายที่อยู่ในกลุ่มเสียงที่มีความต้องการได้รับความสนใจ ก็อาจมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนเมื่อโตขึ้นได้

จากบทความข้างต้น ไม่ใช่ว่าละครจะมีเพียงแต่ผลกระทบเชิงลบ  พ่อแมผู้ปกครองสามารถใช้ละครในเชิงสร้างสรรค์ได้ โดยการมีส่วนร่วมในการดูหนัง หรือละคร แล้วให้คำแนะนำ หรือชี้แนะให้เห็นถึงสาระของเน้อเรื่องว่า ละครดังกล่าวต้องการสื่ออะไรให้กับผู้ชม เช่น การสอนในเรื่องของการทำดี ได้ดี  ทำชั่ว ได้ชั่ว หรือหากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่มีเวลาในการอยู่ร่วมกับเขาในช่วงเวลาของทีวี ก็ควรหลีกเลี่ยงละครเสียจะดีกว่า

Leave a Reply